เงินทองที่ใช้ในระบบสุขภาพ มาจากไหน จ่ายอย่างไร?


หลายคนคงเคยสงสัยว่าค่าใช้จ่ายที่ใช้ในระบบสุขภาพมาจากไหน ภาระการเงินตกแก่ใคร กิจกรรมของโครงการนี้เป็นประโยชน์กับใคร ค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปเพื่อกิจกรรมการรักษาหรือป้องกันส่งเสริมเท่าไหร่ กระบวนการจ่ายเงินทางช่องทางไหนอย่างไร เกิดความเป็นธรรมหรือไม่หาคำตอบได้จากบทความนี้

การเงินการคลังในระบบสุขภาพ

Health Care Financing 

แลกเปลี่ยนความรู้โดย ผศ.ดร.สุชาดา  ภัยหลีกลี้ อาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ส่งต่อความรู้โดย กาญจนา  นิ่มสุนทร   นศ.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนาสุขภาพชุมชน

         ระบบประกันสุขภาพในแต่ละประเทศมีหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันไป บางประเทศอยู่ในลักษณะกองทุน การประกันสุขภาพ หรือเก็บภาษีจากบุหรี่ โดยหลายประเทศคนึงถึงงบประมาณ ซึ่งประเทศไทยได้แสดงให้เห็นว่า
ถึงแม้ไม่ได้เป็นประเทศที่ร
่ำรวย แต่ก็สามารถดูแลประชาชน ให้เข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง มีความมั่นคงด้านสุขภาพ และมีนโยบายลดความ เหลื่อมล้ำของกองทุนประกันสุขภาพภาครัฐ 3 กองทุน ซึ่งเริ่มจากการบริการกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินการเข้าถึงยาโรคเอดส์ ประเทศไทยมีระบบหลักประกันสุขภาพหลัก 3 ระบบใหญ่ด้วยกัน
ได้แก่ (1) ระบบประกันสังคม (2) ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและ (3) ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งนี้แต่ละระบบมีวิวัฒนาการและแนวคิดที่แตกต่างกันระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการถือเป็นสวัสดิการที่รัฐจัดให้แก่ข้าราชการรวมถึงพ่อแม่ และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะไม่เกิน 2 คน ขณะที่ระบบประกันสังคมถือเป็นความมั่นคงด้านสังคมของลูกจ้างที่รัฐ นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันสมทบแก่แรงงานในระบบ ส่วนระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นรัฐสวัสดิการที่จัดให้แก่ประชาชนไทยกลุ่มอื่นๆที่เหลือ ซึ่งเกิดจากการรวมระบบประกันสุขภาพที่มีอยู่ในขณะนั้นซึ่งได้แก่ ระบบสวัสดิการผู้ที่ควรช่วยเหลือเกื้อกูล ระบบบัตรประกันสุขภาพ และผู้ที่ไม่มีหลักประกันใดๆส่วนอื่นคือ บริษัทประกันเอกชน ที่ประชาชนทุกกลุ่มมีสิทธิ์ในการซื้อประกันสุขภาพดังกล่าว

         ซึ่งหลายคนคงเคยสงสัยว่าค่าใช้จ่ายที่ใช้ในระบบสุขภาพมาจากไหน  ภาระการเงินตกแก่ใคร กิจกรรมของโครงการนี้เป็นประโยชน์กับใคร ค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปเพื่อกิจกรรมการรักษาหรือป้องกันส่งเสริมเท่าไหร่ กระบวนการจ่ายเงินทางช่องทางไหนอย่างไร เกิดความเป็นธรรมหรือไม่

        ช่องทางการเงินในระบบสุขภาพผู้ที่เข้ามาร่วมจ่าย ประกอบไปด้วย ผู้ป่วยจ่ายเอง ลูกจ้างสถานประกอบการบางแห่งมีนายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้  มูลนิธิต่างๆเข้ามาร่วมจ่ายให้องค์กรระหว่างประเทศ จะเข้ามาจ่ายเงินในการดูแลสุขภาพ เช่น Global fund ภาครัฐจะจ่ายผ่าน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อเมริกา จะจ่ายผ่านรัฐบาลกลาง การจ่ายเงินจะจ่ายผ่านกระทรวงสาธารณสุข หรือกระทรวงอื่นๆภาคเอกชนจะจ่ายในรูปแบบคนไข้ชำระเงินเองรูปแบบของประกันสุขภาพของเอกชน ประกันระบบสุขภาพของรัฐ บัตร 500 บาท ประกันสุขภาพ สงเคราะห์ผู้ป่วยรายได้น้อย  ในอดีตจะมีระบบนี้ก่อนปี 2543  แต่ไม่ค่อยมีคนซื้อบัตรดังกล่าว กองทุนเพื่อสุขภาพในระดับชุมชน  บ้านเราจะไม่ชัดเจน คล้าย กับ ฌาปณกิจสงเคราะห์   ประกันสุขภาพภาคบังคับ ลักษณะกองทุนเพื่ออนาคต  Medisave อยู่ที่สิงคโปร์ประมาณ 20 กว่าปีก่อน  ลีกวนอุ มีวิธีคิด เรื่องเงินไม่ว่าจะอย่างไรจะไม่พ้นคอประชาชน ในเมื่อจะต้องจ่ายภาษีแพง  ภาครัฐจะมีการเก็บภาษีของประชาชน เรียกว่าบังคับออม เมื่อเริ่มทำงานจะต้องถูกหักภาษีเข้ามาเก็บในกองทุน Medisave ของรัฐบาล แต่จะใช้จ่ายได้กรณีเดียวคือ การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล  ปัญหา คือ กรณีเงินเดือนน้อยคือ 10 % ของเงินเดือนจะไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการรักษา  สิงคโปร์จะมีเงินประกันกลางเพื่อใช้ในการดูแลในคนที่เงินไม่เพียงพอ แต่ทำยากเนื่องจากจะต้องบังคับหักเงินเข้าบัญชีได้จะต้องทำงานในภาครัฐและภาคเอกชน ในระบบจึงจะหักเงินเดือนได้ แต่ถ้าธุรกิจส่วนตัวหรืออาชีพอิสระ จะเก็บยากภาครัฐ จะจ่ายอย่างไร จะเรียกเก็บในรูปแบบของภาษีและจ่ายออกมาในลักษณะของสวัสดิการสังคม  หรือ Social welfare หรือบางประเทศเช่น สิงคโปรจะใช้การสนับสนุนจากภาครัฐรัฐจ่ายสมทบในรูปแบบของกองทุนประกันสังคมรูปแบบของภาษีหมายหัว เพื่อจะตั้งไว้ในการดูแลสุขภาพ เช่น ภาษีบาป ใช้จ่ายเพื่อการดูแลสุขภาพ สสส. ไม่เกี่ยวข้องกับระบบภาษีอื่นๆแต่จะแยกออกมาต่างหาก องค์กรระหว่างประเทศจะจ่ายอย่างไร จะจ่ายในกิจกรรมที่เป็นภารกิจหลักของแต่ละกองทุน เช่น จะมีกองทุนมาลาเลีย กองทุนเอดส์ หรือมูลนิธิ UNESEF

       รูปแบบของระบบเงิน : ระบบภาษี (Beveridge Model) เช่น อังกฤษ สวีเดน เดนมาร์ก มาเลเซีย ฮ่องกง ประเทศไทยมีระบบภาษีเด่นมากกกว่า  ระบบเบี้ยประกัน (Bismarck Model) เช่น เยอรมันนี ฝรั่งเศศ เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์  Mixed รวมกันทั้ง 2 ส่วน ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน

      ระบบภาษี (Beveridge Model) : ข้อดี ค่าบริหารจัดการต่ำเนื่องจากไม่ต้องมีการจัดเก็บเบี้ยประกัน มีความเป็นธรรม ถ้าระบบภาษีโดยรวมมีลักษณะอัตราก้าวหน้า ข้อด้อย: มีความไม่แน่นอน ต้องแข่งขันกับกระทรวงอื่นๆในงบประมาณ ถูกการเมืองแทรกแซงได้ง่ายมาก การขาดประสิทธิภาพของระบบราชการ และการไม่ค่อยตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน

      ระบบเบี้ยประกัน(Bismarck Model : ข้อดี ค่ามีความแน่นอนของเงินสำหรับบริการสุขภาพประชาชนมักยินดีจ่ายมากกว่าภาษี เนื่องจากมีวัตถุประสงค์และได้ผลกลับคืนชัดเจน ค่อนข้างตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนดี ผู้ให้บริการมีรายได้ที่แน่นอนและดีขึ้นเมื่อเทียบกับระบบบริการสาธารณสุขแห่งชาติ
ข้อด้อย ค่าบริหารจัดหารสูง ถ้าประชาชนส่วนใหญ่ทำงานนอกระบบไม่ได้มีเงินเดือนประจำจะมีปัญหาในการบริหารจัดการค่อนข้างมาก ในสังคมที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุมากจะทำให้ระบบการจ่ายเงินของคนทำงานเพิ่มขึ้น

      การออมเงินเพื่อสุขภาพ Medical Saving account ระบบออมเงินภาคบังคับ ลูกจ้างออมเงินไว้เพื่อใช้จ่ายเป็นค่ารักษากรณีผู้ป่วยใน ข้อดี ความรับผิดชอบของบุคคลต่อสุขภาพตน ไม่ใช้บริการเกินความจำเป็นลดภาระของภาครัฐและสังคม ข้อด้อย ไม่มีการเฉลี่ยความเสี่ยงไม่มีระบบบริหารจัดการช่วยเหลือ

       เงินจะก่อให้เกิดประโยชน์กับใคร กลุ่มอาชีพ โครงการหรือกิจกรรมบางอย่งจะมีกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเช่น
UNESEF จะให้เฉพาะแม่และเด็กหรือในระดับกลุ่มอายุ เพศหรือในสังคมระดับต่างๆ เช่น ระดับสังคม ระดับนานาชาติ ระดับโลก สนับสนุนให้กับส่วนของการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งเป้าหมายของการช่วยเหลือคือช่วยเหลือคนที่ไม่มีโอกาสในสังคม  ทำไมให้ต้องมีสวัสดิการในการรักษาพยาบาลเพื่อเป็นแรงจูงใจให้กับข้าราชการเนื่องจากเงินเดือนน้อย  จุดมุ่งหมายของระบบการจ่ายเงินทางสุขภาพสร้างความเป็นธรรมให้กับสังคมในการเข้าถึงการบริการที่ดีปัองกันความเสี่ยง > ค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงมีประสิทธิภาพมีคุณภาพ

     สรุป จุดเด่นของประเทศไทยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คือวิธีการจ่ายเงินให้หน่วยบริการโดยใช้ระบบเหมาจ่ายรายหัว และ DRGs (Diagnostic Related Groups) เป็นเครื่องมือในการจ่ายชดเชยผู้ป่วยในให้กับโรงพยาบาล ขณะที่ต่างประเทศส่วนใหญ่ใช้ระบบ Free for Service ที่ประชุมจึงมั่นใจที่จะ ผลักดันระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยไทยเป็นต้นแบบไปสู่การประชุมผู้นในเวที ASEAN Summit และสมัชชาสหประชาชาติ

ศึกษาเพิ่มเติม : http://www.hisro.or.th

หมายเลขบันทึก: 513770เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2012 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ธันวาคม 2012 14:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากค่ะน้องจอย .... ดีใจด้วย กับการเรียน ... ขอให้โชคดีนะคะ .... สุขภาพดีดีปีใหม่นี้ค่ะ


ขอบคุณมากค่ะพี่เปิ้ล ที่ให้กำลังใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท