ปัญหาการวิจัย คือ หัวใจของกระบวนการวิจัย The Problem: The Heart of the Research Process


ปัญหาการวิจัย ถือเป็นส่วนที่สำคัญมาก อาจเรียกได้ว่าเป็นหัวใจของกระบวนการวิจัยเลยก็ได้เนื่องจากคุณค่าของงานวิจัย จะอยู่ตั้งแต่การเลือกปัญหาการวิจัยที่มีคุณค่าเข้ามาทำ เพราะหากทำการวิจัยในประเด็นที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ หรือตอบได้แต่ความต้องการอยากรู้ของตนเอง แต่ผู้อื่นนำไปใช้ประโยชน์ต่อไม่ได้ ก็คงไม่เป็นการวิจัยที่ดีได้

          ปัญหาการวิจัย ถือเป็นส่วนที่สำคัญมาก อาจเรียกได้ว่าเป็นหัวใจของกระบวนการวิจัยเลยก็ได้เนื่องจากคุณค่าของงานวิจัย จะอยู่ตั้งแต่การเลือกปัญหาการวิจัยที่มีคุณค่าเข้ามาทำ เพราะหากทำการวิจัยในประเด็นที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ หรือตอบได้แต่ความต้องการอยากรู้ของตนเอง แต่ผู้อื่นนำไปใช้ประโยชน์ต่อไม่ได้ ก็คงไม่เป็นการวิจัยที่ดีได้

                ในช่วงแรก Leedy อธิบายให้เห้นความแตกต่างของ การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) และการวิจัยประยุกต์ (Applied research) ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการวิจัยชนิดใด การเลือกปัญหาการวิจัยก็ถือว่ามีความสำคัญมากโดย Leedy กล่าวถึงสถาพการณ์ที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อเราต้องการสร้างปัญหาการวิจัย ผู้เขียนกล่าวไว้ 4 ประเด็นที่ควรหลีกเลี่ยง ประกอบด้วย

                  1.  โครงการวิจัยไม่ควรถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการอยากรู้ของตนเอง (self-enlightenment )แต่เพียงอย่างเดียว คือ ไม่ควรจะศึกษาแค่ประเด็นที่เราสนใจแต่หากประเด็นนั้นไม่อาจนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ใดๆ ก็ไม่ควรนำเรื่องดังกล่าวเป็นปัญหาการวิจัยที่เราจะมาทำการศึกษา

                  2.  ปัญหาการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสองชุดของข้อมูล แต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้เป็นปัญหาการวิจัยที่เหมาะสม เพราะเป็นการวิจัยที่ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร เหมือนการสรุปข้อมูลมากกว่า

                  3.  การแค่คำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างสองชุดของข้อมูลเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นปัญหาการวิจัยที่ดีเสมอไป หากขาด สิ่งที่เรียกว่า Human mind ของผู้วิจัย ซึ่งผู้เขียนพยายามชี้ให้เห็นว่า คอมพิวเตอร์แค่ช่วยมนุษย์ให้คำนวนได้เร็วขึ้น แต่ผู้วิจัยจำเป็นต้องคิดก่อนว่าสิ่งที่จะหาความสัมพันธ์นั้น มันควรจะต้องหาความสัมพันธ์ไหม รู้แล้วจะมีประโยชน์ไหม ? เช่นหาความสัมพันธ์ของ จำนวนเสาไฟฟ้า กับการเกิดอุบัติเหตุ (อ นำชัย เคยยกตัวอย่างไว้)

                  4.  ปัญหาการวิจัยที่สร้างขึ้นเพื่อเพียงตอบคำถามว่าว่า”ใช่”หรือ”ไม่ใช่” อาจไม่ได้เป็นปัญหาที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย  เพราะปัญหาการวิจัยที่ดี ควรเป็นปัญหาที่เมื่อทำการวิจัยแล้วจะได้คำตอบที่สามารถแก้ไขสิ่งที่เป็นอยู่ได้ ดังนั้นการได้รับคำตอบจากปัญหาการวิจัยว่ามีปัญหาอยู่หรือไม่มีปัญหาอยู่อาจไม่เพียงพอ ควรจะต้องรู้ว่า เกิดที่ไหน เมื่อไร เพราะอะไรด้วย

ทั้งนี้ Leedy ให้คำแนะนำที่ดี ในการหาปัญหาการวิจัยไว้ 6 วิธีด้วยกัน ประกอบด้วย

                1.  พยายามสังเกตสิ่งรอบๆตัวอยู่เสมอ ทั้งนี้ หลายปัญหางานวิจัยที่ดี มักจะอยู่รอบๆตัวเราเสมอ แต่เรา

มักไม่ค่อยได้สังเกตและตั้งคำถามในปรากฏการณ์ต่างๆรอบตัว

                2.  อ่านเอกสารงานวิชาการเสมอ การอ่านวารสารทางวิชาการจะช่วยให้เราเห็นปัญหาหรือสิ่งที่เรายังไม่รู้จนนำไปสู่การตั้งปัญหาการวิจัย นอกจากนนี้ยังช่วยให้เราทราบ ทฤษฎี ระเบียบวิธิวิจัย และประโยชน์อื่นๆในการทำวิจัย

                3.  พยายามไปเข้าร่วมงานประชุมวิชาการ ในงานประชุมวิชาการเราจะมีโอกาสได้เห็นหัวข้องานวิจัย

ใหม่ๆที่น่าสนใจ ตลอดจนอาจมีโอกาสพบเจอศาสตราจารย์ที่ถ้าเราได้มีโอกาสได้พูดคุยก็อาจจะเกิดปัญหางานวิจัยใหม่ๆที่ดีและน่าสนใจได้

                 4.  ลองถามผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ การไปพบผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆและสอบถามหาปัญหาวิจัยตรงๆเลยก็สามารถทำได้ และอาจจะโชคดีได้มีโอกาสร่วมงานหรือได้รับทุนวิจัยจากพวกเขาก็ได้

                 5.  เลือกหัวข้องานวิจัยที่เราชอบ เมื่อเราได้มีโอกาสคุยกับผู้เชี่ยวชาญต่างๆแล้ว สิ่งสำคัญต่อไป คือ เราต้องเลือกเรื่องที่เหมาะสมหรือเราอยากจะทำมากที่สุด เพราะเราต้องอยู่กับงานชิ้นนี้นาน ตัวเองจะรู้ดีที่สุดว่าจะทำมันได้ดีไหม

                6. เลือกหัวข้อที่มีคนอื่นสนใจด้วย เนื่องจากจำเป็นต้องมีการเผยแพร่งานวิจัยเราไปในการประชุมวิชาการการตีพิมพ์ในวารสาร ดังนั้นหัวข้อที่เราเลือกนอกจากเราจะสนใจแล้ว ก็ควรเป็นหัวข้อที่มีคนอื่นสนใจด้วย

                 โดย Leedy ได้เสนอขั้นตอนการเขียนปัญหางานวิจัยอย่างเป็ระบบ 4 ขั้นตอน ดังนี้

                 1.  เขียนปัญหางานวิจัยให้ชัดเจนและมีความสมบูรณ์ในตนเอง ให้คนทุกคนที่มาอ่านเข้าใจได้ตรงกัน

                  2.  คิดอีกรอบว่าสิ่งที่ตนเองเขียนมาเป็นไปได้และสามารถทำได้จริงๆ เช่น ควรพิจารณาความเป็นไปได้ในการเก็บข้อมูล ระยะเวลา ค่าใช้จ่าย

                  3.  เขียนในสิ่งที่ตนเองต้องการจะสื่อความหมาย เนื่องจากผู้อ่านอาจจะไม่มีโอกาสได้เจอกับเรา การเขียนต้องสื่อความหมายให้ชัดเจน

                  4.  ตรวจทานอีกรอบ

การทำปัญหาการวิจัยให้ย่อยขึ้นเป็นปัญหางานวิจัยรอง (SubProblem)

  โดยส่วนใหญ่แล้วปัญหางานวิจัยมักจะมีความซับซ้อน ซึ่งการที่เราแตกออกเป็นปัญหาหลัก และปัญหารองจะทำให้มองปัญหาการวิจัยได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่ง Leedy ได้อธิบายลักษณะของ Subproblem ไว้ว่าปัญหางานวิจัยรองแต่ละข้อ จะต้อง

1.  มีความสมบูรณ์ในตนเองในการเป็นหน่วยการวิจัย (Reseachable Unit) ได้

2.  มีความชัดเจนที่นำไปสู่การแปลผลข้อมูลได้

3.  เป็นส่วนเติมเต็มในปัญหาการวิจัยหลักได้

4.  ควรมีจำนวนไม่มากเกินไป

ขอบเขตของปัญหาการวิจัย(delimitation of research problem)

ขอบเขตการวิจัยจะทำให้เราทราบว่า งานวิจัยที่เรากำลังทำนั้นสนใจทำในขอบเขตแค่ไหน ทั้งนี้เนื่องจากว่าโดยปกติแล้ว ปัญหาการวิจัยมักมีบริบทที่เกี่ยวข้องกว้างขวาง ซึ่งหากผู้วิจัยไม่กำหนดขอบเขตงานวิจัยให้ดี จะทำให้ประสบปัญหาภายหลังได้

ซึ่ง Leedyได้กล่าวถึงการระบุขอบเขตของปัญหาการวิจัย(delimitation of research problem) ไว้หลายประการ เช่น การระบุคุณสมบัติ (Characteristic) ของกลุ่มประชากรที่สนใจเลือก (Select) มาศึกษา หรือลักษณะที่นอกเหนือที่จะคัดออกหรือไม่นำเข้ามาทำการศึกษา


from : Leedy,2002
คำสำคัญ (Tags): #วิจัย
หมายเลขบันทึก: 516994เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2013 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มกราคม 2013 21:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท