วิถีพุทธ ? แนวทางบริหารจัดการชีวิต


หลักคำสอนหรือแนวทางการปฏิบัติตามหลักคำสอนต่างๆล้วนแล้วแต่มุ่งหวังให้ทุกคนเป็นคนดีตั้งมั่นอยู่ในสติไม่เบียดเบียนผู้อื่นดังนั้นการเลือกนับถือศาสนาหรือคำสอนใดก็ตามจะต้องพึงระลึกอยู่เสมอว่าเรายึดเอาศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจทำให้จิตใจบริสุทธิ์ไม่ยุ่งเกี่ยวหรือสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นเท่านี้ก็เพียงพอต่อความต้องการของสังคม

แลกเปลี่ยนความรู้โดย ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ อาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ส่งต่อความรู้โดย กาญจนา  นิ่มสุนทร นศ.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนาสุขภาพชุมชน

         พุทธศาสนิกชนชาวพุทธย่อมเคยปฏิบัติตามวิถีพุทธ ทั้งการเดิน จงกรม นั่งสมาธิกำหนดจิต อธิฐาน  สวดมนต์ภาวนา โดยปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด ในสถานที่ปฏิบัติธรรม สิ่งเหล่านี้ ถือเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ชำระล้างร่างกายให้สะอาดปฏบัติตัวอยู่ในหลักธรรมพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังมีแนวทางอื่นๆอีกมากมายที่จะเป็นวิถีพุทธในนิกายอื่นที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ ในขณะนี้  ตัวอย่างเช่น

        ท่านติช  นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh) แห่งหมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส เป็นพระมหาเถระชาวเวียดนาม ในพุทธศาสนานิกายเซนมหายานองค์สำคัญ มีผลงานด้านสันติภาพมากมายจนได้รับเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ(Nobel Peace Prize) โดยดร.มาติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (ผู้ได้รับรางวัลปี 2507) ได้เสนอชื่อท่าน (เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2510 แต่คณะกรรมการตัดสินว่าไม่ควรมีใครได้รางวัลดังกล่าวในช่วงปี 2509-2510) ท่านเป็นผู้นำพุทธธรรมสู่วิถีชีวิตร่วมสมัยพัฒนาแนวทางแห่งสติแพร่หลายไปทั่วโลก สร้างงานเขียนอันทรงคุณค่าหลายเล่ม เช่น
ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ, สันติภาพทุกย่างก้าว และคือเมฆสีขาวทางก้าวเก่าแก่ เป็นต้น

        หมู่บ้านพลัม เป็นหมู่บ้านวิถีพุทธ  อีกรูปแบบหนึ่งที่ยึดหลัก Here  and now คือ การมีสติอยู่กับปัจจุบัน หรือที่ท่าน ติช นัท ฮันห์ จะบอกอยู่เสมอว่า "ปัจจุบันเป็นเวลาที่ประเสริฐสุด" ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบทใด นั่ง นอน เดิน หรือแม้กระทั่งขณะปฏิบัติกิจวัตรประจำวันก็ตาม ให้ฝึกสติ ตั้งมั่น อยู่ในสติ เพื่อเป็นการควบคุมความรู้สึกนึกคิดของตนเอง ไม่ให้ปล่อยใจล่องลอยไปเวลาที่หมุนไป ดังนั้นรูปแบบของการฝึกปฏิบัติวิถีพุทธตามแนวปฏิบัติของหมู่บ้านพลัมจึงแตกต่างจากวิถีพุทธตามแนวปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนในประเทศไทย อาทิเช่น การฝึกสมาธิโดยการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน โดยมีเสียงระฆัง เป็นเครื่องเตือนสติให้อยู่กับปัจจุบัน  รูปแบบของกิจกรรมจะไม่เคร่งครัดมากเกินไปซึ่งจะมีเพลงเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเรียกสมาธิโดยปล่อยใจไปกับเพลงที่ร้องร่วมกันซึ่งจะเป็นธรรมะอีกแง่มุมหนึ่งตามแนวทางของท่านติช นัท ฮันห์  นอกจากนี้ที่เห็นได้ชัดคือท่านจะพยายามสอดแทรกให้เห็นว่าการฝึกสมาธิให้สติตั้งมั่นแม้ขณะทำงานก็สามารถจะทำให้ร่างกายและจิตใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ขณะที่ปลูกผัก ทำสวนครัว ทำความสะอาดสถานที่ก็ถือเป็นการปฎิบัติธรรมได้อีกแนวทางหนึ่'

    ที่สำคัญแนวทางคำสอนของท่านติช นัท ฮันห์ ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือ Inter-beingหรือ ‘การเป็นดั่งกันและกัน’ เป็นแก่นสาระคำสอนที่แทรกอยู่ในคำสอนอื่นๆ เพื่อให้การฝึกตามข้อปฏิบัติเป็นไปได้ง่ายขึ้น และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่หลงไหลการร้องเพลงและในขณะเดียวกันก็อยากที่จะฝึกสมาธิหรือทำกิจกรรมอื่นๆที่นอกเหนือจากการนั่งปฏิบัติก็สามารถที่จะเลือกทางนี้ได้เช่นกัน

คำสำคัญ (Tags): #here and now#Inter-being’
หมายเลขบันทึก: 514828เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2013 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มกราคม 2013 11:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 

สวัสดีปีใหม่..สุขสดใสด้วยความคิดดีงามค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท