ด่อเหว่ “คนที่ไม่เห็นความสำคัญของใบเกิดเป็นคนคิดสั้น...”


ด่อเหว่ก็จะแนะนำว่าไปแจ้งเกิดต้องทำยังไง ถ้าเค้ากลัวเจ้าหน้าที่ เค้าพูดภาษาไทยไม่ได้นี่ ด่อเหว่ก็จะไปด้วย



 “ห้องแถวกวางตุ้ง” ในซอยชุมชนร่วมใจ ย่านนี้เป็นที่พักอาศัยของแรงงานข้ามชาติชาวพม่า เรือนแถวไม้เก่าสองชั้นปลูกทอดยาวไปตามถนน หัวแถวเป็นที่ตั้งของโรงเรียนสอนภาษาพม่า ท้ายแถวเป็นบ้านของด่อเหว่

ด่อ” เป็นภาษาพม่าแปลว่าป้า ด่อเหว่สามารถใช้ภาษาไทยได้ ถึงแม้จะไม่คล่องนัก แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการสื่อสาร “ด่อเหว่เกิดที่พะอัน จากพะอันไป 2 ชั่วโมงก็จะถึงบ้านของด่อเหว่ ชื่อหมู่บ้านท้งอาย พ่อแม่ของด่อเหว่ทำสวนปลูกผลไม้หลายอย่าง แต่ทำไม่ค่อยไหว มันต้องใช้กำลังมาก พ่อไม่ให้ด่อเหว่ทำสวน งานมันหนักมาก ด่อเหว่ไปโรงเรียน เรียบจบก็แต่งงาน” ด่อเหว่เล่าถึงชีวิตในฝั่งพม่าพียงแค่นี้

ด่อเหว่เข้ามาอยู่ที่นี่ 23 ปี มาตั้งแต่ปี 1990  ก็เริ่มทำงาน ทำหลายอย่าง ขายของ ขายเสื้อผ้า ขายหวยด้วย พอปี 2004 ก็ได้ไปทำงานที่โรงพยาบาล ได้วันละ 150 ประมาณนี้ ลูกของด่อเหว่ก็เกิดที่นี่ เรียนหนังสือที่นี่ ทุกคนก็ไม่อยากไปอยู่พม่า เวลาเราไปพะอันลูกจะบอกว่ากลับแม่สอด เค้ารู้สึกว่าแม่สอดเป็นบ้าน ด่อเหว่ก็เหมือนกัน ไม่คิดจะกลับไปแล้ว ตั้งใจจะอยู่ที่นี่”

ด่อเหว่พูดได้หลายภาษานี่เป็นทุนสำคัญที่ทำให้เธอเป็นที่รู้จักทั้งในหมู่คนไทยและแรงงานข้ามชาติ  ความสามารถด้านภาษาทำให้ด่อเหว่กลายเป็นคนกลางคอยสื่อสารระหว่างชาวไทยกับแรงงานข้ามชาติเสมอ “ดอเหว่ทำงานขายของก็พูดเก่งก็มีคนรู้จักเยอะ มีคนพม่าเค้าทำงานที่โรงพยาบาล เธอทำงานเป็นอาสาสมัครกับโรงพยาบาลก็ประมาณ 13 ปี”

ดอเหว่หวังให้ครอบครัวได้อยู่ในเมืองไทยอย่างเป็นสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี เธอให้ความสำคัญกับภาษา เธอมองว่าผู้ที่รู้ภาษาคือผู้ที่มีโอกาสดีกว่าคนอื่น ทั้งโอกาสในการทำงานเพื่อตนเองและการทำงานอาสาสมัครเพื่อสังคม เพื่อเพื่อนบ้าน

จากฐานเดิมที่ผ่านการทำงานด้านสุขภาพกับโรงพยาบาลแม่สอดมาก่อนทำให้ด่อเหว่ได้รู้จักกับเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิศุภนิมิต “คนจากศุภนิมิตนี่เขามาเจอดอเหว่ และชวนไปฟังเรื่องการรักษาสุขภาพ สวัสดิการ ด่อเหว่ไปประชุมบ่อยๆ ทำงานดูแลคนพม่า คนไม่มีบัตร คนป่วยวัณโรค เอชไอวี ดูแลสุขภาพมี ไข่ไก่ ข้าวสาร น้ำมัน เธอก็ทำหน้าที่เก็บเงินสมาชิกในโครงการสวัสดิการ... และให้ข้อมูลกับเพื่อนบ้านที่ใกล้คลอดว่าให้รีบจดทะเบียนการเกิด นอกจากนั้นเธอยังเก็บข้อมูลเพื่อนบ้านที่ไม่มีใบรับรองการเกิด...เธอรู้จักความแตกต่างระหว่างใบรับรองการเกิดและใบเกิด...” อย่างดอเหว่ ได้ทำงานร่วมกับมูลนิธิศุภนิมิตรฯ มา 5 ปีแล้ว

·  บทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครในโคงการเร่งรัดจดทะเบียนการเกิดสำหรับบุตรผู้มีปัญหาสถานะบุคคล

ด่อเหว่ได้ร่วมงานกับมูลนิธฺศุภนิมิตหลายต่อหลายโครงการ  สำหรับโครงการเร่งรัดจดทะเบียนการเกิดสำหรับบุตรผู้มีปัญหาสถานะบุคคลเธออธิบายว่า “ใบเกิดนี่เป็นโครงการกับ สสส.  เวลาด่อเหว่ทำงานด่อเหว่พูดภาษาพม่าได้ก็คุยกับเค้าได้ไม่ลำบาก เราต้องถามก่อนว่านี่เกิดลูกที่นี่มีใบเกิดมั้ย  บางคนก็มีบางคนก็ไม่มี เวลาทำงานถ้าพูดเรื่องสวัสดิการทุกคนรู้ว่าได้ คนเห็นประโยชน์ด่อเหว่ก็ทำงานง่าย แต่เรื่องการจดทะเบียนการเกิดนี่ยาก คนจะไม่เข้าใจยังไม่รู้ เค้าคิดว่าพอมีหลักฐานจากแม่ตาวคลินิกหรือหลักฐานอะไรสักอย่างเค้าจะคิดว่านี่คือใบเกิดแล้ว เวลาที่ต้องไปอธิบายให้เค้าเข้าใจมันก็ยาก  พอดอเหว่ถามว่ามีใบเกิดมั้ยหลายคนก็บอกว่ามี ดอเหว่ก็บอกว่าเอามาให้ดอเหว่ดูหน่อยสิ ด่อเหว่ก็ต้องอธิบายว่าถ้าเกิดที่คลินิกแม่ตาวใบเกิดของปีเก่าๆ ปี 2006 2007 2008 นี่ใช้ไม่ได้ ปีที่ใช้ใบเกิดปีที่ประเทศไทยรับรองถูกต้องคือ 2009 นี่หมอซินเวียร์ก็บอกแล้ว ถ้าไม่เชื่อก็ไปถามที่โรงพยาบาล ถ้าอยากทำใบเกิดก็มาหาดอเหว่จะทำให้ฟรี เวลาเค้าถามเค้าจะถามว่าทำนานมั้ย ด่อเหว่ก็บอกว่าถ้าเกิดภายใน 15 วันแล้วทำนี่ไม่นาน แต่อันอื่น (กรณีแจ้งเกิดล่าช้า) ด่อเหว่ตอบไม่ได้ 2 เดือน  3 เดือน  4  เดือน  ด่อเหว่ก็ไม่รู้แน่ แต่ก็ต้องทำ

ในการทำงานของเธอ ด่อเหว่ต้องติดตามความเป็นไปของคนในชุมชน การเป็นคนช่างพูดอาศัยวิธีประชาสัมพันธ์ การทำงานของเธอขยายออกไปสู่แรงงานข้ามชาติได้ด้วยการบอกต่อแบบปากต่อปาก“ด่อเหว่ต้องรู้ว่าใครเกิดลูก ต้องไปถามว่ามีใบเกิดแล้วยัง ถามว่าคนที่ต้องการแจ้งเกิดนี่ชื่ออะไร พ่อแม่เด็กชื่ออะไร  มีบัตรประชาชนพม่ามั้ย  บัตรประชาชนพม่าไม่มีภาษาอังกฤษ ด่อเหว่ต้องมานับวันนับเดือนให้เป็นภาษาอังกฤษก่อนแล้วค่อยให้เจ้าหน้าที่แปลเป็นภาษาไทยกันอีกที ถ้าเป็นคน  กระเหรี่ยงที่พูดพม่าไม่ได้ก็ต่องให้คนอื่นช่วย  ด่อเหว่จะฝากบอกต่อ ๆ ไปว่านี่ชื่อ ด่อเหว่ อยู่ซอยชุมชนร่วมใจ ทำเรื่องใบเกิดนะ ทำฟรี ใครสนใจอยากทำให้โทรหาเลย ใครรู้จักบ้านที่ซอยร่วมใจห้องแถวกวางตุ้งนี่ก็ให้มาหาเลย ด่อเหว่ก็จะแนะนำว่าไปแจ้งเกิดต้องทำยังไง ถ้าเค้ากลัวเจ้าหน้าที่ เค้าพูดภาษาไทยไม่ได้นี่  ด่อเหว่ก็จะไปด้วย”

นอกจากนี้ด่อเหว่บอกว่าวิธีที่จะทำให้คนสนใจการจดทะเบียนการเกิด คือ“เราต้องบอกให้เค้ารู้ว่าใบเกิดสำคัญยังไง คนที่ไม่ทำใบเกิดนี่เป็นคนคิดสั้น ด่อเหว่ต้องบอกเค้าว่าใบเกิดนี่ดี World vision นี่ สสส.ทำให้ฟรี คนไทย (ราชการไทย) ก็รับรองด้วย  มีใบเกิดนี่ดีเป็นคนพม่าก็รู้ว่าเป็นพม่า มีใบเกิดจะไปทำพาสปอร์ตก็ง่าย เป็นลูกใครพ่อแม่ชื่ออะไรก็รู้ จะไปโรงเรียนมีใบเกิดก็ง่าย ไปโรงพยาบาลมีใบเกิดนี่ก็รักษาฟรี  คนไม่มีใบเกิดไปเข้าโรงพยาบาลปีหนึ่งเป็นแสนหมอก็รักษาให้ แต่มีใบเกิดนี่ดีกว่าง่ายกว่า (ได้รับการบริการที่รวดเร็ว) มีใบเกิดนี้ทำบัตร 10   ปี ก็ทำได้  (บัตรประจำตัวผู้ไม่มีสถานะบุคคล  ผู้ถือบัตรสามารถอาศัยอยู่ในอำเภอที่ลงทะเบียนได้ แต่ไม่สามารถออกนอกพื้นที่ได้ ผู้ถือบัตรมีสิทธิรับบริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน) ถ้าไม่มีใบเกิดก็ทำไม่ได้ มีใบเกิดไปอยู่ที่ไหนก็ง่าย ถ้าไม่มีใบเกิดนี่เกิดมาจากที่ไหนก็ไม่รู้ พ่อแม่เป็นใครก็ไม่รู้  วันก่อนรถตำรวจชนเด็กนักเรียน ตอนนี้เด็กก็บ้าบอๆน่าสงสารมาก มือนี่ก็หัก สมองก็ไม่ดี อยากกินก็กิน อยากวิ่งก็วิ่ง อยากร้องไห้ก็ร้อง น่าสงสารมาก แม่ไปทำงานกรุงเทพฯต้องฝากลูกไว้กับคนอื่นน่าสงสาร ตอนรถชนตำรวจก็ไม่อยากช่วย เค้าก็ถามว่ามีใบเกิดมั้ยถ้ามี่ใบเกิดก็ไม่รู้ว่าเป็นลูกใครเค้าก็ไม่อยากช่วย ด่อเหว่ก็บอกว่านี่มีใบเกิดนะ ไปโรงเรียนก็มีบัตรโรงเรียนก็มี ตำรวจก็ช่วยมาตอนแรกว่ช่วย30,000  แต่ได้ 10,000 เดียว แม่เด็กบอกว่าเค้าช่วยแค่นี้ก็เอาแค่นี้”

จากเรื่องที่ด่อเหว่เล่าจะเห็นชัดเจนว่าอาสามสมัครในโครงการมีภาระหน้าที่หลายอย่างด้วยกัน ประการแรกอาสาสมัครต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการจดทะเบียนการเกิดอย่างถูกต้อง ประการที่สอง อาสาสมัครต้องมีความสามารถในการสื่อสาร คือสามารถพูดทั้งภาษาพม่า ไทย และภาษาอื่นๆได้ นอกจากนี้ยังต้องมีทักษะในการอธิบายถึงประโยชน์ของการจดทะเบียนการเกิด และอธิบายขั้นตอนการจดทะเบียนการเกิดที่เต็มไปด้วยภาษาราชการ อาสามสมัครต้องลดทอนความยุ่งยากของภาษาทางการให้เป็นภาษาพูดที่ผู้คนทั่วไปสามารถเข้าใจได้โดยง่าย ประการที่สาม อาสาสมัครต้องมีจิตอาสาเป็นอย่างมากในการบริการผู้อื่น เช่น การสละเวลาของตนเองเข้าร่วมประชุมตามวาระของโครงการ หรือการไปแจ้งเกิดให้แก่แรงงานข้ามชาติที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาไทยได้ เป็นต้น

ในมุมมองของด่อเหว่เธอให้ความสำคัญกับเรื่องภาษาเป็นอย่างมาก เธออบอกว่าภาษาเป็นหัวใจสำคัญของการสื่อสารที่ถูกต้องและรวดเร็ว “ตอนนี้อาสาสมัครที่ฟังและพูดภาษไทยได้มีไม่กี่คน เวลาทำงานกับ World vision เจ้าหน้าที่หลายคนก็พูดพม่าไม่ได้ ถ้าได้คนแปลดีนี่ก็รู้เรื่องเข้าใจกันง่าย”

จากจิตอาสา ผู้มีปัยหาสถานบุคคล.....จนสู่กระบวนการผู้รู้ของชุมชนสรา้งความยั่งยืนชุมชนตัวเองครับ.....คงมีอีกมากเมื่อ AEC มา เรื่องเหล่านี้มากจากหญิงพม่าคนหนึ่งที่กล้าที่จะพูดครับ....

หมายเลขบันทึก: 519747เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2013 13:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2013 13:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

.... ภาษาเป็น ...หัวใจสำคัญ ... ของการสื่อสาร....ที่ถูกต้องและรวดเร็ว.... ใช่เลยค่ะ  

ขอบคุณมากครับ อาจารย์ ในพื้นที่การทำงานภาษามีความจำเป็นมากครับ ในกลุ่มพี่น้อง Migrant ครับอาจารย์ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท