การออกแบบใยสำหรับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์


Web Design for E- Business

บัณฑิต พฤกษาเมธานันท์ : แปลและเรียบเรียง

๙ พฤษภาคม ๒๕๔๙

การออกแบบใย (Web Design)

การออกแบบใย การฝึกหัด (Exercises) แลทำให้ปรากฏเป็นรูปร่าง (project) ต้องการคอมพิวเตอร์มีการเข้าออกอินเตอร์เน็ต พร้อมระบบและซอฟแวร์ ดังนี้

ระบบขั้นต่ำที่ต้องการ ไมโครซอฟวินโดส์ 95 98 2000 หรือ เอ็นที 4.0

ระบบที่แนะนำ ไมโครซอฟวินโดส์มืออาชีพ 2000 (Microsoft Windows 2000 Professional) หรือ มืออาชีพเอ็กซ์พี (XP Professional)

ซอฟแวร์ขั้นต่ำ โน๊ตแพทไมโครซอฟวินโดส์(Microsoft Windows Notepad) อ็อฟฟีส 97 (Office 97) อินเตอร์เน็ตเอ็กฟลอเรอร์ 5 (Internet Exploror 5) หรือ เน็ตส์เคฟคอมมูนิเคเตอร์ 4 (Netscape Communicator 4)

ซอฟต์แวร์แนะนำ ไมโครซอฟฟร้อนต์เพจ 98 2000 2002(Microsoft Front Page 98 2000 2002) อ็อฟฟีส 2000/เอ็กซ์พี (Office 2000/XP)  เจสซ์เพ็นท์ชอฟโปร(Jase Paint Shop Pro) หรือเครื่องมือพัฒนาอาชีพอื่นๆ

อินเตอร์เน็ตเป็นโครงข่ายทั่วโลก(Global) ขนาดมหาศาล ของคมนาคมพื้นฐานคอมพิวเตอร์ เหมาะสมกับคอมพิวเตอร์บุคคลแลผู้ช่วยดิจิตอลบุคคล(Personal Digital Assistant : PDA) สามารถเข้าออกโครงข่าย ใช้คำขึ้นต้น(Protocols)ที่จำเป็นสำหรับคมนาคมโลกกว้างทันที อินเตอร์เน็ตติดต่อโครงข่ายคมนาคมคอมพิวเตอร์เปิดสำหรับรัฐบาล สาธารณะชน การศึกษา ธุรกิจ ไมใช้สำหรับองค์กรที่หวังผลกำไร โครงข่ายที่มีโครงสร้างกรอบการทำงานเหมือนกันแต่ไม่เปิดให้ใช้สาธารณะเรียก อินทราเน็ต(  Intranet) เป็นโครงข่ายส่วนตัว หรือเรียกเอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet) เป็นโครงข่ายส่วนตัวธุรกิจกับธุรกิจ(Business to Business :B2B)

ประวัติย่ออินเตอร์เน็ตและใยโลกกว้าง (World Wide Web :WWW)

พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) เจ ซี อาร์ ลิคคิลเดอร์(J C R Licklider) นักวิจัยสถาบันเทคโนโลยีแมสสาชูเซตส์(Massachusetts Institute of Technology) แสดงมโนภาพการติดต่อทั่วงโลกของชุดคอมพิวเตอร์ที่ทุกคนสามารถเข้าออก(สื่อ : ส่งผ่าน)ข้อมูลและโปรแกรมประยุกต์ จากที่ใดที่หนึ่งได้ ลิคคิลเดอร์ถูกแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยคอมพิวเตอร์ที่ฝ่ายโครงการวิจัยกลาโหมก้าวหน้าแห่งสหรัฐอเมริกา (US. Department of Defense Advanced Research Projects Agency : ARPA)

พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ลิคคิลเดอร์ชวน อิแวน ซูเทอรแลนด์(Ivan Sutherland)  บ็อบ เทเลอร์(Bob Taylor) และ ลอเรนซ์ จี โรเบอร์ต(Lawrence G Roberts) ช่วยสร้างแนวความคิดงานที่ใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ให้มีประโยชน์มากกว่าเดิม

พ.ศ. 2509(ค.ศ. 1966) โรเบอร์ต พัฒนาแนวคิดโครงข่ายคอมพิวเตอร์เป็นแผนงานอาร์ปาเน็ต(ARPANET) ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1967 (พ.ศ. 2510) ขณะเดียวกัน โดนัลด์ ดาวีส และ โรเจอร์ สแกนเทลเบอรี่(Donald Davies and Rogerv Scantlebury) จากห้องทดลองฟิสิกส์แห่งชาติ(National Physical Laboratory : NPL) ประเทศอังกฤษ นำเสนอแนวคิดโครงข่ายนี้เช่นเดียวกัน

พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) เอ็นพีแอล สร้างโครงข่ายแรกทดลองสำหรับแผนงานโครงข่ายทั่วโลก ไม่นาน อาร์ปา ตัดสินใจสนับสนุนเงินสำหรับโครงข่ายความเร็วสูงคอมพิวเตอร์พิเศษ(Super Computer)

พ.ศ. 2512 (ค.ศ.1969) โครงข่ายแรกสร้างขึ้นมีคอมพิวเตอร์เจ้าภาพ (host computer) ติดตั้งที่มหาวิทยาลัย แคริฟอร์เนีย ลอส์ แองเจลส์ (University of California at Los Angels : UCLA) มีคอมพิวเตอร์ 4 ชุดต่อเข้าด้วยกัน ชื่อว่า อาร์ปาเน็ต หลังจากที่กลาโหมสหรัฐ (เพ็นตากอน : Pentagon) สนับสนุนงบประมาณ คอมพิวเตอร์ 4ชุดนี้ สามารถส่งผ่านข้อมูลโดยใช้สื่อสัญญาณความเร็วสูงสายเฉพาะ

พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) อาร์ปาเน็ต มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation’s: NSFNET) กองทัพ (Military’s: MILNET) และโครงข่ายอื่น เช่น USERNET และ BITNET ร่วมกันตั้งมาตรฐานคมนาคมโครงข่ายที่หนึ่ง ที่พัฒนาโคยอาร์ปาเน็ต คำขึ้นต้นควบคุมสื่อสัญญาณ/คำขึ้นต้นอินเตอร์เน็ต (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) และอินเตอร์เน็ตได้กำเนิดขึ้น

พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) ทิม เบอร์เนอรส์ ลี (Tim Berners Lee) นำเสนอแนวคิดสำหรับใยโลกกว้าง (World Wide Web: WWW) โครงการหนึ่งเป็นอักษรชั้นสูงพื้นฐานอินเตอร์เน็ต สำหรับแบ่งปันสารสนเทศทั่วโลก เมื่อเขาทำงานเป็นผู้วิจัยที่เซิอร์น (CERN) ห้องทดลองฟิสิกส์ชิ้นส่วนของยุโรป (the European Particle Physic Laboratory) ในเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ทิม ได้ประดิษฐ์ผู้ส่ง (Server) ใยโลกกว้างเป็นครั้งแรก เรียก “httpd” ลูกค้าอ่านเพลิน (ตัวแสดงผลลูกค้า :Client Browser) วิซีวิก (What You See What You Get: WYSWYG) ที่เซอร์น ใน ปี ค.ศ. 1990(พ.ศ. 2533)

พ.ศ. 2534-2536 (ค.ศ. 1991-1993) เบอร์เนอรส์ ลี ดำเนินการต่อเกี่ยวกับภาษารหัส(Code Language) คำขึ้นต้นข้อกำหนดที่อยู่ใย (Web address) ออกแบบใย ด้วยการประสานการตอบสนองของผู้ใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ตเท่าที่เทคโนโลยีกระจายไป ในปี พ.ศ.2537 เบอร์เนอรส์ ลี ร่วมทำงานในห้องทดลองวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่สถาบัน MIT

ชุมชนจำนวนมากใช้งานเทคโนโลยีใยและอินเตอร์เน็ต จากรากฐานการวิจัยเริ่มต้นเจริญเติบโตอย่างกว้างขวาง ในชุมชนและกิจกรรมเชิงพาณิชย์ เพื่อส่งเสริมความเปิดเผยและยุติธรรม(Fairness) ของอินเตอร์เน็ตจึงจัดตั้งองค์กรของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต เรียก “สังคมอินเตอร์เน็ต” (Internet Society) ในปี พ.ศ. 2534 สมัชชาใยโลกกว้าง (World Wide Web Consortium: W3C) ได้ถูกจัดตั้งขึ้น เพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนาคำขึ้นต้นต่างๆ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อกับใย

24 ตุลาคม พ.ศ. 2538 สภาสหพันธ์โครงข่าย (Federal Network Council: FCN) มีมติเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ (Unanimously) ผ่านมติคำจำกัดความของอินเตอร์เน็ต ดังนี้

มติ (Resolution) : สภาสหพันธ์โครงข่าย ตกลงกันว่าภาษาต่อไปนี้สะท้อนคำจำกัดความของคำว่า “อินเตอร์เน็ต”

อินเตอร์เน็ต อ้างอิงถึงระบบสารสนเทศของโลกที่ว่า

1.  เป็นโยงใย ตรรกะเข้าด้วยกันโดยพื้นฐานที่ว่าที่อยู่ที่หนึ่งของโลกบนพื้นที่ว่าง ด้วยคำขึ้นต้นอินเตอร์เน็ต(Internet Protocol : IP) หรือส่วนที่ขยายตามมา

2.  เป็นขีดความสามารถรองรับคมนาคมที่ใช้คำขึ้นต้นควบคุมสื่อสัญญาณ/คำขึ้นต้นอินเตอร์เน็ต(Transmission Control Protocol/Internet Protocol : TCP/IP)

3.  จัดการให้ผู้ใช้หรือทำให้มีการเข้าออก ไม่ว่าจะเป็นสาธารณะหรือส่วนตัว ด้วยชั้นบริการระดับสูง บนคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการนี้


คำสำคัญ (Tags): #web design
หมายเลขบันทึก: 518675เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2013 13:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2013 13:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท