Buddhist management


การเรียนรู้วิถีพุทธ

         พุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งการเรียนรู้ มีกระบวนการเรียนรู้ที่ชัดเจน คือเพื่อความหลุดพ้นจากความบีบคั้นทั้งปวง เพราะฉะนั้นอุดมคติของการเรียนรู้ จึงอยู่ที่ว่ามนุษย์สามารถพบจุดร่วมกันได้เพื่อการเรียนรู้ที่ดีเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะแสวงหาและช่วยให้เพื่อนมนุษย์ได้พบการเรียนรู้ที่ดีให้ได้ นำไปสู่การหลุดพ้นจากการบีบคั้นทั้งปวงความ ร่มเย็นเป็นสุข     

         การบูรณาการตามนัยแห่งพุทธธรรม เป็นระบบและกระบวนการของชีวิตซึ่งครอบคลุมหลักการพัฒนามนุษย์ที่ว่าด้วยไตรสิกขาและหลักธรรมที่สำคัญในอันที่จะเป็นแนวปฏิบัติสู่ความเป็นคนเก่ง คนดี มีอิสรภาพ เป็นแนวทางสำหรับการจัดระบบ หลักการ กระบวนการ และปัจจัยสนับสนุนการศึกษา โดยใช้ชีวิต วิถีชีวิต การพัฒนาชีวิตที่ดี เป็นโจทย์หลัก จึงครอบคลุมทุกมิติ มีลักษณะที่เป็นองค์รวม หล่อหลอม เกิดประโยชน์ นำไปสู่การพัฒนา ให้เต็มในทุกมิติ ได้แก่ เต็มศักยภาพผู้เรียน พัฒนาทั่วทั้งกาย จิต และปัญญา 

         ถ้าจะมองอีกแง่หนึ่งพุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ประชาชน นี่เป็นจุดสำคัญที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงปลดปล่อยศักยภาพของ การเคารพศักดิ์ศรีคุณค่าความเป็นคนของคนทุกคน เป็นพื้นฐานนำไปสู่เรื่องอื่น ไม่ว่าเรื่องประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน สิทธิสตรี สิทธิเด็ก การพัฒนา การศึกษาที่ต้องให้คนทุกคน นี่เป็นศีลธรรมพื้นฐาน
ซึ่งเราขาดในระบบการศึกษาปัจจุบัน รัฐธรรมนูญก็พูดไว้เรื่องศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์แต่เป็นนามธรรมในรูปธรรมทำอย่างไรเราคิดว่าความรู้อยู่ในการปฏิบัติและอยู่ในผู้ปฏิบัติเป็นโครงสร้างทางปัญญาเป็นความจริง คนที่ปฏิบัติสิ่งใดก็จะมีความรู้ในเรื่องนั้นๆ เมื่อจะปลูกฝังควรให้มนุษย์ซึมซับรับรู้จากการเผชิญสถานการณ์ บรรยากาศ และสิ่งแวดล้อม โดยใช้กระบวนการซึมซับจึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เผชิญสถานการณ์ต่างๆ บ่อยครั้ง เพื่อเปิดโอกาส ให้ พิจารณา วิเคราะห์ ไตร่ตรอง หาเหตุผลวิธีการต่างๆ ที่ทำให้ตนเองอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ดีและแก้ปัญญาอันเกิดจากสิ่งแวดล้อม ได้มีความสัมพันธ์และมีปฏิกิริยาโต้ตอบสิ่งแวดล้อมนั้นๆ จะเกิดทำให้เกิดการเรียนรู้ที่สูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง จากระดับการรับรู้ สัมผัสและเข้าใจสิ่งต่างๆ (รูป – เวทนา – สัญญา) ไปสู่ระดับการคิดหลายๆ วิธี (สังขาร)
ซึ่งเป็นกระบวนการซึมซับจากสถานการณ์ (ความจริงของธรรมชาติและของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน)ที่เผชิญทั้งทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดี แล้วคิดวิเคราะห์หาทางเลือก จากจุดที่เกิดความสนใจ ความสงสัย และความประสงค์ที่จะค้นคว้าหาคำตอบ พัฒนาต่อไปจากเวทนา สู่การฝึกคุณสมบัติทางจิตซึ่งเรียกว่า สังขารซึ่งเป็นกระบวนการปรุงแต่งคุณภาพทางจิตหรือการคิดนั่นเอง เมื่อได้เผชิญสถานการณ์ ที่เป็นความจริงของสิ่งแวดล้อม และฝึกคิดปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ อันเป็นผลมาจากกิจกรรมนั้นๆ จนเกิดความเข้าใจ ความสามารถ ความคิดเห็นที่จะต้องมาจากการปฏิบัติที่เกิดผลดีและผลร้าย ผลจากการเรียนรู้เช่นนี้ ทางพุทธศาสตร์เรียกว่า วิญญาณ ซึ่งเป็นความรู้ที่แจ่มแจ้ง การเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเป็นลำดับในรูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ นี้ เรียกว่า เกิดความรู้ตามที่เป็นจริงมีสัมมาทิฐิ คือ ความไม่เห็นแก่ตัว
มุ่งประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ซึ่งจะกอให้เกิดผลดีทั้งต่อตนเอง สิ่งแวดล้อม สังคม และประเทศชาติ




หมายเลขบันทึก: 515074เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2013 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มกราคม 2013 11:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สุขภาพดี วิถีพุทธ ... นะคะ ขอบคุณ 


             บทความดีดีนี้ค่ะ





พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท