ผมเริ่มเขียนบล็อกเป็นตั้งแต่ 19 ก.ค.2548 เปิดชุมชนแนวปฏิบัติเรื่องผึ้ง และบล็อกการจัดการความรู้เรื่องผึ้ง เป็นครั้งแรก แต่ก็ไม่ได้เขียนต่อ จน รศ.มาลินี โทรมาชวนให้เขียนต่อและให้สมัครร่วมก๊วน 9 CoPs Plus Office in NU ผมเริ่มเขียนแล้วหยุด...หยุดแล้วเขียน...สร้างบล็อกใหม่ให้นิสิตที่เรียนวิชาที่ผมสอนร่วมก๊วนด้วย เปิดไว้ 3 วิชา ที่รู้สึก work ก็คือ บล็อก "ชมรมคนรักผึ้ง" สำหรับนิสิตที่เรียนวิชาการเลี้ยงผึ้ง (เพราะยังมีคนเขียนต่อหลังจากเรียนจบแล้ว)
ถึงเดี๋ยวนี้ผมมีชุมชน 2 ชุมชน คือ ชุมชนแนวปฏิบัติเรื่องผึ้ง และชุมชน BeemanNUKM มีบล็อกทั้งสิ้น 4+3= 7 บล็อก คือ 4 สำหรับผมเป็นผู้เขียน ได้แก่ การจัดการความรู้เรื่องผึ้งฯ, กลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งภาคเหนือตอนล่างฯ, beemanNUKM, กฎแห่งกรรม และ 3 สำหรับให้นิสิตเขียน (ผมช่วยเขียนด้วย) ได้แก่ ชมรมคนรักผึ้ง, ชมรมคนรักสัตว์ไร้กระดูก, biocontrolstudent และผมยังชักชวนให้ครูเล็กมาเขียนบันทึก "นกแอ่นกินรัง" ได้อีกคน
ผมมาทบทวนดูวันที่ดร.วิบูลย์ เริ่มเขียนบล็อก วันที่ 9 สิงหาคม 2548 พอเขียนแล้ว หยุดไม่อยู่ ณ คืน วันที่ 9 ตุลลาคม (ครบรอบ 2 เดือน) ผมตรวจสอบแล้วมีบันทึกอยู่ 100 บันทึก (นเรศวรวิจัย-QA-KM) แถมยังได้รับรางวัลสุดคนึง เป็น Blog ที่มี Link มากที่สุด ซึ่งความดีที่ลืมไม่ได้ต้องยกให้ชุมชน NUKM blog ชึ่งตั้งโดยรศ.มาลินีเป็นสุดยอดชุมชนที่มี Blog มาเข้าร่วมมากที่สุด
ส่วน รศ.มาลินี เขียนบันทึกก่อนตั้งนาน ยังมีบันทึกอยู่แค่ประมาณ 29 บันทึก (QA-KM ในมหาวิทยาลัยนเรศวร)
บล็อกของ ทั้ง ดร.วิบูลย์ และรศ.มาลินี ถือเป็นบล็อก "คุณภาพ" เพราะได้รับการประชาสัมพันธ์ ในหน้าแรกของ Gotoknow
ลองย้อนไปทบทวนบันทึกแรกของ ดร.วิบุลย์ D-Day วันที่ 9 สิงหาคม 2548 กันหน่อยครับ
The occasion for B2B80+
อาจารย์มาลินี (รศ.มาลินี
ธนารุณ) อาจารย์สมลักษณ์ วงศ์สมาโนดน์ (ผึ้ง มน.)
และเพื่อนร่วมความคิดหลายท่านได้จิกถามผม (เชิงคาดคั้น)
ว่าเมื่อไรจะเปิด blog ของตัวเองสักที ผมก็ขอผัดผ่อนมาจนเห็นว่า
ฤกษ์งามยามดี (9 ส.ค.48) จึงได้ขอให้โอ (รัตน์ทวี อ่อนดีกุล)
ช่วยจัดการเปิดให้ ส่วนต้นฉบับบันทึกของแต่ละวันคงต้องรบกวนพัช (พัชรา
จินาพันธุ์)
ช่วยพิมพ์ลงให้
วัตถุประสงค์หลักของการเปิด
blog นี้ คือ “B2B80+” ไม่ได้พิมพ์ผิดครับ “B2B80+” จริง ๆ
คือต้องการจะใช้ blog เป็นช่องทางที่จะสื่อสารถึงเพื่อน ๆ (Blog to
Blog) ในแวดวงวิจัย-QA-KM
ที่กำลังทำงานร่วมกันในมหาวิทยาลัยนเรศวรอย่างน้อย 80
คน ซึ่งกระจายอยู่ตามคณะต่าง ๆ (รวม 20 คณะ)
คณะละอย่างน้อย 3 คน และจากหน่วยงานสายสนับสนุนต่าง ๆ (รวม 20
หน่วยงาน) หน่วยงานละอย่างน้อย 1 คน
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานด้านวิจัย-QA-KM
เพื่อช่วยให้เกิดการสื่อสารภายในที่ดียิ่งขึ้น
ให้เป็นช่องทางที่เพิ่มเติมจาก “F2F (Face to Face)”
ซึ่งเป็นวิธีที่ทำกันเป็นปกติอยู่แล้ว (ทั้ง B2B และ F2F นี้
ผมยืมท่าน ผอ.สคส.อาจารย์หมอวิจารณ์ พานิช มาใช้ครับ)
เพื่อจะได้ช่วยกันพัฒนางานของมหาวิทยาลัยได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทั้งหมดประมาณ 80 คนนี้ ผมตั้งใจจะจัด Workshop
ให้ทุกคนสามารถทำหน้าที่เป็น “คุณอำนวย (KF)” ได้ ภายในปีงบประมาณ
พ.ศ. 2549 ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดชุมชนแนวปฏิบัติ (CoP)
เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
สาระสำคัญคือ ดร.วิบูลย์ ซึ่งนำ KM มาใช้ในมหาวิทยาลัยเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2548 ต้องการให้มหาวิทยาลัยนเรศวร มี Blog คุณภาพ เกิดขึ้น 80 บล็อก ในจำนวนนี้เป็นของนักวิจัย 60 บล็อก จาก 20 คณะ ๆ ละ 3 คน และของฝ่ายสนับสนุนอีก 20 บล็อก เหลือเวลาอีก 1 ปีฝันนี้จะเป็นจริงหรือไม่ต้องคอยติดตามดูนะครับ........
เพื่อช่วยให้ความฝันของดร.วิบูลย์ หนึ่งในผู้ที่ทำงานเพื่อมหาวิทยาลัย ตามหลักการของผมที่ว่า "อย่าถามว่ามหาวิทยาลัยให้อะไรแก่ท่าน แต่จงถามว่าท่านให้อะไรกับมหาวิทยาลัย" สำเร็จเป็นรูปธรรมเร็วขึ้น ผมอยากชักชวนให้อาจารย์และเจ้าหน้าที่ทั้งหลายในมน.มาช่วยกันเขียนบล็อกกันครับ เพราะมันไม่ยากอย่างที่คุณคิด นิสิตหลายคนยังเขียนได้ หากท่านใดสนใจผมจะไปช่วยครับ (เฉพาะมน.ครับ) แสดงความจำนงในข้อคิดเห็นพร้อมบอกโทรศัพท์ภายในให้ติดต่อกลับครับ
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของความสำเร็จ (แม้ว่าจะเป็นแค่ตัวเลขทางสถิติ) ของบล็อกที่มีบันทึกมากที่สุดครับ สำหรับม.นเรศวรนะครับ
อันดับ 2 ชมรมคนรักผึ้ง มี 106 บันทึก, อันดับ 4 (คุณภาพ) นเรศวรวิจัย QA-KM 100 บันทึก, อันดับ 10 ชมรมคนรักสัตว์ไร้กระดูก 57 บันทึก, อันดับ 13 (คุณภาพของสายสนับสนุน) สนง.เลขานุการคณะสหเวชศาสตร์ 48 บันทึก, อันดับ 26 (คุณภาพ) QA-KM ในมหาวิทยาลัยนเรศวร 29 บันทึก, อันดับ 30 Biocontrolstudent 27 บันทึก และ อันดับ 33 beemanNUKM 25 บันทึก ครับ......
ปล. อยากรู้ว่าอันดับหนึ่ง เป็นใคร เป็นของท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ พานิช ครับ 455 บันทึก