โปรดช่วยกัน KM ในภาคชนบท


ผมเขียนบันทึกนี้จาก บ้านรับรอง ธนาคารแห่งประเทศไทย สาขาตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น เวลา ๔:๔๕ น.

ท่านผู้อำนวยการ สาขา  ผู้อำนวยการอาวุโส ดร. พิชิต ภัทรวิมลพร ได้กรุณาเชิญผมเป็นผู้ร่วมสังเกตการณ์ในโครงการเผยแพร่ความรู้

ของเกษตรกร ผู้ประกอบอาชีพสำเร็จอย่างแท้จริง และผู้ที่พร้อมจะถ่ายทอด บทเรียนชีวิตเพื่อคนรุ่นปัจจุบันและอนาคตได้นำไปใช้สร้างชีวิต

ของตนให้ ประสบความสุขความสำเร็จบ้าง

        ทีมของเราประกอบด้วย นักเศรษฐ์ศาสตร์ ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)๓ คน เจ้าหน้าที่่สินเชื่อ ของ ธกส. สาขาอำเภอ

ภูเวียง และอำเภอ กระนวน ช่างภาพ ของ ธปท. และผม

         เราได้ไปพบสนทนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับ เกษตรกร ๔ ราย ซึ่งใช้บริการ ธกส. และถูกจัดชั้นเป็น ลูกค้าแบบอย่าง ดังนี้

        อำเภอ ภูเวียง : คุณ( ตา ) อ่อนศรี ( อายุ ๗๒ปี แต่ฟิตปั๋ง )ผู้เปลี่ยนอาชีพจากการปลูกอ้อยที่ร่ำรวย เป็นผู้ปลูกพืชผักพื้นบ้าน

 ปลอดสารพิษ (จริงๆ ) เมื่ออายุ ๕๗ปีภายหลังป่วยเจียนตายด้วยสารพิษเคมีตกค้าง ในสวน ๗๔ไร่ของคุณตา ปลูกพืชกินได้ขายได้

 ๔๒. ชนิด ขายผักพื้นบ้านยอดนิยม ที่ตลาด ภูเวียงวันละ ๕๐๐+ บาททุกวัน. รายได้จาก " พืชนางเอก ". หน่อไม้ไผ่ นอกฤดู.    

 สะเดาทะวาย  ผักอีรอก (บุกกินหัว/ใบได้ชนิดหน่ึง ). ประมาณปีละ ๓๐๐,๐๐๐ บาท. และมี "พืชมรดก " ไว้ให้ลูกหลานเป็น

ไม้ยางนา ๔๐๐ ต้น ไม้แดง ๒๐๐ ต้น มูลค่า พ.ศ. ๒๕๗๐ ประมาณ ื๑๐ล้านบาท (ราคาปัจจุบัน ) คติของคุณตาอ่อนศรีมีว่า

" คนไทยต้องรักดิน ( ผืนดิน ) ชาติต่างๆเขาหมดดินดีๆจะเพาะปลูกอาหารทั่วโลก เขาแสวงหาแผ่นดินกันอยู่ แต่ ลูกหลานไทย

ดูถูกดิน ทิ้งดินไปหากินในเมือง "  บทเรียนทางวิชาการจากสวนของคุณตา ที่ผมพอจะประมวลได้คือ

          ๑) พืชผักพื้นเมืองมีค่า เพิ่มขึ้นตลอดเวลา เพราะไม่มี ป่าจะเข้าไปหาเก็บ. แต่คนชนบทที่เข้าเป็นลูกจ้างในเมืองยังถวิลหา

      ผักคุ้นรสปาก( โดยเฉพาะที่รับรองปลอดสารพิษ )

           ๒) ความเอาใจใส่ใกล้ชิดจนรู้อัธยาศรัย ของพืช แต่ละชนิด ( คุณตาว่า "คุยกับ ' เขา ' ทุกวัน ) ทำให้สามารถวางแผนการผลิต

    ท่ีหลีกเลี่ยงการประดังของผลผลิตตามฤดูกาล ( ราคาตกต่ำ ) ทำให้ผักชนิดเดียวกันได้ราคา ๑-๒ เท่า จากสวนของคุณตา

         ๓) ความประณีต + ความริเริ่ม + ความเพียร + ความกล้าคิดกล้าทำ คือสูตรความสำเร็จ

       คุณตา เป็นวิทยากร ให้ ธกส.  จังหวัดขอนแก่น ตลอดมาตั้งแต่เป็นที่ยอมรับในปี ๒๕๔๘ จดสถิติไว้ว่าผู้รับการถ่ายทอดวิชาการ

ประมาณ ๒๔๖๐ รายนำไปทำสำเร็จ ๓๐รายเศษ  และยังสังเกตว่า  ร้อยละ ๖๐ ของผู้ที่ทางการออกเงินให้ไปรับการอบรมหลับสนิท

ในชั้นเรียน

        คุณตา อายุ ๗๒ ปี แต่แคล่วคล่องว่องไว เหมือนคนอายุ ๕๐ ปี เป็นคนไม่ชอบเลี้ยงสัตว์ แต่มีหมาดำ ๑ตัว (มีลูก ๑๕ตัว ) และ

หมาแดง ๑ ตัว ออกลูกทีละ ๙ ตัว ไว้เป็นเพื่อน นานๆก็ ให้หมาแดงเห่า พร้อมออกลูก ๒-๓ ครอก เตือนพวกทำเกษตรทางลัด

        ธปท. บันทึกภาพ/เสียง ของบทเรียน จากคุณตาอ่อนศรี เป็นอันมาก

         คราวหน้าผมจะเล่าเรื่องคุณถนอม หญิงอึดผู้สร้างตนจาก คนรับจ้างในไร่อ้อย จนเป็นผู้ปลูกอ้อย ๖๐๐ไร่ และมีลูกไร่อีก 

 กว่า ๒๐๐๐ ไร่ มีรถขนอ้อย ๑๐ล้อ ๒ คัน รถพ่วง. ๑๘ ล้อ ๒ คัน ( รถทั้ง ๔คันนี้ อุทิศให้บริการ ขนหิน ดิน ทราย ให้หลวงปู่หลวงพ่อ

ตลอดพฤษภาคมถึง กันยายน นอกฤดูตัดอ้อย .....ฟรี ) รถตัดอ้อย แบบฝร่ังใช้ ราคา ๑๕ ล้านบาท ๑ คัน ผ่อนส่ง ธกส. ๖ปี

     อาจารย์ JJJ ครับ. หันเข็มทิศ KM ออกชนบท และเล็งลูกดิ่งทาง รากหญ้าเพิ่มขึ้นจะดีนะครับ











หมายเลขบันทึก: 517837เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2013 06:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มกราคม 2013 06:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท