แสดงความยินดี กับลูกศิษย์ PBL (Problem based learning) ชุดแรก ประจำปี 2555


สวัสดีครับ สำหรับวันนี้ ผมขออนุญาตมาแสดงความยินดีกับลูกศิษย์ PBL ที่ผมนำมาประยุกต์ใช้ในวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งนำมาใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 ในจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งผมขอบอกเล่าเกี่ยวกับห้องเรียนนี้ในปี2555 ที่ผ่านมาก่อนน่ะครับ




ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ PBL (Problem based learning) ที่ผมได้นำมาใช้คือการนำห้องเรียนที่ให้ครูเป็นผู้เลือกเนื้อหามาใช้ในการเรียนการสอนปรับเปลี่ยนใหม่ โดย การให้ผู้เรียนเลือกเนื้อหาที่สนใจ ขึ้นมาเรียนก่อน ซึ่งเป็นการเสริมแรงในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี แต่สิ่งที่สำคัญคือผู้สอนต้องพยายาม ปรับเนื้อหาให้อยู่ในกรอบของหลักสูตรแกนกลางให้มากที่สุด โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

1 วางแผน :: เป็นการพูดคุยร่วมมือกันกับผู้เรียนถึงทรัพยากรที่มี กับ ทรัพยากรที่ต้องการ (ทรัพยากรที่ว่า หมายถึง หลักสูตร เนื้อหา สื่อการสอน และอื่นๆ)

2 ลงมือปฏิบัติ :: การนำกระบวนการที่ได้วางแผนมาใช้ในการสอน โดยยึดหลักที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองให้มากที่สุด เช่น แบบฝึกหัด การทดลอง รายงาน ซึ่งในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน จะมีการทำ KM'classroom แลกเปลี่ยนความรู้ที่ผู้เรียนได้ โดยผู้สอน เป็นผู้ให้คำแนะนำ สำหรับการศึกษาขั้นต่อไป ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายที่นักเรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความชอบ แต่มีปรับเนื้อหาให้ Advance มากขึ้นจากเนื้อหาที่หลักสูตรของชั้น ม.2 กำหนด แต่การสอนในภาคบรรยายก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีตามปกติ 

3. ตรวจสอบ ::  การตรวจสอบ สิ่งจะหมายถึง การทำ KM'classroom และการทำแบบทดสอบของนักเรียนเพื่อวัดผล ประเมิณผล ในสิ่งที่ได้เรียนรู้ ที่ผ่านมา 

4. ปรับปรุง แก้ไข. :: การปรับปรุงแก้ไข ในเนื้อหาที่ผู้เรียนยังพลาด หรือ ยังไม่มีความเข้าใจ โดยสัปดาห์สุดท้ายของการเรียน จะเป็นการบรรยายสรุป สิ่งที่เรียนมาตลอดภาคการศึกษา และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ นำเสนอความรู้ที่ตัวเองได้ทำการศึกษา ตลอดภาคการศึกษาที่ผ่านมา


บทสรุป

1. ผู้เรียนสามารถใช้สื่อเทคโนโลยีในการศึกษา เนื้อหาที่ตนเองสนใจได้เป็นอย่างดี ประเมิณจากการนำเสนอช่วงท้ายของการเรียน

2.  ผู้เรียนจะมีความสนใจน้อยในเนื้อหาที่ตนเองไม่ได้ศึกษา เช่น หากผู้เรียนศึกษาเรื่องระบบในร่างกาย จะไม่สนใจฟังบรรยายในเรื่อง แรง และ การเคลื่อนที่ (ฟิสิกส์) 

3. การทำ PBL ต้องมีการกระตุ้นโดยตลอด และ ติดตามผลผู้เรียนอย่างเป็นระยะ

4. ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาผู้เรียนสูงขึ้น (วัดจากการทดสอบ ก่อน-หลัง เรียน) 

5. การทำPBL ผู้เรียนจะเข้าใจเนื้อหาที่ยาก ได้ง่ายมากกว่าการฟังบรรยายเพียงอย่างเดียว



สุดท้ายขอแสดงความชื่นชมและยินดีกับนักเรียนทุกคนที่ให้ความร่วมมือกับการสอนรูปแบบนี้ครับ

พันเทพ 


คำสำคัญ (Tags): #พันเทพ กู่นอก
หมายเลขบันทึก: 518410เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2013 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2013 16:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขออนุญาตนำไปบอกเล่า อ้างอิงถึง ต่อไปนะครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท