ข่มขืนทำอินเดียสะเทือน [EN]


.
.
สำนักข่าว CNN เสนอเรื่อง 'CNN open mic: Rape and gender bias'
= "CNN เปิดไมค์ (ไมโครโฟน): ข่มขืนและอคติ(ความลำเอียง)", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
ภาษาอังกฤษใช้ 'gender' แทนคำว่า "เพศ" ในความหมายทั่วๆไป สุภาพกว่าคำ 'sex' ซึ่งใช้แทนเรื่องเซ็กส์ ความใคร่ การร่วมเพศมากกว่า
  • [ bias ] > [ ไบ๊ - อัส - s/สึ (เสียงพ่นลม - เบาสั้น) ] > http://www.thefreedictionary.com/bias > noun = อคติ ความลำเอียง
  • คำนี้มาจากภาษากรีก ศัพท์เดิม = slanted = ถูกทำให้ลำเอียง
.
ข่าวข่มขืน-ฆ่าบนรถในกรุงเดลี (นิวเดลี) ทำให้เกิดคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงที่จะ "ลด-ละ-เลิก" อคติ ซึ่ง อ.ดร.ฟรีดแมน แห่งสำนักวิจัยสแตรทฟอร์ (Stratfor) พยากรณ์ว่า
.
อินเดียมีแนวโน้มจะแตกออกเป็นประเทศเล็กๆ อย่างน้อย 2 ประเทศในหลายสิบปีข้างหน้า การแก้ปัญหาเรื่องนี้จึงเป็นประเด็นสำคัญที่จะทำให้อินเดียรวมชาติ และก้าวไปได้ไกล
ต้นทุนทางสังคมที่อินเดียติดลบอยู่มีหลายอย่าง ที่สำคัญได้แก่
.
(1). การกีดกันทางด้านชนชั้น-วรรณะ (caste)
.
วรรณะทำให้เกิดชนชั้น "จนนาน (ศูทร)" และ "จนปางตาย" (จัณฑาล) ในอินเดีย ดังที่สารคดีเจอร์นีแมน (JourneymanPicture) นำเสนอว่า ยุคนี้อินเดียก็ยังกดขี่จัณฑาล
.
เช่น บางวรรณะห้ามทำอย่างอื่น ซักผ้าได้อย่างเดียว แถมซักแล้วไม่ได้เงิน ได้แต่อาหารเหลือกินจากวรรณะที่สูงกว่า
.
บางวรรณะยังทำงานได้อย่างเดียว คือ วางถาดเทอดไว้เหนือหัว วางกระโถนไว้บนนั้น เดินไปในหมู่บ้านวรรณะที่สูงกว่า เก็บอุจจาระจากกระโถน เพื่อขอเศษอาหารเหลือจากวรรณะที่สูงกว่า
.
ส่วนใหญ่วรรณะศูทรจะเป็นกลจักรหลักในการกดขี่วรรณะจัณฑาล คล้ายกับคำกล่าวที่ว่า กองทัพมีวรรณะที่ยิ่งใหญ่ 2 ชั้น คือ นายพลกับนายสิบ
.
นายพลยิ่งใหญ่ในหมู่กองทัพฉันใด นายสิบก็ยิ่งใหญ่ในหมู่พลทหารฉันนั้น
.
การกดขี่ในกองทัพนั้น... เบามาก ถ้าเทียบกับวรรณะในอินเดีย ดังนิตยสารแนชนัล จีโอกราฟิค นำเสนอว่า การเทน้ำร้อนลวก หรือยิงคนวรรณะต่ำที่หิวน้ำจนทนไม่ไหว แอบไปใช้บ่อน้ำของวรรณะที่สูงกว่าพบบ่อยที่นั่น!
.
กล่าวกันว่า ถ้าคนวรรณะจัณฑาลจะถอนตัว (uninstall แบบโปรแกรมในคอมพิวเตอร์) จริงๆ แล้ว... มีทางเลือก 2 ทาง
.
ทางหนึ่งถอนแล้วรวย คือ เปลี่ยนเป็นมุสลิม ซึ่งมีการช่วยเหลือกันภายในศาสนาสูง, อีกทางหนึ่ง คือ เปลี่ยนเป็นชาวพุทธแบบดอกเตอร์เอมเบคกา
.
คนที่เคยไปอินเดียคงจะสังเกตได้ว่า ชาวอินเดียที่เป็นมุสลิมส่วนใหญ่จะมีฐานะดีกว่า แต่งกายสะอาดกว่าชาวอินเดียที่เป็นฮินดู
.
.
(2). การกีดกันทางเพศ (gender)
.
ผู้หญิงอินเดียมีโอกาสทางการศึกษาต่ำ ทำให้ไม่มีอำนาจต่อรอง ต่างจากประเทศที่ผู้หญิงมีโอกาสทางการศึกษาสูง เช่น อิหร่าน ฯลฯ
.
อิหร่านมีนักศึกษามหาวิทยาลัยผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แถมนักศึกษาที่นั่นยังเก่งภาษาอังกฤษมากด้วย (ดูจากบทสัมภาษณ์ของสำนักข่าว และผู้สื่อข่าวหลายสำนัก)
.
.
(3). ความเป็นชาติ (nationality) ยังไม่ลงตัว
.
อินเดียพัฒนาจากความเป็นรัฐ-ราชา ไม่มีรัฐบาลกลางเกือบตลอดประวัติศาสตร์ ยกเว้นช่วงที่มีมหาราช เช่น ท่านพระเจ้าอโศกมหาราช ฯลฯ
.
อังกฤษเพิ่งทำให้อินเดียเป็นรัฐชาติใหม่ ทว่า... คนอินเดียยังมีความเป็น "คนหมู่บ้าน-ตำบล-อำเภอ-จังหวัด" สูงกว่าความเป็นชาติ (ท้องถิ่นนิยม)
.
ปรากฏการณ์นี้คล้ายกับประเทศจำนวนมากในเอเชีย-แอฟริกาที่เพิ่งรวมชาติได้ไม่นาน ยังเสี่ยงทะเลาะเบาะแว้งกันภายในต่อไปอีกหลายสิบ หรือหลายร้อยปี
.
.
(4). ความแตกแยกทางศาสนา
.
อินเดียมีประชากรส่วนใหญ่เป็นฮินดู ส่วนน้อยเป็นมุสลิม โดยพบสัดส่วนมุสลิมเพิ่มขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือ ใกล้ๆ กับเมืองหลวง
.
อินเดียมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นรูป 4 เหลี่ยมตะแคง หันมุมลงล่างไปทางศรีลังกา ด้านล่างมีมหาสมุทรเป็นพรมแดนธรรมชาติ ด้านเหนือ-ตะวันออกมีภูเขาเป็นพรมแน
.
สมัยก่อนราชวงศ์โมกุลบุกยึดอินเดียทางช่องเขา เข้าไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ... ทำให้คนแถบนั้นนับถือมุสลิมมากกว่าแถบอื่นๆ
.
คนมุสลิมส่วนหนึ่งแยกประเทศเป็นปากีสถาน-บังคลาเทศ อีกส่วนหนึ่งยังคงปะทะกันเป็นพักๆ ซึ่งท่านที่เคยไปอินเดียคงจะรู้ดีว่า รถไฟที่นั่นต้องหยุดเดินจากการประท้วงบ้าง ปะทะกันบ้างเป็นเฮือกๆ
.
.
วิกฤติ-โอกาส...
.
สำนักสแตรทฟอร์พยากรณ์ว่า ถ้าอินเดียแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้ จะแตกเป็นประเทศเล็กลง อย่างน้อย 2 ประเทศในอนาคต
.
กระแสความไม่พอใจหลังคดีข่มขืน-ฆ่าในอินเดียเป็นโอกาสแห่งการพัฒนา ซึ่งถ้าอินเดียรีบปรับเปลี่ยน แก้ไข ทำให้เกิดความเสมอภาคในสังคมมากขึ้น จะทำให้อินเดียที่มีคนเก่งมาก ทั้งวิศวกร นักคอมพิวเตอร์ หมอ ครูบาอาจารย์ พยาบาลมากก้าวไปได้ไกล
.
คนอินเดียจนๆ ก็คล้ายกับคนไทย คือ อยากเรียนสาขาที่จบมาแล้วมีงานทำ เช่น หมอฟัน นักบิน นักบัญชี พยาบาล เภสัชกร วิศวกร-สถาปนิกสาขาขาดแคลน
.
.
ถ้าเด็กอินเดีย-ไทยมีโอกาสทางการศึกษา "สาขาที่จบมาแล้วมีงานทำ"... คนรุ่นใหม่จะเป็นพลังขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวไปไกลได้มาก และนานทีเดียว
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.
 
หมายเลขบันทึก: 515464เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2013 08:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มกราคม 2013 08:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

1) (I think) 'open' in CNN open mic(rophone): is used in the same sense as 'open source software' or 'open market' -- to mean 'unrestricted' - as an adjective rather than a verb (to give access).

2) classes and separation come in as a mean to build and keep 'power' (economic and otherwise). Even in Thailand, we have clear examples of classes: public servants - rural folks, educated-uneducated, white collars-workers (with street sweepers at the lowest end).

We often fail to realize that the work provided by 'lower paid workers' is the base of all other so-called 'work' (or shaping work). Doctors would fail in their work if the environment is not kept clean by street sweepers, cleaners and rubbish removers. We fail to compensate those workers at the 'coal face' (or the front line where life and dead meet). We must, if we are to maintain our standard of living and being virtuous classes, pay them more. Pay them more to make working in dangerous and hazardous conditions worthwhile. (Afterall, if we don't want to do it ourselves! ;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท