502. "สุนทรียสนทนาวิถีบวก" (Theory U ตอนที่ 8)


ที่มาของการสร้างสรรค์ร่วมกันระหว่างอาจารย์กับลูกศิษย์

เมื่อวานผมดูรายการ CNN Heroes ที่ว่าด้วยการประกาศมอบรางวัลให้คนธรรมดา ที่สร้างความแตกต่างให้กับโลกครับ แล้วผมก็เห็นภาพนี้ในเว็บของ CNN ครับ


Credit: http://edition.cnn.com/SPECIALS/cnn.heroes/index.html

ผมประทับใจรายการนี้มากๆครับ และประทับใจแนวคิดที่ว่า Everyday People changing the world (เอ๊ฟเวอรี่เดย์ พีเพิ้ล เช๊นจิ่ง เดอะเวิลด์ หรือ "คนธรรมดาๆ ที่กำลังเปลี่ยนโลก) ลองเข้าไปดูที่เว็บนะครับ แต่ที่ผมจะพูดถึงวันนี้ในฐานะคนธรรมดาอย่างเราครับ ที่เราต่างก็ทำงานอยู่ทุกวัน เราจะทำอะไรกับมันได้ไหมครับ วันนี้นำเสนอแนวทางการพัฒนาตนเอง และผลของการทดลองการพัฒนาตนเองครับ ผมเชื่อว่าเมื่อคุณอ่านจบ คุณจะเชื่อเลยว่าคุณสามารถทำอะไรกับวันธรรมดาๆ ของคุณได้แน่นอน เริ่มเลยครับ

ผมเองโชคดีหลายๆเรื่องในชีวิต เรื่องหนึ่งคือได้มีโอกาสทำอะไรดีๆ เช่นค้นคว้าและสอนเรื่อง Appreciative Inquiry (AI) การได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่สำคัญอีกเรื่องคือการได้ทำงานร่วมกันกับเพื่อนดีๆ วันนี้อยากคุยเรื่องหนึ่งครับ เป็นเรื่องที่ผ่านการสร้างสรรค์ร่วมกันกับลูกศิษย์ท่านหนึ่ง มาว่ากันเลยครับ พวกเรามีโอกาสได้สัมผัสกับ Dialogue และ U-theory มาสักพักใหญ่ครับ เมื่อปีก่อนเราเริ่มเป็นวิทยากรด้าน Dialogue ร่วมกัน คือมีความรู้สึกง่ายๆครับ ว่าก่อนจะสอน AI เราควรจะพูดถึงเรื่อง Dialogue ดีกว่าไหม ตรรกะมีง่ายๆครับคือในเมื่อเราจะสอน AI ซึ่งคือศิลปะการถาม ที่มันจะต้องมีการฟังการประมวลข้อมูลเชิงบวก ก็ควรพัฒนาทักษะการคุย การฟังที่มีการห้อยแขวน ไม่ด่วนตัดสินที่เราคุ้นหูกันว่า “สุนทรียสนทนา หรือ Dialogue” ด้วย นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มผสมผสานการใช้ Dialogue เข้ามาก่อนเราจะทำ AI

....

ก็เห็นเลยว่าเกิดปรากฏการณ์ที่แสนพิเศษ ตอนแรกในหลายที่คนจะต่อต้านว่า “ทำไมฉันต้องมานั่ง เล่าเรื่องส่วนตัว ให้คนอื่นฟังด้วยนะ” ที่สุดเราก็เริ่มผสมผสาน U-theory เข้าไปครับ เอามาอธิบายปรากฏการณ์ของ การทำ Dialogue ที่เราผสมผสาน ไม่ได้แค่เพียงอธิบายครับ หากแต่พอหลังจากทำ Dialogue เสร็จ เราพาเขาวิเคราะห์ความคิดตัวเองที่มีต่อคู่สนทนา ผ่าน U-theroy ครับ ตรงนี้เราพาทำทีละคนเลยครับ จากการเฝ้าสังเกต ติดตามผล ผมกับลูกศิษย์คืออาจารย์โอ๋ แห่ง Organization Development Institute แห่งมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เราเริ่มตกผลึก Dialogue และ U-theory ดังนี้ครับ



Credit: http://sustainabilitythinking.wordpress.com/2011/07/31/theory-u/

Co-sensing โคเซ๊นซิ่ง

ความที่เราหัดห้อยแขวน คือเราไม่ได้ดึงเอาข้อมูล รูปแบบความคิดในอดีตมาตัดสิน Dialogue หรือตัดสินผู้เข้าฝึกอบรม เรา “ห้อยแขวน” เราเริ่มเห็นอะไรบางอย่างครับ คือเรามานั่งสังเกตครับ เราพบว่า (Seeing with fresh eyes) คนดูตื่นเต้นที่ได้ค้นพบเรื่องราวดีๆ ในตัวเพื่อน หลายเรื่องถ้าไม่ผ่านการทำ Dialogue รับรองอีกสิบปี หรืออาจตายจากกันไปก่อน ก็คงไม่รู้จักกันแบบนี้ เห็นคนร้องให้ เราเห็นการเปิดใจครับ ขณะเดียวกันก็เริ่มรู้สึกเลยครับ (Sensing from the field) ว่าการทำ Dialgoue ผสมผสานกับ U-theory นี่อาจไม่พอครับ เรามีเวลาสั้นมากๆ ที่จะทำ Dialogue ตอนแรกๆ ในหลักสูตเรามีโอกาสแทรกเข้าไปเพียงครึ่งวัน จากที่เรามีเวลาสอน AI อยู่หนึ่งวันเต็ม ลำพังแค่สอน AI หนึ่งวันนี่ก็ยากแล้ว นี่เสี่ยงผสม Dialogue เข้าไปอีก ที่สำคัญเริ่มรู้สึกว่า มีอะไรบางอย่างขาดหายไป เรารู้สึกได้ว่าคนส่วนใหญ่ ยังดึงประสบการณ์ออกมาเป็นเรื่องเล่าไม่ได้มากพอครับ ส่วนใหญ่จะหยุดอยู่ที่ Seeing with fresh Eyes คืออธิบายด้วยความตื่นเต้นครับ ว่าเขาเจออะไรที่น่าตื่นเต้นในตัวคู่สนทนาบ้าง นี่คือประมาณที่ขั้น Co-sensing แต่ไม่ก้าวผ่าน Co-presencing ไปถึง Co-creating มีแค่คนสองคนเท่านั้นที่จะพาตัวเองผ่านไปถึง Co-creating คือขั้นทำ Prototyping เรารู้สึกว่าเราอยากทดลองอะไรบางอย่าง

Co-presencing โค พรีเซ๊นซิ่ง

หลังจากการเฝ้าดูการสังเกต ห้อยแขวน เราก็ถามตัวเองว่าเราเป็นใคร เราคือพวกที่อยู่ในสังคมเร่งด่วนครับ ถึงแม้เราจะพยายามแนะนำอะไรดีๆ ให้กับลูกศิษย์เรา แต่หากไม่สามารถก่อให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงทันตานี่ เราในฐานะที่เป็นอาจารย์กลับจะตกที่นั่งลำบากเอง เรียกว่าอันตรายเหมือนกัน ที่สุดอาจสูญเสียโอกาสที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงดีๆ ไปเลย ไม่ว่าจะผ่าน Dialogue หรือ AI ก็ตาม เราต้องทำให้เกิดอะไรบางอย่างครับ นี่ทำให้เราเชื่อมโยงมาสู่การทำงานของเราเอง ตัวผมทำ Appreciative Inquiry มาตลอด เห็นปรากฏการณ์ดีๆ ที่เกิดจากการตั้งคำถามดีๆ ครับ ผมเลยนึกถึงเรื่องราวของการถามแบบแนว Appreciative Evaluation (แอ๊พพริชิเอทีพ อีแวลลูเอชั่น) ซึ่งก็คือ AI สาขาหนึ่ง แต่นำมาใช้ในการประเมิน 

Co-creating โคครีเอชั่น

เราตกผลึกครับ เราต้องแนะนำเรื่องดีๆ อย่างนี้ให้แวดวงธุรกิจให้ได้ เพราะเห็นผลดีมามากๆ ครับ คือคนพวกนี้มีอำนาจทางเศรษฐกิจสูง ถ้าฟังไม่เป็นเลย ผมว่าจะเสียโอกาสหลายๆอย่าง ในมุมมองของผม Dialogue เองเป็นอะไรที่เหมาะกับยุคนี้ครับ ถ้าทำเป็นแล้วจะทำให้ชีวิตส่วนตัวมีความสุขมากๆ คนที่อยู่ร่วมด้วยก็มีความสุข ถมทำให้เกิดนวัตกรรมได้ด้วย เพราะมันคือการคิดจากอนาคต (Future Thinking ฟิวเจอร์ ติ๊งกิ้ง) มนุษย์เราไม่ห้อยแขวน ก็เอาแต่ข้อมูล ชุดข้อมูลในอดีตมาคิด คุณจึงเห็นการปฏิเสธ การทำอะไรตามความเคยชิน แล้วมันจะเกิดความคิดใหม่ๆ ได้ไง การห้อยแขวนการฟัง การทำสุทนรียสนทนานี่เป็นอนาคตของประเทศเลยครับ เป็นรองก็เพียงเรื่องจิตวิญญาณ กับศาสนา เพราะอะไรครับศาสนาพุทธเราก็สอนเรื่องการไม่เพ่งโทษครับ 


Credit: http://www.guidingchange.com/2012/04/30/take-a-moment-of-reflection-deep-listening/

ในฐานที่จะทำให้คุณบรรลุธรรมได้ง่ายๆ คล้ายกันไหม ถ้ามันแต่จับผิด ตัดสินคนอื่น คุณจะฟุ้งครับ ทำอะไรในทางธรรมไม่ได้ เพราะสร้างมโนกรรมขึ้นมาแล้ว ทำยังไงครับจะไม่ล่มไปก่อน เพราะถ้าพวกนี้ปฏิเสธ จะมีผลกระทบต่อคนในวงกว้างครับ ถึงขั้นในระดับประเทศเลยที่เดียว เพราะบางคนมีอำนาจตัดสินใจ มีลูกน้อง 5-6 พันคน ถ้าเขาสนับสนุนแนวคิดนี้ เท่ากับอีก 5-6 พันชีวิตได้รับการสอน บอกต่อ หรือสนับสนุน นี่ไม่รวมที่ว่าคนอีก 5-6 พันคนจะบอกต่อ เอาไปใช้กับครอบครัวเพื่อนๆ อีกนับหมื่นนี่ เราตั้งเป้าหมายว่า เราจะพัฒนาเรื่องนี้ไปใช้ ในแวดวงที่เราทำงานอยู่ให้ได้ครับ นี่คือสิ่งที่ผมกับอาจารย์โอ๋ ตั้งวิสัยทัศน์ เจตจำนงค์ (Vision and Intention วิชั่นแอนด์อินเทนชั่น)

เริ่มคิดว่าจะทำอะไรต่อ (Prototyping โปรโต้ไท๊ปิ้ง) นั่นคือการผสมผสานแนวคิด AI โดยเฉพาะศาสตร์แห่งการประเมิน เข้าไปครับ เมื่อคนส่วนใหญ่สะดุดอยู่ที่ขั้น Seeing with fresh eyes เราจะลองแทรก AI เข้าไปขั้นนั้นครับ เอาหล่ะครับ แล้วเราก็เริ่มไปใช้ หลังจากที่เราเริ่มสอนคนทำ Dialogue  แล้วให้เขาทำจริงจนจบ เราเริ่มถามเขาครับว่าชอบเรื่องราวของคู่สนทนาตรงไหน พอคนหนึ่งเรา เราก็พาเขาไล่วงจร U-theroy เลยครับ ไล่เหมือนที่ผมไล่ ที่สุดคนก็เริ่มพูดถึง Sensing คือความรู้สึก พอเราตั้งคำถามนำต่อว่า  ลองย้อนกลับมาดูตัวเราสิ งานของเราสิ ว่าเห็นอะไร ก็จะเห็นชัดครับว่าเขาตามเรามา ตรงนี้เรียกว่าพวกเราพาเขาก้าวผ่าน Co-sensing มาที่ Co-presencing ได้สำเร็จ จากนั้นเราก็พาเข้าตั้งคำถามว่า แล้วเราจะทำอะไรก็ต่อ ตั้งใจจะทำอะไรร่วมกันนั่นคือ Visioning and Intention แล้วก็เริ่มเห็นความยากลำบากตามมา ตรงที่ตั้งใจทำอะไรร่วมกัน หากแต่งงต่อ แล้วจะทำร่วมกันยังไง นั่นคือ Prototyping ตรงนี้แหละครับ ผมก็ได้หาวิธีการให้เขาสามารถวางแผนร่วมกันได้ เช่นผมใช้หลักการง่ายๆ ว่า 10 วันข้างหน้าจะไปทำอะไรร่วมกัน ดูเรื่อง 10-10-10 ครับ ตรงนี้ก็เริ่มเห็นแล้วว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลง พอใช้หลักการนี้ เห็นเลยครับ ว่าเกิดการสร้างสรรค์ร่วมกันจริง (Performing เพอร์ฟอร์มิ่ง)

ผลที่ตามมาผมเป็นประจักษ์พยายานการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของลูกศิษย์ เช่นคนหนึ่งเป็นลูกเถ้าแก่ รู้สึกไม่เคยเข้าใจพ่อของเขาเอง ที่ดูเหมือนไม่ให้โอกาสเขาช่วยคิดช่วยวางแผนช่วยเหลือ  พอเราฝึก Dialogue เขาแล้วเขาก็กลับไปทำการบ้าน เราให้เขาไปนั่งฟังพ่อเขาเล่าเรื่องราวต่างๆ ในชีวิต ตั้งแต่สมัยหนุ่มๆ ที่ต้องขี่รถมอร์เตอร์ไซต์ไปเร่ขายของตามหมู่บ้าน จนกระทั่งตั้งตัวได้ แล้วพ่อเขาก็หลุดมาคำหนึ่ง “..ลูกน้องที่ร่วมฝ่าฟันกับพ่อมานั้น เราสนิทกันมาก พวกเขาพูดว่า เขาไม่ต้องการนายคนใหม่ นี่แหละที่ทำให้พ่อลำบากใจ”  นี่ถึงบางอ้อ ครับ ลูกศิษย์ของผมเข้าใจความลำบากใจของพ่อในทันที หลังที่เก็บกดและโกรธพ่อมานาน เขากลับไปช่วยบ้านและตั้งใจค่อยๆ เรียนรู้จากคนที่นั่นครับ

เห็นได้ชัดว่าเราได้แนวคิดนี้ที่มีการผสมผสาน AI เข้าไป ควบคู่กับ U-Theory สามารถยกระดับการทำ Dialogue ของลูกศิษย์ได้ไปไกลกว่าเดิม การผสมผสานที่ว่านี้ผมกับอาจารย์โอ๋ เห็นร่วมกันว่าเราจะเรียกชื่อวิธีการทำ Dialogue แบบที่ว่ามาทั้งหมดในวันนี้ว่า pDialogue หรือ สุนทรียสนทนาวิถีบวก (© Pinyo Rattanaphan and  Voranit Voraphornthanyapat , 2012)  เราทดลองการใช้ pDialogue ในบริบทของเราทั้งโครงการที่ปรึกษาพัฒนาองค์กร (OD Consulting) และการเรียนการสอนมาหนึ่งปีกว่าๆ เห็นผลดีตามมาครับ แต่แน่นอนเราต้องฟัง ฟัง ห้อยแขวนอีกมากๆ เพื่อพัฒนาให้แนวคิด และการปฏิบัติของเรา ให้ได้ผลและยั่งยืนกว่านี้ครับ


Credit: http://www.bustler.net/index.php/article/a_dramatic_detour_by_active_city_transformation/

เห็นไหมครับ เชื่อหรือยังว่าคุณ "น่า" จะทำอะไรกับวันธรรมดาๆ ของคุณได้จริงๆ ตอนนี้ผมกับอาจารย์โอ๋ และลูกศิษย์อีกหลายร้อยคน เชื่อแล้วครับ

วันนี้เพียงเล่าให้ฟัง ลองพิจารณาดูนะครับ 

หมายเลขบันทึก: 514118เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2012 09:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2013 21:05 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท