พลังงานทดแทนจากหญ้าเนเปียร์...A joke or a hoax? (ตอน ๔)


พลังงานทดแทนจากหญ้าเนเปียร์...A joke or a hoax? (ตอน ๔)""""""""""""""""""""""""""""""""


ภูมิปัญญาพื้นฐานไทย จีน ญี่ปุ่น เขมร ฝรั่ง  ทั่วไป เห็นว่า  พืชชุ่มน้ำ เช่น คะหน้า แครอท ไชเท้า  ผักบุ้ง รวมถึงหญ้าเนเปียร์    เอาไปเผาตรงคงไม่ได้  ไฟไม่ติดหรอก

แต่วินี้ผมจะมาแย้งว่า ติดนะจ๊า


ผมคำนวณบัญชีความร้อนเผาไหม้ (heating value)  ค่าความร้อนแฝงกลายเป็นไอ (Latent heat)  ค่าความร้อนสัมผัส (sensible heat) สรุปว่า ถ้าเราเผาไหม้ตรงหญ้าเนเปียร์ (หรือผักคะน้าก็ตาม)  จะสามารถทำได้  และจะทำให้อภ. เผาไหม้สูงถึงขนาด ๒๐๐๐ องศา ซี   (แบบว่าหลอมเหล็กได้เลย) 

ทีแรกคิดว่าคำนวณผิด ไม่น่าเป็นไปได้ แต่คำนวณหลายรอบ ก็ตรงกัน  อย่างเหลือเชื่อ 

ที่ว่ามามันเป็นหลักการ  (ขงเบ้ง)    ส่วนวิธีการ  (เล่าปี่)   ก็ต้องไปหาทางทำให้เกิดผลกันต่อไป     บางทีขงเบ้งเก่งแต่เล่าปี่โง่ก็ไม่สำเร็จ  บางทีขงเบ้งโง่เล่าปี่ดีก็สำเร็จ  บางที่ก็กึ่งๆกลางๆ ...ซึ่งมันก็เป็นดังนี้แล โลกเรา ที่แต่ละคนมีหน้าที่ บทบาทต่างกันไป  เป็นธรรมดา 


เก่ง  ดี  อิจฉา ริษยา  เกลียด โกรธ  โง่ โกรธา  หลงอัตตา   ก็ว่ากันไป    


...คนถางทาง (๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖) 



หมายเลขบันทึก: 519398เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2013 18:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2013 18:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท