ประเภทนวัตกรรม


การจำแนกนวัตกรรมทางการศึกษา อาจจำแนกได้ดังนี้

     1. จำแนกตามผู้ใช้ประโยชน์โดยตรง  ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อยๆคือ

     1) สื่อสำหรับครู  ได้แก่ แผนการสอน  คู่มือครู  เอกสารประกอบการสอน  ชุดการสอน  (สื่อประสม)  หนังสืออ้างอิง  เครื่องมือวัดผล  อุปกรณ์โสตทัศนวัสดุ

     2) สื่อสำหรับนักเรียน  ได้แก่ บทเรียนสำเร็จรูป  เอกสารประกอบการเรียนการสอน  ชุดฝึกปฏิบัติ  ใบงาน  แบบฝึก  หนังสือเสริมประสบกาณ์  ชุดเพลง  ชุดเกม  การ์ตูนเรื่อง

     2. จำแนกตามลักษณะของนวัตกรรม  แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

    1) ประเภทเทคนิควิธีการหรือกิจกรรม  เช่น บทบาทสมมุติ  การสอนเป็นคณะ  การสอนแบบศูนย์การเรียน  การเรียนเพื่อการรอบรู้  การสอนโดยใช้พี่เลี้ยง  การเรียนตามความสามารถ  การศึกษาเป็นรายบุคคล  รูปแบบการฝึกทักษะการทำงานกลุ่ม  การสอนความคิดรวบยอดด้วยวิธีสอนอุปนัยและนิรนัย เป็นต้น

  2) ประเภทสื่อการเรียนการสอน  เช่น บทเรียนสำเร็จรูป  ชุดการสอน  ชุดสื่อประสม บทเรียนโมดูล  วิดีทัศน์  สไลด์ประกอบเสียง  แผ่นโปร่งใส  เกม  เพลง  ใบงาน  บทเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น

  นวัตกรรมในองค์กรสามารถแบ่งได้เป็น4 ประเภท (4Ps of Innovation) ดังนี้

  1. Product innovation เพื่อการเปลี่ยนแปลง ด้านสินค้าและบริการ

  2. Process innovation เพื่อการเปลี่ยนแปลงด้านกระบวนการการผลิต การทำงานและการส่งมอบ

  3. Position innovation เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบในการนำเสนอ หรือการวางตำแหน่งของสินค้าและบริการ

  4. Paradigm innovation เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับกรอบความคิด (Mental model) และกระบวนทัศน์ (Paradigm) ที่องค์กรต้องการเป็น

                โดยนวัตกรรมทั้ง 4 ประเภทสามารถเกิดขึ้นได้ควบคู่กันไปจากนวัตกรรมแบบค่อยเป็นค่อยไป (Incremental innovation) ไปสู่นวัตกรรมใหม่อย่างสิ้นเชิง (Radical Innovation) การสร้างนวัตกรรมในองค์กร จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาขององค์การว่าจะวางกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมอย่างไรที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรมากที่สุด และการจัดการกระบวนการนวัตกรรมก็เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งความแตกต่างหรือความยากง่ายของการจัดการนั้นๆ จะขึ้นอยู่กับว่านวัตกรรมนั้นมีความใหม่ต่อผู้คิดค้นเพียงใด

  องค์ประกอบของนวัตกรรม

  อัจฉรา จันทร์ฉาย  (2553 : 54)  ได้อธิบายองค์ประกอบของนวัตกรรมมีอยู่  3 ประการ คือ

    1. ความใหม่ (Newness) สิ่งที่จะได้รับการยอมรับว่า มีคุณลักษณะเป็นนวัตกรรมได้นั้นจะต้องมีก็คือ ความใหม่ หมายถึง เป็นสิ่งใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้น ซึ่งอาจจะมีลักษณะเป็นตัวผลิตภัณฑ์บริการ หรือกระบวนการ โดยจะเป็นการปรับปรุงจากของเดิมหรือพัฒนาขึ้นใหม่เลยก็ได้

    2. การใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์  (Knowledge and Creativity Idea) หมายความว่า สิ่งที่จะถือเป็นนวัตกรรมได้นั้นจะต้องเกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์เป็นฐานของการพัฒนาให้เกิดขึ้นใหม่ ไม่ใช่เกิดจากการลอกเลียนแบบการทำซ้ำ เป็นต้น

    3. ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ (EconomicBenefits) และสังคม (Social) ก็คือ การให้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ หรือการสร้างความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ กล่าวคือ นวัตกรรม จะต้องสามารถทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นได้จากการพัฒนาสิ่งใหม่นั้นๆ ซึ่งผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นสามารถวัดได้เป็นตัวเงินโดยตรง และในเชิงสังคมเป็นการสร้างคุณค่า ซึ่งไม่สามารถวัดเป็นตัวเงินได้

    สรุปได้ว่า  องค์ประกอบของ“นวัตกรรม” คือ “สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม”

            กระบวนการนวัตกรรมเริ่มจากการก่อเกิดความคิดใหม่  และการการรับรู้ถึงโอกาสโดยก่อนอื่น  คนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับสิ่งใหม่  แล้วเมื่อรับรู้แล้วก็ต้องประเมินความคิดแล้วก็จะไปสู้การพัฒนาความ  และผ่านเส้นทางอันยากลำบากไปสู่การนำพาความคิดนั้นไปใช้ประโยชน์ในเชิงพานิช

คำสำคัญ (Tags): #ประเภท
หมายเลขบันทึก: 513986เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2012 20:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 ธันวาคม 2012 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท