ForensicStatistic12: สูตรคำนวณ ความสัมพันธ์ญาติ (พี่น้อง กึ่งพี่น้อง ลุงป้าน้าอา ปู่ย่าตายาย และ ลูกผู้พี่ลูกผู้น้อง) โดยใช้ autosomal STR


     วันนี้ย้อนกลับมาดูบันทึกที่เคยเขียนไว้ ก็เลยเห็นว่า ยังขาดสูตรคำนวณกรณี Full sibling โดยการใช้ autosomal STR ครับ ก็เลยกลายเป็นเหตุแห่งการบันทึกนี้

     1. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ กรณี full sibling หมายถึง การตรวจความสัมพันธ์ พี่น้องร่วมพ่อและแม่เดียวกัน มีสูตรคำนวณตามนี้ครับ อ้างอิงสูตรนี้ จาก Ayres KL. Forensic Science International 114 (2000) 107-115

     2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ กรณี half sibling  หมายถึง ความสัมพันธ์ กึ่งพี่น้อง ซึ่งในที่นี้หมายถึง พี่-น้อง ร่วมพ่อเดียวกันแต่คนละแม่ หรือ พี่-น้อง ร่วมแม่เดียวกันแต่คนละพ่อ

     3. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ กรณี avuncular หรือลุง-หลาน (uncle-nephew) ว่าไปแล้ว ระดับความสัมพันธ์ในชั้นนี้ จะหมายรวมถึง ความสัมพันธ์ระหว่าง พี่ (ลุงหรือป้า)ของพ่อ, น้อง (อา)ของพ่อ, พี่ (ลุงหรือป้า)ของแม่ และ น้อง (น้า)ของแม่ กับหลาน (nephew or niece)

    4. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ปู่ย่าตายาย (grandparent) กับหลาน (grandchild)

     การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในข้อ 2, 3 และ 4 ใช้สูตรคำนวณเหมือนกันหมดครับ อ้างอิงจาก Ayres KL. Forensic Science International 114 (2000) 107-115 เช่นเดียวกัน

     5 ความสัมพันธ์ ลูกผู้พี่-ลูกผู้น้อง (first cousin)  ในที่นี้หมายถึง รุ่นลูกของพี่-น้องของพ่อหรือแม่ มาเปรียบเทียบกับรุ่นลูกของพ่อหรือแม่ครับ อธิบายไป ก็เริ่มงง ดูจากภาพดีกว่าครับ (ภาพนี้ได้จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Cousin)

     ในที่นี้ David และ Emma มีความสัมพันธ์ เป็นลูกผู้พี่-ลูกผู้น้อง (first cousin) กัน ก็สามารถตรวจเปรียบเทียบความสัมพันธ์นี้ได้ครับ โดยใช้ autosomal STR ตามสูตรคำนวณที่อ้างอิงมากจาก Ayres KL. Forensic Science International 114 (2000) 107-115 เช่นเดียวกัน

 

    แม้ว่าสูตรคำนวณ จะมีวิธีการคำนวณที่ชัดเจน แต่ในแง่การนำไปใช้งาน ยังมีข้อจำกัดครับ

     1. ความไว และความจำเพาะของการคำนวณนี้ ไม่ครบ 100 % นั่นหมายถึงว่า การคำนวนแบ

บนี้ ยังมีผลบวกลวง (กลุ่มที่ไม่ใช่ญาติกัน แต่คำนวณแล้วออกมาเป็นญาติ) และมีผลลบลวง (กลุ่มที่เป็นญาติกัน แต่ผลคำนวณดันบอกว่าไม่ใช่ญาติ)

     2. จำนวนตำแหน่งของ autosomal STR ที่ตรวจ (loci) การตรวจยิ่งมากตำแหน่ง ยิ่งทำให้ผลการคำนวณมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น การตรวจยิ่งน้อยตำแหน่ง ยิ่งมีความผิดพลาดเกิดขึ้นยิ่งมากครับ

     3. ระดับ cut off ที่จะใช้เป็นระดับในการตัดสินใจ อย่างเช่นในกรณีการตรวจความสัมพันธ์พ่อ-แม่-ลูก มักใช้ cut off ที่ระดับ LR = 99 เท่า  แต่การคำนวณความสัมพันธ์เชิงญาติโดยการใช้ autosomal STR อาจไม่ได้ใช้ cut off ที่ 99 เท่าครับ  ส่วนจะใช้ที่เท่าไร เป็นเรื่องที่ต้องมีการศึกษากันครับ เพราะมีผู้ใช้ตั้งแต่ LR = 1 ไปจนถึง 99 ครับ

     เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้อง discuss กันครับ  ต้องลองเล่นกันดู แล้วจะรู้ว่ามีคำถาม....ที่อยากจะถาม....อีกมากเลย

หมายเลขบันทึก: 516549เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2013 10:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2013 23:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชื่อบันทึก เป็น ...ปู่ย่าตาลาย....ค่ะ

ขอบคุณมากครับ หนูเปิ้ล แก้ไขแล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท