อีกก้าวกับการพัฒนางาน ที่คิดว่ายั่งยืน


หากคิดได้เพียงเท่านี้น่ะ ผมไม่ส่งคนไข้ออกไปหรอกครับ ปรับยา ปรับยาอยู่นั่น ผมรักษา เองไม่ดีกว่าหรือ ?

อีกก้าวกับการพัฒนางาน ที่คิดว่ายั่งยืน

  การทำงานทางด้านการพยาบาลนั้นใช่ว่าจะมีบทบาทเพียงการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลเท่านั้น แต่ยังต้องปฏิบัติหน้าที่ ไปถึงชุมชนด้วย  สำหรับข้าพเจ้านั้น การทำงาน ตั้งแต่จบพยาบาลมาส่วนใหญ่แล้วคลุกคลับชุมชนมาตลอด  เริ่มตั้งแต่สถานีอนามัย จนมาถึงโรงพยาบาล แม้ ไม่ได้อยู่ ใน ส่วนของชุมชน  แต่ก็เป็นพี่เลี้ยงให้ รพ.สต.อยู่ ในเรื่องของการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง  ซึ่งงานนี้ข้าพเจ้าเริ่มปูพื้น ความรู้ให้ จนท.รพ.สต. แล้ว เมื่อ ปี 2555 ประเมินกิจกรรมเป็น ขั้นตอน  ซึ่งจากการประเมินอย่างคร่าวๆ จาก นศ.พยาบาลเวชปฏิบัติ(การตรวจรักษาโรคเบื้องต้น )ที่มาฝึกงาน ที่ โรงพยาบาลนั้น พบว่า ในอำเภออื่น นั้นมีการส่งต่อผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูงลงสู่สถานีอนามัยแต่จะมีทีมแพทย์ และสหวิชาชีพ ออกตรวจ เวียนไปทั้งอำเภอ  ข้าพเจ้ามองว่าเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด  เพราะไม่ได้เพิ่มศักยภาพของ พยาบาลในพื้นที่เท่าที่ควร  อีกทั้งงานยังไปลงหนักที่แพทย์ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า มีจำนวนน้อย  เพราะพอเรียนจบก็ไปเป็นดารา นักร้อง นักแสดง ก็มาก การเพิ่มศักยภาพให้กับบุคลากรในหน่วยปฐมพยาบาลระดับปฐมภูมิ ดูจะเป็นทางออกที่ลงตัว และ สามารถแก้ปัญหาได้ในช่วงที่ยังขาดแคลนแพทย์ ในปัจจุบัน

  การพัฒนาศักยภาพพยาบาลที่อยู่ รพ. สต.ให้มีความเชี่ยวชาญ สามารถ ดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชนนั้น  การดำเนินงานในช่วงแรก ก็เกิดปัญหา เหมือนกัน  เพราะ พยาบาลบางคนมองว่า โห พื้นๆ เบาหวานความดันโลหิตสูง  ส่งมาก็จ่ายยาต่อ  ขอยกตัวอย่างสถานการณ์ ในการประชุมเพื่อเริ่มพัฒนางานของเรา

ข้าพเจ้าถามว่า จ่ายยาต่อไปนานแค่ไหน

 เขาตอบว่า ก็ครบปี ก็ส่งพบหมอสักครั้ง

อ้าวแล้วระหว่างนั้นล่ะ 

ก็มีปัญหาก็ส่งพบหมอ  (ตอบแบบกำปั้นทุบกำแพง )

 ข้าพเจ้าถามต่อว่า แล้ว ปัญหา อย่างไรล่ะที่จะส่งพบแพทย์ หรือไม่พบแพทย์ 

เขาตอบ ก็เช่นน้ำตาลสูงมาก ๆ 200 ขึ้นไป ก็ส่งพบแพทย์ปรับยา

ข้าพเจ้า ชื่นชม( แบบประชด ) ใช่ หากสูงมากก็ส่งพบแพทย์ ปรับยาถามต่อว่า  แล้ว หากปรับยาแล้ว กลับไปสูงกว่าเดิมล่ะ จะส่งเข้ามาปรับยาอีกมั๊ย 

พยาบาลคนนั้นเงียบให้ได้คิด  ...........?

แพทย์คู่หู ข้าพเจ้า  จึงพูดขึ้นบ้าง  คือหากคิดได้เพียงเท่านี้น่ะ ผมไม่ส่งคนไข้ออกไปหรอกครับ ปรับยา ปรับยาอยู่นั่น ผมรักษา เองไม่ดีกว่าหรือ ?

เงียบไม่มีคำตอบ ..............?

ข้าพเจ้าและทีมงาน จึงได้เริ่มยกตัวอย่างสอดแทรก ความสำคัญในการดูผู้ป่วย ว่า การรับ ดูแลผู้ป่วย เคสหนึ่งๆ นี่ รับ ออร์เดอร์มาไม่ใช่รับมาแต่สั่งจ่ายยาเดิม ๆอยู่นั่น  แต่คุณต้องรูตั้งแต่  คนไข้คนนี้เป็นโรคนี้ แล้วมีโรคร่วมอย่างอื่นมั๊ย  ผล Lab เป็นอย่างไร  ระดับการควบคุมโรคอยู่ในระดับใด  ยาที่ใช้มีอะไรบ้าง  ผลข้างเคียงของยาแต่ละตัวเป็นอย่างไร  ยาอะไรห้ามใช้คู่กับยาอะไร  อาการแบบใด ที่แสดงถึงการได้รับภาวะแทรกซ้อน ทั้งเร่งด่วนและไม่เร่งด่วน  อาการแสดงอย่างไรที่บอกว่า เป็นผลข้างเคียงของยา  นอกจากการใช้ยาแล้ว วิธีอื่นที่ควบคุมโรคมีอีกมั๊ย  คำแนะนำในคนไข้โรคเดียวกันนั้น แนะนำการกินยาและการปฏิบัติตัวเหมือนกันมั๊ย  เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน  คนหนึ่งทำงานในเวลาปกติ ช่วงเช้า  นอนกลางคืน กับอีกคน ทำงานกลางคืนถึงเช้า  แล้วนอนกลางวัน  หรือคนหนึ่งเป็นคุณนายอยู่บ้าน  กับอีกคนใช้แรงงานกลางทุ่ง นั้น คุณจะให้เขา กินยาและปฏิบัติตัวเหมือนกันมั๊ย  ชุดความรู้จะเป็นแบบเดียวที่ท่องได้เหมือนนกแก้วนกขุนทองมั๊ย  สิ่งนี้ต่างหากที่ข้าพเจ้าและทีมงานต้องการให้เกิดขึ้นในกระบวนการดูแลผู้ป่วยในชุมชน 

ซึ่งจากการดำเนินงานของทีมงานในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมานั้น เราพบความก้าวหน้าตรงนี้มาก  ข้าพเจ้าไม่ขอเอาสถิติมา แสดง แต่สรุปคร่าวๆว่า  จากเดิมที่ พยาบาลที่ อยู่ รพ.สต. ทำหน้าที่แค่จ่ายยาตามนัด  ให้ความรู้แบบนกแก้วนกขุนทอง  มีปัญหาแล้ว ส่งพบแพทย์ นั้น  เปลี่ยนไปมาก  คือ มีการโทร.กลับมา consult case เพิ่มขึ้น ว่า

-  อ้าวหมอ ผลการตรวจไต ( cretinin ) ในคนนี้ สูงลิ่ว แบบนี้ ทำไมมียาตัวนี้อยู่ ทำไมถึงส่งออกมารับการรักษาที่ รพ.สต. ต้องดูแลอะไรพิเศษมั๊ย  ต้องส่ง repeat lab ทุกเท่าไร  ระวัง ?

-  หมอคนไข้คนนี้ น้ำตาลในเลือดสูง มา 2 ครั้งที่นัด ซึ่งระหว่านัดนั้น ได้ ไปทำการเยี่ยมพูดคุย ปัญหา การกินยา  รับประทาน อาหาร  การออกกำลังกาย แล้วคนไข้ปรับแล้ว แต่ผลเลือดยังสูงอยู่ จะต้อง.....?

-  - หมอคนไข้คนนี้มีอาการ ........... กินยาตัวนี้อยู่ น่าจะเป็นผลข้างเคียงของยามั๊ย ต้องทำอย่างไร

-  หมอในคนไข้คนนี้ เดิม ส่งมารักษาที่ รพ.สต. ด้วยโรคนี้ ........ แต่ ต่อมามี อาการ และอาการ แสดง แบบนี้ .......... น่าจะมีโรคร่วม.......... จะส่งผู้ป่วยเพื่อไปวินิจฉัยรักษา ใหม่

-  เป็นต้น

ซึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้ข้าพเจ้า และทีมงาน นั้นเริ่มยิ้มออกในใจและใบหน้า  โดยเฉพาะแพทย์ คู่หู  นี่ เกิดอาการลิงโลด (รอดแล้วตู .... งานไม่ตกเป็นของตูคนเดียวแล้ว ) อีกทั้งสัมพันธภาพระหว่าง เจ้าหน้าที่ รพ.สต. และ รพ.ที่ดูเหมือนห่างเหิน กลับ เป็นกัลยาณมิตร ต่างเข้าใจในบทบาทและบริบทของแต่ละที่ เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน 

จากประเด็นการดำเนินงานในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูงนี้เอง ทำให้เป็นประเด็นต่อยอด ไปในโรคอื่นๆ  ซึ่งตอนนี้ที่เริ่มดำเนินการคือ  การดูแลผู้ป่วย มีแผลกดทับ และ เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับในชุมชน แล้วข้าพเจ้าจะมาเล่าต่อ ว่า  การเริ่มต้นนั้นไปถึงไหนแล้ว

สำหรับเรื่อง ระบบเครือข่ายสุขภาพเพื่อการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ระดับปฐมภูมิ นั้นข้าพเจ้าและทีมงาน จะไปนำเสนอ poster presentation  ในงาน HA forum ครั้งที่ 14 ที่เมืองทองธานี จัดในวันที่  12-15 มี.ค. 2556 หากใครต้องการทราบกระบวนการเพิ่มเติม จากปากของทีมงานก็ขอเชิญพบกันที่งานค่ะ

ชลัญธร  ตรียมณีรัตน์

พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ

โรงพยาบาลพิมาย

Chalun14gmail.com  โทร. 044-285322 ต่อ 123-125 เวลาราชการ


หมายเลขบันทึก: 519426เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2013 03:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2013 03:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณค่ะพี่แก้วมาให้กำลังใจคนแรกเลย  

ชลัญน่าจะได้ไปนะค่ะ หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง 

เพราะเป็นเจ้าของผลงาน แต่ไม่แน่ตรงที่ ชลัญไปติดกันมา 3 ปี

งานชลัญได้เข้ามานำเสนอตลอดหัวหน้าอาจให้คนในทีมแทน

มาเปิดหูเปิดตาบ้างน่ะค่ะ

...จากเดิมที่ พยาบาลที่ อยู่ รพ.สต. ทำหน้าที่แค่จ่ายยาตามนัด  ให้ความรู้แบบนกแก้วนกขุนทอง  มีปัญหาแล้ว ส่งพบแพทย์ นั้น  เปลี่ยนไปมาก  คือ มีการโทร.กลับมา consult case เพิ่มขึ้น...

An area where I think "(national healthcare experts panel) Call Centre" would be a way to go.

In this day of tablets and Internet, a lot of text and graphic information can be moved around to experts/specialists for benefits of patients anywhere in the country. It would cost government less and patients a lot less. It would raise quality of healthcare and responsiveness many times over.

Imagine what Pimai hospital can do well in one area is now available to all anywhere in the Kingdom. And what other hospitals can do well in other areas are now available to Pimai people too.

It's a 21stC stuff, we have not time to think about too much?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท