ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้


บทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์ในวันนี้ที่จะเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของประชาชนทั่วไปและผู้เรียนได้อย่างแท้จริง

                                   

          ห้องสมุดเป็นแหล่งความรู้ที่ นักเรียน นักศึกษา สามารถค้นหาความรู้ด้วยตนเอง โดยห้องสมุดมีบทบาท ในการเสริมความรู้ และสนับสนุนการศึกษาในระบบ และให้โอกาสในการเข้าถึงการศึกษา ได้ใช้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาอาชีพให้ทันกับวิทยาการ และเทคโนโลยี ให้แก่ผู้ที่ไม่มีโอกาสเข้าศึกษาในโรงเรียน หรือผู้ที่ได้สำเร็จการศึกษาแล้ว

          ห้องสมุดในปัจจุบัน ทำหน้าที่เก็บรวบรวม จัดระบบ เพื่อให้บริการสื่อสารนิเทศต่างๆ ตลอดจนถึงเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีทางการสื่อสาร อีกทั้งยังมีเครื่องมือในการค้นหาและดำเนินการให้บริการสื่อต่างๆ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้ห้องสมุด

          การจัดตั้งห้องสมุด เป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ เรื่องการศึกษาตามอัธยาศัยและการศึกษาตลอดชีวิต มีความมุ่งหวังให้ห้องสมุด ได้เป็นแหล่งการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเองตลอดชีวิต และส่งเสริมให้ประชาชนเป็นผู้ที่ใฝ่เรียนรู้ การที่จะดึงดูดความสนใจให้ผู้คนเข้ามาใช้ห้องสมุดมากๆ นั้นห้องสมุดจะต้องมีการพัฒนารูปแบบให้มีความแตกต่างไปจากห้องสมุดที่เคยเป็นมาในอดีต นั่นคือการทำให้ ห้องสมุด เป็นห้องสมุดที่มีชีวิต (Living Library) เป็นห้องสมุดที่มีการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการทุกเพศ ทุกวัย ไม่จำกัด

·  ห้องสมุดควรมีบริการอะไรบ้าง

  • เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย
  • เป็นศูนย์ข้อมูล ทั้งในเชิงจัดการฐานข้อมูล (Knowlegde Management) และการสงวนรักษาและอนุรักษ์ เอกสารโบราณ เอกสารต้นฉบับตัวเขียน
  • เพิ่มศักยภาพความเป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-Library) ให้มีความสมบูรณ์ และมีการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นแหล่งความรู้ระบบดิจิทัล
  • มีการร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานทั้งที่เป็นห้องสมุดด้วยกันเอง และ หน่วยงานอื่นๆ

·  ห้องสมุดควรมีบทบาทในการส่งเสริมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนรู้หรือไม่

     ·  ควรมีการมุ่งเน้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างห้องสมุด เช่น มีการยืม - คืนระหว่างห้องสมุด, การสืบค้นข้อมูลผ่านฐานข้อมูลแห่งอื่นๆ เป็นต้น

     ·  การร่วมมือกับโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย และ องค์กรอื่นๆ ในการจัดสื่อการเรียนการสอนเพื่อเผยแพร่การศึกษา และ เป็นแหล่งค้นคว้าเฉพาะกิจกรรมตามความต้องการขององค์กรนั้น

     ·  การร่วมมือช่วยเหลือประสานงานกับชุมชน หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่จะส่งเสริมเผยแพร่ให้เกิดกิจกรรมทางด้านบริการความรู้ ข้อมูลข่าวสารแก่ชุมชน

     ·  เป็นที่รวมกิจกรรมหรือเป็นศูนย์รวมของชุมชน เพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้บริการต้องการที่จะมีส่วนร่วม มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้กับ เด็กและเยาวชน เช่น การประกวดเล่านิทาน จัด กิจกรรมส่งเสริมการอ่านอื่นๆ

                                 

·  บรรณารักษ์ควรมีบทบาทเป็นผู้กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างไร

     ·  บรรณารักษ์และบุคลากรในห้องสมุดจะต้องมีจิตสำนึกในการให้บริการ เพราะการบริการคือภารกิจหลักที่ ที่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดทุกคนจะต้องปฏิบัติอย่างเต็มกำลังความสามารถ อีกทั้งการทำงานของบรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องเป็นผู้ที่เคลื่อนไหว (ทางสมอง) ได้รวดเร็ว เปลี่ยนแปลง (ยอมรับ) และ พร้อมที่จะเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนต่างๆ มากกว่าการทำงานในแนวคิดเดิมที่ทำอยู่ทุกๆ วันไม่เคยเปลี่ยน

·  เทคโนโลยีการสืบค้นข้อมูลควรปรับเปลี่ยนหรือไม่

     ·  จัดให้บริการช่วยการค้นคว้าสมัยใหม่ โดยใช้โปรแกรมบรรณารักษ์เสมือนจริง หมายถึง การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้บริการตอบคำถามแทนบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ในห้องสมุด โดยใช้ฐานข้อมูลที่มีอยู่ในห้องสมุด โดยสมาชิกต้องป้อนข้อมูลให้กับคอมพิวเตอร์ (สมาชิกต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการค้นหาด้วย เช่น ชื่อเรื่อง, ชื่อผู้แต่ง คำค้นต่างๆ) แล้วให้ ประมวลผลและถามคำถามกับผู้ใช้บริการต่อไป ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ได้

·  บรรยากาศสิ่งแวดล้อมในห้องสมุดน่าจะเป็นอย่างไร

        ไม่ถึงกับเงียบมากเกินไป แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเสียงดังได้ตามอำเภอใจ มีบรรยากาศที่สบาย สะดวก ห้องก็ไม่ควรทึบ หรือร้อน อากาศปลอดโปร่ง อาจจะมีสวนใกล้ ๆ หรือออกไปอ่านที่สวนก็ดีนะ มีมุมกาแฟ นั่งอ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ที่สบายอีกที่คือ มุมเด็ก มุมนอนพักผ่อนสถานที่ที่ตั้งต้องไปมาสะดวก ถ้าอยู่ชั้นสามขึ้นไปรับรองว่าคนไม่ค่อยไปใช้บริการแน่ๆ และต้องเอาอะไรมากินที่ห้องสมุดได้นะ แต่ต้องรักษามารยาทอย่าให้เสียงเกินไป

                            

·  บรรณารักษ์ควรเป็นผู้ที่คอยช่วยส่งเสริมทักษะการเรียนรู้อะไรบ้างให้แก่ผู้เรียนหรือประชาชนทั่วไป

     ·  บรรณารักษ์ควรได้รับการส่งเสริมให้มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาชีพ และ ทักษะอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ทักษะด้านภาษาอังกฤษ และ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีการจัดการข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นใหม่อยู่ตลอดเวลา และนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงาน ก็จะทำให้งานบริการของห้องสมุดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

·  ห้องสมุดประชาชนกับห้องสมุดโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยควรจะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

     ·  เป้าหมายเหมือนกันเรื่องการบริการ คือต้องการให้ผู้รับบริการมาใช้บริการห้องสมุด ยืมหนังสือ มาใช้เป็นสถานที่ในการอ่านหนังสือ เป็นสถานที่ในการค้นคว้าหาข้อมูล

     ·  ส่วนที่แตกต่าง คือ งบประมาณ  โรงเรียนบางโรงเรียนก็งบประมาณน้อย หนังสือ หรือข้อมูล ระบบการสืบค้นทางอินเตอร์เน็ตแทบจะไม่ค่อยมี  ทำให้การสืบค้นข้อมูล หนังสือ ตำรับ ตำรา ต่าง ๆ ก็ไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน เหมือน ห้องสมุดประชาชน หรือมหาวิทยาลัย หรือโรงเรียนขนาดใหญ่ ๆ 


คำสำคัญ (Tags): #ห้องสมุด
หมายเลขบันทึก: 516116เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2013 19:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มกราคม 2013 19:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 ..... ห้องสมุดดีดี .... ทำให้เรา ... อยากไปใช้บริการ บ่อยๆๆ นะคะ .....  


             



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท