การเดินทางกับการสำรวจภายใน


เมื่อวาน ได้ไปคุยกับคุณลุงท่านหนึ่ง ท่านป่วย ด้วยการวินิจฉัยว่า มะเร็งระยะสุดท้าย การให้ยาเคมีในครั้งนี้เป็นเพียงการบำบัดอาการที่จะเกิดขึ้นจากตัวโรคที่มีการแพร่กระจายไปมากแล้ว.....

ใบหน้าที่ดูเฉยๆ ชายหนุมวัยเลยกลางคน ผิวสีแทน นั่งห้อยขาข้างเตียง หน้ามองยังเตียงข้างเคียงที่อาการหนัก ด้วยใส่เครื่องช่วยหายใจ และมีลูกหลานมารายล้อม 

หว้า เป็นสรรพนามแทนคำว่าลุงในภาษาท้องถิ่นอิสลามใต้เรา "หว้า  มาเยี่ยม คุยด้วยคนได้มั้ย (ภาษาใต้นะ) "ได้ "บทสนทนาก็เริ่ม สัมพันธภาพดำเนินไปอย่างสวยงาม เนื่องจากระหว่างการพูดคุย รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ จนเวลาก็ล่วงมาประมาณ 25-30 นาที แล้วเราก็กล่าวลากัน


สิ่งที่ได้เรียนรู้ และเกิดความรู้สึกดี คือ สิ่งใดที่เกิดขึ้นมาแล้ว ก็ผ่านไปแล้ว ไม่เคยกลับไปคิดเลย เพราะมันเป็นแล้ว ก็ต้องรักษาต่อเท่านั้น (หว้าอยู่กับปัจจุบันได้จริงๆ" 

หว้าเป็นพี่ชายของน้องอีก 5 คน ออกเรือนหมดแล้ว เคยแต่งงานแต่หย่าร้าง หลายปี ทำงานประมง มาตลอดชีวิต ตอนหลังก็ต้องเลิกเพราะปลาน้อยลง อาชีพนี้พม่ามาแล้วก็ สู้ไม่ได้กับนายทุน เค้าเล่นเอาเรือไปไว้กลางทะเลเลย มีเรื่องเล็กออกไปจับล่าในทะเล เอามาถ่ายเทเรือใหญ่ ทำกันทั้งวันทั้งคืน มีแต่พม่าทั้งนั้น เรือเล็กก็มารับเข้าฝั่ง เราก็จับสู้ไม่ได้ ด้วยต้นทุนและกำไร " ขณะที่ฟังเรื่องเล่า สายตา น้ำเสียงเป็นความภาคภูมิใจ ทำให้เราได้ประสบการณ์ในทะเลขอหว้ามามาก 

ในอดีต ทำงานไม่คิดอะไรมาก อนาคตไม่วางอะไรเลยเพราะเราตัวคนเดียว แต่เราก็ทำช่วยเหลือี่ๆน้องๆหลานๆตลอด จนถึงตรงนี้ ก็ได้พึงหลานๆนี้ละ  ต้นทุนชีวิตหว้า คือ หลานๆ หลานชาย 3 คน ที่เกิดจากน้องชายคนที่ 5 

ถามถึงอนาคต วางแผนอย่างไรบ้าง หว้าไม่ค่อยวางแผนอะไรเท่าไร แต่พอถึงตอนนี้จำเป็นแล้วที่ต้องวางแผน  ตั้งใจจะดูแลตนเองให้แข็งแรง เพื่อรอรับยาครั้งใหม่ ...........สิ่งที่ได้รับฟังไม่น่าเชื่อว่าจะมาจากคนที่บอกว่าไม่เคยวางแผนอะไรในชีวิตเลย เพราะตัวคนเดียว แต่สิ่งที่ได้รับฟัง หว้าเป็นคนที่วางแผนได้น่าสนใจมาก

ถามถึงการวางแผนเลือกการรักษาในอนาคตหากเกิดกรณีวิกฤติในชีวิต น้องชายคนที่ 5 เป็นผู้ตัดสินใจแทน ต้องการไปไม่ทุกข์ทรมาน ขยายคำว่าไม่ทุกข์ทรมาน คือไม่ใส่ท่อ ไม่ใส่เครื่อง ไม่เอาแบบข้างเตียงนี้ เพราะทรมาน หากสุดท้ายรักษาไม่ได้ ขอแบบนี้ ถามถึงบอกใครเรื่องแผนนี้บาง กะว่าจะไปคุยกับน้องชายและหลานๆ ภาระกิจค้างคาไม่มีอะไรแล้ว เดินหน้าหาอัลเลาะห์ (พระผู้เป็นเจ้าในศาสนาอิสลามเพียงอย่างเดียว) เมื่อก่อนไม่ได้ทำ แต่ตอนนี้ต้องเตรียมแล้ว หว้าบอกว่า หากจะไปขอไปที่บ้าน ...


ที่ได้เรียนรู้กับหว้าในครั้งนี้ คือ การอยู่กับปัจจุบันขณะเป็นเร่องที่ก่อสุขได้ เพราะอยู่กับความเป็นจริง ไ่ม่ใช่ความคิด ความคิดมักเป็นเรื่องที่ไม่อยู่กับปัจจุบัน แต่เมื่อถึงตอนหนึ่ง การวางแผนเล็กๆสำหรับอนาคตก็ดูจะมีพลังที่เป็นบวกเยอะ มนุษย์หากรู้สึกได้ถึงความมั่นคง ในเรื่องราวชีวิตตนเองได้ เยี่ยมเลย แต่ก็ต้องวางเหมือนกันว่าทุกสิ่งมักมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ การอยู่กับปัจจุบัน นั้นคือ มีสติ รู้ เข้าใจ และวางได้ หากไม่ได้ก็เรียนรู้กับมัน เอ๋เราอยู่กับปัจจุบันหรือเปล่านะเนี้ยะ .......


วันที่ 5 กพ.2556

วันนี้มี case consult palliative  3 case ที่หอผู้ป่วยกระดูกและข้อหญิง

case ที่1 คุณป้าอายุ 65 ปี CA Lung with bone metastasis มาด้วยอาการปวดบริเวณกระดูกข้างหลัง ได้รับการดูแลเรื่องความปวด  โดยการฉายแสง

ทันที่ที่เจอคุณป้าอยู่กับลูกสาวนั่ง้างเตียง เราทักทายโดยการยกมือไหว้กัน แนะนำตนเองเป็นพยาบาลอยู่ในทีมร่วมการดูแลรักษา นะคะ มาเยี่ยมคุณป้า คุณป้าพร้อมสะดวกที่จะคุยมั้ยคะ สีหน้าท่าทางคุณป้าพร้อมค่ะ 

-คุณป้าเป็นอย่างไรบ้างคะ (สอบถามเรื่องการรับรู้่่ต่อโรค) "ก็เหมือนที่หมอบอกว่า น่าจะเป็นเพราะควันบุหรีของแฟนเลยทำให้เป็น " ในการพูดคุย ก็พยายามที่จะเข้ามาในเรื่องการรับรู้ และทำให้รับรู้ได้ว่า ผู้ป่วยไม่ทราบว่าป่วยด้วยโรคอะไร แต่โรคที่เป็นอยู่นี้ทำให้แก่มีอาการเหนื่อยมากขึ้น (อธิบายให้ผู้ป่วยเห็นภาพในเรื่อง ลักษณะรูปล่างของปอด โดยแสดงในลักษณะมือ 2 ข้างที่เดิมมีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยน ใช้การหายใจแล้วทำให้การหายใจเป็นปกติ แต่ในขณะนี้ พื้นที่ปอดในส่นนั้น ได้มีการถูกทำลาย ทำให้เกิดการหายใจที่ไม่สะดวก มีอาการเหนื่อย ซึ่ง ส่งผลให้ผู้ป่วยต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น การให้ออกซิเจนทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีข้นกว่าในตอนที่อยู่ที่บ้าน 

-อีกส่วนหนึ่ง เรื่องอาการปวดบริเวณกระดูกสันหลัง สอบถามว่าผู้ป่วยคิดว่าเป็นจากสาเหตุอะไร ผู้ป่วยไม่ทาบ ถามเรื่องคิดว่าเป็นเรื่องเดีวกับอาการเหนื่อยที่ปอดหรือไม่ ผู้ป่วยบอกว่าเกี่ยวกัน (เพราะหมอบอกว่า สาเหตุเป็นมาจากปอด และมีมาเป็นที่กระดูกและทำให้ปวดกับเหนื่อย และถามถึงเรื่องการหาย ว่าหายขาดมั้ย 

ก็ให้ข้อมูลว่า โรคที่เป็นนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่นเดียวกับโรค้รื้อรังอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ซึ่งเมื่อเป็นแล้ว ก็จะอยุ่กับตัวผู้ป่วย แต่ที่สำคัย คือ เราสามารถดูแลเพื่อไม่ให้อาการป่วยนั้นทำให้เราไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรมอื่นๆได้ และเช่นเดียวกับโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ (ส่วนหนึ่งเราน่าจะบอกนะว่า เป็นโรคมะเร็ง แต่ตอนนั้นไม่ทราบว่าทำไม่ เราอาจกลัว ว่าอะไรบ้างอย่าง เราถามอยากจะรู้จากปากผู้ป่วย และพยายามตะล้อม แต่ไม่เป็นผล เพราะผู้ป่วยไม่ได้พูดในสื่งที่เราอยากได้ยิน.. เฮ้อ) เและคิดว่า เหตูนี้ไม่จำเป็นต้องบอก ไม่รู้ก็ได้แต่สำคัญว่า การเตรียมตัวมากกว่าหรือเปล่า

-เปิดประเด็นเรื่องหากอยู่ในภาวะวิกฤติ เช่น โรคมีแนวโน้มที่ลุกลามมากขึ้น อาการเหนื่อยซึ่งเกิดจากตัวโรค รอยโรคที่ปอดเพิ่มพื้นที่มากขึ้น ส่งผลต่อการเหนื่อย จำเป็นต้องให้ออกซิเจน ในรูปแบบที่ต่างออกไปเช่น ต้องใช้ mask ผุ้ป่วยบอกปฎิเสธ เนื่องจากเคยใส่ออกซิเจนMask แล้ว อึดอัดไม่สบาย และไม่อยากได้แบบนั้น 

ชวนคุยเรื่องอาการเหนื่อยที่มากขึ้น วิธีการดูแลอาจจะต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ต่อเครื่องเพื่อปั๊มออกซิเจน ถามประสบการณ์เคยเห็น ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาในลักษณะนี้ หรือไม่ ผุ้ป่วยบอกว่า ไม่เอา อยากให้ไปแบบไม่ปวด ไม่ทรมาน ไปเลย 

ถามเรื่องประสบการณ์ที่สามีเสียชีวิต ผู้ป่วยบอกว่า ไม่ได้อยู่ตอนที่เสียชีวิต อยู่คนละบ้าน แต่การตายเป็นแบบฉับพลัน เป้นลมไป ผู้ป่วยบอกว่าแบบนั้นนก็ดี และจากประสบการณ์ที่ลูกสาว ป่วยต้องเรข้ารพง เนื่องจากมีเลือดออกจำนวนมาก ซ๊อคและเสียชีวิต ก็เป็นอะไรที่ไม่ทรมาน และหากเป็นตนเองก็อยากให้เป็นแบบนั้น เช่นกัน 

เล่าให้ฟังว่า การที่ไม่ทรมาน เป็นอย่างไรค่ะ เนื่องจาก ต้องการให้ผู้ป่วยให้รายละเอียดเพิ่มขึ้นเพื่อจะได้ปฎิบัติได้ตรงตามความต้องการของผู้ป่วย ผู้ป่วยบอกว่า ทำอย่างไรก็ได้ไม่ให้ปวด เหนื่อยทรมาน อยากไปนิ่งๆเลย

ให้ความมั่นใจว่า สำหรับเรื่องความปวด เราสามารถให้การดูแลเพื่อให้ความปวดลดลงได้ ซึ่งตอนนี้ผู้ป่วยได้รับยาแก้ปวดมอร์ฟีน ทำให้ความปวดลดลง ผู้ป่วยก็เข้าใจและรับรู้ได้ว่ายาแก้ปวดที่ได้ทำให้ผู้ป่วยดีขึ้นได้จริง

เล่าให้ฟังว่า เมื่อแนวโน้มของโรคเป็นมากขึ้น ความปวดอาจจะเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งในบางครั้งยาแก้ปวดที่ให้อาจต้องเพิ่มบริมาณมากขึ้น ซึ่งอาจสงผล่อระดับความรู้สึกตัว หมายถึง จะหลับเป็นส่วนใหญ่แต่ก็สามารถปลุกตื่นได้  ซึ่งในการหลับก็จะไม่รับรู้ความปวดนั้น แต่ในบางกรณี ความปวดคุมด้วยยามอร์ฟีนไม่ได้ อาจต้องมีการใช้ยาอื่นร่วมได้ เช่น ยาคลายควมกังวล ยาช่วยนอนหลับ ด้วยซึ่งจะเป็นการรักษาร่วมเพอื่ให้ความปวดลดลง แต่มีโอกาสที่อาจจะไม่รู้สึกตัว และโรคก็จะดำเนินตามระยะของตัวโรคไปเรื่อยๆ จนกว่าผู้ป่วยจะจากลาไป ผุ้ป่วยรับฟัง และขอเลือกว่าอยากให้เป็นเช่นั้น และยอมรับ ผู้ป่วยบอกว่า หากรักษาแล้วไม่ได้ผลก็ไม่อยากจะรักษาอีก เพราะเป็นเยอะแล้ว แต่ถ้ารักษาแล้วหาย ก็จะสู้ จะรักษา ให้ความมั่นใจว่า การรักษาในตอนนี้เป็นไปในลักษณะการดูแลแบบประคับประคอง อาการที่เกิดขึ้น เพื่อลดความปวดและความเหนื่อย ผู้ป่วยรับทราบ


แต่ผู้ป่วยก็ยังถาม คำถามว่า แล้วที่ปอดจะหายมั้ย ก็อธิบายว้ำเดิม และบอกว่าไม่สามารถรักษาหายได้ ผู้ป่วยก็บอกว่า หมอก็บอกแบบนี้เหมือนกัน (นั้นอาจแสดงว่า ผู้ป่วยต้องการ confirm เท่านั้นเอง ทำให้รู้สึกดีที่ผู้ป่วยรับทราบเรื่องราวเหล่านี้แล้ว

ถามเรื่องความวิตกกังวลอื่นๆ ผู้ป่วยบอกกลัวต้องฉายแสง เพราะกลัวปวดแสบปวดร้อน  อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ และให้ผู้ป่วยได้มีโอกาส ระบายความกังวลใจ  พอดีเตียงมารับไปฉายแสง

วางแผนเยี่ยมครั้งต่อไป เพื่อประเมินการรับรู้ลูกสาวและการเตรียมเพื่อดูแลที่บ้าน

 ผู้ป่วยสนิมกับหลานมาก อยากกลับบ้านเพื่อไปดูหลาน  คาดหวังว่าจะให้หลานเป็นคนดี หลานคนนี้เลี้ยงด้วยตนเอง หลังจากแม่เสียชีวิต


ได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ case นี้ อย่างไร  การรับรู้ของผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคบ้างครั้งไม่สำคัญมากนัก สำคัญตรงว่าผู้ป่วยเข้าใจว่า ระยะโรค แนวโน้มโรคที่เป็นไป และการเตรียมเพื่อเลือกการรักาษในอนาคตสำคัญ

ความกลัวเกิดขึ้นได้ตลอดระยะเวลาของข้อมูลที่เข้ามาในผู้ป่วย

การเตรียมตัวสำหรับผู้ป่วยที่ต้องดูแลที่บ้าน HOME CARE~ 

ประเด็น เรื่อง สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เพราะผู้ป่วยบอกว่าเฉยๆๆแล้ว ซึ่งอาจมีความหมายมากกว่านั้น ต้อง explorเพิ่มเติม เพื่อรอยยิ้มของผุ้ป่วยที่จะอยู่ได้นานขึ้น ระหว่างพุดคุยก็รู้สึกว่า เราพูดตลกได้เช่นกันนะเนี้ยะ 

ประเด็น เรื่องอาการอื่นๆที่ผุ้ป่วยเป็นตอนนี้ และแนวโน้ม ของการเกิดความเสี่ยงจากการที่เป็น bed ridden  advice care สำคัญคับแย



case ที่ 2 caseนี้ น่าสนใจไปอีกเยอะเลย สอนเราว่า กัดอย่าปล่อย เพราะถ้าปล่อย เราจะติดค้างแน่นอน ระวัง กัดไม่ปล่อย แต่หากจะปล่อย ก็ต้องเข้าใจ ว่าเราทำในบริบทดีที่สุดแล้วจริงๆ  

ในทุกเรื่องราว มีการเยียวยาเสมอ และในทุกเหตุการณ์ เราประเมินไม่ได้เลยว่ามันจะออกมาในแบบไหนได้เลย  เราคือผู้อำนวยการเดินทาง ชอบคำนี้จัง เพราะ วันนี้เห็นเลยว่า เราเพียงอำนวยการ แต่พระเอกนางเอกคือผู้ป่วย ครอบครัวและญาติ ณ บทที่เราเข้าใจ รู้สึกดีจริงๆ

เราเพียงตัวประกอบ เราต้องทันเห็นว่า เราทำอะไรอยู่ เราอยู่ในบทบาทใดสำคัย รู้สึกดีที่ได้เห็น ที่เข้าใจ ชอบจังงานแบบนี้ ขอบคุณที่พี่โสภิตและพี่ษาทำให้เห็น


อีกอันที่เราคิดว่าสำคัญ ใช่เดมบทบาทผู้ป่วย

หมายเลขบันทึก: 517117เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2013 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2013 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท