การเขียนย่อความ ท ๓๑๑๐๒ ม. ๔


ใบความรู้ที่ ๗

วิชาภาษาไทย ๒  ท ๓๑๑๐๒  การเขียนย่อความ  ชั้น ม. ๔การเขียนย่อความ หมายถึงการเก็บใจความสำคัญของเรื่องใดเรื่องหนึ่งจากการอ่าน แล้วนำมาเขียน  เรียบเรียงใหม่ด้วยสำนวนของตนเอง

ประโยชน์ของการย่อความ

๑. ช่วยให้การอ่านและการฟังได้ผลดียิ่งขึ้น ช่วยให้เข้าใจและจดจำข้อความสำคัญที่ได้
 จากการอ่านการฟังสะดวกและรวดเร็ว

๒. ช่วยในการจดบันทึก เมื่อได้ฟังหรือศึกษาวิชาใดก็ตาม  รู้จักจดข้อความที่สำคัญ ลงสมุดได้ทันเวลาและได้เรื่องราว

๓. ช่วยในการเขียนตอบแบบฝึกหัดหรือข้อสอบ กล่าวคือผู้ตอบจะต้องย่อความรู้ทั้งหมด ที่มีอยู่ให้อยู่ในรูปของข้อเขียนสั้นๆ แต่มีใจความครบถ้วน

๔. ช่วยเตือนความทรงจำ นักเรียนอ่านหนังสือแล้วทำบทย่อเป็นตอนๆ หรือเป็นระยะๆ  ควรทำติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ไม่ต้องอ่านหนังสือซ้ำใหม่ตลอดเล่ม

๕. ช่วยประหยัดเงินในการเขียนข้อความในโทรเลข หรือการสื่อสารทางอิเลคโตรนิคได้ ถ้ารู้จักย่อความจะเขียนข้อความได้สั้นๆ  เนื้อความกะทัดรัดชัดเจน ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราว

วิธีการเขียนย่อความ ทำได้ ดังนี้
๑.  อ่านเรื่องที่จะย่อความให้จบอย่างน้อย ๒ ครั้ง เพื่อให้ทราบว่าเรื่องนั้นกล่าวถึงใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร และผลเป็นอย่างไร
๒.  บันทึกใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน แล้วนำมาเขียนเรียบเรียงใหม่ด้วยสำนวนของตนเอง
๓.  อ่านทบทวนใจความสำคัญที่เขียนเรียบเรียงแล้ว จากนั้นแก้ไขให้สมบูรณ์ โดยตัดข้อความที่ซ้ำซ้อนกันออก เพื่อให้เนื้อหากระชับ และเชื่อมข้อความให้สัมพันธ์กันตั้งเเต่ต้นจนจบ
๔.  เขียนย่อความให้สมบูรณ์ โดยเขียนแบบขึ้นต้นของย่อความตามรูปแบบของประเภทข้อความนั้นๆ เช่น การย่อนิทาน การย่อบทความ
๕.การใช้สรรพนาม การเขียนย่อความไม่นิยมใช้สรรพยามบุรุษที่ ๑ และสรรพนามบุรุษที่ ๒ คือ ฉัน คุณ ท่าน แต่จะใช้สรรพนามบุรุษที่ ๓ เช่น เขา และไม่เขียนโดยใช้อักษรย่อ นอกจากนี้ หากมีการใช้คำราชาศัพท์ต้องเขียนให้ถูกต้อง ไม่ควรตัดทอน

รูปแบบของการเขียนย่อความ

การย่อนิทาน
ย่อนิทานเรื่อง .................................................. จากหนังสือ ....................................................
ผู้แต่ง .......................................................................................................................................
ความ ว่า...................................................................................................................................

การย่อข่าว
ย่อข่าวเรื่อง ...................................................... จาก ................................................................
ความ ว่า ....................................................................................................................................

การย่อบทความ
ย่อบทความเรื่อง ................................................ ของ ..............................................................
จาก ..........................................................................................................................................
ความ ว่า ....................................................................................................................................

การย่อประกาศ
ย่อประกาศเรื่อง ..................................................... ของ ............................................................
แด่ ........................................................................ ในโอกาส .....................................................
เมื่อ .................(วันเดือนปี).................................... ความว่า .......................................................
.....................................................................................................................................................

ตัวอย่าง การเขียนย่อนิทาน

  เรื่อง กวางกับเสือ
    กวางตัวหนึ่งหากินตามชายป่า และเล็มหญ้าเหลือบเห็นนายพรานใหญ่
  ถือหน้าไม้เดินด้อมมาแต่ไกล  ก็ตกใจโดดหนีรี่เข้าดง
  พรานสะกดรอยรุกไม่ละลด กวางเห็นหมดช่องหวังดังประสงค์
  ก็หลบเข้าถ้ำเสือดังจำนง เสือหมอบลงไม่ให้กวางเห็นตัว
  ปล่อยให้เข้าก้นถ้ำกระโจนจับ ปากงับคอฟัดสะบัดหัว
   ก่อนสิ้นใจกวางร้องเสียงระรัว อันตรายย่อมมีทั่วทุกแห่งไป
    เราหนีคนพ้นแล้วปะเสืออีก  สุดเลี่ยงหลีกชีวิตปลิดตักษัย
  จาก นิทานอีสปคำกลอน ของ ฉลอง ศุภการ

ย่อนิทานเรื่อง  กวางกับเสือ จากหนังสือ นิทานอีสปคำกลอน ผู้แต่ง ฉลอง ศุภการ
ความว่า กวางตัวหนึ่งหนีนายพรานโดยเข้าไปหลบอยู่ในถ้ำของเสือ เสือจึงจับกวางกินเป็นอาหาร

ให้นักเรียนย่อความจากข้อความต่อไปนี้

ที่

ข้อความ

สาระสำคัญที่ย่อ

  การอนุรักษ์กล้วยไม้ของไทย ทุกฝ่ายต้องตระหนักถึงความสำคัญและช่วยเหลือกันอย่างจริงจัง ไม่เช่นนั้นปัญหาการลักลอบนำกล้วยไม้จากว่าออกมาขายก็ไม่สามารถแก้ได้  นอกจากนี้  ภาครัฐต้องมีมาตรการที่เข้มงวด โดยเฉพาะกฎหมายที่จะลงโทษผู้ค้าทั้งขายปลีกและส่ง  รวมทั้งจัดหาอาชีพให้แก่อดีตผู้ค้ากล้วยไม้ป่าเพื่อจะได้มีอาชีพรองรับและไม่กลับมาค้าอีก

  การอนุรักษ์กล้วยไม้ของไทย ทุกฝ่ายต้องตระหนักถึงความสำคัญและช่วยเหลือกันอย่างจริงจัง

  สุนทรภู่ได้เสียชีวิตไปแล้ว  สิ้นไปในวาระที่ท่านกลับได้ดำรงเกียรติอันควรแก่ปรีชาสามารถของท่าน คือเมื่อท่านได้เป็นพระศรีสุนทรโวหารเจ้ากรมอาลักษณ์ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  แต่นามเดิมและวรรณคดีของท่านยังอยู่โดยความดีงามและคุณค่าในตัวเอง เราได้รับทั้งความบันเทิงและความสะเทือนใจในรสแห่งคติธรรมอันแสดงออกโดยภาษาอันไพเราะซาบซึ้งใจจากวรรณคดีที่ท่านฝากไว้

แม้สุนทรภู่ได้เสียชีวิตไปแล้ว  แต่ชื่อและผลงานที่มีคุณค่าของท่านยังคงอยู่

งานเขียนเช่นเดียวกับอาหาร  บางชนิดทำให้ร่างกายเติบโต บางชนิดเป็นวิตามิน ทำให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า  บางชนิดบำรุงสมอง ปัญญา บำรุงจิตใจ  สร้างพลังงาน  จะเขียนอย่างไรก็ได้  ข้อสำคัญ คือ ไม่ควรปรุงอาหารบูด อาหารเป็นพิษแก่ร่างกายที่มีแต่โทษไม่ให้คุณหรือสร้างสรรค์อะไร

งานเขียนให้ทั้งคุณและโทษ  ผู้เขียนควรเขียนแต่งานที่ดี

  ปัจจุบันนี้ชีวิตของเยาวชนตกอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่เป็นอบายมุข ได้แก่ สุรา ยาเสพติด การพนัน และสถานเริงรมต่างๆ ถ้าเยาวชนมีเวลาว่างมากเกินไปก็อาจถูกชักจูงไปสู่อบายมุขด้โดยง่าน  หากเยาวชนตกเป็นทาสของอบายมุข แล้วก็อาจจะกลายเป็นอาชญากรในที่สุด  กีฬาจึงเป็นกิจกรรมยามว่างที่สำคัญ  จึงจะช่วยป้องกันไม่ให้เยาวชนหันเหไปสู่อบายมุขได้

การป้องกันไม่ให้เยาวชนสนใจอบายมุข คือให้เล่นกีฬาในยามว่าง

ค่าของชีวิต

นานมาแล้ว ... มีพระราชาผู้หนึ่ง ได้บอกกับคนขี่ม้าของเขาว่า  ถ้าเขาสามารถขี่ม้าไปครองพื้นที่ได้มากเท่าไรก็ตามพระราชาจะยกที่ดินนั้นให้กับเขา คนขี่ม้าจึงควบม้าของเขาไปอย่างรวดเร็ว เพื่อครอบครองที่ดินให้มากเท่าที่จะทำได้เขาเร่งควบม้าไปเรื่อย ๆ เร็วเท่าที่ม้าจะรับไหว ...เมื่อเขาหิว หรือเหนื่อย เขาก็ไม่หยุดควบม้าเพราะเขาต้องการครอบครองดินแดนให้มากเท่าที่จะเป็นไปได้เมื่อมาถึงจุดหนึ่งเขาหมดแรง และกำลังจะตาย เขาจึงถามตัวเองว่า ..." ทำไมเราถึงกดดันตัวเองอย่างหนักเพื่อให้ได้ครอบครองผืนดิน?ตอนนี้เรากำลังจะตาย และเราก็ต้องการเพียงแค่ที่ดินเล็ก ๆ เพื่อฝังศพตัวเอง "

  ... เรื่องข้างต้นก็เหมือนการเดินทางของชีวิตพวกเรา ...พวกเราผลักดันตัวเองอย่างทุกวันเพื่อให้ได้เงินมากๆ มีอำนาจ และ เป็นที่ยอมรับพวกเราละเลยที่จะดูแลสุขภาพของตัวเอง และคนรอบข้าง ...เราไม่มีแม้เวลาที่จะให้กับครอบครัว และชื่นชมกับสิ่งสวยงามรอบตัวหรือแม้กระทั่ง งานอดิเรกที่เรารัก เราก็ไม่มีแม้เวลาที่จะทำมันวันหนึ่งเมื่อเรามองกลับไป ... พวกเราจะตระหนักว่าสิ่งที่ต้องการนั้น จริง ๆ เรากลับไม่ได้มันมา ทั้งที่มันอยู่ใกล้เสียเหลือเกิน ...แต่สิ่งที่เราขวนขวาย และพยายามไขว่คว้า มันกลับไม่ได้ให้อะไรกับชีวิตเราเลย  แต่เมื่อเราไม่สามารถย้อนเวลากลับไปได้กับสิ่งที่เราพลาดไปในชีวิตไม่ใช่การสร้างเงิน สร้างอำนาจ หรือการยอมรับชีวิตไม่ใช่การทำงาน งานเป็นสิ่งสำคัญเพียงสิ่งเดียวที่ทำให้เราสนุกกับความงาม และความพึงพอใจของชีวิต ...แต่ ...ชีวิตคือความสมดุลของงาน และการเล่น ครอบครัวและเวลาส่วนตัว
... จงตัดสินใจว่าจะสร้างสมดุลให้กับชีวิตคุณอย่างไร?กำหนดลำดับความสำคัญของคุณเอง ตระหนักว่าอะไรที่คุณสามารถยอมรับได้  แต่จงตัดสินใจด้วยสัญชาตญาณของตัวคุณเอง ...ความสุขคือความหมาย และจุดมุ่งหมายของชีวิต ...ดังนั้น ... สร้างมันง่าย ๆ โดยทำในสิ่งที่คุณต้องการจะทำและซาบซึ้งกับธรรมชาติ ชีวิตนั้นเปราะบาง ชีวิตนั้นสั้นใช้ชีวิตอย่างสมดุล ในสไตล์ของคุณเอง และสนุกกับมันมองดูสิ่งที่คุณคิด มันจะกลายเป็นคำพูดมองดูคำพูดของคุณ มันจะกลายเป็นการกระทำมองดูการกระทำของคุณ มันจะกลายเป็นนิสัยติดตัวมองดูนิสัยของคุณ มันจะกลายเป็นบุคลิกมองดูบุคลิกของคุณ มันจะกลายเป็นโชคชะตา
  แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือตัวคุณที่จะกำหนดตัวคุณเอง

ที่มา http://www.oknation.net/blog/post.php?blog_id=56479&type=blog&menu=menu0

ย่อ........................................... เรือง...................................................ของ.............................................

จาก............................................หน้า........................ความว่า.....................................................................................

...................................................................................................................................................................................

...................................................................................................................................................................................

ใบงานย่อความ

ย่อ........................................... เรื่อง...................................................ของ............................................................

จาก............................................หน้า........................ความว่า.....................................................................................

........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................


คำสำคัญ (Tags): #ใบงานที่ ๗
หมายเลขบันทึก: 518432เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2013 18:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2013 18:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ไม่มีเฉลยแบบฝึกหัดหรือคับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท