เบอรี_ป้องกันโรคหัวใจ+อะไรป้องกันมะเร็งเต้านม



.
สำนักข่าว Telegraph ตีพิมพ์เรื่อง 'Blueberries and strawberries could cut heart attack risk in women: research'
= "บลูเบอรี และสตรอเบอรีลดเสี่ยงโรคหัวใจในผู้หญิง: (การ)วิจัยพบ", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.

.
ภาพที่ 1: บลูเบอรี (blueberry) [ wikipedia ]
.

.
ภาพที่ 2: แผนที่โลก แสดงแหล่งปลูกบลูเบอรีที่สำคัญได้แก่ ครึ่งตะวันออกของสหรัฐฯ ตุรกี ยุโรปตะวันออก เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น [ wikipedia ]
.

.
ภาพที่ 2: สตรอเบอรี (strawberry) [ wikipedia ]

เบอรี (berry/berries) เป็นผลไม้ที่หวานน้อย มีสารพฤกษเคมี หรือสารคุณค่าพืชผักที่มีฤทธิ์เป็นยา ป้องกันโรคสูง โดยเฉพาะสารกลุ่มฟลาโวนอยส์ (flavonoids) ที่พบในโกโก้ ชอคโกแล็ตสีเข้ม องุ่น ไวน์แดง แบลคเบอรี และมะเขือม่วง (eggplant)
.
กลไกที่เป็นไปได้ คือ สารฟลาโวนอยส์ทำให้หลอดเลือดยืดหยุ่น ขยายตัวได้อย่างพอดี และช่วยต้านการเกิดคราบไข (plaque) ที่ผนังหลอดเลือดแดง
.
ศ.อีริค ริมม์ และคณะ ทำการศึกษา (ตีพิมพ์ใน Circulation) ในกลุ่มตัวอย่างผู้หญิง อายุ 25-42 ปี จำนวน 93,600 คน
.
ผลการศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่กินบลูเบอรี และสตรอเบอรีมากที่สุด ลดเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจกำเริบ (heart attack) = 32%
.

.
เมืองไทยมีผลไม้กลุ่ม "เบอรี (berry/berries)" อย่างหนึ่ง คือ มาวเบอรี (malberry; ภาษาอังกฤษ ตัวสะกด 'L' ออกเสียงคล้ายสะกดด้วย "ว" หรือสระ "อัว") หรือลูกหม่อนสีม่วงแดงเข้ม
.
อ.นพ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผอ.สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ว่า
  • ผู้หญิงไทยเสี่ยงมะเร็งเต้านมมากเป็นอันดับ 1, อันดับ 2 = มะเร็งปากมดลูก
  • น้ำหนักขึ้นหลังหมดประจำเดือนทุกๆ 1 กก. > เพิ่มเสี่ยง 1%
  • ออกกำลัง 30 นาที/วัน > ลดเสี่ยง 20-30%
สรุป คือ อ้วนไม่ฟิตเสี่ยงมะเร็งเต้านมมากที่สุด
.
นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ว่า ถ้าอ้วนแล้ว... ขอให้รีบเปลี่ยนเป็นอ้วนฟิตให้เร็วที่สุด, ฟิตแล้ว ขั้นต่อไป คือ ค่อยๆ ลดน้ำหนักไปทีละน้อย
.

.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ


 > [ Twitter ]

  • Thank > http://www.telegraph.co.uk/health/healthnews/9800483/Blueberries-and-strawberries-could-cut-heart-attack-risk-in-women-research.html
  • ขอบพระคุณ > http://www.thairath.co.th/content/life/323531
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 31 มกราคม 56. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
 


หมายเลขบันทึก: 517976เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2013 07:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มกราคม 2013 07:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท