มหาธี
อาจารย์ ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

สภาวะธรรมของบุญกุศล


 

โครงการธรรมศึกษาวิจัย

สภาวธรรมเป็นกุศล

: ศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก

อรรถกถา ฎีกาตลอดจนคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา

ธีรวัส  บำเพ็ญบุญบารมี

ผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์คัมภีร์

มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธรรมศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าเพื่อเป็นหลักฐานทางวิชาการทางพระพุทธศาสนา

ตามหลักสูตรวิจัยคัมภีร์พระพุทธศาสนา มูลนิธิเบญจนิกาย พุทธศักราช  ๒๕๕๐พิมพ์ครั้งที่ ๑  ๕๐๐ เล่ม

เพื่อเป็นธรรมทานไม่สงวนลิขสิทธิ์

ธรรมเป็นกุศล

  กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส ๑- สัมปยุตด้วยญาณ ๒- มีรูปเป็นอารมณ์ หรือ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจารปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภ อโทสะอโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ (สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ) กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิกายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตาจิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

  สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

  [๑๗] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าผัสสะมีในสมัยนั้น.

  [๑๘] เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความสบายทางใจ  ความสุขทางใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกันความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส  กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนา มีในสมัยนั้น.

@๑. เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา  ๒. ประกอบด้วยปัญญา

  [๑๙] สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  การจำ กิริยาที่จำ ความจำ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า สัญญามีในสมัยนั้น.

  [๒๐] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  การคิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า เจตนามีในสมัยนั้น.

  [๒๑] จิต  มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร ๑มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตมีในสมัยนั้น.

  [๒๒] วิตก มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิตกมีในสมัยนั้น.

  [๒๓] วิจาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิจารมีในสมัยนั้น.

  [๒๔] ปีติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ความยินดียิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริงความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปีติมีในสมัยนั้น.

  [๒๕] สุข มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าสุขมีในสมัยนั้น.

  [๒๖] เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิตความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตา มีในสมัยนั้น

๑. ธรรมชาติที่ผ่องใส

  [๒๗] สัทธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา อินทรีย์คือศรัทธาสัทธาพละ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัทธินทรีย์มีในสมัยนั้น.

  [๒๘] วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายามความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความ

ไม่ทอดทิ้งฉันทะ  ความไม่ทอดทิ้งธุระ  ความประคับประคองธุระ  วิริยะ  อินทรีย์คือวิริยะวิริยะพละ สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น  อันใด นี้ชื่อว่า วิริยินทรีย์ในสมัยนั้น.

  [๒๙] สตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอยความไม่ลืม สติ อินทรีย์คือสติ สติพละ สัมมาสติ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สตินทรีย์มีในสมัยนั้น.

  [๓๐] สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิตความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ อินทรีย์คือสมาธิ สมาธิพละ สัมมาสมาธิในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

  [๓๑] ปัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมายความเข้าไปกำหนด  ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียดความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส

ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา อินทรีย์คือปัญญาปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่าง คือ ปัญญา แสงสว่างคือ ปัญญาปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม

สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัญญินทรีย์มีในสมัยนั้น.

  [๓๒] มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ อินทรีย์ คือ มโน วิญญาณวิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มนินทรีย์มีในสมัยนั้น.

  [๓๓] โสมนัสสินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุข อันเกิดแต่เจโต-*สัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุขอัน เกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้นอันใดนี้ชื่อว่าโสมนัสสินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

  [๓๔] ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ความเป็นอยู่ ชีวิตินทรีย์ของนามธรรมนั้นๆ ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์มีในสมัยนั้น.

  [๓๕] สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมายความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง  ความค้นคิด  ความใคร่ครวญ  ปัญญาเหมือนแผ่นดิน  ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสปัญญาเครื่องนำทาง  ความเห็นแจ้ง  ความรู้ชัด  ปัญญาเหมือนปฏัก  ปัญญา  ปัญญินทรีย์ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม

ความเห็นชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น.

  [๓๖] สัมมาสังกัปปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความตรึก  ความตรึกอย่างแรง  ความดำริ  ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์  ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ความดำริชอบ ในสมัยนั้น อันใด  นี้ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ มีในสมัยนั้น.

  [๓๗] สัมมาวายามะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  การปรารถความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายามความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละความพยายามชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาวายามะ มีในสมัยนั้น.

  [๓๘] สัมมาสติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอยความไม่ลืม  สติ สตินทรีย์ สติพละ ความระลึกชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสติ มีในสมัยนั้น

  [๓๙] สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิตความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบสมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น.

  [๔๐] สัทธาพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา สัทธินทรีย์ กำลังคือศรัทธา ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัทธาพละ มีในสมัยนั้น.

  [๔๑] วิริยพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายามความอุตสาหะ  ความทนทาน  ความเข้มแข็ง  ความหมั่น  ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย  ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ กำลังคือ

วิริยะ สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น อันใด นี้มีชื่อว่า วิริยพละ มีในสมัยนั้น.

  [๔๒] สติพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก  สติ  กิริยาที่ระลึก  ความทรงจำ  ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ กำลังคือสติ สัมมาสติ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าสติพละ มีในสมัยนั้น.

  [๔๓] สมาธิพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิตความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ กำลังคือสมาธิ สัมมาสมาธิในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมาธิพละ มีในสมัยนั้น.

  [๔๔] ปัญญาพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมายความเข้าไปกำหนด  ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ  ภาวะที่รู้  ภาวะที่ฉลาด  ภาวะที่รู้ละเอียดความรู้แจ่มแจ้ง ความคิดค้น ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส

ปัญญาเครื่องนำทาง  ความเห็นแจ้ง  ความรู้ชัด  ปัญญาเหมือนปฏัก  ปัญญา  ปัญญินทรีย์กำลังคือปัญญา ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท  ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัญญาพละ มีในสมัยนั้น.

  [๔๕] หิริพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย  กิริยาที่ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า หิริพละ มีในสมัยนั้น.

  [๔๖] โอตัปปพละ  มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โอตัปปพละ มีในสมัยนั้น.

  [๔๗] อโลภะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความไม่โลภ การไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด ความไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อโลภะ มีในสมัยนั้น.

  [๔๘] อโทสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  การไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดประทุษร้าย ความไม่พยาบาทความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อโทสะ มีในสมัยนั้น.

  [๔๙] อโมหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมายความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส

ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

กุศลมูลคือ อโมหะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อโมหะ มีในสมัยนั้น.

  [๕๐] อนภิชฌา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความไม่โลภ การไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด ความไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อนภิชฌา มีในสมัยนั้น.

  [๕๑] อัพยาปาทะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  การไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดประทุษร้าย ความไม่พยาบาทความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อัพยาปาทะ มีในสมัยนั้น.

  [๕๒] สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมายความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด

ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม ความเห็นชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น.

  [๕๓] หิริ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งน่าละอาย กิริยาที่ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า หิริ มีในสมัยนั้น.

  [๕๔] โอตตัปปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โอตตัปปะ มีในสมัยนั้น.

  [๕๕] กายปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  การสงบ การสงบระงับ กิริยาที่สงบระงับ ความสงบระงับแห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น.

  [๕๖] จิตตปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  การสงบ การสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ความสงบระงับแห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น.

  [๕๗] กายลหุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่กระด้าง แห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายลหุตา มีในสมัยนั้น.

  [๕๘] จิตตลหุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่กระด้าง แห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตลหุตา มีในสมัยนั้น.

  [๕๙] กายมุทุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่กักขฬะ ความไม่แข็ง แห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายมุทุตา มีในสมัยนั้น.

  [๖๐] จิตตมุทุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่กักขฬะ ความไม่แข็ง แห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตมุทุตา มีในสมัยนั้น.

  [๖๑] กายกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  กิริยาที่ควรแก่การงาน ความควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงาน แห่งเวทนาขันธ์

สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น.

  [๖๒] จิตตกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  กิริยาที่ควรแก่การงาน ความควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงาน แห่งวิญญาณขันธ์

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น.

  [๖๓] กายปาคุญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  กิริยาที่คล่องแคล่ว ความคล่องแคล่ว ภาวะที่คล่องแคล่ว แห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายปาคุญญตา มีในสมัยนั้น.

  [๖๔] จิตตปาคุญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  กิริยาที่คล่องแคล่ว ความคล่องแคล่ว ภาวะที่คล่องแคล่ว แห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตปาคุญญตา มีในสมัยนั้น

  [๖๕] กายุชุกตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความตรง กิริยาที่ตรง ความไม่คด ความไม่โค้ง ความไม่งอ แห่งเวทนาขันธ์สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายุชุกตา มีในสมัยนั้น.

  [๖๖] จิตตุชุกตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความตรง กิริยาที่ตรง ความไม่คด ความไม่โค้ง ความไม่งอ แห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตุชุกตา มีในสมัยนั้น.

  [๖๗] สติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าสติ มีในสมัยนั้น.

  [๖๘] สัมปชัญญะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมายความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียดความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส

ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ปัญญพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมปชัญญะ มีในสมัยนั้น.

  [๖๙] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิตความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ มีในสมัยนั้น.

  [๗๐] วิปัสสนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมายความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียดความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส

ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิปัสสนา มีในสมัยนั้น.

  [๗๑] ปัคคาหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายามความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ

สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัคคาหะ มีในสมัยนั้น.

  [๗๒] อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิตความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น.

  [๗๓] หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

  [๗๔] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๕

มรรคมีองค์ ๕ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ เวทนาขันธ์ ๑สัญญาขันธ์ ๑ สังขารขันธ์ ๑ วิญญาณขันธ์ ๑ มานายตนะ ๑ มนินทรีย์ ๑ มโนวิญญาณธาตุ ๑ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

  สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

  [๗๕] ขันธ์ ๔ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์.

  เวทนาขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าเวทนาขันธ์ มีในสมัยนั้น.

  สัญญาขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  การจำ กิริยาที่จำ ความจำ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญาขันธ์ มีในสมัยนั้น.  สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา สันธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติสัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละอโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิจิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา

กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนาปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น.

  วิญญาณขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ มีในสมัยนั้น.

  สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ขันธ์ ๔ มีในสมัยนั้น.

  [๗๖] อายตนะ ๒ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  มนายตนะ ธัมมายตนะ

  มนายตนะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มนายตนะ มีในสมัยนั้น.

  ธัมมายตนะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ชื่อว่า ธัมมายตนะ มีในสมัยนั้น

  สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อายตนะ ๒ มีในสมัยนั้น.

หมายเลขบันทึก: 512796เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2012 13:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ธันวาคม 2012 13:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 

  [๗๗] ธาตุ ๒ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  มโนวิญญาณธาตุ ธรรมธาตุ

  มโนวิญญาณธาตุ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มโนวิญญาธาตุ มีในสมัยนั้น.

  ธรรมธาตุ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ชื่อว่า ธรรมธาตุ มีในสมัยนั้น.

  สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธาตุ ๒ มีในสมัยนั้น.

  [๗๘] อาหาร ๓ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร

  ผัสสาหาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความถูกต้อง อาการที่ถูกต้อง กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ในสมัยนั้น อันใดนี้ชื่อว่า ผัสสาหาร มีในสมัยนั้น.

  มโนสัญเจตนาหาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  การคิด กิริยาที่คิด ความคิด สมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มโนสัญเจตนาหาร มีในสมัยนั้น.

  วิญญาณาหาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิญญาณาหาร มีในสมัยนั้น.

  สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อาหาร ๓ มีในสมัยนั้น.

  [๗๙] อินทรีย์ ๘ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์.

  สัทธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา อินทรีย์ คือศรัทธาสัทธาพละ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัทธินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

  วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย

ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ อินทรีย์คือวิริยะวิริยพละ สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

  สตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ อินทรีย์คือสติ สติพละ สัมมาสติ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าสตินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

  สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิตความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ อินทรีย์คือสมาธิ สมาธิพละสัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

  ปัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมายความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียดความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส

ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา อินทรีย์คือปัญญาปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

  มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ อินทรีย์คือมโน วิญญาณ

วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

  โสมนัสสินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าโสมนัสสินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

  ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์คือชีวิต ของนามธรรมนั้นๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

  สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อินทรีย์ ๘ มีในสมัยนั้น.

  [๘๐] ฌานมีองค์ ๕ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

  วิตก มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าวิตก มีในสมัยนั้น.

  วิจาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิจาร มีในสมัยนั้น.

  ปีติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ความยินดียิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริงความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปีติ มีในสมัยนั้น.

  สุข มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าสุข มีในสมัยนั้น.

  เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิตความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตา มีในสมัยนั้น.

  สภาวธรรมนี้ชื่อว่า ฌานมีองค์ ๕ มีในสมัยนั้น.

  [๘๑] มรรคมีองค์ ๕ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

  สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมายความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส

ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม ความเห็นชอบ ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น.

  สัมมาสังกัปปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ความดำริชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

สัมมาสังกัปปะ มีในสมัยนั้น.

  สัมมาวายามะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายามความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละความพยายามชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาวายามะ มีในสมัยนั้น.

  สัมมาสติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอยความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ ความระลึกชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสติมีในสมัยนั้น.

  สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิตความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบแห่งจิต สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งจิตไว้ชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น.

  สภาวธรรมนี้ชื่อว่า มรรคมีองค์ ๕ มีในสมัยนั้น.

  [๘๒] พละ ๗ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ.

  สัทธาพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา สัทธินทรีย์ กำลังคือศรัทธา ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัทธาพละ มีในสมัยนั้น.

  วิริยพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

  การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายามความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ กำลังคือวิริยะ

สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิริยพละ มีในสมัยนั้น.
  สติพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
  สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอยความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ กำลังคือสติ สัมมาสติ มีในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สติพละมีในสมัยนั้น.
  สมาธิพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
  ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิตความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ กำลังคือสมาธิ สัมมาสมาธิ
ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมาธิพละ มีในสมัยนั้น.
  ปัญญาพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
  ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมายความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ กำลังคือปัญญา ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา
ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า ปัญญาพละ มีในสมัยนั้น.
  หิริพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
  กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย กิริยาที่ละอายต่อการประกอบ
อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า หิริพละ มีในสมัยนั้น.
  โอตตัปปพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
  กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โอตตัปปพละ มีในสมัยนั้น.
  สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า พละ ๗ มีในสมัยนั้น.
  [๘๓] เหตุ ๓ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
  อโลภะ อโทสะ อโมหะ.
  อโลภะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
  การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความไม่โลภ การไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด ความ
ไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคือความไม่โลภ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อโลภะ
มีในสมัยนั้น.
  อโทสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
  การไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดประทุษร้าย ความไม่พยาบาท
ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคือความไม่คิดประทุษร้าย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อโทสะมีในสมัยนั้น.
  อโมหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
  ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมายความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ กุศลมูลคืออโมหะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อโมหะ มีในสมัยนั้น.
  สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า เหตุ ๓ มีในสมัยนั้น.
  [๘๔] ผัสสะ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
  การกระทบ กิริยาที่กระทบ อาการที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าผัสส ๑ มีในสมัยนั้น.
  [๘๕] เวทนา ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
  ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าเวทนา ๑ มีในสมัยนั้น.
  [๘๖] สัญญา ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
  การจำ กิริยาที่จำ ความจำ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญา ๑ มีในสมัยนั้น.
  [๘๗] เจตนา ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
  การคิด กิริยาที่คิด ความคิด ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เจตนา ๑ มีในสมัยนั้น.
  [๘๘] จิต ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
  จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิต ๑ มีในสมัยนั้น.
  [๘๙] เวทนาขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
  ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าเวทนาขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น.
  [๙๐] สัญญาขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
  การจำ กิริยาที่จำ ความจำ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญาขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น.
  [๙๑] สังขารขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
  ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติสัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละอโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ
จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตากายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนาปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น.
  [๙๒] วิญญาณขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
  จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น.
  [๙๓] มนายตนะ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
  จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มนายตนะ ๑ มีในสมัยนั้น.
  [๙๔] มนินทรีย์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
  จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มนินทรีย์ ๑ มีในสมัยนั้น.
  [๙๕] มโนวิญญาณธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
  จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่ามโนวิญญาณธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น.
  [๙๖] ธัมมายตนะ ๑ มีในสมัยนั้นเป็นไฉน?
  เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ชื่อว่า ธัมมายตนะ ๑ มีในสมัยนั้น.
  [๙๗] ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
  เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ชื่อว่า ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น.
  [๙๘] หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
  สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
  ------------
  
[๙๙] ก็ ธรรม ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อาหาร อินทรีย์ ฌาน มรรค พละ เหตุผัสสะ เวทนา 
สัญญา เจตนา จิต เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์มนายตนะ มนินทรีย์ 
มโนวิญญาณธาตุ ธัมมายตนะ ธรรมธาตุ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด 
มีอยู่ในสมัยนั้น
  สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

  ประวัติผู้รวบรวมเรียบเรียงเขียน

ชื่อสกุล  นายธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท