มหาธี
อาจารย์ ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

รวมศัพท์ธรรมในธัมมสังคณี


 

โครงการธรรมศึกษาวิจัย

รวมศัพท์ธรรมในธัมมสังคณี

: ศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก

อรรถกถา ฎีกาตลอดจนคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา

ธีรวัส  บำเพ็ญบุญบารมี

ผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์คัมภีร์

มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธรรมศึกษาวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าเพื่อเป็นหลักฐานทางวิชาการทางพระพุทธศาสนา

ตามหลักสูตรวิจัยคัมภีร์พระพุทธศาสนา มูลนิธิเบญจนิกาย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐ พิมพ์ครั้งที่ ๑

๕๐๐ เล่ม เพื่อเป็นธรรมทานไม่สงวนลิขสิทธิ์

รวมศัพท์ธรรมในธัมมสังคณี

บทว่า ตํสมฺปยุตฺโต (สัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้น) ได้แก่ สัมปยุตด้วยมูลเหล่านั้น

มีอโลภะเป็นต้น ในข้อนั้น แม้อโทสะ และอโมหะ ในสังขารขันธ์อันสัมปยุตด้วยอโลภะ ก็สัมปยุตด้วยอโลภะถึงการนับว่า เป็นสังขารขันธ์เหมือนกัน แม้ในสัมปโยคะด้วยสามารถแห่งกุศลมูล ๒ ที่เหลือ ก็นัยนี้แหละ พระ-ธรรมราชา ชื่อว่า ทรงแสดงกำหนดถือเอากุศลอันเป็นไปในภูมิทั้ง ๔ ด้วยสามารถแห่งนามขันธ์ ๔ อันสัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้นอีก ด้วยประการฉะนี้

บทว่า ตํสมุฏฺฐานํ (มีกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน) ได้แก่ ตั้งขึ้นด้วยกุศลมูลเหล่านั้นมีอโลภะเป็นต้น โดยนัยแม้นี้ พระธรรมราชาชื่อว่าทรงแสดงกำหนัดกุศลอันเป็นไปในภูมิทั้ง ๔ นั้นนั่นเอง ด้วยสามารถแห่งกรรมทวารทั้ง ๓ กุศลในฐานะทั้ง ๓ เป็นอันพระองค์ทรงแสดงกำหนดเอาก่อนด้วยประการฉะนี้ แม้ในอกุศล ก็นัยนี้เหมือนกันจริงอยู่ บรรดาอกุศลจิต ๒ แม้อกุศลหนึ่งชื่อว่า พ้นไปจากมูลย่อมไม่มี พระธรรมราชาจึงทรงกำหนดอกุศลเหล่านั้นแสดงไว้ด้วยมูลทั้ง ๓ขึ้นชื่อว่า อกุศลที่นอกไปจากนามขันธ์ ๔ อันสัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้นมิได้มีเพราะฉะนั้น พระธรรมราชาจึงทรงกำหนดเอาอกุศลจิต ๑๒ เหล่านั้นนั่นเองแสดงไว้ด้วยสามารถแห่งนามขันธ์ ๔อนึ่ง เพราะอกุศลจิต ๑๒ เหล่านี้มีสภาวะเป็นไปด้วยสามารถแห่งกายกรรม เป็นต้น พระองค์จึงทรงกำหนดแสดงไว้ด้วยอำนาจกรรมทวาร แต่พระบาลีใดที่ตรัสไว้ในอกุศลนิทเทสนี้มีอาทิว่า ตเทกฏฺฐา จ กิเลสา (และกิเลสทั้งหลายที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกับอกุศลมูลนั้น) ดังนี้ พึงทราบวินิจฉัยในพระบาลีนั้นว่า กิเลสที่ชื่อว่า ตั้งอยู่ในฐานเดียวกัน เพราะอรรถว่า ตั้งอยู่ในจิตดวงเดียวกัน หรือในบุคคลเดียวกัน ในบรรดาอกุศลที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันทั้ง ๒ นัยนั้น อกุศลที่ตั้งอยู่ในจิตดวงเดียวกัน ชื่อว่า ตั้งอยู่ร่วมกัน อกุศลที่ตั้งอยู่ในบุคคลเดียวกัน ชื่อว่า ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันในการประหาณ อกุศลที่ชื่อว่า ตั้งอยู่ที่เดียวกับอกุศลมูลนั้น เพราะอรรถว่าตั้งอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับอกุศลมูลมีโลภะเป็นต้นนั้น หรือตั้งอยู่ในฐานอื่นที่ทรงแสดงไว้ในที่นั้น ๆในการละกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันนั้น อกุศลที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันโดยเกิดพร้อมกันมาในฐานเท่าที่กล่าวมานี้

บทว่า อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน (ปุถุชนผู้มีได้รับการศึกษา) นี้มีวินิจฉัยว่า บุคคลผู้อันบัณฑิตควรทราบว่าที่ชื่อว่า ผู้มิได้สดับ เพราะไม่มีการศึกษาและการบรรลุมรรคผล จริงอยู่ บุคคลใดไม่มีการศึกษาเพราะเว้นการศึกษา การสอบถาม การวินิจฉัยธรรม มีขันธ์ ธาตุ อายตนะ ปัจจยการและสติปัฏฐานเป็นต้น ไม่มีมรรคผล เพราะไม่ได้บรรลุมรรคผลที่ตนพึงบรรลุได้ด้วยการปฏิบัติ เป็นผู้ปฏิเสธอยู่ด้วยมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนั้นบัณฑิตพึงทราบว่าผู้ไร้การศึกษา เพราะไม่มีการศึกษาและการบรรลุมรรคผล บุคคลนี้เท่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นปุถุชน ด้วยเหตุทั้งหลาย มีการยังกิเลสเป็นอันมากให้เกิดขึ้นเป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง ชนนี้ ชื่อว่า

ปุถุ (ผู้หนาแน่น)เพราะความเป็นผู้อยู่ภายในแห่งปุถุชน ดังนี้จริงอยู่ ชนนั้น ชื่อว่า ปุถุชน ด้วยเหตุทั้งหลายมีการยังกิเลสเป็นต้นมากมายมีประการต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นก็มี เหมือนอย่างที่กล่าวไว้ว่า ชื่อว่าปุถุชน เพราะอรรถว่า ย่อมยังกิเลสมากให้เกิด ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็นพวกที่ยังมิได้ฆ่าสักกายทิฏฐิ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่าเป็นพวกที่คอยมองดูหน้าศาสดาต่าง ๆ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็นพวกที่ออกไปจากคติทั้งปวงไม่ได้ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็นพวกสร้างอภิสังขารต่างๆ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็นพวกถูกห้วงโอฆะต่าง ๆพัดไปอยู่ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็นพวกเร่าร้อนอยู่ด้วยความเร่าร้อนต่าง ๆ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็นพวกถูกเผาอยู่ด้วยความร้อนต่าง ๆ

ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็นพวกกำหนัด ยินดี รักใคร่ สยบ หมกมุ่น ติดข้องพัวพันในกามคุณ ๕ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็นพวกถูกนิวรณ์ ๕ กางกั้นแล้ว หุ้มห่อแล้ว ปกคลุมแล้ว ปิดบังแล้ว ซ่อนเร้นไว้แล้ว ให้ถอยกลับแล้วอีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปุถุชน แม้เพราะความที่พวกชนเป็นอันมากเป็นผู้อยู่ภายในแห่งชนทั้งหลายเหลือคณนา ล้วนแต่เบือนหน้าหนีธรรมของพระอริยะ และมีการประพฤติธรรมต่ำทรามเสมอ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ชนนี้เป็นพวกถึงการนับแยกไว้ต่างหากบ้าง ชนนี้เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องกับพระอริยะทั้งหลายผู้ประกอบด้วยคุณมีศีล และสุตะเป็นต้นบ้างด้วยบททั้งสองว่า อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน (ปุถุชนผู้ไร้การศึกษา)ตามที่กล่าวแล้วนี้

อริยานํ อทสฺสาวี (ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า) ต่อไป พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายพุทธสาวกทั้งหลายเรียกว่า พระอริยเจ้า เพราะไกลจากกิเลส เพราะไม่ดำเนินไปในทางเสื่อม เพราะดำเนินไปในทางเจริญ และเพราะอันโลกพร้อมทั้งเทวโลกพึงบูชา แต่ในที่นี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น ชื่อว่า พระอริยเจ้าเหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคต ฯลฯ บัณฑิตเรียกว่าอริยะ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ดังนี้ส่วนในคำว่า สัตบุรุษ นี้ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย สาวกของพระตถาคตทั้งหลาย พึงทราบว่า ชื่อสัตบุรุษทั้งหลาย จริงอยู่ พระปัจเจกพุทธะเป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า สัตบุรุษ เพราะอรรถว่า เป็นบุรุษผู้งามด้วยการประกอบด้วยโลกุตรคุณ อีกอย่างหนึ่ง พระอริยเจ้าทั้งหมดก็ตรัสชื่อไว้ ๒ อย่าง จริงอยู่ แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ชื่อว่าเป็นพระอริยเจ้าและเป็นสัตบุรุษ พระปัจเจกพุทธะและพระสาวกของพระตถาคตเจ้าชื่อว่า พระอริยเจ้าและสัตบุรุษ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่าบุคคลใดแล เป็นคนกตัญญูกตเวทีมีปัญญา เป็นกัลยาณมิตร และเป็นผู้ภักดีมั่นคงย่อมทำกิจโดยเคารพแก่บุคคลผู้มีทุกข์บัณฑิตทั้งหลายย่อมเรียกบุคคลเช่นนั้นว่าสัตบุรุษก็ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ว่า เป็นกัลยาณมิตร เป็นผู้ภักดีมั่นคง ดังนี้ตรัสถึงสาวกของพระพุทธเจ้า ด้วยคำว่า เป็นคนกตัญญูเป็นต้น ตรัสถึงพระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้า ดังนี้บัดนี้ พึงทราบว่า บุคคลใดมีปรกติไม่เห็นพระอริยเจ้าเหล่านั้น และไม่มีสาธุการในการเห็น บุคคลนั้น ชื่อว่า ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ก็บุคคลผู้ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้านั้นมี ๒ อย่าง คือ ไม่เห็นด้วยจักขุ และไม่เห็นด้วยญาณในการไม่เห็นทั้ง ๒ นั้น ในที่นี้ พระองค์ทรงประสงค์เอาผู้ไม่เห็นด้วยญาณจริงอยู่ พระอริยเจ้าทั้งหลาย แม้บุคคลเห็นด้วยมังสจักษุหรือทิพยจักษุก็ไม่ชื่อว่าเห็นได้เลย เพราะความที่จักษุเหล่านั้นถือเอาเพียงสี (วรรณะ) เป็นอารมณ์ มิใช่คุณธรรมมีความเป็นพระอริยะเป็นอารมณ์ แม้สัตว์ทั้งหลายมีสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้นก็ย่อมเห็นพระอริยเจ้าทั้งหลายด้วยจักษุ แต่สัตว์เหล่านั้นไม่ชื่อว่าเห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ในข้อนั้น มีเรื่องต่อไปนี้ เป็นอุทาหรณ์เรื่องการไม่เห็นพระอริยะได้ยินว่า พระอุปัฏฐากของพระขีณาสพเถระผู้อยู่ในวิหารจิตตลบรรพตเป็นพระบวชเมื่อแก่ วันหนึ่ง เมื่อเที่ยวไปบิณฑบาตกับพระเถระรับบาตรจีวรของพระเถระแล้วก็เดินตามหลังไป ถามพระเถระว่า ท่านขอรับ ชื่อว่าพระอริยะทั้งหลายเป็นเช่นไร ? พระเถระตอบว่า คนแก่บางคนในโลกนี้รับบาตรจีวรของพระอริยะทั้งหลาย ทำวัตรปฏิบัติแล้ว แม้เที่ยวไปด้วยกันก็ไม่รู้พระอริยะทั้งหลาย ดูก่อนอาวุโส พระอริยะทั้งหลายรู้ได้ยากอย่างนี้ ดังนี้ แม้พระเถระพูดอย่างนี้ พระขรัวตานั้นก็หาเข้าใจไม่เพราะฉะนั้น การเห็นด้วยจักษุไม่ชื่อว่าเห็น การเห็นด้วยญาณเท่านั้นจึงชื่อว่าเห็น เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนวักกลิ มีประโยชน์อะไรแก่เธอด้วยการเห็นกายอันเปื่อยเน่านี้ ดูก่อนวักกลิ บุคคลใดแลเห็นธรรม บุคคลนั้นชื่อว่า เห็นเรา (ตถาคต) ดังนี้ ฉะนั้น บุคคลแม้เห็นพระอริยะด้วยจักษุแต่ไม่เห็นอยู่ซึ่งลักษณะมีความไม่เที่ยงเป็นต้น ซึ่งพระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยญาณ ยังไม่บรรลุธรรมที่พระอริยเจ้าบรรลุแล้ว ก็พึงทราบว่า บุคคลนั้นไม่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะไม่เห็นธรรมอันกระทำความเป็นพระอริยะและความเป็นพระอริยะ ดังนี้

บทว่า อริยธมฺนสฺส อโกวิโท (ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า)ได้แก่ ความเป็นผู้ไม่ฉลาดในอริยธรรมอันต่างด้วยธรรมมีสติปัฏฐานเป็นต้นก็ในพระบาลีว่า อริยธมฺเม อวินีโต (ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของพระอริยเจ้า) นี้ มีวินิจฉัยว่าชื่อว่าวินัยมี ๒ อย่าง ในวินัย ๒อย่างนี้ แต่ละอย่างแบ่งออกเป็น ๕ บุคคลนี้ท่านเรียกว่าผู้ไม่ได้ฝึกฝน เพราะความไม่มีวินัยนั้น

วินัยมี ๒ อย่าง คือ สังวรวินัย และ ปหานวินัย ก็บรรดาวินัยแม้ทั้ง ๒ นี้ วินัยแต่ละอย่างยังแยกออกเป็น ๕ อย่าง แม้สังวรวินัยก็มี ๕ อย่าง คือ

ศีลสังวร (ความสำรวมด้วยศีล) ๑

สติสังวร (ความสำรวมด้วยสติ) ๑

ญาณสังวร (ความสำรวมด้วยญาณ) ๑

ขันติสังวร (ความสำรวมด้วยขันติ) ๑

วิริยสังวร (ความสำรวมด้วยความเพียร) ๑

แม้ปหานวินัยก็มี ๕ อย่าง คือ

ตทังคปหาน (การละด้วยองค์ญาณนั้น) ๑

วิกขัมภนปหาน (การละด้วยการข่มไว้) ๑

สมุทเฉทปหาน (การละด้วยอริยมรรค) ๑

ปฏิปัสสัทธิปหาน (การละด้วยอริยผล) ๑

นิสสรณปหาน (การละด้วยนิพพาน) ๑

คำว่า รูปํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ (ย่อมเห็นรูปเป็นตน) ความว่าบุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมเห็นรูปเป็นตน ย่อมเห็นรูปและตนไม่ใช่เป็นภาวะ ๒อย่าง คือเห็นว่า รูปอันใดเราก็อันนั้น เราอันใดรูปก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อ

ประทีปน้ำมันลุกขึ้นไหม้อยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและสีไฟนั้นไม่ใช่เป็น ๒อย่างว่าเปลวไฟอันใดสีก็อันนั้น สีไฟอันใดเปลวก็อันนั้นดังนี้ ชื่อแม้ฉันใดบุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมเห็นรูปเป็นตนฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลย่อมเห็นรูปเป็นต้นด้วยการเห็นอันเป็นทิฏฐิอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้

คำว่า รูปวนฺตํ วา อตฺตานํ (หรือเห็นตนมีรูป) ความว่า บุคคลถือว่า อรูป (นาม) เป็นตน จึงเห็นตนนั้นมีรูป เหมือนเห็นต้นไม้มีเงาฉะนั้น

คำ อตฺตนิ วา รูปํ (เห็นรูปในตน) ความว่า บุคคลถืออรูป(นาม) นั่นแหละว่าเป็นตน ย่อมเห็นรูปในตน เหมือนกลิ่นมีในดอกไม้ฉะนั้น

คำว่า รูปสฺมึ วา อตฺตานํ (เห็นตนในรูป) ความว่า บุคคลถืออรูปนั่นแหละเป็นตน ย่อมเห็นตนในรูป เหมือนเห็นแก้วมณีในขวดฉะนั้น แม้ในขันธ์มีเวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกันในบรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ย่อมเห็นรูปเป็นตน พระองค์ตรัสว่าสุทธรูป คือรูปล้วน ๆ เท่านั้นว่าเป็นตน ตรัสว่า อรูปเป็นตนไว้ในฐานะทั้ง ๗ เหล่านั้น รูปวนฺตํ วา อตฺตานํ อตฺตนิ วา รูปํ รูปสฺมึ วา อตฺตานํ เวทนํ อตฺตโต ฯเปฯ สญฺญํ สํขาเร วิญฺญาณํ อตฺตโต

สมนุปสฺสติ คือ หรือเห็นตนมีรูป ๑ หรือเห็นรูปในตน ๑ หรือเห็นตนในรูป ๑ เห็นเวทนาเป็นตน ๑ ฯลฯ เห็นสัญญาเป็นตน ๑ เห็นสังขารเป็นตน ๑เห็นวิญญาณเป็นตน ๑ ตรัสว่า ตนระคนด้วยรูปและอรูปในฐานะ ๑๒ ด้วยอำนาจแห่งขันธ์ละ ๓ อย่าง ในขันธ์ ๔ อย่างนี้ว่า หรือเห็นตนมีเวทนา ๑หรือเห็นเวทนาในตน ๑ หรือเห็นตนในเวทนา ๑บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น ตรัสอุจเฉททิฏฐิในฐานะทั้ง ๕ คือ ย่อมเห็นรูปเป็นตน ๑ ย่อมเห็นเวทนาเป็นตน ๑ ย่อมเห็นสัญญาเป็นตน ๑ ย่อมเห็นสังขารเป็นตน ๑ ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน ๑ ในฐานะที่เหลือตรัสสัสสตทิฏฐิในที่นี้จึงเป็นภวทิฏฐิ ๑๕ วิภวทิฏฐิ ๕ ด้วยประการฉะนี้ พึงทราบทิฏฐิเหล่า

นั้น แม้ทั้งหมดห้ามมรรคแต่ไม่ห้ามสวรรค์ อันมรรคที่หนึ่งพึงประหาณดังนี้ว่าด้วยความสงสัยบรรดาบทเหล่านั้น คำว่า สตฺถริ กงฺขติ (เคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา)

บทว่า วิจิกิจฺฉติ (สงสัย) ความว่า ปุถุชนเมื่อไม่สามารถตัดสินอารมณ์ได้ ย่อมยาก ย่อมลำบาก ย่อมไม่น้อมใจเชื่อ ในอธิการนี้เท่านั้นย่อมไม่ได้อธิโมกข์ (การน้อมใจเชื่อ) บทว่า น สํปสีทติ (ย่อมไม่ผ่องใส)ได้แก่ ไม่สามารถจะทำจิตมิให้ขุ่นมัวเลื่อมใส คือย่อมไม่เลื่อมใสในคุณทั้งหลายส่วนในข้อว่า ธมฺเม กงฺขติ (เคลือบแคลงในพระธรรม) เป็นต้น

บทว่า สีเลน ได้แก่ โคศีลเป็นต้น (ประพฤติเหมือนโค)

บทว่า วเตน (ด้วยพรต) ได้แก่ ด้วยโคพรตเป็นต้น

บทว่า สีลพฺพเตน (ด้วยศีลพร ) ได้แก่ ด้วยบททั้ง ๒ นั้น

บทว่า สุทฺธิ ได้แก่ บริสุทธิ์จากกิเลส อีกอย่างหนึ่ง พระนิพพานเท่านั้น เป็นความบริสุทธิ์อย่างยอดเยี่ยม

ก็ในบทว่า ตเทกฏฺฐา (ตั้งอยู่ในที่เดียวกัน) นี้ ได้แก่ เป็นธุระตั้งอยู่ในที่เดียวกันแห่งการประหาณ

บทว่า อวเสโส โลโภ (โลภะที่เหลือ) ได้แก่ โลภะที่เหลือจากโสดาปัตติมรรคประหาณแล้ว แม้ในโทสะเเละโมหะเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกันเพราะว่าโสดาปัตติมรรคประหาณกิเลสที่นำไปสู่อบายเท่านั้น เพื่อทรงแสดงกิเลสอื่นจากกิเลสที่นำไปสู่อบายเหล่านั้น จึงตรัสคำนี้ว่า ตเทกฏฺฐา (กิเลสที่ตั้งอยู่ในที่เดียวกันกับโลภะ โทสะ โมหะนั้น) จริงอยู่ กิเลส ๕ อย่างเหล่านั้นตั้งอยู่ในฐานเดียวกันโดยสัมปโยคะบ้าง โดยการประหาณบ้างจากกิเลสทั้ง ๓นั้นที่มาในพระบาลี

บทว่า เนวทสฺสเนน น ภาวนาย๒ (ธรรมอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่พึงประหาณ) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาภาวธรรมอันมรรคเหล่านั้นพึงประหาณ ดุจการประหาณสังโยชน์เป็นต้น

บทว่า อวเสสา กุสลากุสลา (กุศลและอกุศลที่เหลือ) ความว่า การถืออกุศลอีกทรงกระทำไว้เพื่ออันรวมโมหะทั้งหลายอันสหรคตด้วยวิจิกิจฉา และอุทธัจจะ เพราะโมหะเหล่านั้นไม่ชื่อว่า มีเหตุที่จะพึงละ เพราะไม่มีสัมปยุตตเหตุว่าด้วยนิทเทสปริตตารัมมณติกะที่ ๑๓พึงทราบวินิจฉัยใน ปริตตารัมมณติกะ ต่อไป

บทว่า อารพฺภ (ปรารภ) ได้แก่ กระทำให้เป็นอารมณ์ จริงอยู่ตัวเองจะเป็นปริตตธรรม หรือเป็นมหัคคตธรรมก็ตาม ธรรมใดทำปริตตธรรมให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ธรรมนั้นชื่อว่า ปริตตารมณ์ (มีอารมณ์เป็นปริตตะ)

ธรรมใดทำมหัคคตะทั้งหลายให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ธรรมนั้นชื่อว่า มหัคคตารมณ์ (มีอารมณ์เป็นมหัคคตะ) ธรรมเหล่าใดทำอัปปมาณธรรมทั้งหลายให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ธรรมนั้นชื่อว่า อัปปมาณารมณ์ (มีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ)อธิบายว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นปริตตะบ้าง เป็นมหัคคตะบ้าง เป็นอัปปมาณะบ้าง

อานนฺตริกานิ (อนันตริยกรรม) นี้ เป็นชื่อของการทำมาตุฆาตเป็นต้นเป็นธรรมให้ผลโดยไม่มีอะไรขัดขวางทีเดียว ด้วยว่าในบรรดาอนันตริยกรรมเหล่านั้น เมื่อบุคคลทำกรรมแม้อย่างหนึ่ง กรรมอื่นจะห้าม

อนันตริยกรรมนั้นแล้วก็ไม่สามารถเพื่อทำโอกาสให้วิบากของตน เพราะว่าเมื่อสร้างพระสถูปทองแม้เท่าเขาสิเนรุ หรือสร้างวิหารมีปราการสำเร็จด้วยแก้ว เท่าเขาจักรวาล แล้วถวายปัจจัย ๔ แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ผู้นั่งเต็มวิหารนั้นตลอดชีวิตก็ดี กุศลกรรมนั้นก็ไม่อาจเพื่อจะห้ามวิบากของอนันตริยกรรมเหล่านั้นได้

บทว่า ยา จ มิจฺฉาทิฏฺฐิ นิยตา (และนิยตมิจฉาทิฏฐิ) ได้แก่บรรดาอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะทั้งหลาย มิจฉาทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยว่าพระพุทธเจ้าร้อยองค์ก็ดี พันองค์ก็ดี ก็ไม่สามารถเพื่อยังบุคคลผู้ถือมิจฉาทิฏฐิดำรงอยู่นั้นให้ตรัสรู้ได้

อริยมคฺคํ อารพฺภ (ปรารภอริยมรรค) ได้แก่ กระทำโลกุตรมรรคให้เป็นอารมณ์ ก็ธรรมมีมรรคเป็นอารมณ์เหล่านั้น เป็นปริตตะบ้าง เป็นมหัคคตะบ้าง ในนิทเทสมัคคเหตุกธรรม (ทุติยบท) พึงทราบว่า ความที่ขันธ์ทั้งหลายสัมปยุตด้วยมรรคเป็นสเหตุกะทรงแสดงไว้ด้วยเหตุ มีปัจจัยเป็นอรรถโดยนัยแรก พึงทราบความที่มัคคังคะที่เหลือเป็นสเหตุกะ ทรงแสดงด้วยเหตุกล่าวคือสัมมาทิฏฐิเป็นมรรคโดยนัยที่ ๒ โดยนัยแห่งตติยบท ทรงแสดงความที่สัมมาทิฏฐิเป็นสเหตุกะ ด้วยบทว่า มคฺเคน อุปฺปนฺนเหตุ ด้วยเหตุอันเกิดขึ้นด้วยมรรค ดังนี้

บทว่า อธิปตึ กริตฺวา (กระทำมรรคให้เป็นอธิบดี) ได้แก่ กระทำให้เป็นอารัมมณาธิบดี ธรรมที่มีอารมณ์เหล่านั้นแล เป็นปริตตธรรมเพราะว่า ในเวลาพระอริยสาวกทั้งหลายกระทำมรรคของตนให้หนักแล้วพิจารณาย่อมได้กระทำให้เป็นอารัมมณาธิบดี แต่พระอริยสาวกเมื่อพิจารณามรรคของผู้อื่นด้วยเจโตปริยญาณแม้กระทำให้หนักก็กระทำให้หนักเหมือนมรรคอันตนแทงตลอดแล้วไม่ได้ ถามว่า พระอริยสาวกเห็นพระตถาคตทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์อยู่ ย่อมกระทำมรรคของพระตถาคตให้หนักหรือไม่ ตอบว่า ย่อมกระทำ แต่กระทำให้หนักเหมือนมรรคของตนไม่ได้ ในถ้อยคำของอรรถกถาแม้นี้ว่า พระอรหันต์ไม่ทำธรรมอะไร ๆ ให้หนัก เว้นแต่มรรคผลและนิพพานดังนี้ เป็นการอธิบายความนี้ทีเดียว

บทว่า วิมํสาธิปเตยฺเยน (เจริญมรรคมีวิมังสาเป็นอธิบดี) นี้ ตรัสเพื่อแสดงสหชาตาธิปติ เพราะว่า เมื่อบุคคลเจริญมรรคทำฉันทะให้เป็นใหญ่ฉันทะก็ชื่อว่าอธิบดี มิใช่มรรคเป็นอธิบดี แม้ธรรมที่เหลือก็ชื่อว่า มีฉันทะเป็นอธิบดี มิใช่มีมรรคเป็นอธิบดี แม้ในจิตตะก็นัยนี้แหละ แต่เมื่อบุคคลเจริญมรรคกระทำวิมังสาให้เป็นใหญ่อยู่ วิมังสาธิบดีนั่นแหละย่อมเกิด มรรคก็เกิด เพราะฉะนั้น แม้ธรรมที่เหลือก็ย่อมชื่อว่ามีมรรคเป็นอธิบดี แม้ในวิริยะก็นัยนี้เหมือนกัน

บทว่า ชาตา (เกิดแล้ว) ได้แก่ บังเกิดแล้ว คือมีภาวะของตนอันได้เฉพาะแล้ว บทว่า ภูตา (เป็นแล้ว) เป็นต้นเป็นไวพจน์ของคำว่าเกิดแล้วเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแหละ จริงอยู่ การเกิดนั่นแหละ ชื่อว่า เป็นแล้วเพราะความเกิดขึ้นแห่งภาวะของตน ชื่อว่า สัญชาต (เกิดพร้อมแล้ว)เพราะเกิดขึ้นด้วยการประกอบพร้อมแห่งปัจจัยทั้งหลาย ชื่อว่า นัพพัตตา(บังเกิดแล้ว)เพราะถึงลักษณะแห่งการเกิดขึ้น ส่วนคำที่ตรัสว่า อภินิพฺพตฺตา(บังเกิดเฉพาะแล้ว)ท่านเพิ่มบทด้วยอุปสรรค ที่ชื่อว่า ปาตุภูตา (ปรากฏแล้ว)เพราะเป็นสภาวะปรากฏแล้วมีแล้ว ที่ชื่อว่า อุปปันนา (เกิดขึ้นแล้ว )เพราะพ้นไปจากอดีต คำว่า สมุปฺปนฺนา (เกิดขึ้นพร้อมแล้ว) ท่านเพิ่มบทด้วยอุปสรรค ที่ชื่อว่า อุฏฺฐิตา (ตั้งขึ้นแล้ว)เพราะตั้งเบื้องบนด้วยความหมายว่าเกิดขึ้นแล้ว ที่ชื่อว่า สมุฏฐิตา (ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว) เพราะตั้งขึ้นแล้วด้วยการประกอบแห่งปัจจัย พึงทราบเหตุกระทำถ้อยคำว่า อุปนฺนา อีกโดยนัยที่กล่าวในหนหลังนั่นแหละ

บทว่า อุปนฺนํเสน สงฺคหิตา (สงเคราะห์ด้วยส่วนที่เกิดขึ้นแล้ว)ได้แก่ ถึงการนับโดยส่วนที่เกิดขึ้น คำว่า รูปเวทนาสัญญาสังขารและวิญญาณ นี้ เป็นคำแสดงสภาวะของธรรมเหล่านั้นในนิทเทสแห่งบทที่ ๒ พึงทราบโดยนัยปฏิเสธธรรมที่กล่าวแล้วนิทเทสแห่งบทที่ ๓ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นก็ติกะนี้พระองค์ทรงแสดงเต็มอัทธา (กาล) ทั้ง ๒ จริงอยู่ วิบากแห่งกรรมที่มีโอกาสอันได้แล้วมี ๒ อย่าง คือ วิบากที่ถึงขณะแล้ว และที่ยังไม่ถึงแล้ว บรรดาวิบากกรรม ๒ เหล่านั้น วิบากที่ถึงขณะ (ทั้ง ๓) แล้วชื่อว่าอุปปันนะ (เกิดขึ้นแล้ว)วิบากที่ยังไม่ถึงขณะ (ทั้ง ๓) จะเกิดขึ้นในลำดับแห่งจิต หรือในกาลก้าวล่วงไปอีกแสนกัปจะชื่อว่าไม่มี ย่อมไม่เป็นได้ ด้วยอรรถว่าเป็นสภาวะปัจจัยที่แน่นอน จึงชื่อว่า ธรรมทั้งหลายจะเกิดขึ้น เหมือนอย่างใน

พระบาลีนี้ว่า ดูก่อนโปฏฐปาทะ อัตตาที่ไม่มีรูปนี้สำเร็จด้วยสัญญาตั้งอยู่ ที่นั้นเพราะละสัญญานั้นแล้ว สัญญาอื่นทีเดียวย่อมเกิดแก่บุรุษนี้ สัญญาอื่นนั้นแหละก็ย่อมดับไป ดังนี้ มูลภวังคสัญญา (สัญญาสัมปยุตด้วยมูลภวังค์)

ชื่อว่า อุปฺปนฺนํ (เกิดขึ้นแล้ว)ที่ยังไม่ถึงขณะ ชื่อว่า อนุปฺปนฺนํ (ยังไม่เกิดขึ้น) วิบากของกรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นนั้น จงเกิดขึ้นในลำดับแห่งจิต หรือในก้าวล่วงไปอีกแสนกัปก็ตามชื่อว่า ไม่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่มี เพราะอรรถว่าเป็นภาวะแห่งปัจจัยที่แน่นอนธรรมเหล่านี้แหละชื่อว่าจะเกิดขึ้น เหมือนอย่างมรรคของพระเมตไตรยโพธิสัตว์ชื่อว่า อนุปปันนะ (ยังไม่เกิดขึ้น) และผลจึงชื่อว่า ธรรมทั้งหลายจะเกิดแน่นอน

บทว่า อตีตา (ล่วงไปแล้ว) ได้แก่ ก้าวล่วงไป ๓ ขณะ (อุปาทขณะ ฐีติขณะ ภังคขณะ) บทว่า นิรุทฺธา (ดับแล้ว) ได้แก่ ถึงความดับแล้ว

บทว่า วิคตา (ปราศไปแล้ว )ได้แก่ถึงความพินาศไปแล้วหรือถึงจากไปแล้ว

บทว่า วิปริณตา (แปรไปแล้ว) ได้แก่ ถึงการแปรปรวนโดยละปกติไป

ที่ชื่อว่า อัสดงคตแล้ว เพราะอรรถว่า ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้กล่าวคือ

ความดับ บทว่า อพฺภตฺถงฺคตา (ถึงความดับสูญแล้ว) ท่านเพิ่มบทด้วย

อุปสรรค บทว่า อุปฺปชฺชิตฺวา วิคตา (เกิดขึ้นแล้วปราศไป) ได้แก่เกิดขึ้นแล้วก็จากไป เหตุโดยการตรัสอดีตอีกข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลังแล้วทั้งนั้น แม้ในธรรมมีอนาคตเป็นต้นข้างหน้า ก็นัยนี้แหละ

บทว่า อตีตํเสน สงฺคหิตา (สงเคราะห์โดยส่วนที่ล่วงไปแล้ว)ได้แก่ถึงการนับโดยส่วนธรรมที่เป็นอดีต ก็ธรรมที่ล่วงแล้วเหล่านั้นเป็นไฉน ?

ธรรมที่ล่วงแล้วเหล่านั้น คือ รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ แม้ในธรรมที่เป็นอนาคตเป็นต้นข้างหน้า ก็นัยนี้เหมือนกันในนิทเทสอตีตารัมมณติกะ (ที่ ๑๙) ในบททั้งหลายมีอาทิว่า อตีเต ธมฺเม อารพฺภ (ปรารภอดีตธรรม) ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบเฉพาะปริตตธรรมและมหัคคตธรรมเท่านั้น เพราะว่า ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่านั้นปรารภธรรมเป็นอดีตเป็นต้นเกิดขึ้น

เตสํ เตสํ (เหล่านั้น ๆ) ได้แก่ ทรงกำหนดเอาสัตว์ทั้งหมด บททั้งสองว่า อชฺฌตฺตํ ปจฺจตฺตํ (เป็นภายในเป็นเฉพาะตน) เป็นชื่อของธรรมที่เป็นภายในเกิดในตน บทว่า นิยตา ได้แก่เกิดแก่ตน บทว่า ปาฏิปุคฺคลิกา ได้แก่ เป็นของเฉพาะแต่ละบุคคล

บทว่าอุปฺปาทินฺนา (เป็นอุปาทินนะ) ได้แก่ เป็นของตั้งอยู่ในสรีระ จริงอยู่ธรรมเหล่านั้นเกิดด้วยกรรมหรือไม่ก็ตาม แต่ในอัชฌัตตติกนิทเทสนี้ ตรัสว่าอุปาทินนะ ด้วยอำนาจตัณหายึดถือไว้และทิฏฐิลูบคลำแล้ว

บทว่า ปรสตฺตานํ (ของสัตว์อื่น) ได้แก่ สัตว์ที่เหลือเว้นตนเอง

คำว่า ปรปุคฺคลานํ (บุคคลอื่น) เป็นไวพจน์ของคำว่า ปรสตฺตานํ นั่นเอง

คำที่เหลือเช่นกับคำที่กล่าวในหนหลังนั่นแหละ บทว่า ตทุภยํ ตัดบทเป็นตํ อุภยํ แปลว่า ธรรมทั้ง ๒ นั้น

ในปฐมบท แห่งอัชฌัตตารัมมณติกะ (ที่ ๒๑) พึงทราบว่า ได้แก่ธรรมที่เป็นปริตตะ และมหัคคตะ ในทุติยบท พึงทราบว่า ได้แก่ ธรรมทั้งหลาย (ปริตตธรรมและมหัคคตธรรม) แม้อัปปมาณธรรม ในตติยบทพึงทราบว่า ได้แก่ ปริตตธรรมและมหัคคตธรรมเท่านั้น แต่ว่าอัปปมาณธรรม(ในทุติยบท) ไม่กระทำอารมณ์ในภายนอกและในภายในตามกาล (นิพพานเป็นกาลวิมุตติ)นิทเทสแห่งสนิทัสสนติกะ (ที่ ๒๒) มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น

ชื่อว่า เมตฺตายิตตฺตํ คือ ความสนิทสนม ที่ชื่อว่า อนุทฺทาคือการเอ็นดู เพราะอรรถว่า ย่อมเอื้อเฟื้อ คือย่อมคุ้มครอง อาการที่เอ็นดูชื่อว่า อนุทฺทยนา คือกิริยาที่เอ็นดู ความเป็นแห่งกิริยาที่เอ็นดู

ชื่อว่าอนุทฺทายิตตฺตํ คือความเอ็นดู การแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล

ชื่อว่า หิเตสิตาคือความแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล

ชื่อว่า อนุกมฺปา คือความสงสาร ด้วยอำนาจการอนุเคราะห์

บทว่า ทุกฺเข ญาณํ (ความรู้ในทุกข์) ได้แก่ ปัญญาในทุกขสัจจะแม้ในบทมีอาทิว่า ทุกฺขสมุทเย ญาณํ เป็นต้นก็นัยนี้ ก็บรรดาความรู้ในทุกข์เป็นต้นนั้น ความรู้ในทุกข์ (ทุกเข ญาณํ) ย่อมเป็นไปใน การฟัง การเข้าใจ การแทงตลอดและการพิจารณา ความรู้ทุกขสมุทัยก็เป็นไปอย่างนั้นแต่ความรู้ในนิโรธ ย่อมเป็นไปในการฟัง การแทงตลอดและการพิจารณานั่นแหละ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาก็เหมือนกัน

บทว่า ปุพฺพนฺเต (ในส่วนอดีต) ได้แก่ ในส่วนที่ล่วงไปแล้ว

บทว่า อปรนฺเต (ในส่วนอนาคต) ได้แก่ ในส่วนที่ยังไม่มาถึง

บทว่าปุพฺพนฺตาปรนฺเต ได้แก่ ในส่วนทั้ง ๒ นั้น

คำว่า อิทปฺปจฺจยตา ปฏิจฺจสมุปฺปนฺเนสุ ญาณํ (ความรู้ในอิทัปปัจจยตาธรรมและปฏิจจสมุปบาทธรรม)ได้แก่ ความรู้เนื้อความในปัจจัยทั้งหลายและในธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยอย่างนี้ว่า นี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมนี้ ดังนี้ว่าด้วยนิทเทสแห่งโลภะเนื้อความแห่งบททั้งหลายที่ยังมิได้กล่าวไว้ในหนหลังแม้ในโลภนิทเทสพึงทราบดังต่อไปนี้

สภาวะที่ชื่อว่า ราคะ (ความกำหนัด) ด้วยสามารถความยินดี ที่ชื่อว่าสาราคะ (ความกำหนัดนัก) ด้วยอรรถว่าความยินดีมีกำลัง ที่ชื่อว่า อนุนโย(ความคล้อยตามอารมณ์) เพราะยังสัตว์ทั้งหลายให้คล้อยไปในอารมณ์ทั้งหลายที่ชื่อว่า อนุโรโธ (ความยินดี) เพราะอรรถว่า ย่อมพอใจ อธิบายว่า ย่อมยังสัตว์ให้ใคร่ ที่ชื่อว่า นนฺที (ความเพลิดเพลิน) เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้สัตว์เพลิดเพลินในภพใดภพหนึ่ง หรือตัวเองย่อมเพลิดเพลิน ความเพลิดเพลินนั้นด้วย ความกำหนัดด้วยอรรถว่าความยินดีนั้นด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นนฺทีราโค (ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน) ในนันทีราคะนั้น ตัณหาเกิดขึ้นครั้งเดียวในอารมณ์หนึ่ง ชื่อว่า นันที (ความเพลิดเพลิน)เมื่อเกิดขึ้นบ่อย ๆ จึงตรัสเรียกว่า นันทีราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน)

บทว่า จิตฺตสฺส สาราโค (ความกำหนัดหนักแห่งจิต) ได้แก่ ความกำหนัดใดที่ตรัสไว้ว่า สาราโค (ความกำหนัดหนัก) ด้วยอรรถว่า ความยินดีมีกำลังในหนหลัง ความกำหนัดหนักนั้นเป็นความกำหนัดหนักของจิตเท่านั้นมิใช่ของสัตว์

สภาวะที่ชื่อว่า อิจฺฉา (ความอยาก) เพราะอรรถว่า เป็นเหตุอยาก อารมณ์ ที่ชื่อว่า มุจฺฉา (สยบ) เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้สัตว์สยบเพราะความที่กิเลสมีกำลัง ที่ชื่อว่า อชฺโฌสานํ (ความหมกหมุ่น) ด้วยอำนาจการถือเอาโดยการกลืนให้สิ้นไป ที่ชื่อว่า เคโธ (ความใคร่) เพราะอรรถว่าเป็นเหตุให้สัตว์มักมากด้วยราคะนี้ คือให้ถึงความตะกละตะกลาม อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า เคโธ (ความใคร่) ด้วยอรรถว่าหนาแน่น จริงอยู่ อรรถว่าหนาแน่นนี้แหละ เหมือนที่ตรัสว่า ความใคร่เป็นดังไพรสณฑ์ทึบ (หนาแน่น) ดังนี้บทต่อไปคือ ปลิเคโธ (ความรักใคร่) ท่านเพิ่มด้วยอำนาจอุปสรรค อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปลิเคโธ (ความรักใคร่) เพราะอรรถว่า เป็นความละโมบโดยส่วนทั้งปวง ที่ชื่อว่า สงฺโค (ความข้อง) เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้สัตว์ติดอยู่ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สงฺโค ด้วยอรรถว่าติดอยู่ ที่ชื่อว่า ปงฺโก(ความจมอยู่) ด้วยอรรถว่าจมลง ที่ชื่อว่า เอชา (ธรรมชาติผู้คร่ามา)ด้วยอำนาจแห่งการคร่ามา จริงอยู่คำนี้ตรัสไว้ว่า ธรรมชาติผู้คร่ามา ย่อมชักลากบุรุษไปเพื่อเกิดขึ้นเฉพาะในภพนั้น ๆ โดยแท้ ที่ชื่อว่า มายา (ธรรมชาติหลอกลวง) ด้วยอรรถว่าล่อสัตว์ไว้ ที่ชื่อว่า ชนิกา (ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิด) ด้วยอรรถว่ายังสัตว์ให้เกิดในวัฏฏะ จริงอยู่ คำนี้ตรัสไว้ว่า ตัณหาย่อมยังสัตว์ให้เกิด จิตของสัตว์นั้นย่อมพล่านไป ที่ชื่อว่า สญฺชนนี (ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม) เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ให้เกิดผูกมัดไว้ด้วยความทุกข์ในวัฏฏะ ที่ชื่อว่า สิพฺพินี (ธรรมชาติอันร้อยรัด) เพราะอรรถว่า ย่อมร้อยรัดสัตว์ไว้ด้วยการสืบต่อ จริงอยู่ ตัณหานี้ย่อมร้อยรัดสัตว์ไว้ในวัฏฏะ ให้สืบต่อด้วยอำนาจจุติปฏิสนธิ เหมือนช่างชุน ชุนผ้าท่อนเก่ากับผ้าท่อนเก่า เพราะฉะนั้นจึงตรัสว่า ตัณหานี้ย่อมร้อยรัดสัตว์ไว้ ด้วยอรรถว่ากระทำให้สืบต่อที่ชื่อว่า ชาลินี (ธรรมชาติมีข่าย) เพราะอรรถว่า ข่ายคืออารมณ์มีประการมากมาย หรือว่าข่ายคือการเข้าไปดิ้นรนของตัณหานั้นมีประการต่าง ๆที่ชื่อว่า สริตา (ธรรมชาติอันกำเริบใจ) เพราะอรรถว่า เหมือนแม่น้ำมีกระแสอันเชี่ยว ด้วยอรรถว่าคร่ามา อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า สริตาด้วยอรรถว่าชุ่มใจ เหมือนที่ตรัสไว้ว่า โสมนัสเป็นธรรมชาติชุ่มใจ เป็นความเสน่หาย่อมมีแก่สัตว์ผู้เกิด ก็ในบาลีนั้นอธิบายว่า ตัณหานี้เป็นความชุ่มชื่นและความสนิทสนมกัน ที่ชื่อว่า วิสตฺติกา (ธรรมชาติอันซ่านไป) เพราะอรรถว่าหลั่งไหลไปอีกอย่างหนึ่ง ตัณหาชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่า ซึมซาบไปชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่า กว้างขวาง ชื่อว่า ว

หมายเลขบันทึก: 512687เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2012 15:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ธันวาคม 2012 15:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

  ตัณหาชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่า ซึมซาบไปชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่า กว้างขวาง ชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่า ย่อมกระสับกระส่าย ชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่า หลอกลวงชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่า ย่อมบั่นทอนโดยประการต่าง ๆ ชื่อว่าวิสตฺติกา เพราะอรรถว่า มีรากเป็นพิษ ชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่ามีผลเป็นพิษ คือว่า ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์เป็นเป็นผลมาแต่ตัณหานั้น เหตุนั้นตัณหานั้นท่านจึงเรียกว่า มีรากเป็นพิษ ชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่ามีการบริโภคเป็นพิษ ก็หรือชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่า ตัณหานั้นซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ คือแพร่หลาย ขยายไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะในธรรม ในตระกูล ในคณะที่ชื่อว่า สุตฺตํ (ธรรมชาติเหมือนเส้นด้าย) เพราะอรรถว่า ดุจเส้นด้ายที่ผูกเต่าไว้ ด้วยอรรถว่าให้ถึงความเสื่อมและความพินาศ สมดังพระดำรัสที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติเหมือนเส้นด้ายนี้แล เป็นชื่อของนันทิราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน)ที่ชื่อว่า วิสฏา (ธรรมชาติอันแผ่ไป) ด้วยอรรถว่า แผ่ขยายไปในอารมณ์แม้มีรูปเป็นต้น ที่ชื่อว่า อายุหนี (ธรรมชาติผู้ประมวลมา) เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ให้ขวนขวายเพื่อการได้วัตถุนั้น ๆ ที่ชื่อว่า ทุติยา (ธรรมชาติเป็นเพื่อนสอง) ด้วยอรรถว่า เป็นสหายเพราะการไม่ให้เพื่ออันเงยหน้า จริงอยู่ตัณหานี้ย่อมไม่ให้สัตว์ทั้งหลายเงยหน้าในวัฏฏะ คือ ย่อมให้อภิรมย์ เหมือนสหายรักในที่ ๆ ตนไปแล้ว ฉะนั้น

ชื่อว่า ปณิธิ ด้วยสามารถแห่งการตั้งความปรารถนา ที่ชื่อว่าภวเนตฺติ (ธรรมชาตินำไปสู่ภพ) เพราะอรรถว่า ย่อมนำไปสู่ภพ จริงอยู่สัตว์ทั้งหลายถูกตัณหานี้นำไปสู่ที่ที่ตนปรารถนาแล้ว ๆ เหมือนโคทั้งหลายที่ถูกเชือกผูกคอไว้ ฉะนั้นที่ชื่อว่า วนํ (ตัณหาเหมือนป่า) เพราะอรรถว่า ย่อมประชุม คือย่อมคบ ย่อมยึดซึ่งอารมณ์นั้น ๆ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วนํ เพราะอรรถว่าย่อมอ้อนวอน บทว่า วนโถ (ตัณหาเหมือนดง) ทรงเพิ่มบทโดยพยัญชนะ  * อํ จตุกฺก เล่ม ๑๓ ๗/๑๒

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วนํ (ตัณหาเหมือนป่า) เพราะอรรถว่า ดุจป่า ด้วยอรรถว่า ยังทุกข์อันเป็นความเสื่อมเสียให้ตั้งขึ้น และด้วยอรรถว่ารกชัฏ คำว่าป่า นี้ เป็นชื่อของตัณหาที่มีกำลังแรง ส่วนตัณหาที่มีกำลังแรงกว่านั้น ชื่อว่าวนโถ ด้วยอรรถว่าเป็นดงชัฏ

ตัณหานั้น ชื่อว่า สนฺถโว (ความเกี่ยวข้อง) ด้วยอรรถว่า สนิทสนมอธิบายว่า คลุกคลีแล้ว สันถวะคือความเกี่ยวข้องนั้นมี ๒ อย่าง คือ

ตณฺหาสนฺถโว ความสนิทสนมด้วยอำนาจตัณหา

มิตฺตสนฺถโว ความสนิทสนมด้วยอำนาจมิตร

ในบรรดาสันถวะทั้ง ๒ นั้น ในที่นี้ ทรงประสงค์เอาตัณหาสันถวะคือ ความเกี่ยวข้องหรือสนิทสนมด้วยอำนาจตัณหา ที่ชื่อว่า สิเนโห (ความเยื่อใย) ด้วยอำนาจความเสน่หา ที่ชื่อว่า อเปกฺขา (ความห่วงใย) เพราะอรรถว่า ย่อมเพ่งด้วยอำนาจการทำความอาลัย

ตัณหาที่ชื่อว่า ปฏิพนฺธุ (ความผูกพัน) เพราะอรรถว่า ย่อมผูกไว้เฉพาะแต่ละอารมณ์ อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่า ปฏิพนฺธุ (ความผูกพัน) เพราะอรรถว่า เฉพาะแต่อารมณ์ที่ผูกพันด้วยความหมายว่าเป็นญาติ จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่าพันธุ คือพวกพ้องเสมอด้วยตัณหา ย่อมไม่มีแก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยอรรถว่าอาศัยอยู่เป็นนิตย์

ตัณหาที่ชื่อว่า อาสา (การหวัง) เพราะการหวังอารมณ์ทั้งหลายอธิบายว่า เพราะครอบงำและเพราะการบริโภคไม่รู้จักอิ่ม ที่ชื่อว่า อาสึสนา(กิริยาที่หวัง) ด้วยอำนาจแห่งความหวัง ภาวะแห่งความหวัง

ชื่อว่า อาสึสิตตฺตํ (ความหวัง)บัดนี้ เพื่อทรงแสดงฐานะแห่งการเป็นไปของตัณหานั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า รูปาสา (ความหวังรูป) ดังนี้ ในพระบาลีมีอาทิว่า ความหวังในรูปเป็นต้นนั้น พึงทราบบทแม้ ๙* อย่างนี้ว่า ความหวังในรูป ชื่อว่า รูปาสาโดยถือเอาอรรถแห่งความหวังว่า ชื่อว่า อาสา (ความหวัง) ด้วยอำนาจความปรารถนา ก็ในบรรดาบททั้ง ๙ นี้ ๕ บทข้างต้นตรัสด้วยอำนาจเบญจกามคุณ บทที่ ๖ ตรัสด้วยอำนาจความโลภในบริขาร บทที่ ๖ นั้นเป็นของพวกบรรพชิตโดยพิเศษ ๓ บทต่อจากนั้นเป็นของพวกคฤหัสถ์ด้วย* บททั้ง ๙ คือ ความหวังในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ลาภ ทรัพย์ บุตร ชีวิต

อำนาจแห่งวัตถุเป็นอารมณ์ไม่รู้จักอิ่ม เพราะวัตถุอันเป็นที่รักยิ่งกว่าทรัพย์บุตร ชีวิต ของพวกคฤหัสถ์เหล่านั้นมิได้มีตัณหาที่ชื่อว่า ชปฺปา (ธรรมชาติผู้กระซิบ) เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ให้พูดอุบอิบอย่างนี้ว่า นี่ของฉัน นี่ของฉัน หรือว่า สิ่งนี้บุคคลโน้นให้แก่เราสิ่งนี้บุคคลโน้นให้แก่เรา ดังนี้ สองบทต่อจากนั้นคือ ปชปฺปา อภิชปฺปา(ธรรมชาติผู้กระซิบทั่ว ธรรมชาติผู้กระซิบยิ่ง) ทรงเพิ่มอุปสรรคเข้ามาต่อจากนั้นไป ทรงตรัสคำว่า ชปฺปา (การกระซิบ) อีก เพราะทรงปรารภเพื่อจะจำแนกโดยอาการอื่น คืออาการกระซิบชื่อว่า ชปฺปายนา (กิริยาที่กระซิบ ภาวะแห่งการกระซิบ ชื่อว่า ชปฺปิตตฺตํ (ความกระซิบ) ที่ชื่อว่าโลลุโป (การละโมบ) เพราะอรรถว่า ย่อมปล้น คือ กระชากมาในอารมณ์บ่อย ๆ ภาวะแห่งการละโมบ ชื่อว่า โลลุปฺปํ (กิริยาที่ละโมบ) อาการแห่งกิริยาที่ละโมบ ชื่อว่า โลลุปฺปายนา (ความละโมบ) ภาวะแห่งบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยความละโมบ ชื่อว่า โลลุปฺปายิตตฺตํบทว่า ปุญฺจิกตา (ธรรมชาติเป็นเหตุซมซาน) ความว่า สัตว์ทั้งหลายเที่ยวหัวเราะระริกไป เหมือนพวกสุนัขสั่นหางอยู่ในที่เป็นที่ตั้งแห่งความอยากด้วยตัณหาใด นั้นเป็นชื่อแห่งตัณหาอันให้เกิดหัวเราะระริกไปนั้น

บทว่า สาธุกมฺยตา (ความใคร่ในอารมณ์ที่ดี) ความว่า อยากได้อารมณ์ที่ชอบใจที่ชื่นใจอันดี เรียกว่า ความใคร่ในอารมณ์ที่ดี ภาวะแห่งความใคร่ในอารมณ์ที่ดีนั้น ชื่อว่า สาธุกมฺยตา (ความใคร่ในอารมณ์ที่ดี)ตัณหาที่ชื่อว่า อธมฺมราโค (ความกำหนัดในฐานะอันไม่ควร)เพราะอรรถว่า มีความกำหนัดในฐานะอันไม่ควรมีมารดาและน้าเป็นต้นความโลภที่เกิดขึ้นมีกำลังแรง แม้ในฐานะที่ควร ชื่อว่า วิสมโลโภ(ความโลภเกินขนาด) อีกอย่างหนึ่ง ฉันทราคะคือ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ) เกิดขึ้นในฐานะที่ควรหรือในฐานะที่ไม่ควร โดยพระบาลีที่ตรัสไว้ว่า ราโควิสมํ (ความกำหนัดไม่สม่ำเสมอ) เป็นต้น พึงทราบว่า ชื่อว่า

อธมฺมราโค (ความกำหนัดในฐานะอันไม่ควร) ด้วยอรรถว่าไม่เป็นธรรมและชื่อว่า วิสมโลโภ (ความโลภเกินขนาด) ด้วยอรรถว่าปราศจากความสม่ำเสมอ ดังนี้ตัณหาที่ชื่อว่า นิกนฺติ (ความติดใจ) ด้วยอำนาจแห่งความใคร่ในอารมณ์ทั้งหลาย อาการแห่งความใคร่ในอารมณ์ทั้งหลาย ชื่อว่า นิกามนา(กิริยาที่ติดใจ) ที่ชื่อว่า ปฏฺฐนา (ความปรารถนา) ด้วยอำนาจแห่งความตั้งใจ ที่ชื่อว่า ปิหนา (ความกระหยิ่มใจ) ด้วยอำนาจความริษยา ความปรารถนาด้วยดี ชื่อว่า สมฺปฏฐนา (ความปรารถนาหนัก)ตัณหาในกามคุณ ๕ ชื่อว่า กามตัณหา ตัณหาในรูปภพและอรูปภพชื่อว่า ภวตัณหา ตัณหาในวิภวะกล่าวคือความขาดสูญ ชื่อว่า วิภวตัณหาตัณหาในรูปภพล้วนอย่างเดียว ชื่อว่า รูปตัณหา ตัณหาในอรูปภพ ชื่อว่าอรูปภวตัณหา ความยินดีสหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ ชื่อว่า ทิฏฐิราคะตัณหาในนิโรธ ชื่อว่า นิโรธตัณหา ตัณหาในรูป ชื่อว่า รูปตัณหา ตัณหาในเสียง ชื่อว่า สัททตัณหา ตัณหาในกลิ่น ชื่อว่า คันธตัณหาแม้ในรสเป็นต้นก็นัยนี้แหละ คำว่า โอฆะเป็นต้นมีเนื้อความตามที่กล่าวแล้วนั่นแลที่ชื่อว่า อาวรณํ (อาวรณ์) เพราะย่อมกั้นกุศลธรรมทั้งหลาย ที่ชื่อว่าฉาทนํ (เครื่องปิดบัง) ด้วยอำนาจการปกปิด ที่ชื่อว่า พนฺธนํ (เครื่องผูก)เพราะย่อมผูกสัตว์ไว้ในวัฏฏะ ที่ชื่อว่า อุปกิเลส เพราะเข้าถึงจิตแล้วให้เศร้าหมอง คือ ทำให้เศร้าหมอง ที่ชื่อว่า อนุสัย เพราะย่อมนอนเนื่องคือ เป็นไปด้วยอรรถว่ามีกำลัง ที่ชื่อว่า ปริยุฏฐาน เพราะเกิดขึ้นกลุ้มรุมจิตอธิบายว่า ยึดความเป็นกุศลโดยไม่ให้เพื่อเกิดขึ้น จริงอยู่ ในประโยคมีอาทิว่าพวกโจรปล้นในหนทาง พวกนักเลงดักทำร้ายในหนทาง คือยึดทางไว้ ชื่อว่า ถือเอาซึ่งทาง ฉันใด แม้ในปริยุฏฐานนี้ ก็พึงทราบปริยุฏฐานด้วยอรรถว่า ถือเอา ฉันนั้น

ตัณหาที่ชื่อว่า ลตา (เหมือนเถาวัลย์) เพราะเป็นเหมือนเถาวัลย์โดยความหมายว่า พันไว้รอบ ตัณหานี้ ตรัสเรียกว่า เถาวัลย์ แม้ในที่ตรัสไว้ว่า ลตา อุพฺภิชฺช ติฏฺฐติ (ตัณหาเหมือนเถาวัลย์แตกแขนงตั้งอยู่) ดังนี้

ที่ชื่อว่า เววิจฺฉํ (ความปรารถนาวัตถุมีอย่างต่าง ๆ) เพราะปรารถนาวัตถุมีอย่างต่าง ๆ ที่ชื่อว่า ทุกฺขมูลํ (รากเหง้าแห่งทุกข์) เพราะเป็นมูลแห่งวัฏทุกข์ ที่ชื่อว่า ทุกฺขนิทานํ (เหตุแห่งทุกข์) เพราะเป็นเหตุเกิดของทุกข์นั่นนั่นแหละ ที่ชื่อว่า ทุกฺขปฺปภโว (แดนเกิดแห่งทุกข์) เพราะทุกข์นั้นย่อมเกิดจากตัณหานี้ ที่ชื่อว่า ปาโส (บ่วง) เพราะเหมือนบ่วง ด้วยอรรถว่าเครื่องผูก บ่วงแห่งมารชื่อว่า มารปาโส ที่ชื่อว่า พลิสํ (เบ็ด) เพราะเป็นเหมือนเบ็ด ด้วยอรรถว่า สำรอกออกยาก เบ็ดของมาร ชื่อว่า มารพลิสํสัตว์ผู้ถูกตัณหาครอบงำแล้วย่อมไม่ก้าวล่วงวิสัยแห่งมาร มารย่อมยังอำนาจให้เป็นไปในเบื้องบนสัตว์เหล่านั้น โดยปริยายนี้ จึงเรียกว่า แดนแห่งมารเพราะเป็นวิสัยของมารแม่น้ำคือตัณหา ชื่อว่า คณฺหานที ด้วยอรรถว่า ไหลไป ข่ายคือตัณหา ชื่อว่า ตณฺหาชาลํ ด้วยอรรถว่าปกคลุมไว้ สุนัขทั้งหลายที่เขาเอาเชือกผูกไว้ ย่อมถูกนำไปตามปรารถนา ฉันใด สัตว์ทั้งหลายที่ถูกตัณหาผูกไว้ก็ฉันนั้น เพราะฉะนั้น ตัณหานั้น จึงชื่อว่า คทฺทุลํ (เหมือนเชือก)เพราะเป็นเหมือนเชือกด้วยอรรถว่าผูกไว้แน่น เชือกคือตัณหา ชื่อว่า ตณฺหา คทฺทุลํ สมุทร (ทะเล) คือตัณหาด้วยอรรถว่าให้เต็มได้ยาก เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ตัณหาเหมือนสมุทร

คำว่า อนตฺถํ เม อจริ (ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา) คือได้กระทำความไม่เจริญแก่เรา พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงโดยอุบายนี้

คำว่า อฏฺฐาเน วา ปน อาฆาโต (หรืออาฆาตอันเกิดขึ้นได้ในฐานะอันมิใช่เหตุ) ได้แก่ความโกรธย่อมเกิดขึ้นในฐานะอันมิใช่เหตุ จริงอยู่บุคคลบางคนย่อมโกรธในฐานะอันมิใช่เหตุว่า ฝนย่อมตกเกินไป ย่อมโกรธว่าฝนไม่ตก ย่อมโกรธว่า พระอาทิตย์ร้อน ย่อมโกรธว่า พระอาทิตย์ไม่ร้อนเมื่อลมพัดอยู่ก็โกรธ ลมไม่พัดก็โกรธ เมื่อไม่สามารถจะกวาดลานก็โกรธใบโพธิ์ทั้งหลาย เมื่อไม่สามารถจะห่มจีวรได้ก็โกรธลมพัด สะดุดหกล้มก็โกรธตอไม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงความโกรธนี้จึงตรัสว่า อฏฺฐาเน วา ปน อาฆาโต ชายติ(หรืออาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะอันมิใช่เหตุ) ดังนี้ บรรดาความโกรธเหล่านั้น ความแตกแห่งกรรมบถย่อมมีเพราะอาฆาตเกิดขึ้นปรารภสัตว์ทั้งหลายในฐานะ ๙ ข้างต้น แต่อาฆาตในฐานะอันมิใช่เหตุเกิดในสังขาร ย่อมไม่ทำการแตกกรรมบถโทสะที่ชื่อว่า จิตอาฆาต เพราะอรรถว่า เกิดขึ้นยังจิตให้อาฆาตอยู่ความอาฆาตที่แรงกว่านั้น ชื่อว่า ปฏิฆาโต (ความขัดเคือง) ที่ชื่อว่า ปฏิฆะ(ความกระทบกระทั่ง) ด้วยอำนาจความหงุดหงิด ที่ชื่อว่า ปฏิวิโรโธ (ความแค้น) เพราะคับแค้นใจ ที่ชื่อว่า โกโป (ความเคือง) ด้วยอำนาจแห่งความโกรธ บทว่า ปโกโป สมฺปโกโป (ความขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน)ทรงเพิ่มบทด้วนอุปสรรค ที่ชื่อว่า โทโส (โทสะ) ด้วยอำนาจการประทุษร้าย บทว่า ปโทโส สมฺปโทโส (ความคิดประทุษร้าย ความมุ่งคิดประทุษร้าย) ทรงเพิ่มบทด้วยอุปสรรค

คำว่า จิตฺตสฺส พฺยาปตฺติ (ความขุ่นจิต) ความว่า อาการเปลี่ยนแปลงต่างๆเพราะจิตวิบัติ ชื่อว่า มโนปโทโส (ธรรมชาติประทุษร้ายใจ)เพราะเกิดขึ้นประทุษร้ายใจ ที่ชื่อว่า โกโธ (โกรธ) ด้วยสามารถแห่งการโกรธ อาการแห่งการโกรธ ชื่อว่า กุชฺฌนา (กิริยาที่โกรธ) ภาวะแห่งจิตที่โกรธ ชื่อว่า กุชฺฌิตตฺตํ (ความโกรธ) บัดนี้ เพื่อทรงแสดงนัยที่ตรัสไว้ในอกุศลนิทเทส จึงตรัสคำมีอาทิว่าโทโส ทุสฺสนา (การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย) ดังนี้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทำการประกอบในนิทเทสนี้อย่างนี้ว่า โทสะเห็นปานนี้อันใดที่ตรัสไว้ในที่นี้ว่า จิตอาฆาต ฯลฯ ความโกรธ และที่ตรัสไว้แล้วในหนหลังโดยนัยมีอาทิว่า โทโส ทุสฺสนา (การประทุษร้าย กิริยาที่ประทุษร้าย) นี้เรียกว่าโทสะ ด้วยว่า เมื่อมีคำที่กล่าวไว้อย่างนี้ ย่อมเป็นอันท่านกันข้อเสียหายในการพูดซ้ำ นิทเทสแห่งโมหะ พึงทราบโดยนัยที่เป็นปฏิปักษ์กับคำที่กล่าวไว้ในนิทเทสแห่งอโมหะ ก็นิทเทสแห่งโมหะนี้จักมีแจ้งในอรรถกถาแห่งวิภังคปกรถโดยอาการทั้งปวง

คำว่า เตหิ ธมฺเมหิ เย ธมฺมา สเหตุกา (ธรรมเหล่าใดมีเหตุโดยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น ) ความว่า ธรรมเหล่าใดที่เป็นเหตุก็ดี ไม่เป็นเหตุก็ดี อื่นใด ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า สเหตุกา (มีเหตุ) ด้วยเหตุธรรมเหล่านั้นแม้ในบทว่า อเหตุกะ ก็นัยนี้เหมือนกัน ก็ในที่นี้ ธรรมที่เป็นเหตุย่อมเป็นเหตุอย่างเดียว และเป็นธรรมมีเหตุ (สเหตุกะ) ในการเกิดพร้อมกัน ๓ เหตุหรือ ๒ เหตุ ส่วนโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะเป็นเหตุแต่ไม่มีเหตุประกอบ

อิเม ธมฺมา อปฺปจฺจยา (ธรรมเหล่านี้ไม่มีปัจจัย) ดังนี้ เพราะทรงยกขึ้นถามด้วยอำนาจแห่งบทพหุวจนะ แม้ใน

บทมีอาทิว่า อิเม ธมฺมา สนิทสฺสนา (สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เห็นได้) ก็นัยนี้เหมือนกัน

บทว่า กาเมสุ (ในกามทั้งหลาย) ได้แก่ กามคุณ ๕

บทว่ากามฉนฺโท ได้แก่ ความพอใจคือความใคร่ มิใช่ความพอใจของบุคคลผู้ใคร่จะทำ และมิใช่ธรรมฉันทะ ครามกำหนัดคือความใคร่ด้วยอำนาจแห่งความพอใจและด้วยอำนาจแห่งความกำหนัด ชื่อว่า กามราคะ  กามาสวะที่ชื่อว่า กานนนฺที (ความเพลิดเพลินคือความใคร่) เพราะอรรถว่า ความเพลิดเพลินคือกามด้วยอำนาจแห่งความใคร่และความเพลิดเพลินบัณฑิตทราบอรรถแห่งกามะในบททั้งปวงอย่างนี้ พึงทราบว่า ที่ชื่อว่า กามตัณหา (ตัณหาคือความใคร่) โดยความหมายของตัณหา ที่ชื่อว่า กามสิเนโห(สิเนหาคือความใคร่) โดยความหมายของความรัก ที่ชื่อว่า กามปริฬาโห(ความเร่าร้อนคือความใคร่) โดยความหมายแห่งการแผดเผา ที่ชื่อว่ากามมุจฺฉา (ความสยบคือความใคร่) โดยความหมายของการซบเซา พึงทราบว่า กามชฺโฌสานํ (ความหมกมุ่นคือความใคร่) โดยความหมายของการกลืนหมดสิ้น

บทว่า อยํ วุจฺจติ (นี้เรียกว่า) ความว่า อาสวะที่จำแนกด้วยบททั้ง ๘ นี้ ตรัสเรียกชื่อว่า กามาสวะ

บทว่า ภเวสุ ภวฉนฺโท (ความพอใจในภพ ในภพทั้งหลาย)ความว่า ความพอใจอันเป็นไปด้วยอำนาจการปรารถนาภพ ในรูปภพและอรูปภพ ชื่อว่า ภวฉันทะ (ความพอใจในภพ) พึงทราบแม้บทที่เหลือ

โดยนัยนี้แลอนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสประเภทแห่งทิฏฐิด้วยอาการ ๑๐ อย่างมีอาทิว่า สสฺสโต โลโก (ความเห็นว่าโลกเที่ยง) บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น คำว่าสสฺสโต โลโก (โลกเที่ยง) มีอธิบายว่า ทิฏฐิอันเป็นไปด้วยอาการแห่งการยึดถือว่า เที่ยง ของบุคคลผู้ยึดเบญจขันธ์ว่า เป็นโลก แล้วถือว่า โลกนี้เที่ยง ยั่งยืน มีอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์

บทว่า อสสฺสโต (โลกไม่เที่ยง) อธิบายว่า ทิฏฐิอันเป็นไปด้วยอาการที่ยึดถือการขาดสูญ ของบุคคลผู้ยึดถือโลกนั้นนั่นแหละว่า ย่อมขาดสูญย่อมพินาศ

บทว่า อนฺตวา (โลกมีที่สุด) ความว่า ทิฏฐิที่เป็นไปด้วยอาการแห่งการยึดถือว่า โลกมีที่สุด ของบุคคลผู้ได้ฌานมีกสิณเล็กน้อยเป็นอารมณ์หรือผู้เข้าสมาบัติในกสิณมีประมาณเท่ากระด้งหรือขันน้ำ ผู้ยึดถือในรูปและอรูปธรรมอันเป็นไปภายในสมาบัติว่าเป็นโลก และว่ามีที่สุด ด้วยการกำหนดกสิณ ทิฏฐินั้นเป็นสัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง) บ้าง เป็นอุจเฉททิฏฐิ(ความเห็นว่าขาดสูญ) บ้าง แต่บุคคลผู้ได้กสิณไพบูลเข้าสมาบัติกสิณนั้นยึดถือรูปธรรมอรูปธรรมที่เป็นไปภายในสมาบัติว่าเป็นโลก และเห็นว่าไม่มีที่สุด ด้วยการกำหนดกสิณ มีความเห็นเป็นไปด้วยอาการแห่งการยึดถือว่าโลกไม่มีที่สุด ทิฏฐิ (ความเห็น) นั้นเป็นสัสสตทิฏฐิบ้าง เป็นอุจเฉททิฏฐิบ้าง  บทว่า ตํ ชีวํ ตํ สรีรํ (ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น) ความว่าทิฏฐิอันเป็นไปด้วยอาการถือการขาดสูญว่า เมื่อสรีระขาดสูญ แม้ชีพก็ขาดสูญเพราะถือว่า ชีพของสรีระนั่นแหละมีความแตกดับเป็นธรรมดาแม้ในบทที่ ๒ ทิฏฐิที่เป็นไปด้วยอาการที่ยึดถือความเที่ยงว่า เมื่อสรีระแม้ขาดสูญอยู่ แต่ชีพจักไม่ขาดสูญ เพราะการยึดถือชีพเป็นอย่างอื่นจากสรีระพึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า โหติ ตถาคโต ปรํมรณา (สัตว์ยังเป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะ) ดังนี้ สัตว์ชื่อว่า ตถาคต เมื่อยึดถือว่า สัตว์นั้นยังเป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะดังนี้ เป็นสัสสตทิฏฐิข้อที่หนึ่ง เมื่อถือว่าไม่เป็นอยู่ก็เป็นอุจเฉททิฏฐิข้อที่ ๒ เมื่อถือว่า เป็นอยู่ก็มี ไม่เป็นอยู่ก็มีก็เป็นเอกัจจสัสสตทิฏฐิ ข้อที่ ๓ เมื่อถือว่าเป็นอยู่ก็มิใช่ ไม่เป็นอยู่ก็มิใช่

บทว่า เสยฺโย หมสฺมีติ มาโน* (การถือตัวว่าเราดีกว่าเขา) ได้แก่มานะอันเกิดขึ้นอย่างนั้นว่า เราดีกว่าเขา โดยความหมายว่าสูงสุด บทว่าสทิโส หมสฺมีติ มาโน (การถือตัวว่าเราเสมอกับเขา) ได้แก่ มานะอันเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เราเสมอกับเขา โดยความหมายว่า เสมอ ๆ กัน บทว่าหีโน หมสฺมีติ มาโน (การถือตัวว่าเราเลวกว่าเขา) ได้แก่ มานะอันเกิดอย่างนี้ว่า เราเลวกว่าเขา โดยความหมายว่า ลามกกว่า มานะทั้ง ๓เหล่านี้ คือ มานะว่าดีกว่าเขา มานะว่าเสมอเขา มานะว่าเลวกว่าเขา ย่อมเกิดแก่ชน ๓ จำพวก ด้วยประการฉะนี้จริงอยู่ มานะ ๓ คือ มีความสำคัญตนว่า เราดีกว่าเขา เสมอเขาเลวกว่าเขา ย่อมเกิดแก่คนที่ดีกว่าเขาบ้าง แก่คนที่เสมอเขาบ้าง แก่คนที่เลวกว่าเขาบ้างบรรดามานะ ๓ อย่างนั้น แม้มานะว่าเราดีกว่าเขาของบุคคลผู้ดีกว่าเขาเป็นมานะตามความเป็นจริง มานะ ๒ นอกนี้มิใช่มานะตามความเป็นจริง มานะว่าเราเสมอเขาของบุคคลผู้เสมอเขา ฯ ล ฯ มานะว่าเราเลวกว่าเขาของบุคคลผู้เลวกว่าเขา เป็นมานะตามความเป็นจริง มานะ ๒ นอกนี้มิใช่มานะตามความเป็นจริง

มานะ(ความถือตัว)ด้วยอำนาจการทำความถือตัว  บทว่า มญฺญนา มญฺญิตตฺตํ (กิริยาที่ถือตัว ความถือตัว) นี้เป็นการชี้แจงถึงอาการและภาวะ ที่ชื่อว่า อุณฺณติ การยกตน) โดยความหมายว่าเทิดทูน ที่ชื่อว่า อุณฺณาโม (การเชิดชูตน) เพราะอรรถว่า นานะย่อมยังบุคคลผู้เกิดมานะให้พอง คือยกให้ตั้งขึ้น ที่ชื่อว่าธโช (ดุจธง) โดยความหมายว่าเชิดชูขึ้นแล้ว ที่ชื่อว่า สมฺปคฺคาโห (การยกจิตขึ้น) เพราะอรรถว่าย่อมประคับประคองจิตโดยความหมายว่า การยกขึ้น บรรดาธงทั้งหลายมากธงที่ยกขึ้นสูง ตรัสเรียกว่า เกตุ (ธง) เพราะว่ามานะเมื่อเกิดบ่อย ๆ เพราะอาศัยมานะต่อ ๆ มาก็เป็นเหมือนธง เพราะอรรถว่ายกขึ้นไว้สูง เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เหมือนธง จิตใดย่อมต้องการมานะเหมือนธง เพราะฉะนั้น จิตนั้นจึงชื่อว่า เกตุกมฺยํ (ปรารถนาดุจธง) ภาวะแห่งเกตุกัมยะนั้น ชื่อว่าเกตุกมฺยตา (ความที่จิตต้องการดุจธง) ก็ความที่จิตต้องการดุจธงนั้นเป็นของจิต มิใช่เป็นของอัตตา ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า เกตุกมฺยตา จิตฺตสฺส(ความที่จิตต้องการดุจธง) อธิบายว่า จิตสัมปยุตด้วยมานะย่อมปรารถนาดุจธงและภาวะแห่งจิตนั้น ชื่อว่า เกตุกมฺยตา คือ มานะที่นับว่าเป็นดุจธงว่าด้วยอิสสานิทเทสพึงทราบวินิจฉัยในอิสสานิทเทส ต่อไป

คำว่า ยา ปรลาภสกฺการ ครุการ มานน วนฺทนปูชนาทีสุ อิสฺสา(การริษยาในลาภสักการะ ในการทำความเคารพ ในการนับถือ ในการไหว้และบูชาของบุคคลอื่นเป็นต้น อันใด) ความว่า การริษยาใดที่มีลักษณะขึงเคียดในสมบัติของผู้อื่น ในสิ่งทั้งหลายมีลาภเป็นต้นของชนเหล่าอื่นนั่นว่า ลาภเป็นต้นเหล่านี้จะมีประโยชน์อะไร ด้วยบุคคลนี้ในพระบาลีนั้น บทว่า ลาโภ (ลาภ) ได้แก่ การได้เฉพาะปัจจัย๔ มีจีวรเป็นต้น จริงอยู่ บุคคลผู้ริษยา ย่อมขึงเคียดลาภนั้น ของบุคคลอื่นย่อมไม่ปรารถนาว่า ประโยชน์อะไร ด้วยลาภนี้แก่บุคคลนี้ ดังนี้บทว่า สกฺกาโร (สักการะ) ได้แก่ การได้ปัจจัยเหล่านั้นนั่นแหละที่ดีอันบุคคลทำดีแล้ว บทว่า ครุกาโร (การทำความเคารพ) ได้แก่ กิริยาที่ยกย่องคือ การกระทำให้เป็นภาระ บทว่า มานนํ (การนับถือ) ได้แก่การกระทำให้เป็นที่รักด้วยใจ บทว่า วนฺทนํ (การไหว้) ได้แก่ การไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ บทว่า ปูชนา (การบูชา) ได้แก่ การบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น ที่ชื่อว่า อิสฺสา (การริษยา) ด้วยอำนาจกิริยาที่ไม่อยากให้คนอื่นได้ดี อาการที่ไม่อยากให้คนอื่นได้ดี ชื่อว่า อิสฺสายนา (กิริยาที่ริษยา) ภาวะที่ไม่อยากให้คนอื่นได้ดี ชื่อว่า อิสฺสายิตตฺตํ (ความริษยา)การกีดกันเป็นต้น

แสดงมัจฉริยะ (ความตระหนี่) โดยวัตถุ จึงตรัสคำมี อาทิว่า  ปญฺจ มจฺฉริยานิ อาวาสมจฺฉริยํ (ความตระหนี่ ๕ คือตระหนี่อาวาส)ดังนี้ ในมัจฉริยะเหล่านั้น ความตระหนี่ในอาวาส ชื่อว่า อาวาสมจฺฉริยํแม้บทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน อารามทั้งสิ้นก็ดี บริเวณอารามก็ดี ห้องน้อยก็ดี ที่พักในเวลาราตรีเป็นต้นก็ดี ชื่อว่า อาวาส พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสนั้นย่อมอยู่สบาย ย่อมได้ปัจจัยทั้งหลาย ภิกษุรูปหนึ่งผู้ตระหนี่ย่อมไม่ปรารถนาให้ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร ผู้มีศีลเป็นที่รักมาในที่อยู่นั้น แม้มาแล้วก็คิดว่าภิกษุนี้จงไปโดยเร็วเถิด นี้เชื่อว่า อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่อาวาส) แต่ภิกษุผู้ไม่ปรารถนาการอยู่ในที่นั้นของพวกผู้ก่อการทะเลาะเป็นต้น ไม่ชื่อว่าอาวาสมัจฉริยะ (นี้เป็นความตระหนี่ข้อที่ ๑)

บทว่า กุลํ (ตระกูล)ได้แก่ ตระกูลอุปัฏฐากบ้าง ตระกูลญาติบ้าง เมื่อภิกษุไม่ปรารถนาให้ภิกษุอื่นเข้าไปสู่ตระกูลนั้น ย่อมเป็นกุลมัจฉริยะ(ตระหนี่ตระกูล) แต่ภิกษุไม่ปรารถนาให้บุคคลลามกเข้าไปในตระกูลนั้น ไม่ 

ชื่อว่ามัจฉริยะ เพราะคนผู้ลามกนั้นย่อมปฏิบัติ เพื่อทำลายความเลื่อมใสของตระกูลเหล่านั้น แต่ภิกษุผู้สามารถรักษาความเลื่อมใสไว้ได้ ไม่ปรารถนาให้ภิกษุนั้นเข้าไปในตระกูลนั้น จึงชื่อว่า มัจฉริยะ (นี้เป็นความตระหนี่ข้อที่ ๒)

บทว่า ลาโภ (ลาภ) ได้แก่ การได้ปัจจัย ๔ เมื่อภิกษุผู้มีศีลรูปอื่นได้อยู่ซึ่งปัจจัย ๔ นั้นนั่นแหละ ภิกษุผู้ตระหนี่คิดอยู่ว่า ขอจงอย่าได้ ดังนี้ ย่อมเป็น ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ) แต่ภิกษุใดยังศรัทธาไทย (ของที่ถวายด้วยศรัทธา) ให้ตกไปก็ดี ย่อมทำปัจจัยที่ได้มาให้เสียหายด้วยสามารถแห่งการไม่บริโภคหรือบริโภคไม่ดีเป็นต้นก็ดี ไม่ให้วัตถุแม้จะถึงความบูดเน่าแก่ภิกษุอื่นก็ดี ภิกษุผู้ตระหนี่เห็นภิกษุนั้นแล้ว คิดอยู่ว่า ถ้าภิกษุรูปนี้ไม่ได้ปัจจัยนี้ ภิกษุอื่นผู้มีศีลพึงได้ พึงบริโภค ดังนี้ ไม่ชื่อว่า มัจฉริยะ (นี้เป็นความตระหนี่ข้อที่ ๓)

สรีวรรณะ (ผิวพรรณแห่งสรีระ) ก็ดี คุณวรรณะ (การสรรเสริญคุณความดี) ก็ดี ชื่อว่า วรรณะ ในวรรณะทั้ง ๒ นั้น บุคคลผู้ตระหนี่สรีรวรรณะ เมื่อมีคนพูดว่า บุคคลอื่นน่าเลื่อมใส มีรูปงาม ดังนี้ ไม่ปรารถนาจะกล่าวถึงบุคคลนั้น บุคคลผู้ตระหนี่คุณวรรณะ (คือการสรรเสริญคุณความดี) ย่อมไม่ปรารถนาจะกล่าวชมคุณความดีของผู้อื่นด้วยศีล ด้วยธุดงค์ ด้วยปฏิปทา ด้วยอาจาระ (นี้เป็นวรรณมัจฉริยะข้อที่ ๔)

บทว่า ธมฺโม (ธรรม) ได้แก่ ปริยัติธรรมและปฏิเวธธรรม ในธรรมทั้ง ๒ นั้น พระอริยสาวกทั้งหลายย่อมไม่ตระหนี่ปฏิเวธธรรม ย่อมปรารถนาการแทงตลอดแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลกในธรรมอันตนแทงตลอดแล้วคือย่อมปรารถนาว่าขอสัตว์เหล่าอื่นจงรู้การแทงตลอดธรรมนั้นก็ขึ้นชื่อว่าธรรมมัจฉริยะ (ความตระหนี่ธรรม) ย่อมมีในตันติธรรม * (ธรรมที่เป็น* ตันติธรรม คือ ธรรมและวินัยคัมภีร์) เท่านั้น บุคคลผู้ประกอบตันติธรรมนั้น ย่อมรู้คัมภีร์อันลี้ลับ หรือกถามรรคอันใด ไม่ประสงค์จะให้คนอื่นรู้คัมภีร์ หรือกถามรรคนั้น แต่ว่าบุคคลใดใคร่ครวญถึงบุคคล หรือใคร่ครวญธรรมด้วยการประคองธรรม ไม่ให้ด้วยการประคองบุคคล ภิกษุนี้ไม่ชื่อว่า ธรรมมัจฉริยะในข้อนี้ บุคคลบางคนเป็นคนเหลาะแหละ (โลโล) บางคราวเป็นสมณะบางคราวเป็นพราหมณ์ บางคราวเป็นคฤหัสถ์ ก็ภิกษุใดไม่ให้ด้วยคิดว่า บุคคลนี้จักทำลายตันติธรรมอันละเอียดสุขเป็นธรรมอันยิ่งเป็นประเพณีสืบต่อกันมาให้สับสน ภิกษุนี้ใคร่ครวญถึงบุคคลแล้ว ชื่อว่า ย่อมไม่ให้เพราะประคองธรรมไว้ ส่วนภิกษุใด ย่อมไม่ให้ด้วยคิดว่า ธรรมนี้ละเอียดสุขุม ถ้าบุคคลนี้จักเรียนเอา จักพยากรณ์อรหัตผล จักแสดงตนให้ถึงความพินาศ ภิกษุนี้ใคร่ครวญธรรมแล้ว ชื่อว่า ย่อมไม่ให้ด้วยการประคองบุคคล แต่บุคคลใดย่อมไม่ให้ด้วยคิดว่า ถ้าบุคคลนี้ เรียนธรรมนี้ จักสามารถทำลายลัทธิ (สมยํ)ของพวกเรา ดังนี้ บุคคลนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ตระหนี่ธรรม (นี้เป็นธรรมมัจฉริยข้อที่ ๕)บรรดามัจฉริยะ ๕ เหล่านี้ ว่าด้วยอาวาสมัจฉริยะก่อน บุคคลเกิดเป็นยักษ์ หรือเป็นเปรต แล้วจะเอาศีรษะเทินหยากเยื่อของที่อยู่นั้นแลเที่ยวไปว่าด้วยกุลมัจฉริยะ เมื่อตระกูลนั้นทำทาน และนับถือบุคคลเหล่าอื่น เมื่อเขาเห็นก็คิดอยู่ว่า ตระกูลนี้ของเราแตกแล้วหนอ โลหิตจะพุ่งออกจากปากมีการถ่ายท้องบ้าง ไส้ใหญ่ทั้งหลายก็จะเป็นท่อนเล็กท่อนน้อยออกมาบ้าง ว่าด้วยลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ในลาภอันเป็นของสงฆ์ หรือคณะ หรือบุคคลบริโภค เป็นดุจเครื่องใช้ของบุคคล ย่อมเกิดเป็นยักษ์ หรือเปรต หรืองูเหลือมใหญ่ ว่าด้วยสรีรวรรณคุณมัจฉริยะ และปริยัติธรรมมัจฉริยะ บุคคลย่อมสรรเสริญวรรณะของตน ไม่สรรเสริญวรรณะของผู้อื่น เมื่อจะกล่าวโทษด้วยคำว่า นี้วรรณะอะไร ? ดังนี้ เมื่อไม่ให้ปริยัติธรรมอะไร ๆ แก่ใคร ๆย่อมเป็นผู้มีพรรณทราม และจะเป็นบ้าน้ำลายอีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมถูกไฟไหม้ ในเรือนโลหะด้วยความตระหนี่อาวาส ย่อมเป็นผู้มีลาภน้อยด้วยความตระหนี่ตระกูล ย่อมเกิดในคูถนรกด้วยความตระหนี่ลาภ บุคคลเมื่อเกิดทุก ๆ ภพย่อมไม่มีผิวพรรณดี ด้วยการตระหนี่วรรณะ ย่อมเกิดในกุกกุลนรก ด้วยการตระหนี่ธรรมที่ชื่อว่า มจฺเฉรํ (ความตระหนี่) ด้วยสามารถการเห็นแก่ตัว อาการแห่งความตระหนี่ ชื่อว่า มจฺฉรายนา (กิริยาที่ตระหนี่) ภาวะแห่งจิตที่ถูกความตระหนี่ให้เป็นไปแล้ว พรั่งพร้อมด้วยความตระหนี่ ชื่อว่า มจฺฉรายิตตฺตํ (ความตระหนี่) บุคคลที่ชื่อว่า วิวิจฺโฉ (ผู้หวงแหน) เพราะอรรถว่าปรารภนาสมบัติทั้งหมดของตนไม่ให้เสื่อมสูญไป ด้วยคิดว่า ขอสมบัติทั้งปวงจงมีแก่เราเท่านั้น จงอย่ามีแก่คนอื่น ดังนี้ ภาวะแห่งบุคคลผู้หวงแหน ชื่อว่า เววิจฺฉํ (ความหวงแหน) คำว่า ความหวงแหน นี้ เป็นชื่อของความตระหนี่อย่างอ่อนบุคคลผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ตรัสว่า กทริโย (ผู้เห็นแก่ตัว) ภาวะแห่งบุคคลผู้เห็นแก่ตัวนั้น เรียกว่า กทริยํ (ความเหนียวแน่น) คำว่า ความเหนียวแน่นนี้เป็นชื่อของความตระหนี่กล้าแข็ง เพราะบุคคลผู้ประกอบด้วยความตระหนี่นั้นย่อมห้ามแม้บุคคลอื่นผู้ให้แก่บุคคลเหล่าอื่น

ชื่อว่า กฏกจฺฉโก (ผู้ไม่เอื้อเฟื้อ)ภาวะแห่งความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อนั้น ชื่อว่า กฏฺกจฺฉกตา (ความไม่เอื้อเฟื้อ)อีกนัยหนึ่ง บุคคลผู้มีช้อนในมือ ตรัสเรียกว่า กฏจฺฉุกตา ก็บุคคลเมื่อจะถือเอาข้าวจากหม้อซึ่งเต็มเสมอปากหม้อ ย่อมถือเอาด้วยปลายช้อนอันแคบทุกส่วน ก็ไม่อาจเพื่อถือเอาให้เต็ม ฉันใด จิตของบุคคลผู้ตระหนี่ก็ฉันนั้นย่อมคับแคบ เมื่อจิตคับแคบ แม้กายก็คับแคบถอยกลับ ย่อมไม่ยื่นให้เพื่อชนเหล่าอื่น เพราะฉะนั้น ความตระหนี่จึงตรัสเรียกว่า กตกญฺจุกตา (ความเป็นคนมีใจแคบเหมือนช้อนเครื่องคดข้าว)

บทว่า อคฺคหิตตฺตํ จิตฺตสฺส (ความไม่เผื่อแผ่แห่งจิต) ได้แก่การที่จิตกันเอาไว้ โดยประการที่ไม่เหยียดไปโดยอาการมีการให้ทานเป็นต้นในการทำอุปการะแก่ชนเหล่าอื่น ก็เพราะคนตระหนี่ย่อมไม่ปรารถนาจะให้สิ่งอันมีอยู่ของตนแก่ชนเหล่าอื่น อยากจะรับแต่ของคนอื่น ฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบความตระหนี่นั้นมีการซ่อนสมบัติของตนเป็นลักษณะ หรือความตระหนี่นั้นมีการถือเอาสมบัติของคนอื่นเป็นลักษณะ ด้วยอำนาจแห่งความเป็นไปว่าความอัศจรรย์นี้ จงมีแก่เราคนเดียว อย่ามีแก่คนอื่น ดังนี้ คำที่เหลือในโคจฉกะนี้ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นก็สังโยชน์เหล่านี้ ควรนำมาแสดง โดยลำดับกิเลสบ้าง โดยลำดับมรรคบ้าง ว่าโดยลำดับกิเลส กามราคสังโยชน์และปฏิฆสังโยชน์อันอนาคามิมรรคย่อมประหาณ มานสังโยชน์อันอรหัตมรรคย่อมประหาณ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสอันโสดาปัตติมรรคย่อมประหาณ ภวราคสังโยชน์ อันอรหัตมรรคย่อมประหาณ อิสสา มัจฉริยะอันโสดาปัตติมรรคย่อมประหาณอวิชชาอันอรหัตมรรคย่อมประหาณ ว่าโดยลำดับแห่งมรรค โสดาปัตติมรรคย่อมประหาณทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีสัพพตปรามาส อิสสา และมัจฉริยะ อนาคามรรคย่อมประหาณกามราคะและปฏิฆะ อรหัตมรรคย่อมประหาณมานะ ภวราคะ และอวิชชา ดังนี้แล

กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) กามราคะ (ความกำหนัดในกาม) ในกามทั้งหลายอันใด ดังนี้ ตรัสว่า ราคะ (ความกำหนัด ) สาราคะ (ความกำหนัดหนัก)เป็นต้น ด้วยพุทธพจน์นี้ คำใดที่กล่าวไว้ในภายหลังว่า ฉันทราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ) ในวิมานเป็นต้นของพวกพรหม ไม่เป็นกามาสวะเพ่งถึงคัณฐะแล้วอภิชฌาก็ชื่อว่า กายคัณฐ (อภิชฌากายคัณฐะ) ดังนี้ คำนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า ข้าพเจ้ากล่าวไว้ดีแล้ว แม้ในกิเลสโคจฉกะข้างหน้าก็นัยนี้แหละคำว่า ฐเปตฺวา สีลพฺพตปรามาสํ (เว้นสีลัพพตปรามาส) นี้ความว่า เพราะสีลัพพตปรามาสไม่ยึดถือโดยอาการมีอาทิว่า นี้เท่านั้นจริง ดังนี้แต่ย่อมยึดถืออย่างนี้ว่า มีความบริสุทธิ์ได้ด้วยศีล ดังนี้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงคัดค้านสีลัพพตปรามาสอันเป็นมิจฉาทิฏฐิ

บทว่า จิตฺตสฺส อกลฺยตา (ความไม่สมประกอบแห่งจิต) คือภาวะแห่งคนป่วยไข้ จริงอยู่ คนป่วยไข้ ตรัสเรียกว่า อกลฺยโก (ผู้มีสุขภาพไม่ดี)แม้ในวินัยก็กล่าวไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สามารถ ดังนี้

บทว่า อกมฺมญฺญตา (ความไม่ควรแก่การงาน) ได้แก่ อาการแห่งความไม่ควรแก่การงานคือความเป็นไข้แห่งจิต บทว่า โอลียนา (ความท้อแท้) ได้แก่ อาการที่ท้อถอย จริงอยู่ จิตที่ยังอิริยาบถให้เกิดขึ้น เมื่อไม่อาจเพื่อให้อิริยาบถทรงอยู่ ย่อมท้อแท้ ดุจค้างคาวเล็กห้อยอยู่บนต้นไม้ย่อมท้อถอยดุจหม้อน้ำดื่มห้อยไว้ที่เสาเขื่อนฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าความท้อแท้ ดังนี้ ทรงหมายถึงอาการนั้นของจิตนั้น บทที่ ๒ (สลฺลียนาความถดถ้อย) ทรงเพิ่มด้วยอำนาจบทอุปสรรค

บทว่า ลีนํ (ความหดหู่) ได้แก่ ขดงอแล้ว เพราะความไม่แผ่ออกไป

บททั้ง ๒ นอกนี้ (คือ ลียนา ลียิตตฺตํ อาการที่หดหู่ ภาวะที่หดหู่)

เป็นบทแสดงถึงอาการและภาวะของจิตนั้น

บทว่า ถีนํ (ความซบเซา) ความว่า ที่ชื่อว่า ถีนะ โดยความ

เป็นแท่ง เพราะไม่แผ่ไปเหมือนก้อนเนยใส บทว่า ถียนา (อาการที่ซบเซา)เป็นการแสดงอาการของจิต ภาวะแห่งอาการที่จิตซบเซาแล้ว ชื่อว่า ถียิตตฺตํ(ความซบเซา) อธิบายว่า ความที่จิตเป็นธรรมชาติกระด้างด้วยสามารถแห่งการไม่แผ่ออกไปนั้นเทียว

บทว่า กายสฺส (แห่งกาย) ได้แก่ นามกายคือขันธ์ ๓ บทว่า

อกลฺยตา อกมฺมญฺญตา (ความไม่สมประกอบแห่งนามกาย ความไม่ควรแก่การงานแห่งนามกาย) มีนัยดังกล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ ที่ชื่อว่า โอนาโห(ความปกคลุม) เพราะอรรถว่า ย่อมปกคลุมกาย เหมือนก้อนเมฆปกคลุมอากาศฉะนั้น การปกคลุมโดยส่วนทั้งหมด ชื่อว่า ปรินาโห (ความหุ้มห่อ)ที่ชื่อว่า อนฺโตสโมโรโธ (ความปิดบังไว้ภายใน) เพราะอรรถว่าย่อมปิดกั้นไว้ภายใน เหมือนอย่างว่า นครที่เขาปิดแล้ว พวกมนุษย์ย่อมไม่ได้เพื่ออันออกไปภายนอก ฉันใด ธรรมทั้งหลาย อันมิทธะ (ความง่วงเหงา)ปิดไว้แล้วย่อมไม่ได้เพื่ออันแผ่ออกไป ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า อนฺโตสโมโรโธ (ความปิดบังไว้ภายใน)ที่ชื่อว่า มิทฺธํ (ความง่วงเหงา) เพราะอรรถว่า ย่อมกำจัด อธิบายว่าย่อมเบียดเบียนโดยความไม่ควรแก่การงาน ที่ชื่อว่า โสปฺปํ (ความหาวนอน)เพราะอรรถว่าเป็นเหตุให้หลับ ที่ชื่อว่า ปจลายิกา (อาการที่หาวนอน) เพราะอรรถว่า ย่อมทำให้เปลือกตาเป็นต้นงับลง

บทว่า สุปนา สุปิตตฺตํ กิริยาที่หาวนอน ภาวะที่หาวนอน เป็นบท

แสดงอาการและภาวะของจิตนั้น แต่ว่า บทว่า ความหาวนอน ข้างหน้าของบทเหล่านั้นอันใด เหตุในการกล่าวซ้ำของบทนั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วทั้งนั้น

บทว่า อิทํ วุจฺจติ ถีนมิทฺธนิวรณํ ถีนะและมิทธะ

โสปฺปํ ปจลายิกา (ความหาวนอน ความโงกง่วง)

เป็นอรูป (นาม) โดยผลูปจารนัย (มุ่งถึงผล)ว่า ความหาวนอน ความโงกง่วง กิริยาที่หาวนอน ความหาวหอน อนึ่งแม้ด้วยวจนัตถะ (ความหมายของคำ) ว่า ที่ชื่อว่า ปจลายิกา (ความโงกง่วง)

กุกฺกุจฺจายนา (กิริยาที่รำคาญ) ภาวะแห่งธรรมอันกุกกุจจะให้เป็นไปแล้วชื่อว่า กุกฺกุจฺจายิตตฺตํ (ความรำคาญ)

ในคำว่า เจตโส วิปฺปฏิสาโร (ความเดือดร้อนใจ) นี้ ความว่าการเผชิญหน้าต่อกรรมที่ทำแล้วและยังไม่ทำ หรือเผชิญหน้าต่อสิ่งที่มีโทษและไม่มีโทษ ชื่อว่า วิปฏิสาร (ความเดือดร้อน) ก็เพราะความวิปฏิสารนั้นย่อมทำบาปอันทำแล้วให้เป็นกรรมที่ยังไม่กระทำ หรือย่อมไม่กระทำความดีที่ยังไม่ทำแล้วให้เป็นอันตนทำแล้ว ฉะนั้น การหวนระลึกไปผิดรูปหรือเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า วิปฏิสาร อนึ่ง เพื่อให้ทราบว่า วิปฏิสารนั้นเป็นของจิต มิใช่ของสัตว์ ดังนี้ จึงตรัสว่า เจตโส วิปฺปฏิสาโร (ความเดือดร้อนของจิต) ดังนี้ เนื้อความนี้เป็นการอธิบายสภาวะของกุกกุจจะนั้นก็กุกกุจจะเมื่อเกิดขึ้น ย่อมสลักใจอยู่เหมือนปลายเหล็กแหลมขีดภาชนะสำริดอยู่นั่นแหละเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า มโนวิเลโข (ความยุ่งใจ)เนื้อความนี้อธิบายกิจ (หน้าที่) ของกุกกุจจะนั้น ส่วนกุกกุจจะ (ความรังเกียจ)ใดที่ตรัสไว้ในพระวินัยว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตร รังเกียจว่าการอยู่ฉันอาหารในโรงฉันเป็นประจำ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามไว้ เพราะฉะนั้น จึงไม่ยอมรับ ดังนี้ กุกกุจจะ (การรังเกียจ) นั้นไม่เป็นนิวรณ์ เพราะพระอรหันต์ไม่มีความเดือดร้อนในภายหลังว่า สิ่งนี้เราทำผิดแล้ว ดังนี้ ก็ชื่อว่า กุกกุจจะ (ความรังเกียจ) ในพระวินัยกล่าวคือการพิจารณานี้ว่า สิ่งนี้ควร สิ่งนี้ไม่ควร เป็นนีวรณปฏิรูปกะ (คล้ายกับนิวรณ์)

บทว่า อุปาทานํ (อุปาทาน) แปลว่า ความยึดมั่น เพราะอุปศัพท์ในคำนี้มีอรรถว่ามั่น เหมือนในคำทั้งหลายมีอุปายาสะ (ความคับแค้น)อุปกัฏฐะ (ใกล้ถึงแล้ว)

บทว่า นตฺถิ ทินฺนํ (ทานที่ให้แล้วไม่มีผล) ความว่า เขาย่อมรู้ว่า

ชื่อว่า ทานที่บุคคลให้แล้วมีอยู่ คือใคร ๆ อาจเพื่อให้อะไร ๆ แก่ใคร ๆ ก็ได้แต่ย่อมถือว่า ผลวิบากของทานไม่มี ดังนี้

บทว่า นตฺถิ ยิฏฺฐํ (การบูชาไม่มีผล) ความว่า การบูชาใหญ่(มหายาโค) ตรัสเรียกว่า ยิฏฺฐํ (การบูชา) คือ ย่อมรู้ว่า การบูชานั้นใคร ๆ อาจบูชาได้ แต่ย่อมถือว่า ผลวิบากของการบูชาไม่มี ดังนี้

บทว่า หุตํ (การบวงสรวง) ความว่า กิริยาที่บูชา และนำของมาให้

เพื่อมงคล บุคคลย่อมรู้กิริยาอันนั้นว่า ใคร ๆ ก็อาจทำได้ แต่ว่าเขาย่อมถือว่าผลวิบากของกิริยามงคลนั้นไม่มีผล

ในบทว่า สุกฏทุกฺกฏานํ (ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่ว) นี้

กุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่า กรรมที่ทำดี อกุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่า กรรมที่ทำชั่ว บุคคลย่อมรู้ถึงความที่กรรมดีกรรมชั่วเหล่านั้นมีอยู่ แต่ย่อมยึดถือว่าผลวิบากไม่มี ดังนี้

บทว่า นตฺถิ อยํ โลโก (โลกนี้ไม่มี) ความว่า บุคคลย่อมถือโลกนี้ด้วยคิดว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโลกอื่นของบุคคลผู้ทำกรรมดีกรรมชั่วเหล่านั้นไม่มี ดังนี้

บทว่า นตฺถิ มาตา นตฺถิ ปิตา (มารดาไม่มี บิดาไม่มี) ความว่าเขาย่อมรู้ความที่มารดาบิดามีอยู่ แต่เขาถือว่า ผลวิบากอะไร ๆ ด้วยการทำอุปการะในมารดาบิดาเหล่านั้น ไม่มี ดังนี้

บทว่า นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา (โอปปาติกสัตว์ไม่มี) คือเขาถือว่า สัตว์ผู้จุติและปฏิสนธิ ไม่มี

บทว่า สมฺมคฺคตา สมฺมาปฏิปนฺนา (ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ)ความว่า เขาย่อมถือว่า สมณะและพราหมณ์ ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ผู้ดำเนินไปสู่อนุโลมปฏิปทา ไม่มีในโลก

บทว่า เย อิมญฺจ โลกํ ปรญฺจ โลกํ สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา

ปเวเทนฺติ (สมณพราหมณ์ที่กระทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ ไม่มีในโลก) ความว่า ย่อมถือว่า ชื่อว่าสัพพัญญูพุทธะผู้สามารถรู้โลกนี้และโลกอื่นด้วยญาณอันวิเศษยิ่งโดยตนเท่านั้นไม่มี

บทว่า เหฏฺฐโต (เบื้องต่ำ) (บาลีข้อ ๘๒๘) ได้แก่ ส่วนข้างล่าง

บทว่า อวีจินิรยํ (อเวจีนรก) มีความหมายว่า ที่ชื่อว่า อวีจิเพราะอรรถว่า ในนรกนี้ไม่มีช่องระหว่างระลอกแห่งเปลวไฟทั้งหลายหรือไม่มีช่องระหว่างระลอกแห่งทุกขเวทนาของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีชื่อว่า

นิรยะ(นรก) เพราะอรรถว่า ในที่นี้ไม่มีความเจริญกล่าวคือความสุข อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่า นรก ด้วยอรรถว่า ไม่มีความยินดีบ้าง ด้วยอรรถว่า ไม่มีความชอบใจบ้าง

 

 

บทว่า ปริยนฺตํ กริตฺวา (เป็นที่สุด) ได้แก่ กระทำนรกกล่าวคืออเวจีนั้นเป็นที่สุด บทว่า อุปริโต (เบื้องสูง) ได้แก่ ส่วนเบื้องบน

บทว่า ปรนิมฺมิตวสวตฺติเทเว(เทพปรนิมมิตวสวัตดี) ความว่า เทพมีโวหารอันได้แล้วอย่างนี้ เพราะยังอำนาจให้เป็นไปในความใคร่ (กาม) ทั้งหลายอันเทพอื่นนิมิตให้ บทว่า อนฺโต กริตฺวา (เป็นที่สุด) ได้แก่ กั้นไว้ในที่สุด บทว่า ยํ เอตสฺมึ อนฺตเร (ระหว่างนี้อันใด) ได้แก่ ในภูมินี้อันใดก็เพราะเหตุที่ธรรมแม้เหล่าอื่น ย่อมท่องเที่ยวไปในระหว่างภูมินี้โดยความเกิดในภูมิไหน ๆ ในกาลบางครั้งบางคราว ฉะนั้น เพื่อไม่ทรงรวมธรรมเหล่านั้นด้วยบทนี้ว่า เอตฺถาวจรา (การท่องเที่ยวไปนี้) จึงตรัสคำว่า อวจรา(ท่องเที่ยว) ด้วยคำนั้น ธรรมเหล่าใด ย่อมท่องเที่ยวไปหยั่งลงภายในระหว่างภูมินี้ โดยที่เกิดอยู่ทุกที่ทุกเมื่อ คือย่อมท่องเที่ยวไปในส่วนเบื้องต่ำโดยภูตรูปและอุปาทารูปก็เป็นไปในภายใต้ของอเวจีนรก จึงทรงกระทำการรวบรวมธรรมเหล่านั้นไว้ เพราะว่า ธรรมเหล่านั้น หยั่งลงแล้วเที่ยวไป คือหยั่งลงในส่วนเบื้องต่ำนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า อวจร จริงอยู่ เพราะธรรมเหล่านี้ ท่องเที่ยวไปในภูมินี้ ย่อมท่องเที่ยวไปแม้ในภูมิอื่น แต่ไม่นับเนื่องในภูมิอันนั้น ฉะนั้น จึงทรงกระทำการกำหนดธรรมเหล่านั้น ซึ่งท่องเที่ยวไปแม้ในภูมิอื่น ด้วยบทนี้ว่า เอตฺถ ปริยาปนฺนา (นับเนื่องในภูมินี้) บัดนี้ เมื่อจะแสดงธรรมเหล่านั้นอันเป็นธรรมนับเนื่องในภูมินี้โดยความเป็นราสี (กอง)

บทว่า พฺรหฺมโลกํ (พรหมโลก) ได้แก่ สถานที่ดำรงอยู่แห่งพรหมกล่าวคือ ปฐมฌานภูมิ คำที่เหลือในนิทเทสนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในนิทเทสกามวจรนั่นแหละ ในบทมีอาทิว่า สมาปนฺนสฺส จ (ของผู้เข้าสมาบัติ) พึงทราบว่า ตรัสกุศลฌานด้วยบทที่ ๑ ตรัสวิบากฌานด้วยบทที่ ๒ ตรัสกิริยาฌานด้วยบทที่ ๓ ดังนี้พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสอรูปาจรธรรม ต่อไป

บทว่า อากาสานญฺจายตนูปเค (ผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภูมิ)ได้แก่ ผู้เข้าถึงภพกล่าวคือ อากาสานัญจายตนะ แม้ในบทที่ ๒ ก็นัยนี้แหละคำที่เหลือในนิทเทสนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ

  ญาณเป็นเครื่องรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน (กัมมัสสกตาญาณ) ญาณอันสมควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจ (สัจจานุโลมิกญาณ) ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค (มัคคญาณ) ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยผล(ผลญาณ)

บทว่า ความหมดจดแห่งทิฏฐิ นั้น มีนิเทศว่า ปัญญากิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

บทว่า ความเพียรแห่งบุคคลผู้มีทิฏฐิอันหมดจด นั้น มีนิเทศว่า

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ

บทว่า ความสลดใจนั้น มีนิเทศว่า ญาณอันเห็นชาติโดยความเป็นภัย ญาณอันเห็นชราโดยความเป็นภัย ญาณอันเห็นพยาธิโดยความเป็นภัย ญาณอันเห็นมรณะโดยความเป็นภัย

บทว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ นั้นมีนิเทศว่าชาติชราพยาธิมรณะ

บทว่า ความพยายามโดยแยบคายแห่งบุคคลผู้มีใจสลดแล้วนั้น มีนิเทศว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด ย่อมพยายามย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิตไว้ ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศล บาปธรรมทั้งหลายที่ยังไม่บังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลบาปธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่บังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่จืดจาง เพื่อความเพิ่มพูน เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว

บทว่า ความไม่รู้จักอิ่มในกุศลธรรม นั้น มีนิเทศว่าความพอใจยิ่งๆ ขึ้นไปของบุคคลผู้ไม่รู้จักอิ่ม ในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย

บทว่า ความไม่ท้อถอยในความพยายาม นั้น มีนิเทศว่า ความ

เป็นผู้กระทำโดยเคารพ ความเป็นผู้กระทำติดต่อ ความเป็นผู้กระทำไม่หยุดความเป็นผู้ประพฤติไม่ย่อหย่อน ความเป็นผู้ไม่ทั้งฉันทะ ความเป็นผู้ไม่ทอดธุระ การเสพ การเจริญ การกระทำให้มาก เพื่อความเจริญแห่งกุศีลธรรมทั้งหลาย

บทว่า วิชชา นั้น มีนิเทศว่า วิชชา ๓ วิชชาคือญาณอันตามระลึกชาติหนหลังได้ (ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ) วิชชาคือญาณในจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย (จุตุปปาตญาณ) วิชชาคือญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย (อาสวักขยญาณ)

บทว่า วิมุตติ นั้น มีนิเทศว่า วิมุตติ ๒ คือ อธิมุตติแห่งจิต (สมาบัติ ๘)และนิพพาน

บทว่า ขเย ญาณํ นั้น มีนิเทศว่า ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค

บทว่า อนุปฺปาเท ญาณํ นั้น มีนิเทศว่า ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยผล

บทว่า นามํ (นาม) ได้แก่ นาม ๔ อย่าง คือ

๑ สามัญนาม ชื่อทั่วไป

๒ คุณนาม ชื่อโดยคุณ

๓ กิตติมนาม ชื่อโดยการยกย่อง

๔ อุปปาติกนาม ชื่อตามที่เกิดขึ้น

บทว่า ยา เตสํ เตสํ ธมฺมานํ (ธรรมนั้น ๆ อันใด) ได้แก่ ทรงรวบรวมเอาธรรมทั้งหมด ที่ชื่อว่า สังขา (การกล่าวขาน) เพราะอันเขาบอก คือย่อมสนทนากัน ย่อมสนทนากันอย่างไร ย่อมสนทนากันด้วยอาการหลายประการอย่างนี้ว่า เรา ของเรา คนอื่น ของคนอื่น ว่าเป็นสัตว์ เป็นภาวะ เป็นบุรุษ เป็นบุคคล เป็นนระ เป็นมานพ ชื่อว่า ติสสะ ชื่อว่าทัตตา ว่าเตียง ว่าตั่ง ว่าฟูก ว่าหมอน วิหาร บริเวณ ประตู หน้าต่าง

ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สังขา (การกล่าวขาน)ที่ชื่อว่า สมัญญา (การกำหนดรู้) เพราะอรรถว่า ย่อมรู้โดยชอบ

ย่อมรู้โดยชอบอย่างไร ย่อมรู้ว่า เรา ของเรา ฯลฯ ประตู หน้าต่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมัญญา เพราะอรรถว่า ย่อมรู้โดยชอบ ที่ชื่อว่า บัญญัติเพราะอรรถว่า อันเขาย่อมแต่งตั้ง ที่ชื่อว่า โวหาร เพราะอรรถว่า อัน

เขาย่อมร้องเรียก ย่อมร้องเรียกอย่างไร ย่อมร้องเรียกว่า เรา ของเรา ฯลฯประตู หน้าต่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โวหาร

ว่า อุปปาติกนาม นามแม้ทั้ง ๔ อย่างนี้ ก็คงเป็นนามอย่างเดียวกันนั่นเอง

บทว่า นามกมฺมํ (นามกรรม) คือการให้ชื่อ

บทว่า นามเธยฺยํ (นามเธยยะ) คือการตั้งชื่อ

บทว่า นิรุตฺติ (การออกชื่อ) ได้แก่ การเรียกชื่อ

บทว่า พฺยญฺชนํ (การระบุชื่อ) ได้แก่ การประกาศชื่อ ก็เพราะ

การระบุชื่อนี้ ย่อมปรากฏถึงความหมาย ฉะนั้น จึงตรัสไว้อย่างนั้น

บทว่า อภิลาโป (การเรียกชื่อ) ได้แก่ ชื่อที่เรียกนั่นเอง

บทว่า สพฺเพว ธมฺมา อธิวจนปถา (ธรรมทั้งหมดแล ชื่อว่าอธิวจนปถธรรม) ได้แก่ ชื่อว่า ธรรมที่เป็นวิถีของธรรมที่เป็นชื่อไม่มีหามิได้ธรรมหนึ่งย่อมรวมลงในธรรมทั้งหมดธรรมทั้งหมดก็ประชุมลงในธรรมหนึ่งข้อนี้เป็นอย่างไร ? คือว่า ธรรมหนึ่งคือนามบัญญัตินี้นั้น ย่อมประมวลลงในธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๔ ทั้งหมด คือสัตว์ก็ดี สังขารก็ดี ชื่อว่า พ้นไปจากชื่อหามีไม่ แม้ต้นไม้ในดง และภูเขาเป็นต้น ก็ยังเป็นภาระ (คำพูด) ของชาวชนบท เพราะว่า ชาวชนบทเหล่านั้น ถูกเขาถามว่า ต้นไม้นี้ชื่ออะไร ?

ก็จะบอกชื่อที่ตนรู้จักว่า ต้นไม้นั้นเป็นต้นตะเคียน ดังนี้ พวกเขาไม่รู้จักชื่อต้นไม้ใด ก็จะพูดว่า ต้นไม้นั้นไม่มีชื่อ ดังนี้ แม้คำว่าต้นไม้ไม่มีชื่อนั้น ก็เป็นนามเธยยะ (การตั้งชื่อ) ของต้นไม้นั้นนั่นเอง แม้ปลาและเต่าเป็นต้นในทะเลก็นัยนี้แหละสองทุกะนอกนี้ (คือนิรุตติทุกะและปัญญัติทุกะ) มีเนื้อความเหมือนทุกะนี้แล

บทว่า ปุพฺพนฺตํ อารพฺภ(ปรารภส่วนอดีต) ได้แก่ทำส่วนอดีตให้เป็นอารมณ์ ทรงถือเอาปุพพันตานุทิฏฐิ ๑๘ ที่มาในพรหมชาลสูตร ด้วยบทว่า ปุพฺพนฺตํ อารพฺภ นี้

บทว่า อปรนฺตํ อารพฺภ (ปรารภส่วนอนาคต) ได้แก่ กระทำส่วนอนาคตให้เป็นอารมณ์แล้วถือเอาอปรันตานุทิฏฐิ ๔๔ อันมาแล้วในพรหมชาลสูตรนั้นนั่นแหละ ด้วยบทว่า อปรนฺตํ อารพฺภ นี้ในโทวจัสสตานิทเทส

บทว่า สหธมฺมิเก วุจฺจมาเน (เมื่อถูกว่ากล่าวโดยสหธรรม) ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท

อันใด ชื่อว่า สหธรรมิก เมื่อภิกษุถูกชี้ถึงวัตถุในสิกขาบทนั้น ปรับอาบัติ

กล่าวอยู่ว่า ท่านต้องอาบัติชื่อนี้ นิมนต์ท่านแสดงอาบัติ นิมนต์ท่านออก

จากอาบัติ นิมนต์ท่านกระทำคืนอาบัติ ดังนี้

ในบทว่า โทวจสฺสายํ (กิริยาของผู้ว่ายาก) เป็นต้น กรรมของผู้ว่ายากซึ่งถูกตักเตือนอยู่อย่างนี้ โดยการประท้วงตอบบ้าง โดยไม่ยอมรับโอวาทโดยเคารพบ้าง

ชื่อว่า โทวจสฺสายํ (กิริยาของผู้ว่ายาก) กิริยาของผู้ว่ายากนั้นนั่นแหละ ตรัสเรียกว่า โทวจัสสัง (ความเป็นผู้ว่ายาก) ดังนี้ก็มีภาวะของความเป็นผู้ว่ายากนั้น

ชื่อว่า โทวจสฺสิยํ (ความเป็นผู้ว่ายาก) คำนอกจากนี้ มีคำว่า ความยึดข้างขัดขืนเป็นต้น เป็นคำไวพจน์ของความเป็นผู้ว่ายากนั่นแหละ

บทว่า วิปฺปฏิกุลคาหิตา (ความยึดข้างขัดขืน) ได้แก่ ความยึดถือโดยไม่คล้อยตาม

บุคคลชื่อว่า วิปจฺจนีกสาโต (พอใจทางโต้แย้ง)

เพราะอรรถว่า มีความยินดีโดยการโต้แย้งกล่าวคือถือข้างขัดขืน คำนี้เป็นชื่อของบุคคลผู้ได้ความสุขโดยพอใจว่า เราได้กระทำเขาให้หมดเสียงด้วยคำที่สำคัญเพียงคำเดียวเท่านั้น ภาวะของบุคคลผู้พอใจในทางโต้แย้งนั้น ชื่อว่า วิปจฺจนีกสาตตา (ความพอใจทางโต้แย้ง) ภาวะของคนผู้ไม่เอื้อเฟื้อด้วยอำนาจความไม่รับเอาโอวาท

ชื่อว่า อนาทริยํ (ความไม่เอื้อเฟื้อ) คำนอกนี้มีภาวะแห่งผู้ไม่เอื้อเฟื้อเป็นต้น เป็นไวพจน์ของความไม่เอื้อเฟื้อนั้นนั่นแหละ อีกอย่างหนึ่ง อาการที่ไม่เอื้อเฟื้อ

ชื่อว่า อนาทริตา (ความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ)ภาวะที่ไม่เคารพอันเกิดขึ้นด้วยการไม่อยู่ในอำนาจปกครองของครู

ชื่อว่า อคารวตา (ความไม่เคารพ) ภาวะที่ไม่ยอมเชื่อฟังอันเกิดขึ้นด้วยการไม่อยู่ในอำนาจการปกครองของบุคคลผู้มีความเจริญ ชื่อว่า อปฺปฏิสฺสวตา(ความไม่รับฟัง)

บทว่า อยํ วุจฺจติ (นี้เรียก) ความว่า กิริยานี้ คือเห็นปานนี้

เรียกว่า โทวจสฺสตา (กิริยาของผู้ว่ายาก)

ก็โทวจสฺสตา (กิริยาของผู้ว่ายาก) นี้ว่าโดยใจความได้แก่ ขันธ์ ๔ อันเป็นไปโดยอาการนั้น หรือว่า ได้แก่ สังขารขันธ์อย่างเดียว แม้ใน

ปาปมิตตตาเป็นต้น ก็นัยนี้แหละ จริงอยู่ โทวจัสสตาและปาปมิตตตาเป็นต้น  ชื่อว่า เป็นเจตสิกธรรมส่วนหนึ่งย่อมไม่มีที่ชื่อว่า อสทฺธา (คนไม่มีศรัทธา) เพราะอรรถว่า ศรัทธาของบุคคลเหล่านั้นไม่มี อธิบายว่า เขาย่อมไม่เชื่อวัตถุทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น บทว่า ทุสฺสีลา (ไม่มีศีล) ได้แก่

ขึ้นชื่อว่า ความผิดของศีลไม่มีคือผู้ไม่มีศีล บทว่า อปฺปสฺสุตา (มีสุตะน้อย) คือเว้นจากการศึกษา

ที่ชื่อว่า มัจฉรี (มีความตระหนี่) เพราะอรรถว่า มีความตระหนี่๕ อย่าง

ที่ชื่อว่า นิปฺปญฺญา (มีปัญญาทราม) เพราะอรรถว่า ไร้ปัญญา

ชื่อว่า เสวนา (การเสพ) ด้วยสามารถการคบหา การเสพที่มีกำลัง

ชื่อว่านิเสวนา (การซ่องเสพ) การเสพโดยประการทั้งปวง

ชื่อว่า สํเสวนา(การซ่องเสพด้วยดี) อีกอย่างหนึ่ง ทรงเพิ่มบท ด้วยอำนาจอุปสรรคแล้วตรัสการเสวนะแม้ทั้ง ๓ บททีเดียว

บทว่า ภชนา (การคบ) ได้แก่ การเข้าไปใกล้

บทว่า สมฺภชนา (การคบหา) ได้แก่ การคบโดยส่วนทั้งปวง

ชื่อว่า การคบหา อีกอย่างหนึ่ง ตรัสเพิ่มบทด้วยอำนาจอุปสรรค

บทว่าภตฺติ (ความภักดี) ได้แก่ ความภักดีอย่างแน่วแน่

บทว่า สมฺภตฺติ(ความจงรักภักดี) ได้แก่ ความภักดีโดยส่วนทั้งปวง อีกอย่างหนึ่ง ทรงเพิ่ม 

บทด้วยอุปสรรคแล้วตรัสความภักดีมั่นคงแม้ทั้งสองบท

บทว่า ตํสมฺปวงฺกตา (ความเป็นผู้มีกายและใจโน้มน้าวไปตาม

บุคคลนั้น) ได้แก่ภาวะที่โน้มน้าวไปด้วยกายและจิตในบุคคลเหล่านั้น อธิบายว่าความเอียงไป ความโอนไป ความเงื้อมไปในบุคคลนั้น แม้นิทเทสโสวจัสสตาทุกะก็พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับคำที่กล่าวแล้ว

ในนิทเทสอาปัตติกุสลตาทุกะ

บทว่า ปญฺจปิ อาปตฺติขนฺธา

(อาบัติทั้ง ๕ หมวด) ได้แก่ อาบัติ ๕ หมวดเหล่านั้นตามนิทเทสแห่งมาติกาคือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ

บทว่า สตฺตปิ  อาปตฺติกฺขนฺธา (อาบัติทั้ง ๗ หมวด) ได้แก่ อาบัติ ๗ หมวดเหล่านี้ตามนิทเทสแห่งวินัย คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะทุกกฏ ทุพภาสิต

บรรดาความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติเหล่านั้น ปัญญาที่รู้การกำหนดอาบัติเหล่านั้นพร้อมด้วยวัตถุ ชื่อว่า อาปัตติกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ)ส่วนปัญญาที่รู้การกำหนดในการออกจากอาบัติพร้อมกับกรรมวาจา

ชื่อว่าอาบัติวุฏฐานกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ)ในนิทเทสสมาบัติกุสลตา ที่ชื่อว่า สมาบัติ เพราะอันพระโยคีพึงเข้า ส่วนปัญญาที่รู้การกำหนดอัปปนาพร้อมทั้งบริกรรม

ชื่อว่า สมาปัตติกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ)

ชื่อว่า สมาปัตติวุฏฐานกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ) เพราะเมื่อตั้งใจว่า เมื่อพระจันทร์ หรือพระอาทิตย์ หรือดาวนักษัตรโคจรมาสู่ที่นี้แล้ว เราจักออกจากสมาบัติ ดังนี้ มีอยู่ด้วยปัญญาเป็นเครื่องกำหนดการออกในสมัยนั้นไม่ผิดพลาด  ในนิทเทสธาตุกุสลตาทุกะ ปัญญาที่รู้การกำหนดการเรียน การมนสิการ การฟัง การทรงจำ ซึ่งธาตุ ๑๘

ชื่อว่า ธาตุกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ) ปัญญาที่รู้การเรียน การมนสิการซึ่งธาตุเหล่านั้นนั่นแหละชื่อว่า มนสิการกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ)ในนิทเทสอายตนกุสลตาทุกะ ปัญญาที่รู้กำหนดการเรียน การ

มนสิการ การฟัง การทรงจำซึ่งอายตนะ ๑๒

ชื่อว่า อายตนกุสลตา(ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ)อีกอย่างหนึ่ง บรรดากุสลตาเหล่านี้แม้ทั้ง ๓ (ธาตุกุสลตา มนสิการกุสลตา อายตนกุสลตา) ความรู้ทั้งปวง คือ การเรียน มนสิการ การฟังการเข้าใจ การแทงตลอด การพิจารณาเห็น ย่อมสมควร ในบรรดาการรู้ทั้ง๖ เหล่านั้น การฟัง การเรียน การพิจารณาเห็นเป็นโลกีย์ การแทงตลอดเป็นโลกุตระ การเข้าใจและมนสิการเป็นมิสสกะคือเป็นโลกีย์ก็มี เป็นโลกุตระก็มี

บทว่า อวิชฺชาปจฺจยา สํขารา เป็นต้นจักแจ่มแจ้งในปฏิจจสมุปปาทวิภังค์ ปัญญาที่รู้ว่า ธรรมนี้เป็นปัจจัยแก่ธรรมนี้ ดังนี้ ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปาทกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท)

บทว่า เย ธมฺนา (ธรรมเหล่าใด) เป็นคำแสดงปัจจัยธรรมที่เป็นวิสภาคะกัน

บทว่า เยสํ เยสํ (เหล่าใด ๆ)เป็นคำแสดงถึงปัจจยสมุปปันนธรรมที่เป็นวิสภาคะกัน

บทว่า น เหตู นปจฺจยา (ไม่เป็นเหตุ ไม่เป็นปัจจัย) ได้แก่ จักประสาท ไม่เป็นเหตุไม่เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณที่เกิดขึ้นกระทำเสียงให้เป็นอารมณ์ อนึ่ง โสตประสาทเป็นต้น ไม่เป็นเหตุ ไม่เป็นปัจจัยแก่วิญญาณที่เหลือ และพืชมะม่วงเป็นต้นก็ไม่เป็นเหตุ ไม่เป็นปัจจัยแก่ความเกิดขึ้นแห่งต้นตาลเป็นต้น ฉะนั้น

  ว่าด้วยนิทเทสอาชวะและมัททวะ

  พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสอาชวะ และมัททวะทุกะ ต่อไป

บทว่า นีจจิตฺตตา (ความเจียมใจ) นี้เป็นความต่างกันเพียงบทเท่านั้น เนื้อความแห่งคำนั้นว่า บุคคลชื่อว่า นีจจิตฺโต (เจียมใจ) เพราะอรรถว่า มีใจเจียมโดยไม่มีมานะ ภาวะแห่งบุคคลผู้เจียมใจ ชื่อว่า นิจจิตฺตตา(ความเจียมใจ) คำที่เหลือมาในบทภาชนีย์แห่งจิตตุชุกตา และจิตตมุทุตานั่นแหละ

  ว่าด้วยนิทเทสขันติทุกะ

  พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสขันติทุกะ ต่อไป

ที่ชื่อว่า ขันติ ด้วยอำนาจการอดทน อาการแห่งความอดทน

ชื่อว่าขมนตา (กิริยาที่อดทน)

ที่ชื่อว่า อธิวาสนตา (ความอดกลั้น) เพราะอรรถว่า เป็นเหตุอดกลั้น คือเป็นเหตุยกขึ้นเหนือตนทนอยู่ ไม่ต่อต้าน

ไม่เป็นข้าศึกดำรงอยู่ภาวะแห่งความไม่ดุร้าย

ชื่อว่า อจณฺฑิกฺกํ (ความไม่ดุร้าย) คำพูดที่เปล่งออกมาชั่ว เพราะยกขึ้นพูดหาความชอบมิได้ ในบทว่า อนสุโรโป

(ความไม่ปากร้ายนี้) ท่านเรียกว่า ความปากร้าย

ชื่อว่า อนสุโรโป (ความไม่ปากร้าย) เพราะมีสภาพตรงกันข้ามกับปากร้ายนั้น ได้แก่ วาจาที่เปล่ง

ออกมาดี ในอธิการนี้ ทรงแสดงถึงเหตุ โดยผลูปจารนัยอย่างนี้

บทว่า อตฺตมนตา จิตฺตสฺส (ความแช่มชื่นแห่งจิต) ได้แก่

ความที่จิตเป็นใจของตนด้วยอำนาจโสมนัส อธิบายว่า ภาวะแห่งจิตเป็นของตนนั่นแหละ คือ การที่จิตไม่พยาบาทแล้ว

 

ว่าด้วยนิทเทสโสรัจจทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสโสรัจจทุกะ ต่อไป

บทว่า กายิโก อวีติกฺกโม (ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย) ได้แก่ กายสุจริต๓ อย่าง

บทว่า วาจสิโก อวีติกฺกโม (ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา) ได้แก่ วจีสุจริต ๔ อย่าง ด้วย

บทว่า กายิกวาจสิโก (ทางกายและทางวาจา) นี้ ทรงกำหนดถืออาชีวัฏฐมกศีล (ศีลมีอาชีวะเป็นที่ ๘) ซึ่งตั้งขึ้นทางกายและทางวาจา

บทว่า อิทํ วุจฺจติ โสรจฺจํ (นี้เรียกว่าโสรัจจะ)นี้ ตรัสชื่อโสรัจจะไว้ เพราะความงดเว้นด้วยดีจากบาป

บทว่า สพฺโพปิสีลสํวโร (ศีลสังวรแม้ทั้งหมด) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อทรงแสดง

การถือศีลทางใจ เพราะบุคคลมิใช่ประพฤติอนาจารทางกายและทางวาจาเท่านั้นแม้ทางใจก็ต้องประพฤติเหมือนกัน

ว่าด้วยนิทเทสสาขัลยทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสสาขัลยทุกะ ต่อไป

บทว่า อณฺฑกา (เป็นปม) ได้แก่ เกิดเป็นปมด้วยวาจาปริภาษและเย้ยหยันประกอบด้วยโทสะ เหมือนกับปมที่เกิดขึ้นที่ต้นไม้ที่มีโทษ ฉะนั้น

บทว่า กกฺกสา (เป็นกาก) ได้แก่ วาจาเสีย คือ วาจานั้นเป็นกากเช่นเดียวกับต้นไม้ที่เสียย่อมเป็นกาก เป็นจุณไหลออกมา ฉะนั้น วาจาที่เป็นกากนั้น เป็นราวกะเสียดสีโสตเข้าไป ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า เป็นกาก

บทว่า ปรกฏุกา (เผ็ดร้อนต่อผู้อื่น) ได้แก่ เผ็ดร้อนไม่เป็นที่ชอบใจ ให้เกิดโทสะแก่ผู้อื่น

บทว่า ปราภิสชฺชนี (เกี่ยวผู้อื่นไว้) ได้แก่เป็นดุจกิ่งไม้มีหนามงอแทงผิวหนังเกี่ยวผู้อื่นไว้ไม่ให้ไปแม้เขาจะไปก็ทำให้ติดอยู่ย่อมไม่ให้ไป ฉะนั้น

บทว่า โกธสามนฺตา (ยั่วให้โกรธ) ได้แก่ เป็นวาจาใกล้ต่อ

ความโกรธ บทว่า อสมาธิสํวตฺตนิกา (ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ) ได้แก่ไม่เป็นไปเพื่ออัปปนาสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ คำเหล่านั้นทั้งหมดเป็นไวพจน์ของวาจาที่เป็นไปกับโทสะ ด้วยประการฉะนี้

บทว่า ตถารูปึ วาจึ ปหาย (ละวาจาเช่นนั้นเสีย) นี้ ตรัสไว้เพื่อแสดงว่า วาจาอ่อนหวานแม้เป็นไปในระหว่างของผู้มีได้ละผรุสวาจาตั้งอยู่ก็ชื่อว่า วาจาไม่อ่อนหวานนั่นแหละ

บทว่า เนฬา อธิบายว่า โทษตรัสเรียกว่า เอฬํ โทษของวาจานั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น วาจานั้น จึง

ชื่อว่า เนฬา (ไร้โทษ) อธิบายว่าไม่มีโทษ ดุจศีล (ที่ไร้โทษ) ซึ่งตรัสไว้ในคำนี้ว่า เนฬงฺโค เสตปจฺฉาโท

เป็นต้น* แปลว่า รถคืออัตภาพมีศีลอันหาโทษมิได้ มีการประดับด้วยบริขารขาวเป็นต้น

บทว่า กณฺณสุขา (สบายหู) ได้แก่ สบายแก่หูทั้งสอง เพราะเป็น

วาจาที่ไพเราะโดยพยัญชนะ คือไม่ทำการเสียดแทงหูให้เกิดขึ้นดุจการแทงด้วยเข็มวาจาใด ไม่ยังความโกรธให้เกิด ย่อมยังความรักให้เกิดขึ้นสรีระเพราะเป็นวาจาไพเราะโดยอรรถ เพราะเหตุนั้น วาจานั้น

จึงชื่อว่า เปมนียา(วาจาไพเราะ)วาจาใด ไปสู่หทัย ไม่มีอะไรกระทบกระเทือนเข้าไปสู่จิตโดยง่ายเพราะเหตุนั้น วาจานั้น

จึงชื่อว่า หทยงฺคมา (วาจาจับใจ)วาจาใด เป็นของมีอยู่ในเมือง เพราะเป็นวาจาบริบูรณ์ด้วยคุณเพราะเหตุนั้น วาจานั้น จึงชื่อว่า โปรี (วาจาของชาวเมือง) วาจาที่กล่าวเรียกว่า ดูก่อนกุมารีผู้ดี ดุจนารีผู้มีวัฒนธรรมอันดีในบุรี เพราะเหตุนั้น แม้วาจานั้นก็ชื่อว่า โปรี วาจานี้ใด เป็นของมีอยู่แก่ชาวเมือง เพราะเหตุนั้นแม้วาจานั้น ก็ชื่อว่า โปรี อธิบายว่า เป็นถ้อยคำของชาวพระนคร จริงอยู่ชาวพระนคร มีถ้อยคำสมควร ย่อมเรียกบุคคลคราวพ่อว่าพ่อ ย่อมเรียกบุคคลควรเป็นพี่ชายน้องชายว่าพี่ชายน้องชายเป็นต้นวาจาใดเห็นปานนี้ ย่อมเป็นที่รักชอบใจแก่ชนเป็นอันมาก เพราะเหตุนั้น วาจานั้น

จึงชื่อว่า พหุชนกนฺตา (วาจาที่ชอบใจของชนหมู่มาก)

* ขุ อุ เล่ม ๒๕ ๑๕๑/๒๐๑

วาจาใดเป็นที่ตั้งใจให้ชุ่มชื่น คือ ทำความเจริญแห่งจิตแก่ชนจำนวนมาก โดยความเป็นวาจาที่เจริญใจของชนหมู่มากนั่นแหละ เพราะเหตุนั้นวาจานั้น จึงชื่อว่า พหุชนมนาปา (วาจาที่เจริญใจ)

บทว่า ยา ตตฺถ ได้แก่ วาจาใดในบุคคลนั้น

บทว่า สณฺหวาจตา (ความเป็นผู้มีวาจาละเอียดอ่อน) ได้แก่ความเป็นผู้มีวาจาสละสลวย

บทว่า สขิลวาจตา (ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน) ได้แก่ วาจาอ่อนน้อม

บทว่า อผรุสวาจตา (ความเป็นผู้มีวาจาไม่หยาบคาย) ได้แก่วาจาไม่กักขฬะ

ว่าด้วยนิทเทสปฏิสันถารทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสปฏิสันถารทุกะ ต่อไป

บทว่า อามิสปฏิสนฺถาโร (อามิสปฏิสันถาร) ได้แก่ ช่องว่าง(รอยแตกร้าวสามัคคี) ของชนเหล่าอื่นกับตน เพราะการไม่ได้อามิส ย่อมปิดสนิทแล้วโดยประการใด การต้อนรับแขกด้วยอามิสโดยประการนั้น

บทว่า ธมฺมปฏิสนฺถาโร (ธรรมปฏิสันถาร) ได้แก่ ช่องว่างของชนเหล่าอื่นกับตน เพราะการไม่ได้ธรรม ย่อมปิดสนิทแล้วโดยประการใดการต้อนรับแขกด้วยธรรมโดยประการนั้น

บทว่า ปฏิสนฺถารโก โหติ (บุคคลผู้ปฏิสันถาร) ความว่า ช่องของโลกสันนิวาสมี ๒ เท่านั้น บุคคลผู้ปฏิสันถาร (ผู้อุดช่อง) ทั้ง ๒ นั้นคือบุคคลผู้ปฏิสันถารนั้นย่อมอุดช่องคือกระทำเป็นนิตย์ ด้วยการปฏิสันถารทั้ง ๒ นี้คือ ด้วยอามิสปฏิสันถาร หรือด้วยธรรมปฏิสันถาร

บทว่า จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา (เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว) ได้แก่เห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณอันสามารถในการเห็นรูป ซึ่งมีโวหารอันได้แล้วว่า จักษุดังนี้ ด้วยสามารถเป็นเหตุ ก็พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า จักษุย่อมไม่เห็นรูป เพราะจักษุไม่ใช่จิต จิตก็เห็นรูป ไม่ได้ เพราะจิตไม่มีจักษุ แต่บุคคลย่อมเห็นได้ด้วยจิตที่มีปสาทวัตถุโดยการกระทบกันแห่งทวารและอารมณ์ ก็กถานี้เช่นนี้ ชื่อว่า สสัมภารกถา เหมือนในประโยคมีอาทิว่า เขายิงด้วยธนะ ดังนี้เพราะฉะนั้น ในอธิการนี้จึงมีคำอธิบายว่า เห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ ดังนี้

บทว่า นิมิตฺตคฺคาหี (ผู้ถือนิมิต) ได้แก่ ย่อมถือนิมิตว่าเป็นหญิงเป็นชาย หรือนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสมีความงามเป็นต้น ด้วยอำนาจฉันทราคะ ไม่ดำรงอยู่ในรูปเพียงการเห็นเท่านั้น* ได้ยินว่า พระเจ้าโจรนาคราชดุร้าย

บทว่า อนุพฺยญฺชนคฺคาหี (เป็นผู้ถือโดยอนุพยัญชนะ) ได้แก่ถือเอากิริยาอาการอันต่างด้วยมือ เท้า การยิ้ม การหัวเราะ การพูด การมองดูการเหลียวซ้ายแลขวาเป็นต้นอันได้โวหารว่า อนุพยัญชนะ เพราะเครื่องปรากฏของกิเลสทั้งหลาย คือ เพราะกระทำกิเลสให้ปรากฏ

บทว่า ยตฺวาธิกรณเมนํ (เพราะเหตุที่ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ใด)ความว่า ธรรมทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้นเหล่านี้พึงครอบงำ คือ พึงติดตามพึงท่วมทับบุคคลนี้ ผู้มีจักขุนทรีย์ไม่สำรวมแล้วด้วยบานประตูคือสติ คือเป็นผู้ไม่มีจักขุทวารอันปิดกั้นแล้วอยู่นี้ เพราะเหตุไร เพราะเหตุที่ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ใด

บทว่า ตสฺส สํวราย น ปฏิปชฺชติ (ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์นั้น) ความว่า ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่การปิดจักขุนทรีย์นั้นด้วยประตูคือสติ ก็บุคคลผู้เป็นอย่างนี้แหละ ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่รักษาจักขุนทรีย์ไม่สำเร็จการสำรวมขุนจักขุนทรีย์ ดังนี้พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ผู้ไม่สำเร็จการสำรวมในจักขุนทรีย์นั้น ว่าสังวรก็ดี อสังวรก็ดี ย่อมไม่มีในจักขุนทรีย์แม้โดยแท้ เพราะว่าสติ หรือ

ความหลงลืมสติย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุประสาทหามิได้ แต่ว่า ในกาลใดรูปารมณ์มาถึงคลองจักขุ ในกาลนั้น เมื่อภวังคจิตเกิดดับ ๒ วาระแล้ว กิริยามโนธาตุก็ยังอาวัชชนกิจให้สำเร็จเกิดดับ ในลำดับนั้นจักขุวิญญาณก็ยังทัศนกิจให้สำเร็จเกิดดับ จากนั้นวิปากมโนธาตุก็ยังสัมปฏิจฉันนกิจให้สำเร็จเกิดดับ จากนั้น วิปากาเหตุกมโนวิญญาณธาตุก็ยังสันติรณกิจให้สำเร็จเกิดดับ จากนั้นมโนวิญญาณธาตุ อันเป็นอเหตุกกิริยาก็ยังโวฏฐานกิจให้สำเร็จเกิดดับ ในลำดับนั้น ชวนจิตย่อมแล่นไป สังวรก็ดี อสังวรก็ดี จะมีอยู่ในสมัยแห่งภวังคจิตแม้นั้นก็หาไม่ หรือจะมีอยู่ในสมัยแห่งอาวัชชนจิตเป็นต้นสมัยใดสมัยหนึ่ง ก็หาไม่แต่ในขณะแห่งชวนจิต ความเป็นผู้ทุศีลบ้าง ความหลงลืมสติบ้าง ความไม่รู้บ้าง ความไม่อดทนบ้าง ความเกียจคร้านบ้างย่อมเกิดขึ้น อสังวรย่อมมี

ก็อสังวรนั้นเป็นอย่างนี้ จึงตรัสเรียกว่า อสังวรในจักขุนทรีย์ ดังนี้ เพราะเหตุไร ? เพราะเมื่ออสังวรนั้นมีอยู่ แม้ทวารก็มิได้คุ้มครอง แม้ภวังค์ แม้วิถีจิตมีอาวัชชนจิตเป็นต้นย่อมเป็นอันมิได้คุ้มครอง เหมือนอะไร ? เหมือนประตู ๔ ด้านในพระนครเขามิได้ปิดไว้ ถึงในภายในเรือน ซุ้มประตูและห้องเป็นต้นจะปิดไว้อย่างดีก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ชื่อว่ามิได้รักษา มิได้คุ้มครองสิ่งของทั้งหมดไว้ในภายในพระนครได้เลย เพราะพวกโจรเข้าไปทางประตูนคร พึงกระทำตามปรารถนาได้ ฉันใด เมื่อความทุศีลเป็นต้นเกิดขึ้นแล้วในชวนะ เมื่ออสังวรนั้นมีอยู่ ย่อมเป็นอันมิได้คุ้มครองแม้ทวาร แม้ภวังค์แม้วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้น ฉันนั้นเหมือนกันแม้คำมีอาทิว่า ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ก็นัยนี้นั่นแหละ

บทว่า ย อิเมสํ (อินทรีย์ ๖ เหล่านี้อันใด) ความว่า การไม่คุ้มครองอันใด กิริยาที่ไม่คุ้มครองอันใด การไม่รักษาอันใด การไม่สำรวมอันใดแห่งอินทรีย์ทั้ง ๖ เหล่านี้ อธิบายว่า การไม่กั้น การไม่ปิดอินทรีย์ทั้ง ๖เหล่านี้ดังนี้พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งโภชเน อมัตตัญญุตา ต่อไป

บทว่า อิเธกจฺโจ (บุคคลบางคนในโลกนี้) ได้แก่ บุคคลบางคนในสัตวโลกนี้

บทว่า อปฺปฏิสงฺขา (ไม่พิจารณา) ได้แก่ ไม่รู้ คือไม่ใคร่ครวญด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา

บทว่า อโยนิโส (โดยไม่แยบคาย)ได้แก่ โดยมิใช่อุบาย

บทว่า อาหารํ (อาหาร) ได้แก่ สิ่งที่พึงกลืนกินมีอาหารและน้ำดื่มเป็นต้น

บทว่า อาหาเรติ (บริโภค) ได้แก่ย่อมบริโภคคือย่อมกลืนกิน

บทว่า ทวาย (เพื่อจะเล่น) เป็นต้นนี้ตรัสไว้เพื่อแสดงถึงสิ่งที่ไม่ใช่อุบาย จริงอยู่ บุคคลเมื่อบริโภคอาหารโดยไม่ใช้อุบาย ย่อมบริโภคเพื่อเล่น เพื่อมัวเมา เพื่อตกแต่ง๑ หรือเพื่อการประดับ๒ ไม่ชื่อว่า บริโภคเพราะอาศัยอุบายอันเป็นประโยชน์นี้ว่า ยา ตตฺถ อสนฺตุฏฐตา (ความเป็นผู้ไม่สันโดษ) ได้แก่กิริยาที่ไม่พอใจ คือความที่ไม่พอใจในการบริโภคอาหาร โดยมิใช่อุบายนั้นอันใด

บทว่า อมตฺตญฺญุตา (ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณ) ได้แก่ ความที่ตนเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณ คือ การไม่รู้จักประมาณ กล่าวคือความพอดี

บทว่า อยํ วุจฺจติ (นี้เรียกว่า) ความว่า ความประพฤติเป็นไปด้วยอำนาจการบริโภคอาหารอันไม่พิจารณานี้ เรียกชื่อว่า โภชเน อมตฺตญฺญุตา (ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค)

ว่าด้วยนิทเทสอินทริเยสุคุตตทวารตาทุกะ

จะวินิจฉัยนิทเทสความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ ต่อไป

บทว่า จกฺขุนา (ด้วยจักษุ) เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ

บทว่า น นิมิตฺตคฺคาหี โหติ (เป็นผู้ไม่ถือนิมิต) ได้แก่ ย่อมไม่ถือนิมิตมีประการตามที่กล่าวแล้ว ด้วยอำนาจฉันทราคะ แม้บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับคำที่กล่าวแล้วนั้น ด้วยประการฉะนี้ก็คำที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลังว่า เมื่อความเป็นผู้ทุศีลเป็นต้นเกิดขึ้นในชวนจิต เมื่ออสังวรนั้นมีอยู่ แม้ทวารก็ย่อมเป็นอันมิได้คุ้มครอง แม้ภวังค์

๑ บาลีว่า มณฺฑนาย เพื่อประเทืองผิว ๒ วิภูสนาย เพื่อความอ้วนพี

แม้วิถีจิตทั้งหลายมีอาวัชชนะเป็นต้นก็เป็นอันมิได้คุ้มครอง ฉันใด ในอธิการนี้ก็ฉันนั้น เมื่อศีลเป็นต้นเกิดขึ้นในชวนจิตนั้น แม้ทวารก็ย่อมเป็นอันคุ้มครองแล้ว แม้ภวังค์ แม้วิถีจิตทั้งหลายมีอาวัชชนะเป็นต้น ก็ย่อมเป็นอันคุ้มครองแล้ว เหมือนอะไร ? เหมือนประตูพระนครที่ปิดดีแล้ว ภายในบ้านเป็นต้นไม่ได้ปิดไว้แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น สิ่งของทั้งหมดภายในพระนคร ก็ย่อมเป็นอันรักษาดีแล้ว คุ้มครองดีแล้วเหมือนกัน เพราะเมื่อประตูพระนครปิดแล้ว พวกโจร ก็ย่อมเข้าไปไม่ได้ ฉันใด เมื่อศีลเป็นต้นเกิดในชวนจิตแล้ว แม้ทวารก็เป็นอันคุ้มครองแล้ว แม้ภวังค์ แม้วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้น ก็เป็นอันคุ้มครองแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น สังวรแม้เกิดอยู่ในในขณะแห่งชวน-จิต พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สังวรในจักขุนทรีย์ ดังนี้แม้ในบทมีอาทิว่า ได้ยินเสียงด้วยโสตแล้ว ก็นัยนี้แหละจะวินิจฉัยในนิทเทสความเป็นผู้รู้ประมาณ ต่อไป

บทว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส อาหารํ อาหาเรติ (พิจารณาโดยแยบคายบริโภคอาหาร) ได้แก่ รู้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาแล้วบริโภคอาหารโดยอุบายบัดนี้ เพื่อทรงแสดงอุบายนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า เนว ทวาย (ไม่ใช่เพื่อเล่น) ดังนี้ ในบทเหล่านั้น บทว่า เนว ทวาย ได้แก่ ไม่บริโภคเพื่อเล่น ในพระบาลีนั้น นักเต้นรำและคนกระโดดสูงเป็นต้น ชื่อว่า ย่อมบริโภคเพื่อเล่น เพราะเมื่อเขาบริโภคโภชนะใดแล้ว การเล่นกล่าวคือฟ้อนรำกาพย์กลอนและการเล่นโศลก ย่อมแจ่มใสยิ่งนัก ชนเหล่านั้นแสวงหาอาหารโดยอธรรมมิได้สม่ำเสมอแล้วย่อมบริโภคอาหารเหล่านั้น แต่ภิกษุนี้ไม่บริโภคอย่างนั้น

บทว่า น มทาย (ไม่ใช่เพื่อจะมัวเมา) ได้แก่ ย่อมไม่บริโภคเพื่อความเพิ่มพูนความเมาด้วยมานะและเมาด้วยสำคัญว่าเป็นบุรุษ ในข้อนั้น พระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชา ชื่อว่า ย่อมบริโภคเพื่อความมัวเมา เพราะชนเหล่านั้นย่อมบริโภคโภชนะมีรสกลมกล่อมและประณีต เพื่อความเพิ่มพูนความเมาด้วยมานะและเมาด้วยสำคัญว่าเป็นบุรุษของตน แต่ภิกษุนี้ย่อมไม่บริโภคอย่างนั้น

บทว่า น มณฺฑนาย (ไม่บริโภคเพื่อประเทืองผิว) ความว่า ไม่บริโภคเพื่อตกแต่งสรีระ ในข้อนั้น หญิงแพศยา หญิงชาวบ้าน หญิงในเมืองเป็นต้น ย่อมดื่มเนยใสและน้ำอ้อย ย่อมบริโภคอาหารแต่น้อยทั้งเป็นอาหารที่ละเอียดอ่อน ด้วยคิดว่า การบริโภคอย่างนี้ การดำรงอยู่แห่งอวัยวะของพวกเราจักดำรงอยู่ดี ฉวีวรรณในสรีระจักผ่องใส ดังนี้ แก่ภิกษุนี้ย่อมไม่บริโภคอย่างนั้น

บทว่า น วิภูสนาย (ไม่บริโภคเพื่อความอ้วนพี) ได้แก่ ไม่บริโภคเพื่อต้องการประดับด้วยเนื้อในสรีระ ในบุคคลเหล่านั้น นักมวยปล้ำนักมวยกำหมัด และนักมวยสมัครเล่นเป็นต้น ย่อมยังสรีระให้ล่ำสันด้วยโภชนาหารมีปลาและเนื้อเป็นต้นที่สนิทดี โดยคิดว่า ด้วยการบริโภคอย่างนี้ เนื้อของพวกเราจักล่ำสันเพื่อประโยชน์แก่การที่จะทนต่อการต่อยตี ดังนี้ แต่ภิกษุนี้ย่อมไม่บริโภคเพื่อประโยชน์ทำเนื้อให้ล่ำสันในสรีระอย่างนั้น

บทว่า ยาวเทว (เพียง) นี้เป็นคำแสดงการกำหนดประโยชน์ในการกลืนกินอาหาร

บทว่า อิมสฺส กายสฺส  ิติยา (เพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ได้)ได้แก่ ย่อมบริโภคเพื่อต้องการให้กรชกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูปทั้ง ๔ นี้

ดำรงอยู่ ข้อนี้เป็นประโยชน์ในการกลืนกินอาหารของภิกษุนี้

บทว่า ยาปนาย (เพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไป) ได้แก่ ย่อมบริโภคเพื่อประโยชน์แก่การให้

ชีวิตินทรีย์เป็นไป บทว่า วิหึสูปรติยา (เพื่อบำบัดความหิว) ได้แก่ ความหิวเกิดขึ้นเพราะการไม่ได้บริโภคเป็นปัจจัย ชื่อว่า วิหิงสา ย่อมบริโภคเพื่อต้องการกำจัดวิหิงสานั้น คือเพื่อให้วิหิงสานั้นสงบลง

บทว่า พฺรหฺมจริยานุคฺคหาย (เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์) ความว่า ไตรสิกขาคือศาสนาทั้งสิ้น ชื่อว่า พรหมจรรย์ ย่อมบริโภคเพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์นั้น

บทว่าอิติ นี้เป็นบทแสดงถึงอุบาย อธิบายว่า ด้วยอุบายนี้

บทว่า ปุราณญฺจ เวทนํ ปฏิหํขามิ (เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสียด้วย) ความว่า เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะการไม่ได้บริโภคอาหารเป็นปัจจัย ชื่อว่า เวทนาเก่า ภิกษุย่อมบริโภคอาหารด้วยคิดว่า เราจักกำจัดเวทนาเก่านั้น

บทว่า นวญฺจ เวทนํ น อุปฺปาเทสฺสามิ (จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิด

ขึ้นด้วย) ความว่า เวทนาอันเกิดขึ้นเพราะการบริโภคเกินไปเป็นปัจจัย* ชื่อว่าเวทนาใหม่ ภิกษุย่อมบริโภคด้วยคิดว่า เราจักไม่ให้เวทนาใหม่นั้นเกิดขึ้นดังนี้ อีกอย่างหนึ่ง เวทนาอันเกิดขึ้นเพราะการบริโภคแล้วเป็นปัจจัย ชื่อว่าเวทนาใหม่ ภิกษุย่อมบริโภคเพื่อมิให้เกิดเวทนานั้นซึ่งยังไม่เกิดขึ้นนั่นแหละ

บทว่า ยาตฺรา จ เม ภวิสฺสติ แปลว่าความดำรงอยู่แห่งชีวิตจักมีแก่เรา

บทว่า อนวชฺชตา จ (ความไม่มีโทษ) นี้ ได้แก่ ในการบริโภคนี้สิ่งที่มีโทษก็มี สิ่งที่ไม่มีโทษก็มี ในสองอย่างนั้น การแสวงหาโดยไม่ชอบธรรมการรับเอาโดยไม่ชอบธรรม การบริโภคโดยไม่ชอบธรรม นี้ชื่อว่า สาวัชชะ (มีโทษ) การแสวงหาโดยธรรม การรับเอา การพิจารณาแล้วบริโภคโดยธรรม นี้ชื่อว่า อนวัชชะ (ไม่มีโทษ)* ฉบับพม่าเป็น อติภุตฺตปจฺจเยนบุคคลบางคนย่อมทำอาหารที่ไม่มีโทษนั่นแหละให้มีโทษ คือทำอาหารที่ตนได้มาโดยธรรมแล้วบริโภคเกินประมาณ เธอย่อมไม่อาจเพื่อให้อาหารนั้น ๆ ให้ย่อย ย่อมลำบากด้วยการอาเจียนและถ่ายท้องเป็นต้น พวกภิกษุทั้งวัดต้องช่วยกันขวนขวายในการปฏิบัติร่างกายและแสวงหายาเป็นต้นให้ภิกษุนั้นเมื่อถูกถามว่า นี่อะไร ๆ กัน พวกภิกษุก็จะพูดว่า ภิกษุรูปโน้นท้องขึ้นดังนี้เป็นต้น ภิกษุทั้งหลายก็จะพากันตำหนิติเตียนว่า ท่านนี้มีปกติอย่างนี้เป็นนิจกาลแหละ ย่อมไม่รู้จักประมาณท้องของตน ดังนี้ ภิกษุนี้ ชื่อว่า ย่อมทำอาหารที่ไม่มีโทษให้มีโทษ อย่างนี้ ภิกษุไม่กระทำเหมือนอย่างนั้น ย่อมฉันอาหารด้วยมนสิการว่า ความไม่มีโทษจักมี ดังนี้แม้ในบทว่า ผาสุวิหาโร จ (และการอยู่โดยผาสุก) นี้ความว่า การอยู่โดยผาสุกก็มี การอยู่โดยไม่ผาสุกก็มีพราหมณ์ตะกละ ๕ คนในการบริโภคนั้น การบริโภคของพราหมณ์ ๕ คนเหล่านี้ คือ พราหมณ์ชื่อ อาหารหัตถกะ ๑ พราหมณ์ชื่อ อลังสาฏกะ ๑ พราหมณ์ชื่อ ตัตถ-วัฏฏกะ ๑ พราหมณ์ชื่อ กากมาสกะ ๑ พราหมณ์ชื่อ ภุตตวมิตกะ ๑ ชื่อว่าอยู่ไม่ผาสุกจริงอยู่ บรรดาพราหมณ์เหล่านั้น พราหมณ์ชื่อ อาหารหัตถกะบริโภคมากไม่อาจลุกขึ้นได้ตามธรรมดาของตน จึงพูดว่า ช่วยฉุดมือที ดังนี้พราหมณ์ชื่ออลังสาฏกะ บริโภคอาหารมากแม้จะลุกขึ้นได้แต่ได้ไม่อาจนุ่งผ้าได้พราหมณ์ชื่อ ตัตถวัฏฏกะ บริโภคมากไม่สามารถลุกขึ้นได้ ย่อมกลิ้งอยู่ที่นั้นนั่นแหละ พราหมณ์ชื่อ กากมาสกะ บริโภคมากจนล้นถึงปาก จนถึงพวกกาอาจจิกกินได้ พราหมณ์ชื่อ ภุตตวมิตกะ บริโภคมากไม่อาจเพื่อหุบปากได้ ย่อมอาเจียนในที่นั้นนั่นแลภิกษุย่อมไม่ทำอย่างนี้ ย่อมฉันอาหารด้วยคิดว่า การอยู่โดยผาสุกจักมีแก่เรา ดังนี้ การที่ท้องพร่องด้วยคำข้าว ๔-๕ คำ ชื่อว่า การอยู่เป็นผาสุกเพราะเมื่อภิกษุบริโภคอาหารเพียงนี้แล้วดื่มน้ำ อิริยาบถ ๔ ย่อมเป็นไปโดยสะดวก เพราะฉะนั้น พระธรรมเสนาบดี จึงกล่าวคาถาไว้อย่างนี้ว่า

จตฺตาโร ปญฺจ อาโลเป อภุตฺวา อุทกํ ปิเว

อลํ ผาสุวิหาราย ปหิตตฺตสฺส ภิกฺขุโน

ภิกษุไม่บริโภคอาหาร ๔-๕ คำ แล้วพึงดื่มน้ำแทน การบริโภคอย่างนั้น สมควรเพื่ออยู่เป็นผาสุกของภิกษุผู้มีจิตเป็นไปในกรรมฐาน ดังนี้

องค์ ๑๒ ของภิกษุผู้ฉันอาหาร ก็ในฐานะนี้ควรประมวลองค์ทั้งหลาย คือ

ข้อว่า ไม่บริโภคเพื่อเล่น เป็นองค์ ๑

ข้อว่า ไม่บริโภคเพื่อมัวเมา เป็นองค์ ๑

ข้อว่า ไม่บริโภคเพื่อประเทืองผิว เป็นองค์ ๑

ข้อว่า ไม่บริโภคเพื่ออ้วนพี เป็นองค์ ๑

ข้อว่า เพื่อกายดำรงอยู่และชีวิตินทรีย์เป็นไป เป็นองค์ ๑

ข้อว่า เพื่อบำบัดความหิวเพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ เป็นองค์ ๑

ข้อว่า เพราะโดยอุบายนี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าและไม่ให้เวทนาใหม่เกิด เป็นองค์ ๑

ข้อว่า ความดำรงอยู่แห่งชีวิตจักมีแก่เรา เป็นองค์ ๑

ความไม่มีโทษ และการอยู่เป็นสุข เป็นองค์ ๑

ในการบริโภคอาหารนี้ เป็นอานิสงส์แห่งการบริโภคโภชนะพระมหาสิวเถระจัดองค์ไว้ ๘ส่วนพระมหาสีวเถระกล่าว องค์ ๔ ข้างต้น ชื่อว่าเป็นข้อห้ามรวนเป็นองค์ ๑ พึงประมวลองค์ ๘ เบื้องปลายมา ในองค์ ๘ เบื้องปลายนั้น ข้อว่าเพียงให้กายนี้ดำรงอยู่ จัดเป็นองค์ ๑ ข้อว่า เพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไปจัดเป็นองค์ ๑ ข้อว่า

เพื่อบำบัดความหิว จัดเป็นองค์ ๑ ข้อว่า

เพื่อประพฤติพรหมจรรย์ จัดเป็นองค์ ๑

ข้อว่า ด้วยอุบายนี้เราจักกำจัดเวทนาเก่าจัดเป็นองค์ ๑

ข้อว่า จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น จัดเป็นองค์ ๑

ข้อว่าความดำรงอยู่แห่งชีวิตจักมีแก่เรา จัดเป็นองค์ ๑

ข้อว่า ความไม่มีโทษจัดเป็นองค์ ๑ ก็การอยู่ผาสุกเป็นผลของการบริโภค ดังนี้

ภิกษุเมื่อบริโภคอาหารประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร

บทว่า อยํ วุจฺจติ (นี้เรียกว่า) ความว่า การบริโภคด้วยการพิจารณาเป็นไปด้วยสามารถการรู้จักประมาณอันควรในการแสวงหา การรับและการบริโภคนี้ ชื่อว่า โภชเน มตฺตญฺญุตา (ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนาหาร)

ว่าด้วยมุฏฐสัจจทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในมุฏฐสัจจทุกะ ต่อไป

บทว่า อสติ (ความระลึกไม่ได้) ได้แก่ นามขันธ์ ๔ ที่เว้นจากสติ

บทว่า อนนุสฺสติ อปฺปฏิสฺสติ (ความไม่ตามระลึก ความไม่หวนระลึก) นี้ทรงเพิ่มบทด้วยอำนาจอปสรรคบทว่า อสรณตา แปลว่า อาการที่ระลึกไม่ได้

บทว่า อธารณตา (ความไม่ทรงจำ) ได้แก่ ไม่อาจเพื่อจะทรงจำเพราะบุคคลผู้ประกอบด้วยความไม่ทรงจำนั้นถึงตั้งใจจำก็ไม่อาจรักษาไว้ได้ที่ชื่อว่า ปิลาปนตา (ความเลื่อนลอย) เพราะอรรถว่า ย่อมเลื่อนลอยในอารมณ์ เหมือนกระโหลกน้ำเต้าลอยในน้ำฉะนั้น

บทว่า ปมุสฺสนตา* (ความหลงลืม) ได้แก่ เพราะไม่มีสติ หรือ

หลงลืมสติ เพราะบุคคลผู้ไม่มีสติหรือหลงลืมสตินั้น ย่อมเป็นดุจกาที่เก็บก้อนข้าว และเป็นเช่นกับสุนัขจิ้งจอกที่เก็บก้อนเนื้อ ฉะนั้น

ว่าด้วยภาวนาพลทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสภาวนาพละ ต่อไป

บทว่า กุสลานํ ธมฺมานํ (ซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย) คือโพธิปักขิยธรรม

บทว่า อาเสวนา (การเสพ) คือการเสพตั้งแต่ต้น

บทว่า ภาวนา (การเจริญ) คือการเพิ่มขึ้น

บทว่า พหุลีกมฺมํ (กระทำให้มาก) คือกระทำบ่อย ๆ

นิทเทสแห่งศีลวิบัติ พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับโสรัจจนิทเทส

นิทเทสแห่งทิฏฐิวิบัติ พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับทิฏฐิสัมปทา และนิทเทสแห่งทิฏฐิสัมปทา พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับนิทเทสแห่งทิฏฐิปาทาน นิทเทสแห่งศีลวิสุทธิเหมือนกับนิทเทสแห่งศีลสัมปทาก็จริง ถึงอย่างนั้น ในนิทเทสแห่งศีลสัมปทานั้น พระองค์ตรัสปาฏิโมกขสังวรศีลอันให้ถึงวิสุทธิ ส่วนในนิทเทสแห่งศีลวิสุทธินี้ ตรัสศีลอันถึงวิสุทธิ* บาลีเป็น สมฺมุสนตา  อนึ่ง โลกิยะและโลกุตรธรรมแม้เป็นไปในภูมิ ๔ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ด้วยทุกะทั้ง ๖ เหล่านี้ คือ

๑ สติและสัมปชัญญะ (ทุกะที่ ๓๐)

๒ ปฏิสังขานพละและภาวนาพละ (ทุกะที่ ๓๑)

๓ สมถะและวิปัสสนา (ทุกะที่ ๓๒)

๔ สมถนิมิตและปัคคาหนิมิต (ทุกะที่ ๓๓)

๕ ปัคคาหะและอวิกเขปะ (ทุกะที่ ๓๔)

๖ สีลสัมปทา ทิฏฐิสัมปทา(ทุกะที่ ๓๖)

ว่าด้วยนิทเทสทิฏฐิวิสุทธิทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสทิฏฐิวิสุทธิ ต่อไป

บทว่า กมฺมสฺสกตญาณํ (ญาณเป็นเครื่องรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน) ได้แก่ ปัญญาเป็นเครื่องรู้ว่า นี้เป็นกรรมของตน นี้ไม่ใช่กรรมของตนบรรดากรรมทั้ง ๒ เหล่านั้น กรรมที่ตนทำแล้วหรือผู้อื่นทำแล้วจงยกไว้

อกุศลกรรมแม้ทั้งหมดไม่ใช่ของตน เพราะเหตุไร ?

เพราะทำลายอรรถ และเพราะให้เกิดอนรรถ ส่วนกุศลกรรมชื่อว่าเป็นกรรมของตน เพราะทำลายอนรรถและเพราะให้เกิดอรรถ ในข้อนั้น เหมือนบุรุษมีทรัพย์มีโภคะ เดินทางไกลในระหว่างทาง เมื่อเขาประกาศเล่นงานนักษัตรในบ้านและนิคมเป็นต้น ก็มีได้คิดว่า เราเป็นอาคันตุกะ (แขก) พึงอาศัยใครหนอเล่นงานนักษัตร เมื่อเล่นนักษัตรโดยทำนองที่ต้องการ ย่อมผ่านทางกันดารโดยสบาย ฉันใด สัตว์เหล่านี้ตั้งอยู่ในกัมมัสสกตญาณนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน กระทำกรรมอันเป็นวัฏฏคามีมาก เสวยความสุขด้วยความสุข บรรลุพระอรหัตแล้วเหลือจะคณนา

บทว่า สจฺจานุโลมิกญาณํ (สัจจานุโลมิกญาณ) ได้แก่ วิปัสสนาญาณที่คล้อยตามสัจจะ ๔

บทว่า มคฺคสมงฺคิสฺส ญาณํ ผลสมงฺคิสฺส ญาณํ (ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยผล) ได้แก่มรรคญาณและผลญาณนั่นแหละ

ในนิทเทสแห่งบทว่า ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ โข ปน (ความหมดจดแห่งทิฏฐิ) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกญาณ ๔ มี กัมมัสสกตญาณเป็นต้นนั่นแหละที่ตรัสไว้ในหนหลัง ด้วยบทมีอาทิว่า

ยา ปญฺญา ปชานนา (ปัญญากิริยาที่รู้ชัด อันใด) ดังนี้ในนิทเทสแห่ง

บทว่า ยถา ทิฏฺฐิสฺส จ ปธานํ (ความเพียรแห่งบุคคลผู้มีทิฏฐิอันหมดจด) ได้แก่ ความเพียรที่ทรงแสดงด้วยบทมีอาทิว่า

โยเจตสิโก วิริยารมฺโภ (การปรารภความเพียรทางใจอันใด) ดังนี้ มีคติอย่างปัญญานั่นแหละ ในฐานะแห่งปัญญาที่เป็นโลกีย์ ก็พึงทราบว่าวิริยะนั้นเป็นโลกีย์ ในฐานะแห่งโลกุตรปัญญา ก็พึงทราบว่า วิริยะนั้นเป็นโลกุตระ ดังนี้

  ว่าด้วยนิทเทสสังเวคทุกะ

  พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสสังเวคทุกะ ต่อไป

บทว่า ชาติภยํ (กลัวชาติ) ได้แก่ ญาณที่เห็นชาติ (ความเกิด)โดยความเป็นภัยตั้งอยู่ แม้ในญาณที่เห็นชราและมรณะโดยความเป็นภัยเป็นต้นก็นัยนี้แหละด้วย

บทว่า อนุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ (เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งอกุศลบาปธรรม) เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความเพียรอันเป็นเหตุของ

ภิกษุผู้เห็นชาติเป็นต้น โดยความเป็นภัยแล้วใคร่เพื่อจะพ้นไปจากชาติ ชราพยาธิและมรณะ ส่วนเนื้อความแห่งบทภาชนีย์จักมีแจ้งในอรรถกถาวิภังคัฏฐกถา

  ว่าด้วยนิทเทสอสันตุฏฐตากุศลธรรมทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในบทนิทเทสว่า อสนฺตุฏฺฐตา จ กุสเลสุ ธมฺเมสุ(ความไม่รู้จักอิ่มในกุศลธรรมทั้งหลาย) ต่อไป

บทว่า ภิยฺโย กมฺยตา (ความพอใจยิ่ง ๆ ขึ้นไป) ได้แก่ ความพอใจอย่างเยี่ยม จริงอยู่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายปักขิยภัต (อาหารที่ถวายประจำปักษ์) บ้าง สลากภัต (อาหารที่ถวายโดยวิธีจับสลาก) บ้าง

อุโปสถิกภัต (อาหารที่ถวายในวันอุโบสถ) บ้าง ปาฏิปทิกภัต (อาหารที่ถวายในวันหนึ่งค่ำ) บ้าง ตั้งแต่เริ่มต้นทีเดียว บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่อิ่มด้วยการถวายทานนั้น ๆ จึงถวายธุวภัต* (ถวายอาหารประจำ) สังฆภัต (ถวายอาหารแก่สงฆ์) วัสสาวาสิกภัต (ถวายอาหารแก่ภิกษุผู้อยู่จำพรรษา) อีก ย่อมสร้างอาวาส ย่อมถวายปัจจัยแม้ทั้ง ๔ เขาก็ยังเป็นผู้ไม่อิ่มใจแม้ในการถวายนั้น ๆ จึงรับสรณะทั้งหลาย สมาทานเบญจศีล เขาก็ยังเป็นผู้ไม่อิ่มแม้ในการ ทำกุศลนั้น ๆ จึงบวช ครั้นบวชแล้วก็เรียนกะพุทธวจนะ คือพระไตรปิฎกคือนิกายหนึ่ง สองนิกาย ย่อมยังสมาบัติ ๘ ให้เกิด เจริญวิปัสสนาถือเอาพระอรหัต จำเดิมแต่การบรรลุพระอรหัตแล้ว ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า มหาสันตุฏฐะ(อิ่มใจอย่างใหญ่) ความพอใจอย่างเยี่ยม (พิเศษ) จนถึงพระอรหัตอย่างนี้

ชื่อว่า ภิยฺโยกมฺยตา (ความพอใจยิ่ง ๆ ขึ้นไป)

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่ง

บทว่า อปฺปฏิวานิตา จ ปธานสฺมึ(ความไม่ท้อถอยในความพยายาม) ดังนี้ เพราะภิกษุหน่ายอยู่ในการเจริญ

โยชนาว่า ธุรภัต อาหารที่ถวายผู้ทำความเพียรกุศลธรรมอันยิ่งทั้งหลายในเสนาสนะอันสงัดทั้งหลาย ชื่อว่ายังความเพียรให้ถ้อถอย ภิกษุเมื่อไม่หน่าย ชื่อว่า ไม่ยังความเพียรให้ถ้อถอย เพราะฉะนั้นเพื่อทรงแสดงนัยนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ยา กุสลานํ ธมฺมานํ (เพื่อความเจริญแห่งกุศลธรรมอันใด) ดังนี้ในพระบาลีเหล่านั้น

บทว่า สกฺกจฺจกิริยตา (ความเป็นผู้กระทำโดยเคารพ) ได้แก่ ความเป็นผู้กระทำโดยเคารพในการทำกุศลทั้งหลาย

บทว่า สาตจฺจกิริยตา (ความกระทำติดต่อ) คือ ทำติดต่อกันนั่นแหละ

บทว่า อฏฺฐิตกิริยตา (ความการทำไม่หยุด) คือ ทำไม่ให้ขาดทำไม่หยุด

บทว่า อโนลีนวุตฺติตา (ความประพฤติไม่ย่อหย่อน) คือ ความดำรงชีพไม่ย่อหย่อน หรือความประพฤติไม่ย่อหย่อน

บทว่า อนิกฺขิตฺตฉนฺทตา (ความไม่ทิ้งฉันทะ) คือ ไม่ทิ้งกุศลฉันทะ

บทว่า อนิกฺขตฺตธุรตา (ความไม่ทอดธุระ) คือ ไม่ทอดทิ้งธุระความ

เพียรในการสร้างกุศล

ว่าด้วยนิทเทสวิชชาทุกะ

  พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติญาณํ วิชฺชา นี้ต่อไป 

บทว่า ปุพฺเพนิวาโส (บุพเพนิวาส) ได้แก่ ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน และขันธ์ที่เนื่องกัน การตามระลึกบุพเพนิวาสได้ ชื่อว่า บุพเพนิวาสานุสติ ญาณสัมปยุตด้วยบุพเพนิวาสานุสตินั้น ชื่อว่า บุพเพนิวาสานุสติญาณ บุพเพนิวาสานุสติญาณนี้นั้น

ชื่อว่า วิชชา แม้เพราะอรรถว่าย่อมกำจัดความมืดอันปกปิดขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน คือญาณนั้นกำจัดความมืดแล้วกระทำขันธ์เหล่านั้น อันตนรู้แจ้งแล้วให้ปรากฏ เพราะเหตุนั้นญาณนั้น จึงชื่อว่า วิชชา ด้วยอรรถว่า กระทำขันธ์ให้ปรากฏ

บทว่า จุตูปปาเต ญาณํ (จุตูปปาตญาณ) ได้แก่ ญาณ (คือความรู้) ในจุติและอุปบัติ ญาณแม้นี้ก็ชื่อว่า วิชชา แม้ด้วยอรรถว่า ย่อมกำจัดความมืดอันปกปิดจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย คือ ญาณนั้นกำจัด

 

บทว่า จุตูปปาเต ญาณํ (จุตูปปาตญาณ) ได้แก่ ญาณ (คือความรู้) ในจุติและอุปบัติ ญาณแม้นี้ก็ชื่อว่า วิชชา แม้ด้วยอรรถว่า ย่อมกำจัดความมืดอันปกปิดจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย คือ ญาณนั้นกำจัดความมืดแล้วกระทำจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายที่รู้แล้วให้ปรากฏ เพราะฉะนั้น ญาณนั้น จึงชื่อว่า วิชชา แม้ด้วยอรรถว่า กระทำจุติปฏิสนธิที่รู้แล้วให้ปรากฏ

บทว่า อาสวานํ ขเย ญาณํ (อาสวักขยญาณ) ได้แก่ ญาณในสมัยสิ้นสรรพกิเลสทั้งหลาย ญาณนี้นั้น ชื่อว่า วิชชา แม้เพราะอรรถว่าย่อมกำจัดความมืดอันปิดบังสัจจะทั้ง ๔ คือ ญาณนั้นกำจัดความมืดแล้วกระทำสัจจะ ที่รู้แล้วให้ปรากฏ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า วิชชา แม้ด้วยอรรถว่ากระทำสัจจะให้แจ่มแจ้งในข้อว่า จิตฺตสฺส จ อธิมุตฺติ นิพฺพานญฺจ (อธิมุตติแห่งจิตและนิพพาน) นี้ สมาบัติ ๘ ชื่อว่า อธิมุตติแห่งจิต ด้วยอรรถว่า น้อมไปในอารมณ์ และด้วยอรรถว่า หลุดพ้นด้วยดีจากธรรมอันเป็นข้าศึกทั้งหลายส่วนญาณนอกนี้ชื่อว่า นิพพาน ด้วยอรรถว่า วานะกล่าวคือตัณหาไม่มีในนิพพานนี้ หรือ พระนิพพานนี้ออกไปจากวานะ (คือตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด)นั้น บรรดาธรรมทั้ง ๒ (คืออธิมุตติแห่งจิตและนิพพาน) เหล่านั้น สมาบัติ๘ ตรัสว่า วิมุตติ เพราะหลุดพ้นแล้วจากกิเลสที่ข่มไว้ได้เอง แต่นิพพานตรัสว่า วิมุตติ เพราะหลุดพ้นโดยส่วนเดียวจากสรรพกิเลสทั้งหลาย

บทว่า มคฺคสมงฺคิสฺส ญาณํ (ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค) ได้แก่ มรรคญาณทั้ง ๔

บทว่า ผลสมงฺคิสฺส ญาณํ (ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยผล) ได้แก่ ผลญาณทั้ง ๔

ในบรรดาญาณเหล่านั้น

มรรคญาณที่ ๑ ชื่อว่า ขเย ญาณํ (ญาณในความสิ้นไป) เพราะอรรถว่า เกิดขึ้นยังกิเลส ๕ อย่างให้สิ้นไป ให้ดับไปให้สงบ ให้ระงับ

มรรคญาณที่ ๒ ยังกิเลส ๔ อย่าง ให้สิ้นไป

มรรคญาณที่ ๓ ก็ยังกิเลส ๔ อย่างให้สิ้นไปเหมือนกัน แต่

มรรคญาณที่ ๔ ชื่อว่า ขเยญาณํ (ขยญาณ) เพราะอรรถว่า ย่อมเกิดขึ้นทำกิเลส ๘ อย่างให้สิ้นไปให้ดับไป ให้สงบ ให้ระงับแต่ผลญาณของมรรคนั้น ๆ

ชื่อว่า อนุปฺปาเท ญาณํ (อนุปปาทญาณ) เพราะอรรถว่า เกิดขึ้นในที่สุดแห่งการสิ้นไป ในที่สุดแห่งการดับไปในที่สุดแห่งการสงบไป ในที่สุดแห่งการระงับไป ในที่สุดแห่งการไม่เกิดขึ้นในที่สุดแห่งการไม่เป็นไปแห่งกิเลสเหล่านั้น การพรรณนานิกเขปกัณฑ์  อัฏฐสาลินี อรรถกถาธรรมสังคณี จบ

เป็นธรรมมีมรรคเป็นอารมณ์ (มัคคารัมมณะ) ในเวลาที่พระเสกขะและอเสกขบุคคลพิจารณามรรคที่ตนแทงคลอดแล้ว แต่ไม่มีเหตุคือมรรค เพราะไม่เกิดพร้อมกับมรรค ที่ชื่อว่า มคฺคาธิปติโน (มีมรรคเป็นอธิบดี) ด้วยอำนาจอารัมมณาธิปติ ในการพิจารณากระทำมรรคที่ตนแทงตลอดแล้วให้หนักหน่วง ในเวลาที่ทำธรรมอื่นเป็นอารมณ์ ไม่พึงกล่าวว่า มีมรรคเป็นอารมณ์บ้าง มีมรรคเป็นอธิบดีบ้าง อริยมรรค ๔ เป็นธรรมมีเหตุเป็นมรรคโดยส่วนเดียว เพราะมีเหตุกล่าวคือมรรค หรือเหตุที่สัมปยุตด้วยมรรค แต่ในเวลาที่เจริญมรรคกระทำวิริยะหรือวิมังสาให้เป็นใหญ่เกิดพร้อมกับอธิบดีก็พึงมีมรรคเป็นอธิบดีในเวลาที่ทำฉันทะ หรือจิตตะอย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นใหญ่ ก็ไม่พึงกล่าวว่ามีมรรคเป็นอธิบดีฉะนี้แลในรูปาวจรจตุตถฌาน ๑๒ อย่าง จตุตถฌาน ๙ อย่างมีจตุตถฌานที่เป็นบาทในธรรมทั้งปวงเป็นต้น ไม่เป็นมัคคารัมมณะ (ไม่มีมรรคเป็นอารมณ์)ไม่เป็นมัคคเหตุกะ (ไม่มีเหตุคือมรรค) ไม่เป็นมัคคาธิปติ (ไม่มีมรรคเป็นอธิบดี) ส่วนจตุตถฌานที่เป็นไปในเจโตปริยญาณ บุพเพนิวาสญาณ และอนาคตังสญาณ มีมรรคเป็นอารมณ์ ในเวลาที่รู้มรรคจิตของพระอริยะทั้งหลาย แต่ไม่เป็นมัคคเหตุกะ (คือไม่มีเหตุคือมรรค) เพราะไม่เกิดพร้อมกับมรรค ไม่เป็นมัคคาธิปติ (ไม่มีมรรคเป็นอธิบดี) เพราะไม่ทำมรรคให้หนักเป็นไป

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร จตุตถฌานทั้ง ๓ นี้จึงไม่ทำมรรคให้หนักหน่วง

ตอบว่า เพราะตนเป็นมหัคคตะเหมือนอย่างชาวโลกทั้งหมดการทำพระราชาให้เป็นที่เคารพ ส่วนพระมารดาและพระบิดาไม่ทรงกระทำความเคารพ เพราะพระมารดาบิดาเหล่านั้นเห็นพระราชาแล้วก็ไม่ลุกจากอาสนะ ไม่กระทำอัญชลีเป็นต้น ย่อมตรัสเรียกโดยนัยที่ตรัสเรียกในเวลาทรงพระเยาว์นั่นแหละฉันใด แม้จตุตถฌานทั้ง ๓ ที่เป็นไปในเจโตปริยญาณเป็นต้นก็ฉันนั้น ย่อมไม่ทำมรรคให้หนักหน่วง เพราะความที่ตนเป็นมหัคคตะแม้อเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา (มโนทวาราวัชชนจิค) ก็เป็นมัคคารัมมณะคือมีมรรคเป็นอารมณ์ เพราะในเวลาพิจารณามรรคของพระอริยะทั้งหลายเป็นปุเรจาริกของปัจจเวกขณะ แต่ไม่เป็นมัคคเหตุกะ (คือไม่มีเหตุคือมรรค) เพราะไม่เกิดพร้อมกับมรรค ไม่เป็นมัคคาธิบดี (คือไม่มีมรรคเป็นอธิบดี) เพราะไม่ทำมรรคให้หนักหน่วงเป็นไป

ถามว่า เพราะเหตุไร จิตนี้จึงไม่ทำมรรคให้หนักหน่วง

ตอบว่า เพราะความที่ตนเป็นอเหตุกะ เป็นสภาพเลว เป็นความโง่เหมือนพระราชา ชาวโลกทั้งปวงย่อมเคารพ แต่เด็กรับใช้ซึ่งเป็นคนเตี้ยค่อมเป็นต้น ซึ่งข้าราชบริพารมิได้ทำความเคารพอย่างยิ่ง เหมือนผู้เป็นบัณฑิตเพราะความที่ตนเป็นคนโง่ ฉันใด จิตแม้นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันย่อมไม่ทำมรรคให้หนักหน่วง เพราะตนเป็นอเหตุกะ เป็นสภาพเลว เป็นความโง่

จิตตุปบาทที่เป็นกุศลไม่ประกอบด้วยญาณเป็นต้น ย่อมไม่ได้อารมณ์ที่มีอารมณ์เป็นมรรคเป็นต้น เพราะไม่มีญาณและเพราะมีอารมณ์เป็นโลกิยธรรมพึงทราบว่า จิตตุปบาทนี้ย่อมเป็นนวัตตัพพารัมมณะเท่านั้นฉะนี้แล

ว่าด้วยอตีตารัมมณติกะ

พึงทราบวินิจฉัยในอตีตารัมมณติกะ ต่อไปธรรมคือ วิญญาณัญจายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีตโดยส่วนเดียวเท่านั้น เพราะถือเอาสมาบัติที่เป็นอดีตในหนหลังเป็นไป

บทว่า นิโยคา อนาคตารมฺมณา นตฺถิ (ธรรมที่มีอารมณ์เป็นอนาคตโดยเฉพาะไม่มี) ความว่า ชื่อว่า จิตที่มีอารมณ์เฉพาะโดยที่กำหนดไว้ไม่มี

ถามว่า ก็อนาคตังสญาณมีอารมณ์เป็นอนาคตโดยส่วนเดียว แม้จิตที่เป็นเจโตปริยญาณก็ปรารภอนาคตเป็นไป มิใช่หรือ ? ตอบว่า มิใช่ไม่ปรารภเป็นไป แต่จิตที่เป็นอนาคตังสญาณ และเจโตปริยญาณนี้มีอารมณ์เฉพาะดวงไม่มี มีแต่อารมณ์ที่เป็นมิสสกะดวยมหัคคตจิตอื่น ๆ เพราะทรงสงเคราะห์ไว้ด้วยรูปาวจรจตุตถฌาน ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า นิโยคา  อนาคตารมฺมณา  นตฺถิ (ธรรมที่มีอารมณ์โดยเฉพาะไม่มี) ดังนี้

ทวิปัญจวิญญาณ (วิญญาณ ๑๐) และมโนธาตุ ๓ ชื่อว่า มีอารมณ์เป็นปัจจุบัน เพราะเป็นไปในอารมณ์มีรูปเป็นต้นซึ่งเป็นปัจจุบัน

ในบทว่า ทส จิตฺตุปฺปาทา (จิตตุปบาทที่เป็นวิบาก ๑๐) นี้ได้แก่ สเหตุกวิบาก ๘ ดวงก่อน ชื่อว่ามีอารมณ์เป็นอดีตเท่านั้น ในเวลาที่ปรารภกรรม หรือกรรมนิมิตในเวลาถือปฏิสนธิของพวกเทวดาและมนุษย์เป็นไป แม้ในเวลาเป็นภวังค์ และจุติ ก็นัยนี้แหละแต่ว่าในเวลาที่จิตนี้ปรารภคตินิมิตถือปฏิสนธิและในเวลาที่เป็นภวังค์ต่อจากปฏิสนธิมาเป็นปัจจุบันอารมณ์ (มีอารมณ์เป็นปัจจุบัน) ในขณะที่เป็นไปในทวาร ๕ ด้วยอำนาจตทารัมมณะก็มีอารมณ์เป็นปัจจุบันเหมือนกัน แต่เพราะรับอารมณ์ต่อจากชวนะที่มีอารมณ์เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันในมโนทวารเป็นไป จึงมีอารมณ์เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน แม้ในมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขาฝ่ายกุศลวิบากอเหตุกะก็มีนัยนี้แหละ ในอธิการนี้มีเนื้อความต่างกันอย่างนี้คือ มโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขา อเหตุกกุศลวิบากนั้นเป็นปฏิสนธิของคนทั้งหลายผู้บอดแต่กำเนิดเป็นต้นในหมู่มนุษย์อย่างเดียว และมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน ด้วยสามารถทำสันติรณกิจในปัญจทวารส่วนมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยโสมนัสกุศลวิบากอเหตุกเป็นธรรมมีอารมณ์

ปัจจุบันด้วยสามารถทำสันติรณกิจ และตทารัมมณกิจในปัญจทวาร และพึงทราบว่า มีอารมณ์ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ด้วยสามารถตทารัมมณะในมโนทวาร เหมือนมโนวิญญาณธาตุที่เป็นสเหตุกวิบาก ฉะนั้นส่วนอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่เป็นอกุศลวิบาก มีคติเหมือนมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขา อเหตุกกุศลวิบากนั่นเอง แต่ในที่นี้มีความแปลกกันดังนี้ว่า อเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่เป็นฝ่ายอกุศลวิบากนั้นเป็นไปด้วยอำนาจปฏิสนธิ ภวังค์ และจุติของพวกในอบายภูมิทั้งหลายอย่างเดียว อเหตุกมโนวิญญาณธาตุฝ่ายกิริยาสหรคตด้วยโสมนัส เมื่อทำอาการร่าเริงของพระขีณาสพทั้งหลายในปัญจทวาร ก็เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน, ในเวลาปรารภธรรมอันต่างด้วยอดีตเป็นต้น ในมโนทวารเป็นไปด้วยอำนาจหสิตุปปาทนกิจก็เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน

ว่าด้วยจิตตุปบาทกามาวจรกุศล ๘

พึงทราบบทมีอาทิว่า กามาวจรกุสลํ (กามาวจรกุศล) ต่อไปว่าโดยกุศลก่อน จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยญาณ ๔ ดวงของพระเสกขะและปุถุชนผู้พิจารณาขันธ์ ธาตุ และอายตนะอันต่างโดยอดีตเป็นต้นย่อมเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ในขณะพิจารณาบัญญัติและพระนิพพานเป็นนวัตตัพพารัมมณะ คือเป็นธรรมมีอารมณ์ไม่พึงกล่าว แม้ในจิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุตก็นัยนี้แหละ ในอธิการนี้ การพิจารณามรรคผลและนิพพานด้วยจิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุตเหล่านั้น ไม่มีนี้เป็นการต่างกันอย่างเดียวเท่านั้นว่าโดยฝ่ายอกุศล จิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิคตสัมปยุต ๔ เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีตเป็นต้นในเวลาที่ยินดีเพลิดเพลินใจและมีความถือผิดซึ่งขันธ์ธาตุ และอายตนะอันต่างโดยขันธ์ที่เป็นอดีตเป็นต้น ย่อมเป็นธรรมมีอารมณ์ไม่พึงกล่าว (นวัตตัพพารัมมณะ) ของบุคคลผู้ยินดีเพลิดเพลินปรารภบัญญัติผู้ยึดถือว่าเป็นสัตว์เป็นอัตตา แม้ในจิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิวิปปยุต ก็นัยนี้เหมือนกัน ในที่นี้ การยึดถือด้วยจิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิวิปปยุตไม่มีเพียงอย่างเดียวเท่านั้นจิตตุปบาทที่เป็นปฏิฆสัมปยุต ๒ ดวง ย่อมเป็นธรรมมีอดีตเป็นต้นเป็นอารมณ์แก่บุคคลผู้โทมนัสปรารภธรรมอันต่างด้วยอดีตขันธ์เป็นต้น, เป็นธรรมมีอารมณ์ไม่พึงกล่าวแก่บุคคลผู้ถึงโทมนัสปรารภบัญญัติเป็นอารมณ์จิตตปบาทที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ ในขณะเป็นไปในธรรมทั้งหลายเหล่านั้นโดยความเป็นธรรมที่ตกลงใจไม่ได้ และความฟุ้งซ่าน ก็เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน และนวัตตัพพารัมมณะว่าโดยกิรยา สเหตุกจิตตุปบาท ๘ มีคติอย่างกุศลจิตตุปบาทนั่นแหละกิริยาอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขา ในขณะเป็นไปด้วยอำนาจทำโวฏฐัพพนกิจในปัญจทวาร เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบันเท่านั้น ในเวลาที่เป็นปุเรจาริกของชวนจิตที่มีธรรมเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันเป็นอารมณ์และมีบัญญัติเป็นอารมณ์ในมโนทวาร จิตเหล่านี้ ก็เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน และนวัตตัพพารัมมณะ

  ประวัติผู้รวบรวมเรียบเรียงเขียน

ชื่อสกุล  นายธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท