สุขภาพดี แบบ ปรนัย


สุขภาพดี แบบ ปรนัย

ได้อ่านหนังสือ “สังคมปรนัย” ของ นายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ เป็นอะไรที่อยู่ในใจเป๊ะเลย ชอบมากหนังสือเล่มนี้   อาจารย์เปรียบเปรยสังคมทุกวันนี้เป็นแบบปรนัย  ดูว่าทุกอย่างจะมีคำตอบ 1 2 3 4 ..... ไว้แล้ว  หากเราไม่เลือกตอบในข้อที่กำหนดถือว่า ผิด  น่าแปลก   

  อย่างการวัดผลเรื่องสุขภาพดี   ตัวชี้วัดงานทางด้านสุขภาพของหน่วยงานหนึ่ง นั้นออกแบบไว้ เป็นปรนัย  เห็นแล้วอึ้ง  ว่า คนคิดช่างคิดได้ที่พยายามจับสิ่งที่เป็นอัตนัยมาเป็นปรนัย  อย่างชัดเจน 

เช่นมีสังคมหนึ่ง ทำเรื่องตัวชี้วัดการออกกำลังกาย  ทุกคนในหน่วยงานต้องมาร่วมออกกำลังกายสัปดาห์ละ 1 วัน  แล้วมาเซ็นชื่อในสมุด  ว่าเรามาออกกี่ครั้ง  โดยมีชนิดกีฬา  ให้เลือกออกเพียงอย่างเดียว  หากคุณไปออกกำลังกายอย่างอื่นถึงจะออกทุกวัน  ก็ตาม  แต่หากคุณไม่มาออกกำลังกายแบบนี้ในวันนี้ ถือว่า ไม่ได้ออกหรือไม่ร่วมกิจกรรม  เช่นคนหนึ่งไปร่วมกิจกรรมนี้ทุกวัน  เขาทำกันครึ่งชั่วโมง  ฉันไป 5 นาทีท้าย ทันเซ็นชื่อ  ทุกครั้ง  อีกคนไม่ชอบกิจกรรมนี้ แต่ออกกำลังกายทุกวันชนิดอื่น  ไม่ไปเซ็นชื่อ  ผลการประเมินกิจกรรมการออกกำลังกาย  คนแรกผ่าน  คนหลังไม่ผ่าน  เห็นแล้วน่าขันนัก 

ข้าพเจ้าว่า อะไรที่มันสามารถมีคำตอบได้หลากหลาย แล้วแต่ละคำตอบมันก็ไม่ผิด  เพียงแต่ว่าจะถูกมากหรือถูกน้อยเท่านั้น  ก็อย่าพยายามที่จะหาข้อสรุปคำตอบเลย มันยากไปมั๊ย?

คำตอบที่ต้องดูบริบทของแต่ละคน แต่ละ ร่างกาย  แต่ละความถนัด  มันก็น่าจะถูกในแบบของเขาเราสามารถสรุป รวบยอด จากผลลัพธ์ทางสุขภาพ ได้  อยู่แล้ว  ว่าแต่ละคนมีผลลัพธ์ตอนตรวจสุขภาพ สมรรถภาพทางร่างกายเป็นอย่างไร 

ซึ่งจะว่า ไปก็ หน่วยงานที่พยายามจับคุณภาพตรงนี้ นั้นก็คงไม่ผิด  เพราะโดนบีบแนวคิดมาจากระดับนโยบายว่าการวัดผลลัพธ์ของการออกกำลังกาย  นั้น คุณจะต้องออกแบบนี้  เวลาเท่านี้  อย่างน้อยสัปดาห์ ละ 3 วัน วันละ 20-30 นาที  นี่ถึงจะออกกำลังกาย  แล้วต้องมีลายเซ็นด้วยนะ  เวลาไปนิเทศจะได้รู้ว่าออกกำลังกายจริงหรือเปล่า  ทางพื้นที่ก็ตอบสนองนโยบายอย่างชัดเจน โดยไปใช้เกณฑ์กับชาวบ้าน ให้ อสม. ไปเดินให้ชาวบ้านเซ็นชื่อร่วมออกกำลังกาย  สัปดาห์ ละ 3 วัน  ด้วย กิจกรรมนี้ 

พอทีมนิเทศมาดู ไหนมีกิจกรรมออกกำลังกาย ?  มีคนเข้าร่วม?  ตามเป้าหรือเปล่า ?  ทางพื้นที่บอก อ้อ มี หลักฐานครบ  ทีมนิเทศให้ผ่าน  แต่ ในหมู่บ้าน  ความดัน เบาหวาน  โรคอ้วนเพียบ  นั้นไม่ดู  ข้าพเจ้าล่ะ งง??????

เจ้าหน้าที่ๆไปประเมินชาวบ้านนั้นก็ เดือนหนึ่งจะได้ออกกำลังสักครั้งก็ยาก  แต่ชาวบ้าน ไปสวนไปนา  ดายหญ้า  แบกฟาง ทุกวัน  เจ้าหน้าที่บอก นั่นไม่ใช่การออกกำลังกาย  บอกเป็นการทำงานหนัก  แต่ลอง ขึ้นภูกระดึงแข่งกัน  เจ้าหน้าที่คนนั้นกับชาวบ้านใครจะชนะเอ้า ยังอุตสาห์กล้าบอก ว่าชาวบ้านคนนั้นประเมินการออกกำลังกายไม่ผ่าน  ตลกอ่ะ !!!!!!!!!

ในการหาคำตอบของเรื่องบางเรื่องนั้น วัดผลทางปริมาณ ไม่ได้  ก็อย่าพยายามหา ทางวัดเลย  ควรจะดู ในด้านคุณภาพ ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ควร ตั้ง คำตอบไว้ในใจว่า  คุณภาพจะต้อง เป็น 1 2 3 4 …… ควรดูตามบริบท ของแต่ละเรื่อง ซึ่งมีความสัมพันธ์ กับ กิจกรรม ตัวบุคคล  สถานที่  ธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ฯลฯ  ที่เกี่ยวข้องด้วย

  นี่เป็นเพียงมุมมอง หนึ่งซึ่งข้าพเจ้าคิดและมีคำถามในใจ แต่นึกไม่ออกว่าจะใช้คำว่าอะไร จนกระทั่งได้อ่านหนังสือของ  อาจารย์โกมาตร  จึงถึงบางอ้อ ว่า ใช่เลย  สังคมปรนัยจริงๆ  และยังมีอีกหลายๆ  มุมมองที่ความจริงคำตอบมันเป็นอัตนัยในตัวของมัน แต่ก็ยังมีคนพยายามจับใส่ปรนัยให้ได้  แล้วแถมภาคภูมิใจด้วยนะว่า  “ข้านี่แหล่ะคิดวิธีวัดเรื่องนี้ได้”  ทั้งๆที่เป็นเรื่องที่วัดยากมาก  แต่ดูเหมือนการคิดแบบปรนัยนี้  จะกระจายทั่วในสังคมเราซะแล้ว  ขนาด คนดี  ยังอุตส่าห์ มีคนพยายามหาเกณฑ์มาวัดว่าแบบนี้เป็นคนดี  เฮ้ย .......! 

.......... สังคมปรนัย ..........................

หมายเลขบันทึก: 517969เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2013 05:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มกราคม 2013 05:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

..ชอบ..มากจ้ะ..สังคม..ปรนัย..(บังเอิญเกิดตอน..อัตตนัย..ฮิต..เข้ามหาลัย..เปลี่ยนเป็น...ปรนัย...อ้ะะๆๆ)."ตอนนี้ก็เป็นยายแก่ธรรมดาๆ..ยายธี

คุณยายธี ไม่แก่และไม่ธรรมดาเลย ติดตามตลอด

คุณชลัญ...ผมได้หมด ปรนัย อัตนัย และสัมภาษณ์ ก็ได้

งานราชการบ้านเราก็เลยไม่ค่อยพัฒนานี่แหละค่ะ น้องโจ้ เพราะความที่มีคนเอากฎเกณฑ์ที่ไม่ยืดหยุ่น ไม่ดูบริบท (ไม่ใช้หัวสมองคิด) มาใช้ในการทำงานต่างๆ แทนที่จะดูบริบทแล้วปรับใช้ให้เหมาะสม เราชอบเอามาตรฐานเดียวมาครอบไปเสียทุกอย่าง ถ้าคนทำงานเป็นแบบไม่ยอมใช้สมองด้วยก็เลยออกมาแบบที่เราเห็นๆกันมากมายนี่แหละค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท