jagsan
นาย จักรสันต์ เลยหยุด เลยหยุด

Civil society organization


สรุปบทเรียน  Civil society organization

ผู้บรรยาย : ผศ.ดร.ปัตพงษ์  เกษสมบูรณ์

ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น



            คำว่าประชาคม ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Civil Society มีหลักฐานแน่นหนาจากการวิจัยว่าความเป็นประชาสังคม หรือจะแปลว่าสังคมอารยะก็ได้ เป็นปัจจัยกำหนดว่าสังคมใดสังคมหนึ่งจะมีเศรษฐกิจดี สังคมดี และการเมืองดี หรือไม่ สมควรที่ทุกท่านจะให้ความสนใจ และศึกษาให้เข้าใจว่า ประชาสังคม หมายถึงอะไรโดยย่อ ประชาสังคม หรือสังคมอารยะ หมายถึงสังคมที่ประชาชนรวมกลุ่มกันทำงานในรูปต่างๆเต็มพื้นที่ ไม่ว่าจะเรียกว่ากลุ่ม ชมรม สมาคม สหกรณ์ มูลนิธิ ชุมชน ประชาคม หรือชื่อใดอื่น การรวมกลุ่มกันทำงานให้มากๆ เกิดพลังงานทางสังคม (Social energy) พลังงานทางสังคมช่วยให้เอาชนะอุปสรรคที่ยากๆได้ทุกชนิด  การดำรงชีวิตร่วมกัน หรือการดำรงอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม คือ การดำรงอยู่ร่วมกันคือ สุขภาพ อย่างยิ่ง ประชาคม คือสังคมแห่งความพร้อมเพรียงกันกระทำกิจที่พึงทำ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ โดยในชุมชนที่มีความเข้มแข็ง มักมีความเห็นที่สอดคล้อง และความตั้งใจในการแก้ปัญหาร่วมกัน

   การเริ่มต้นที่ ภาครัฐต้องยอมรับความคิดเห็นของประชาชนชุมชน  โดยสนับสนุนการจัดกระบวนการ เพื่อเอื้อให้ประชาชน  ลุกขึ้นมาจัดการปัญหาด้วยตัวเอง ดังเช่นชุมชนไม้เรียง ได้แก้ไขปัญหาในชุมชน ซึ่งมีขั้นตอนที่หลากหลายตามบริบทชุมชน พอสรุปมีขั้นตอนแก้ปัญหาโดยสังเขป  ดังนี้

      1.  ค้นหาแกนนำในชุมชน สร้างทีมงานที่ริเริ่มกระบวนการจัดทำแผนแม่บท  และสร้างความเข้าใจที่ชัดเจน  ร่วมกัน โดยใช้วิธีการทำงาน  ขึ้นกับบริบทในพื้นที่นั้น ๆ  โดยชุมชน ที่มีแกนนำที่พร้อม  มีองค์กรและ กลุ่มใน

       2. จุดประกายความคิด ริเริ่มที่วงพูดคุยเล็ก  ๆ ก่อน เมื่อหลายคนมีการพูดถึง  จึงเปิดประเด็นเพื่อหาแนวร่วม  นำประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่วิกฤติเกิดขึ้นในชุมชนมาหารือ  สร้างความหวังที่จะอยู่รอดร่วมกัน ตระหนักถึงปัญหาต่าง  ๆ  ร่วมกัน  กระตุ้นให้ชุมชนหันมาสนใจเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น  

       3.  ศึกษาหาศักยภาพ   เพื่อดูสิ่งดีดีรอบตัว  ใกล้บ้าน และในชุมชน  ทำให้ผู้คนในชุมชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชน  เกิดการรักชุมชนของตนเอง  ในลักษณะเป็นเจ้าของร่วมกัน  เชิดชูภูมิปัญญาท้องถิ่น  ให้ทุกคนเห็นคุณค่า 

     4. สำรวจทรัพยากร รวบรวมข้อมูล  กำหนดประเด็นที่อยากรู้ร่วมกัน เพื่อเก็บข้อมูล เช่น ข้อมูลครัวเรือน  หนี้สิน  การทำมาหากิน  มีการประชุมแลกเปลี่ยนพูดคุย  มีบันทึกการทำงาน เก็บข้อมูลครัวเรือนทำให้  ทุกครัวเรือนเห็นคุณค่า  ใช้จังหวะ  เวลา  ในการจัดเก็บข้อมูลกับชุมชน  ให้ได้ข้อมูลที่ดี  ชัดเจน และ มีประโยชน์ 

   5.  วิเคราะห์  สังเคราะห์ข้อมูล   สมาชิกทุกคนช่วยกันดูข้อมูลครัวเรือนที่เก็บขึ้นมา  ช่วยกันจัดหมวดหมู่  ทำความเข้าใจในข้อมูลที่ชัดเจน  การรวบรวมข้อมูลในทุกแง่มุม  แล้วนำกลับคืนสู่ชุมชนครัวเรือน ใช้วิธีการเปิดประเด็นข้อมูล  และช่วยกันหาทางออก  โดยใช้หลักการปัญหาของใคร  คนกลุ่มนั้น  ต้องช่วยกันแก้ 

    6. ร่างแผนแม่บทชุมชน  เมื่อมีข้อมูลที่ครบถ้วนแล้ว  ทุกคนเกิดการรับรู้ร่วมกัน  กระบวนการกำหนดแนวทางจะเริ่มขึ้น  และมีทิศทางโดยการกำหนดกันเองและ กลายเป็นแผนงานในที่สุด  เกิดกระบวนการแก้ปัญหาแบบกลุ่มปัญหา  มีเจ้าภาพ เจ้าของเรื่องราวที่แท้จริง  ได้แผนงานที่แก้ได้ในระดับตัวเอง  ได้แผนงานในระดับที่จัดการกันเองในระดับชุมชน

     7.  สอบถามความเห็น   ตัวแทนแต่ละกลุ่มกิจกรรมร่วมกัน  พิจารณาถึงความเป็นไปได้  ความถูกต้องตามเจตนาของผู้คนในพื้นที่นั้น ๆ  มีเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หาความเหมาะสมในการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ 

    8.  นำแผนไปสู่การปฏิบัติ   นำแผนไปสู่การปฏิบัติ  โดยมอบให้ตัวแทนแต่ละเรื่อง  แต่ละกิจกรรมที่แต่ละกลุ่มต้องการ นำไปบริหารจัดการด้วยตนเองใช้ทุนในชุมชนโดยเฉพาะทุนทางสังคม บุคลากร วัฒนธรรม ประสบการณ์ 

วิถีชีวิต 

   9.  ทบทวนแก้ไขปรับปรุง  แผนที่จัดทำขึ้นสามารถปรับปรุงได้ตลอดเวลา  เมื่อนำแผนไปสู่การทำงาน  อาจติดขัด  เจอปัญหา  ให้ใช้วิธีการปรับแผน  โดยใช้เวทีกลุ่มหรือชุมชนช่วยตัดสินใจ โดยเน้นการมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ

    10.  ประเมินผล  สรุปบทเรียน  เป็นการสรุปการทำงาน  สิ่งที่ประสบผลสำเร็จ  หรือล้มเหลว  มีการแก้ไขปรับปรุงแล้วผลเป็นอย่างไร  แผนชุมชนที่นำมาปฏิบัติแล้ว  ทุกคนมีความสุขหรือไม่    ชุมชนได้อะไรจากการแก้ปัญหา  จากนั้น ถอดเป็นชุดประสบการณ์ความรู้  เพื่อเป็นต้นทุนข้อมูลในการทำงานต่อไป


คำสำคัญ (Tags): #civil society#organization
หมายเลขบันทึก: 514972เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2013 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มกราคม 2013 07:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขออนุญาตนำไปเผยแพร่นะครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท