นิติกรรมสัญญา


ในการทำนิติกรรมสัญญา ประกอบด้วย 

๑. ผู้ทำนิติกรรมสัญญา  บุคคลทั่วไปย่อมมีความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญาได้ แต่ผู้หย่อนความสามารถในการทำนิติกรรม ได้แก่ ผู้เยาว์ บุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ บุคคลล้มละลาย

๒. การแสดงเจตนาของผู้ทำนิติกรรมสัญญา  ต้องไม่มีลักษณะดังนี้  แสดงเจตนาโดยไม่ตรงความจริง แสดงเจตนาลวง แสดงโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมสัญญา แสดงเจตนาโดยสำคัญผิด ในคุณสมบัติของบคุคลหรือทรัพย์ฯ แสดงเจตนาโดยถูกกลฉ้อฉล แสดงเจตนาโดยถูกข่มขู่

๓. วัตถุประสงค์ของนิติกรรมสัญญา ต้องไม่มีลักษณะดังนี้ คือ เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีขอประชาชน หากฝ่าฝืนนิติกรรมสัญญานั้นเป็นโมฆะ

๔. รูปแบบของนิติกรรมสัญญา  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีหลายรูปแบบ คือ ทำหลักฐานเป็นหนังสือ ทำเป็นหนังสือ จดทะเบียนต่พนักงานเจ้าหน้าที่ ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตกลงด้วยวาจา

๕. ข้อตกลงในนิติกรรมสัญญาหรือข้อสัญญา เช่น ประกาศกำหนดประเภทธุรกิจที่ควบคุมสัญญา หรือประกาศข้อสัญญาที่จำเป็นต้องมีและข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจที่ควบคุมสัญญา ฯลฯ

หมายเลขบันทึก: 516708เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2013 13:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มกราคม 2013 13:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท