การเสริมแรงจูงใจในการเรียนรู้


การเสริมแรงจูงใจในการเรียนรู้

             การเรียนรู้จะเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลได้นั้น การเสริมแรงจูงใจในการเรียนรู้มีส่วนสำคัญ พื้นฐานกระบวนการของแรงจูงใจเกิดจากการกระตุ้นแล้วซึ่งในทางกลับกันก็จะตามด้วยปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่นำไปสู่​​พฤติกรรมการตอบสนองที่เฉพาะเจาะจงในห้องเรียน  ถ้าพฤติกรรมของนักเรียนได้รับการยกย่องว่าเป็นที่น่าพอใจและได้รับรางวัล, เป็นการเสริมแรงทางบวกจะช่วยกระตุ้นนักเรียนที่จะทำพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้บ่อยๆ ตรงกันข้ามถ้าพฤติกรรมของนักเรียนไม่ดีก็จะได้รับการยกย่องและรับการตอบสนองในทางที่ไม่น่าชื่นชม นอกจากนี้ความวิตกกังวลและความยุ่งยาก มักจะส่งผลถ้าพฤติกรรมความคิด ไม่นำไปสู่​​การรับรู้การเสริมแรงที่เหมาะสมและได้รับรางวัล โดยทั่วไปนักเรียนแสดงแรงจูงใจของพวกเขา 3 ด้าน คือ 1. รู้ถึงสิ่งที่พวกเขาคาดหวังว่าคืออะไร 2. คิดว่าเป็นความพยายามที่คุ้มค่า 3. รู้สึกว่าพวกเขาจะได้รับผลประโยชน์จากการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

            ครูบางคิดรู้สึกว่าการสร้างแรงจูงใจเป็นไม่ใช่ความรับผิดชอบของพวกเขา แต่นักเรียนควรได้รับคำแนะนำจากครู คำพูดของครู คือ หนึ่งแรงจูงใจ

            กิจกรรมที่น่าสนใจ กิจกรรมที่หลากหลาย เป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้ของนักเรียน การแสดงความชื่นชม เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมได้ดี  การสื่อสารที่แสดงการยอมรับ ความเห็นอกเห็นใจ เข้าใจนักเรียนในการฝึกฝนหรือการร่วมกิจกรรม ให้กำลังใจกับความพยายามของเด็ก  ให้กำลังใจโดยไม่จำเป็นต้องชื่นชม แต่ให้กำลังใจกับเด็กที่ทำกิจกรรมได้ไม่ดีด้วย ไม่ใช่ชื่นชมเฉพาะเด็กที่ทำกิจกรรมได้เป็นอย่างดีเท่านั้น โดยการใช้คำพูดที่สื่อถึงความจริงใจ การให้กำลังใจโดยการสัมผัสหรือใช้สายตาที่แสดงความจริงใจ ให้เวลาในการรับฟังและสื่อสารกับพวกเขา การแสดงคำตอบที่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง โดยการสื่อสารกับเด็กด้วยคำตอบที่เหมาะสม เช่น "ใช่ ถูกต้องนะคะ/ถูกต้องนะครับ " , "ถูกต้อง" เหล่านี้เป็นต้น 

           ให้การยกย่องและให้รางวัล  ครูจะต้องมีความยุติธรรม มีการกระจายให้ทั่วถึง นักเรียนทุกคนควรได้รับการยกย่อง ควรมองสิง่ที่ดีที่จะกล่าวยกย่องในการทำงานของพวกเขาและคอยชี้แนะแก้ไขปัญหาและข้อบกพร่องในการทำงาน ส่งเสริมแรงจูงใจในการเรียนรู้ ส่งเสริมความสามัคคีในทีม หากมีกิจกรรมกลุ่มที่ต้องทำร่วมกัน

           ข้อควรระวัง

            1. ไม่ควรมีการยกย่องมากเกินไป  เพราะจะทำให้นักเรียนทำกิจกรรมเพื่อคำชมเชยหรือรางวัล ทำให้นักเรียนไม่มุ่งมั่นในการทำกิจกรรมที่เกิดมาจากสำนึกของตนเอง

            2. ความไม่เป็นธรรม เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นค่อยข้างบ่อยในหลายห้องเรียน ครูอาจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว ว่าเสริมแรงบวกหรือยกย่องกับนักเรียนบางคนมากกว่าคนอื่น ครูต้อพยายามนำความแตกต่างส่วนบุคคลและรักษาความเท่าเทียมกันของนักเรียน นักเรียนทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันในการได้รับแรงจูงใจ แรงเสริมทางบวก

            3. การพูดเกินจริง ควรระวังการพูดเกินจริง ควรใช้แรงเสริม ยกย่องด้วคำพูดตามจริง ตามสถานการณ์ที่เหมาะสม เช่น "เป็นคำตอบที่ดีเยี่ยม", "ดีเยี่ยม" เหล่านี้เป็นต้น

            เป้าหมายโดยรวมของครู ควรจะช่วยให้นักเรียนพัฒนาไปสู่การสร้างแรงจูงใจในตัวเอง เป็นแรงบันดาลใจให้นักเรียนเรียนรู้ตลอดชีวิต นักเรียนจะประสบความสำเร็จมากขึ้นทั้งในและนอกห้องเรียน

อ้างอิง

 ข้อมูลนี้ถูกดัดแปลงมาจากหลักสูตร Iowa State University 245/268 และการสอน (CI) ชั้นในฤดูใบไม้ผลิในปี 2000 และถูกสอนโดย  Barb Adams.


คำสำคัญ (Tags): #แรงจูงใจ
หมายเลขบันทึก: 514538เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2012 20:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 ธันวาคม 2012 20:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท