ภาวะซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย


คนเราทุกคนล้วนกลัวตาย
หลายคนทำทุกอย่างเพื่อที่จะยื้อชีวิตไว้ให้อยู่นานที่สุดเท่าที่จะนานได้
แต่มีคนส่วนหนึ่งกลับตัดสินจบชีวิตไปก่อนที่มันจะเป็น
ภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายจึงเป็นปัญหาสำคัญอันหนึ่งของพื้นที่จังหวัดน่าน
................................................
หญิงคนหนึ่งอายุห้าสิบกว่า
ฐานะทางบ้านก็พอมีพอกินไม่ถึงกับลำบากอะไร
ลูกเต้าก็มีการมีงานทำ เป็นฝั่งเป็นฝา
ชีวิตก็ดูจะสดใสสวยงาม
กำลังปลูกบ้านใหม่ พร้อมที่จะทำบุญขึ้นบ้านใหม่ในเร็ววันนี้
แต่แล้วจู่จู่ก็ตัดสินใจฆ่าตัวตายไปอย่างกระทันหัน
สร้างความช็อคให้ญาติมิตรเป็นอันมาก
นี่คือหนึ่งชีวิตที่ฆ่าตัวตายจากหลายกรณีที่เกิดขึ้นในพื้นที่
...............................................
สอบถามได้ความว่าด้วยโรคไทรอยด์เป็นพิษรุมเร้าจนเกิดภาวะซึมเศร้า

บ่นอยากตายมาราวหนึ่งเดือนได้

แม้คนในครอบครัวจะพาไปหาหมอรักษา

แต่ด้วยเหตุแห่งปัญหาอยู่ที่โรคไทรอยด์

จึงมุ่งไปที่การรักษาไทรอยด์ ซึ่งอาการนอนไม่หลับอาจเป็นภาวะเครียดจากโรค

จึงได้แต่รักษาตามอาการที่เกิดขึ้นมาข้างเคียง

จนลืมนึกไปถึงภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย

ขณะที่ญาติก็ไม่มีความรู้ในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหานี้

ช่วงเวลาเดือนหนึ่งของการซึมเศร้าและนอนไม่หลับ

จึงมากไปสำหรับผู้ป่วย

เขาจึงตัดสินใจจบชีวิตไป

................................................

เราได้เรียนรู้อะไรจากบทเรียนนี้

หนึ่ง ระบบบริการสาธารณสุขยังไม่สามารถคัดกรองกลุ่มเสี่ยงได้อย่างทั่วถึง ทำให้มีผู้ป่วยซึมเศร้าที่ไม่ได้คัดกรองเข้ามาสู่ระบบการดูแลรักษา

สอง ต้องมีระบบที่เชื่อมโยงฐานข้อมูลผู้ป่วยได้ตั้งแต่ระบบรพ.สต.จนถึงรพช. รพท. และรพ.อื่นๆ แม้แต่คลินิกเอกชนก็ตาม เพราะเรามักพบว่าผุ้ป่วยมักช็อปปิ้งไปรักษาตามที่ต่างๆ บางคราก็ไม่เคยมารักษาสถานบริการที่ใกล้บ้านเลย ทำให้รพ.สต.ที่อยู่ใกล้ชิดที่สุดก็ไม่มีข้อมูลผู้ป่วยเหล่านี้อยู่ในมือ

สาม ระบบการเฝ้าระวังในชุมชนก็ยังไม่สามารถทำหน้าที่ได้ จำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจว่าภาวะซึมเศร้าและฆ่าตัวตายเป็นโรคหนึ่งที่สามารถป้องกันได้ ไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่ง

สี่ การเชื่อมต่อระหว่างสถานบริการกับชุมชน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างความเข้าใจร่วมกันและช่วยกันสร้างระบบเฝ้าระวัง คัดกรอง ค้นหาในระดับครัวเีรือนขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง

ห้า กลไกของครอบครัวและญาติมิตรก็จะต้องมีความรู้ความเข้าใจที่จะช่วยกันเฝ้าระวังดูแลคนในครอบครัวที่มีภาวะซึมเศร้าอย่างมีคุณภาพ

เรื่องเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยการกำหนดแผนและยุทธศาสตร์การทำงานร่วมกัน

เพียงเพื่อหวังที่จะช่วยให้ทุกคนได้มีทางออกของชีวิตที่ดี

เพราะโดยแท้จริงแล้ว ไม่มีใครอยากตายหรอก

หมายเลขบันทึก: 512647เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2012 09:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ธันวาคม 2012 09:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 ดิฉันก็เคยมีความรู้สึกหดหู่ เป็นครั้งคราว ขณะที่เป็นก็จะรู้สึกอยากตายเหมือนกัน แต่ก็พยายามหันไปทำอะไร ๆ อย่าอยู่เฉย ๆ ส่วนใหญ่ก็จะเล่นเกมคอมพิวเตอร์ เช่นเกม Zuma มีการไล่ยิงลูกบอล อาการอย่างนี้ปกติหรือเปล่าคะ

ผมมีอาการเบื่อหน่าย...แต่ไม่ถึงขั้นอยากฆ่าตัวตาย แต่อยากหนีไปให้พ้นภาวะที่ทำให้เครียดในปัจจุบัน เช่น อยากหนีไปบวช...อยากอยู่คนเดียว

เมื่อไหร่เครียด มักจะมีความคิดซ้ำๆนี้ แวบ เข้ามาเสมอ

ผมเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่าครับ...

ในแนวปฏิบัติในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงจะใช้แบบประเมินโรคซึมเศร้า ๒ คำถาม หากมีภาวะเสี่ยงก็จะใช้ ๙ คำถามต่อครับ ซึ่งการคัดกรองนี้ก็จะช่วยให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลรักษาได้ก่อนที่จะคิดฆ่าตัวตายครับ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท