พลังงานทดแทนจากหญ้าเนเปียร์...เหี้ยหรือหงส์ (ตอน ๓)



จากตอนก่อน  ....สรุปคือ ดีที่สุดคือ หญ้าเนฯถ้าปลูกในดินเหมาะ  อภ.เหมาะ  เลี้ยงดูแบบดีๆ ใส่ใจ จัดหนัก จะได้มวลแห้ง ๑๐ ตันต่อไร่ต่อปี ถือว่ามาก แต่เหนื่อยหน่อย (ซึ่งอะไรที่เหนื่อยๆ นั้นคนไทยไม่ชอบหรอกสิบอกไห่ สู้นอนหงายเป็นเมียฝรั่งแก่ๆ  ง่ายกว่ากันเยอะเลย อิอิ) 


เอาหละ..หากมีศักดิ์ศรี  ขยัน  อยากทำหญ้าเนฯ เป็นพลังงานจริง  ดร.รากหญ้า ขอแนะ ดังนี้

หญ้าเนฯ มีน้ำรล. ๘๐   หมายความว่า นน. ๑๐๐ โล มีน้ำ ๘๐ โล มีเนื้อแห้งเพียง ๒๐ โล 

น้ำมากปานนี้ถ้าเอาไปเผาเป็นเชื้อเพลิงโดยตรงคงลำบาก ไฟคงไม่ติดหรอก (เช่นเอาผักคะน้าไปเผาไฟ มันจะติดไหม)  .......  ดังนั้นจึงมีงานวิจัยเอาไปหมักเป็นก๊าซ  แต่หญ้าพวกนี้หมักยากมาก  เพราะมันมีเนื้อเยื่อที่เหนียว แข็ง  (ฝรั่งว่าเป็นเซลลูโลส และ ลิกนิน หรือ พันทางผสมกัน)  ไม่เหมือนผักคะน้า หัวมัน  ที่หมักง่ายกว่ามาก

เผาตรงก็เป็นไปไม่ได้  หรือ หมักเป็นก๊าซก็ยากมาก มันเหมือนเซมิคอนดัคตอร์ เลยนิ อิอิ

วันนี้ผมจะมาเสนอสองแนวทาง คือ  หมักในท้องวัวนม  หรือ เผาตรงแบบหักดิบกันไปเลย ....ถ้าสนใจโปรดอ่านตอนต่อไป  สำหรับตอนนี้ หมดเวลาแล้ว

....คนถางทาง (๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖)  


หมายเลขบันทึก: 519397เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2013 17:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2013 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท