"วันนี้....เราใช้เครื่องมือKMถูกทางแล้วหรือยัง?(4)"


การนำใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน.....คือเป้าหมายของการใช้เครื่องมือทางการบริหารที่แท้จริง

สวัสดีครับ

            เป็นเวลากว่า 2 เดือนที่เขียน  บันทึก"วันนี้...เราใช้เครื่องมือKMถูกทางแล้วหรือยัง? "   และเขียนต่อมาอีก 2 บันทึกในชื่อเดียวกัน  ทุกครั้งเมื่อดูจากจำนวนผู้เข้ามาอ่านก็มีจำนวนพอสมควร  แสดงว่าประเด็นนี้ยังคงเป็นประเด็นที่มีคนสนใจค่อนข้างมาก  เลยทำให้ต้องเขียนบันทึกเรื่องนี้อีกครั้ง   ผมเพิ่งกลับจากกรุงเทพฯมาเมื่อวานนี้  ไปเข้าร่วมประชุมการกำหนดกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการปีงบประมาณ 2549 ที่โรงแรมมิราเคล แกรนด์เมื่อวันศุกร์ที่ 7/10/2548

             ในปีงบประมาณ 2549 การประเมินผลการปฏิบัติราชการยังคงทวีความเข้มข้นมากขึ้น มีประเด็นการประเมินผลใหม่ๆ   และเครื่องมือทางการบริหารใหม่ๆเข้ามาเพิ่มเติมอีก  ในขณะเดียวกันเรื่องการจัดการความรู้ก็ยังเป็นเรื่องหนึ่งที่ทวีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น   ในปีงบประมาณ 2549  การจัดการความรู้จะต้องยึดโยงกับประเด็นยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ตามแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีเช่นเดียวกันกับการจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง(blueprint For Change) โดยกรอบการประเมินผลการจัดการความรู้จะใช้กรอบของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติเป็นกรอบหลัก   ในขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างกระทรวง  กรมในส่วนกลาง  และโครงสร้างการบริหารส่วนภูมิภาคในระดับจังหวัดและอำเภอก็จะมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมากทีเดียว   การประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้บริหาร(ผู้ว่าราชการจังหวัด)จะถูกยึดโยงกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของหัวหน้าส่วนราชการต่างๆในจังหวัดนั้นๆและถูกถ่ายลงไปสู่ระดับบุคคลต่อไปประเด็นนี้เป็นตัวชี้วัดการปฏิบัติราชการใหม่ที่ถูกกำหนดขึ้นมา

             ยิ่งมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากและเร็วเพียงใดก็ยิ่งมีความเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือในการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น   ในประเด็นนี้ผมเคยยืนยันมาหลายครั้ง  ก็อยากจะฝากอีกครั้งว่า ในวันนี้มีความจำเป็นที่จะต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ด้วยเครื่องมือทางการบริหารที่ชื่อว่า" การจัดการความรู้ " และมีบทความวิชาการขนาดไม่ยาวนัก ประมาณ 4 หน้าอยากจะฝากให้อ่านชื่อ

"การจัดการความรู้และการบริหารการเปลี่ยนแปลง"

สนใจไปที่

http://gotoknow.org/file/pornsakol/KM%20For%20Change%20Management.doc

            ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เชี่ยวกลาก  มีแต่การใช้หลักวิชาการบริหารจัดการที่ชัดเจนจึงจะสามารถนำพาองค์กรและทีมงานฟันฝ่าไปได้  ในวันนี้มีแต่

            1.การเชื่อมโยงการจัดการความรู้กับการปฏิบัติงานจริง (ที่ส่งผลชัดเจนต่อการเพิ่มขีดสมรรถนะของหน่วยงาน)  จึงจะทำให้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังที่จะนำไปสู่การปฏิบัติจริง

           2.การมุ่งเน้นในส่วนการจัดการความรู้อย่างเป็นองค์รวม (ขับเคลื่อนองค์กรไปด้วยกันทั้งหมด) ไม่มีการดำเนินการแบบแยกส่วนในองค์การ

           3.การกำหนดทิศทางในการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ในระยะยาวที่ชัดเจน (โดยสามารถกำหนดตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ในระยะสั้น  ระยะกลาง  ระยะยาวได้อย่างชัดเจน) จึงจะทำให้รู้ว่าจะสามารถวัดความสำเร็จของการจัดการความรู้ได้อย่างไร

           ทั้ง 3 ประเด็นนี้เป็น Key Success Factors ที่สำคัญและเป็นคำตอบสุดท้ายของการนำการจัดการความรู้ไปบริหารการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นครับ

                                                  พรสกล  ณ  ศรีโต

                                                    9/10/2548

หมายเลขบันทึก: 5149เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2005 18:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ไม่ว่าประเด็นไหน ถ้าเขียนโดยอาจารย์ใครๆก็อยากจะเข้ามาอ่านทั้งนั้นแหละครับ  ขอขอบคุณสำหรับความรู้ที่อาจารย์ถ่ายทอดให้มาโดยตลอด

(ขอโทษนะครับที่ไม่ลงชื่อ เดี๋ยวพวกจะว่าพูดเอาใจอาจารย์)

พี่พรสกลเขียนได้น่าอ่านมากค่ะ

จะแวะเข้ามารับความรู้บ่อยๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท