วิกฤติการเงินโลก ยังต้องบริหารความเสี่ยงทางการเงินที่มีประสิทธิผล


อาจารย์จิรพร สุเมธีประสิทธิ์

[email protected]

ภายหลังการเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและระบบสถาบันการเงินในสหรัฐที่เรียกว่า “Sub-prime” หรือแฮมเบอร์เกอร์ และวิกฤติการณ์หนี้สินภาครัฐบาลในยุโรปขึ้น

การบริหารความเสี่ยงทางการเงินได้กลับมาสู่ความสนใจของกิจการต่างๆอีกครั้งหนึ่ง เพราะเชื่อว่ากระบวนการบริหารความเสี่ยงทางการเงินที่มีประสิทธิภาพจะแยกแยะกิจการที่อยู่รอดออกจากกิจการที่ต้องปิดตัวเอง

ตัวขับเคลื่อนความเสี่ยงทางการเงินที่สำคัญซึ่งหลายกิจการยังคงกังวลว่าอาจจะต้องเผชิญหน้าและส่งผลต่อความสำเร็จของผลดำเนินงานเทียบกับเป้าหมาย ได้แก่

(1)  ความเสี่ยงด้านเครดิต อันเนื่องมาจากการมีลูกหนี้การค้า ลูกหนี้เงินกู้ คู่สัญญาของกิจการ

(2)  ความเสี่ยงด้านตลาดที่มาจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ราคาโภคภัณฑ์สำคัญและอัตราดอกเบี้ย

ทั้ง 2 ประการนี้มีผลกระทบต่อกระแสการไหลของเงินรายรับจากการดำเนินงาน หรือรายจ่ายจากการดำเนินงานของกิจการ สภาพคล่องระยะสั้น และผลประกอบการของกิจการในที่สุด

การพิจารณาเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงทางการเงินของกิจการ มีประเด็นที่สำคัญ ได้แก่

ประการที่ 1

องค์ประกอบของการบริหาร และตัดสินใจทางการเงินของกิจการมี 3 ส่วนสำคัญ

องค์ประกอบส่วนที่ 1

การตัดสินใจด้านการลงทุนถือครองพอร์ตสินทรัพย์ การจัดสรรเงินทุน  เพื่อการลงทุน และการขยายฐานลูกค้า

องค์ประกอบส่วนที่ 2 

การจัดหาเงินทุน ที่มาจากการก่อหนี้และการเพิ่มส่วนของผู้ถือหุ้น
องค์ประกอบส่วนที่ 3

การบริหารความเสี่ยง ซึ่งเป็นการระบุ วิเคราะห์ ประเมินความเสี่ยง และจัดการกับความเสี่ยง การติดตามความคืบหน้าของการดำเนินการ

ประการที่ 2

การป้องกันความเสี่ยงทางการเงินผ่านเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงแยกออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่

(1)  การบริหารความผันผวนหรือความแปรปรวนและทิศทาง ได้แก่ เครื่องมือประเภท Options และCaps หรือ Floor

(2)  การบริหารความเสี่ยงจากทิศทางการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ Forwards Contract, Future Contract และ Swaps

(3)  การบริหารความเสี่ยงด้วยเครื่องมือที่มีความซับซ้อน ได้แก่ Exotics, Hybrids,และตราสารประเภท Structured

ประการที่ 3

กิจการที่ควรจะให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงทางการเงินมากเป็นพิเศษ ได้แก่กิจการที่

(1)  ผลิตภัณฑ์ต้องการบริหารหลังการขาย

(2)  ผลิตภัณฑ์ที่กำหนดคุณภาพล่วงหน้าได้ยาก

(3)  ผลิตภัณฑ์ที่มีต้นทุนของการปรับเปลี่ยนรูปแบบสูง

(4)  ผลิตภัณฑ์ที่ต้องพึ่งพาบริการบุคคลที่ 3 หรือ Outsourcing

(5)  มีโอกาสเติบโตสูง

(6)  สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน อย่างเช่น ทุนมนุษย์มีความสำคัญสูง

ประการที่ 4

สัญญาณเตือนที่บ่งบอกอันตรายด้านความเสี่ยงทางการเงินในกิจการอาจจะพิจารณาได้จากหลายสัญญาณ
เช่น

(1)  การที่กิจการไม่ได้วิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงอย่างจริงจังและไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์

(2) การที่กิจการไม่ได้เชื่อมโยงความเสี่ยงกับคุณค่าหรือมูลค่าของกิจการ

(3) การที่กิจการไม่ได้ใช้ความพยายามในการประเมินความเสี่ยง

(4) การที่กิจการขาดนโยบายความเสี่ยงทางธุรกิจ

(5) การที่กิจการมีความพยายามแต่เป็นส่วนๆ ไม่ได้บูรณาการและดำเนินทั่วทั้งองค์กร

(6) การที่กิจการสนใจความเสี่ยงทางการเงินในวงแคบ

(7) การที่กิจการมีการสื่อสารความเสี่ยงที่ไม่มีประสิทธิภาพ

(8) การที่กิจการขาดกรอบแนวทางการเข้าถึงความเสี่ยงอย่างบูรณาการ

ประการที่ 5

จุดเริ่มต้นของการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน คือ การจัดทำนโยบายบริหารความเสี่ยงทางการเงินและกรอบแนวทางของการควบคุมความเสี่ยงทางการเงิน

(1)  กิจการควรจะพัฒนากรอบและขอบเขตที่ควรจะใช้กำหนดเป็นนโยบายหรือการปรับปรุงเอกสารที่ใช่อยู่ในปัจจุบัน

(2)  กิจการควรจะควบคุมส่วนที่ถือว่าเป็น Benchmark และแนวพึงปฏิบัติที่ดี (Best Practices) เพื่อให้มั่นใจว่าการบริหารความเสี่ยงทางการเงินเป็นไปอย่างมีบรรทัดฐาน และเป็นไปอย่างเหมาะสม

(3)  กิจการควรจะให้น้ำหนักของการบริหารความเสี่ยงทางการเงินจากหน่วยงานส่วนกลางในฐานะรวมศูนย์ด้านนโยบายและกลยุทธ์และให้อำนาจแก่หัวหน้างานระดับภูมิภาคบางส่วนเพื่อให้ดำเนินการได้ทันท่วงที

ประการที่ 6

หลังจากการกำหนดนโยบายได้ชัดเจนและเป็นที่ยอมรับแล้ว กิจการควรจะหาทางวัดและประเมินสถานะความเสี่ยงทางการเงิน โดยรวมถึงสถานะของความเสี่ยงย่อยในด้านเครดิต ความเสี่ยงย่อยในด้านตลาด และความเสี่ยงย่อยในสภาพคล่อง โดยพิจารณาว่ามูลค่าของกิจการถูกกระทบจากความผันผวนของกระแสการไหลของเงินสด หรือความผันผวนและไร้เสถียรภาพทางการเงินมากน้อยขนาดไหนตามประเภทของสถานะของความเปลี่ยนแปลงทางการเงิน

(1) Transaction Exposure เป็นรายการในงบกำไร-ขาดทุน

(2) Translation Exposure เป็นรายการในงบดุล ส่วนที่เป็นสินทรัพย์และหนี้สิน

(3) Economic Exposure เป็นรายการที่ตีค่าด้วยค่าทางเศรษฐศาสตร์ในส่วนที่เป็นความเสี่ยงทางธุรกิจของกิจการที่มีความไวหรือความไหวตัวต่อราคาตลาด

ประการที่ 7

แหล่งข้อมูลที่จะใช้ในการบริหารความเสี่ยงทางการเงินประกอบด้วย

(1) Current Trade Flow Data การไหลของธุรกรรมที่เป็นทางค้าปัจจุบัน

(2) Portfolio System Reports รายงานระบบพอร์ตด้านสินทรัพย์ลงทุนของกิจการ

(3) Accounting Information สารสนเทศจากการบันทึกบัญชี

(4) Budgeted Trade Flow Dataการไหลของธุรกรรมที่เป็นทางค้า ซึ่งกำกับด้วยวงเงินงบประมาณ

(5) Economic ExposureEstimates การประมาณการสถานะของการด้อยค่าทางเศรษฐศาสตร์

ประการที่ 8

ตัวขับเคลื่อนความเสี่ยงทางการเงินที่สำคัญของกิจการได้แก่

(1) Uncertain Markets ตลาดไม่แน่นอนหรือมีความเปลี่ยนแปลง

(2) UncertainExposure สถานะที่มูลค่าไม่แน่นอนหรือความเปลี่ยนแปลงตามตลาด

(3) Wrong Risk Measurement Methods วิธีการวัดและประเมินผลความเสี่ยงผิดพลาด

หมายเลขบันทึก: 517517เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2013 15:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มกราคม 2013 15:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท