มหาธี
อาจารย์ ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

คติธรรมในธรรมบท


 

คติธรรม

ธีรวัส  บำเพ็ญบุญบารมี

ผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์คัมภีร์

มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธรรมศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าเพื่อเป็นหลักฐานทางวิชาการทางพระพุทธศาสนา

ตามหลักสูตรวิจัยคัมภีร์พระพุทธศาสนา มูลนิธิเบญจนิกาย พุทธศักราช  ๒๕๕๐พิมพ์ครั้งที่ ๑  ๕๐๐ เล่ม

เพื่อเป็นธรรมทานไม่สงวนลิขสิทธิ์

คำนำ

  พระธรรมบทศึกษานั้น  ถือกันว่าเป็นพระพุทธพจน์ชนิดที่เป็นหัวข้อธรรมชั้นสำคัญ  อันควนที่พุทธบริษัทจะจดจำไว้ให้มากและรู้ความหมายประกอบได้กว้างเท่าไร  นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตได้เพียงไร  ย่อมจักอำนวยผลให้แก่ผู้ประพฤติปฏิบัติได้เพียงนั้น

  ธรรมบทหรือธัมมปทเป็นเทศนาประเภทร้อยกรองของพระพุทธเจ้า  ทรงแสดงแก่บุคคลต่างชั้นต่างระดับมีตั้งแต่บรรพชิต  คฤหัสถ์  นักปราชญ์  ชาวบ้านธรรมดา  จนกระทั้งเด็กเล็กๆก็มี  เนื้อหาธรรมะจึงมีหลายระดับทั้งสูงและต่ำคละกันไป  พระธรรมสังคาหกาจารย์(อาจารย์ผู้รวบรวมคำสอน)  ได้นำมารวมไว้เป็นหมวดหมู่  ในสุตตันปิฏก  ขุททกนิกาย

  ธรรมบท  มีลักษณะพิเศษอยู่อย่างหนึ่ง  คือสอนด้วยอุปมาอุปไมยง่ายๆ  บางบทรูปประโยคบาลีไม่ได้บอกว่าเป็นอุปมา  แต่ข้อความบ่งให้ทราบในแนวนั้น  เช่นมีสารัตถธรรม  วัฒนธรรมและประเพณี  จิตวิทยา  ปรัชญาชีวิต  เป็นต้น

  สำหรับคนไทย  พระธรรมบทศึกษามีคำเพียงเป็นพระคัมภีร์หนึ่งเท่านั้น  เพราะคนที่ถือพระพุทธศาสนา  มีครูบาอาจารย์  คอยแนะนำพร่ำสอน  ครั้นรู้มากอ่านหนังสือธรรมได้มาก  มีข้อวัตรปฏิบัติเป็นขั้นไป  ประกอบไปด้วยวัฒนธรรม  ประเพณีที่ดีอันเป็นมรรคาวิถีแห่งไตรสิกขา  เมื่อได้นำไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน  ก็เป็นการเปิดโอกาสให้ความฉลาดรอบรู้ได้เกิดขึ้น  แม้จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมไปด้วยอกุศลมูลต่างๆ  อย่างมากมายก็น่าจะกระทำได้  ทั้งนี้เพื่อประโยชน์และความสุขของตนเอง

  ฉะนั้น  รายงานส่วนนี้  เพื่อนๆสมาชิกกลุ่ม๕ผู้จัดทำหวังว่า  คงจะมีประโยชน์และเป็นรายงานที่สามารถให้ความรู้  แก่ผู้สนใจบ้างไม่มากก็น้อย  หากคุณความดีอันเกิดจาการตั้งใจงานชิ้นนี้มี  เพื่อนๆสมาชิกกลุ่ม๕ผู้จัดทำก็ขอมอบคุณความดีให้แก่ผู้มีพระคุณทุกๆท่าน…

  ด้วยความปรารถนาดี

  ธีรวัส  บำเพ็ญบุญบารมี

ผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์คัมภีร์

 

สารบาญ

เรื่อง    หน้า 

ปุปผวรรควรรณา

๑. เรื่องภิกษุ  ๕๐๐  รูปผู้ขวนขายในปฐวีกถา 

๒. เรื่องพระเถระผู้เจริญมรีจิกัมมัฎฐาน 

๓. เรื่องพระเจ้าวิฑูฑภะ 

๔. เรื่องนางปติปูชิกา 

๕. เรื่องโกสิยเศรษฐิผู้มีความตระหนี่ 

๖. เรื่องปาฏิกาชิวก 

๗. เรื่องฉัตตปาณิอุบาสก 

๘. เรื่องนางวิสาขา 

๙. เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ 

๑๐.เรื่องถวายบิณฑบาตแก่พระมหากัสสปเถระ 

๑๑.เรื่องปรินิพพานของพระโคธิกเถระ 

๑๒.เรื่องครหทินน์ 

  พรลวรรค  วรรณนา

๑.  เรื่องบุรุษคนใดคนหนึ่ง   

๒. เรื่องสิทธิวิหาริกของพระมหากัสสปเถระ 

๓. เรื่องอานนทเศรษฐี   

๔. เรื่องโจรผู้ทำลาปม 

๕.เรื่องพระอุทายีเถระ 

๖. เรื่องภิกษุชาวเมื่องปาฐา 

๗. เรื่องสุปปพุทธกุฎฐิ 

๘. เรื่องชาวนา 

๙. เรื่องนายสุมนมาลาการ 

๑๐.เรื่องพระอุบลวรรณาเถรี 

๑๑.เรื่องชัมพุกาชีวก 

๑๒.เรื่องอหิเปรต 

๑๓.เรื่องสิฎฐิกูฏเปรต 

๑๔.เรื่องพระสุธรรมเถระ   

๑๕.เรื่องพระวนวาสีติสสเถระ   

บทสรุป 

บรรณานุกรม 

บทที่ ๑

คติธรรม

เมื่อชีวิตยังอยู่ในวงวนแห่งสงสารวัฎฎ์  ย่อมที่จะมีทั้งดีและเลว  อันการเกิดเป็นมนุษย์ถือเป็นโชคอย่างหนึ่งที่จะเป็นโอกาสในการขัดเกลากิเลส  เพื่อให้พ้นจากสังสารวัฎฎ์อันขลุขละ

  .  เรื่องพระเถระผู้เจริญมรีจิกัมมัฎฐาน

สารัตถะในเรื่อง

พระเถระผู้หนึ่ง  ได้เรียนกัมมัฎฐานในสำนักของพระศาสดา  แล้วตั้งใจจะกระทำสมณธรรม  จึงได้เข้าไปสู่ป่าช้า  แต่ถึงพยายามเท่าไร่ก็ไม่ตรัสธรรม  จึงได้กลับมาหวังให้พระศาสดาเทศนาให้ฟังอีกรอบ  แต่ระหว่างทางกลับ  ได้เห็นพยับแดด  แล้วตั้งมรีจิกัมมัฎฐานว่า  พยับแดดนี้  ปรากฏแก่บุคคลผู้อยู่ไกล  แต่พอเข้าใกล้  ก็หามีไม่  เป็นเพียงภาพลวงตาเท่านั้น  อัตภาพก็คงเป็นเช่นนั้น  แล้วได้เห็นฟองน้ำที่กระทบกันแล้วแตกไป  แล้วถือเอากัมมัฎฐานว่า  แม้อัตภาพนี้  มีรูปร่างอย่างนั้นเหมือนกัน  เพราะอรรถว่าเกิดขึ้นแล้วก็แตกไป  แล้วพระศาสดาก็ตรัสให้พระเถระผู้นั้นเห็นถึงการไม่เที่ยงแท้ของร่างกาย  ดังพยับแดดและฟองน้ำที่เกิดขึ้นได้ไม่นานแล้วดับสลายไป

อิทธิพลต่อชาวพุทธ

ทำให้ชาวพุทธสำเหนียกในร่างกายสังขารว่า  ตั้งอยู่ไม่นาน  ก็จะแตกสลายไป  เพราะฉะนี้จึงไม่ควรประมาทในชีวิตอันน้อยนิดนี้  ควรสร้างประโยชน์แต่สังคม  และตัวเอง  ทั้งบำเพ็ญตนให้ตั้งอยู่ในธรรมไม่ยึดติดกับโลกจึงเกินไป  อันเป็นเหตุแห่งความทุกข์เศร้าโศกเสียใจ  ควรระลึกถึงความแตกสลายเป็นอารมณ์  เพื่อที่จิตใจตั้งมั่นในกุศลธรรม

ประเพณีวัฒนธรรม

ภิกษุบางพวกเมื่อได้คำแนะนำจากพระพุทธเจ้าแล้วมักจะหาโอกาสปลีกตัวอยู่ในที่สงัด  เพื่อเป็นการสงัดสงบแห่งจิต

จิตวิทยา

การพัฒนาไม่ว่าด้ายไหนต้องทอลองผิดลองถูกซ้ำแล้วซ้ำเล่า  สิ่งรอบตัวเราจะบอกเราเองว่า  เราควรปรับปรุงตัวเช่นไร

คติธรรม

ธรรมชาติสอนให้คนเราเข้าใจว่า  เมื่อกาลเวลาล่วงเลยไป  ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นมักจะล่วงเลยไปตามเวลา  กล่าวอีกนัยคือ  ไม่มีอะไรอยู่เหนีอการเปลียนแปลง

  .  เรื่องพระเจ้าวิฑูฑภะ

สารัตถะในเรื่อง

เกี่ยวกับเชื้อสายพระองค์ที่ค่อนข้างมีทิฏฐิมานะที่แรง  จะเห็นได้จากพันธุลกุมารที่เรียนวิชามาจากที่ถูกพระญาติทอลองด้วยการให้ตัดลำไม้ไผ่  ๖๐  ลำ  ใส่ซี่เหล็กไว้ในกลางไม้ไผ่  ยกตั้งขึ้นแล้ว  พระพันธุกุมารได้ตัดขาดจนหมดเกลี้ยง  แต่มัดสุดท้าย  ได้ยินเสียงดัง  กริก  ของซี่เหล็ก  พอมารู้ที่หลัง  ด้วยความโมโหหาว่าไม่มีใครรัก  ที่ไม่บอกเขาว่าใส่ซี่เหล็กไว้  แล้วทูลแก่พระชนนีและพระชนกว่าหม่อมฉันจะฆ่าเจ้ามัลละเหล่านี้  แม้ทั้งหมดแล้วครองสมบัติ  แต่แล้วถูกห้าม

การปกครอง

ในสมัยนั้นเป็นแบบระบบกษัตริย์ที่สื่บทอดกันมาเป็นเชื้อสาย  และไม่ยอมให้เชื้อสายประปนกับวงค์ตระกูลที่ต่ำกว่าตน  จะเห็นได้ว่าเวลาที่พระเจ้าวิฑูฑภะไปเยี่ยมพระเจ้าตา  วิฑูฑภะได้เที่ยวไหว้เจ้าศากยะทั้งหมด  มิได้เห็นเจ้าศากยะแม้องค์หนึ่งไหว้ตน  เนื่องจากเจ้าศากยะถือว่าพระเจ้าวิฑูฑภะเป็นบุตรของนางทาสีชื่อว่า  วาสภขัตติยา  แม้นางทาสีก็เอาน้ำนมมาล้างแผ่นกระดานที่พระเจ้าวิฑูฑภะนั่ง  นี่แสดงให้เห็นถึงการถือทิฎฐิมานะอย่างสูง

อิทธิพลต่อชาวพุทธ

การที่นางทาสีล้างแผ่นกระดานที่พระเจ้าวิฑูฑภะนั่ง  พอมาทราบทีหลังจึงเกิดแค้นและปฏิญญาณว่า  จะให้ล้างกระดานที่ตนนั่งด้วยเลือดของศากยะ  เหตุการณ์เหล่านี้พระศาสดาทรงห้ามถึง๓ครั้ง  แต่ด้วยกรรมเก่าที่เจ้าศากยะทั้งหลาย  ก่อไว้จึงต้องได้รับตามยถากรรม  คือถูกพระเจ้าวิฑูฑภะไปฆ่าหมู่แม้กระทั่งเด็กและผู้หญิง  เพราะกรรมใดที่ใครก่อกรรมนั้นย่อมที่จะต้องได้รับอย่าง  แน่นอนเพียงแค่จะช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง  บางคนก็เพลิดเพลินกับการทำชั่ว  เพราะผลมันยังไม่ปรากฏให้เป็นบาป  จึงเข้าใจว่าการทำบาปไปมีผล  แต่เมื่อไรผลแห่งกรรมตามทันเมื่อนั้นย่อมรู้ว่า  บุญและบาปนั้นเมื่อทำลงไปแล้วมีผล

ประเพณีวัฒนธรรม

แต่ละวัยของคนในสมัยพุทธกาล  ย่อมจะมีการแบ่งไว้เป็นขึ้นตอนว่า  สมัยใดที่ควนศึกษา  และสมัยใดควรครองเรือน  เช่น๓กุมารเหล่านี้คือ  พระราชโอรสของพระเจ้ามหาโกศล  ในพระนครสาวัตถี  พระนามว่าปเสนทิกุมาร  พระราชกุมารของเจ้าลิจฉวี  พระนามว่ามหาลิ  โอรสของเจ้ามัลละ  พระนามว่าพันธุละ  ที่เสด็จไปนครตักกสิลา  เพื่อเรียนศีลปะในสำนักของอาจารย์ทิศาปาโมกข์  ส่วนวัฒนธรรมนั้น  มีการนับถือสมณะที่ตนมักคุ้นเคย  และรู้จักกันเป็นอย่างดีและขอคำแนะนำคำสั่งสอนต่างๆจากสมณะเหล่านั้น  การรู้จักกาลเทสะในการรับนิมนต์ผู้ที่ตนเคารพ.

การปกครอง

ระบบกษัตริย์ที่มีการสืบทอดกันแบบเชื้อสาย  การไม่ปะปนเชื้อสายของตนแก่เผ่าพันธุ์อื่น

จิตวิทยา

การพยายามกีดกันเชื้อสายกันนั้น  เพื่อสร้างอิทธิพลของความบริสุทธิ์ที่ตนถือ  ให้มากขึ้น  เพื่อเป็นอำนาจหรือความยิ่งใหญ่ของตน

คติธรรม

การถือชาติของตนเองมากเกินไปนั้นถือว่าไม่ได้เป็นความเป็นธรรมเสมอ  คนจะดีหรือจะชั่วไม่ได้ขึ้นอยู่กับชาติตระกูล  แต่ขึ้นอยู่กับการกระทำของแต่ละคน  กรรมเป็นเครื่องบงชี้ให้ชีวิตดำเนิน

๔.  เรื่องนางปติปูชิกา

สารัตถะในเรื่อง

ในดาวดึงสเทวโลก  เทพบุตรมาลาภารี  ได้มีนางอัปสรพันหนึ่งแวดล้อม  อยู่มาวันหนึ่งขณะที่นางอัปสรทั้งหลายกำลังเก็บดอกไม้อยู่ก็ได้มีนางอัปสรตนหนึ่ง  เคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้ว  ได้จุติในโลก  ในเมืองสาวัตถี  นางเป็นผู้ที่ระลึกชาติได้จึงปราถนาที่จะขึ้นสวรรค์ต่อ  ครั้นใดที่นางทำบุญ  จึงอธิษฐานแต่ผัวของตนที่อยู่บนสวรรค์  เมื่อถึงเวลามีอายได้  ๑๖  ปี  ได้ไปสู่ตระกูลอื่น  ต่อมานางก็ได้คลอดบุตรถึง๔คน  ถึงกระนั้นนางก็ยังปราถนาที่จะอยู่กับผัวที่บนสวรรค์  จนเป็นคนที่ทำบุญ  ถวายภัตรแก่พระภิกษุสงฆ์เป็นนิตย์  รักษาศีล  ฟังธรรม  ต่อมานางได้เสียชีวิตด้วยโรคบางอยู่  จึงจุติบนเทวสโลกอีก  ขณะนั้นเทพบุตรกับเพื่อนๆนางจึงได้ถามกันว่า  เมื่อซักครู่นี้พวกเราเก็บดอกไม้กันอยู่ดี  เธอหายไปไหน  นางจึงได้เล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง  นี้แสดงให้เห็นถึงการเกิดขึ้นอยู่ในโลกมนุษย์นั้นเป็นเวลาสั้นน้อยนิดเท่านั้น  เมื่อเปรียบเทียบกับโลก  สวรรค์

อิทธิพลต่อชาวพุทธ

การเกิดมาเป็นชาติมนุษย์ถือเป็นโอกาสที่ดีที่สุดในการที่จะบำเพ็ญตนสร้างจิตของตนให้เหนือจากกิเลสทั้งหลาย  ยิ่งกว่านั้นการที่เรารู้ว่ามนุสโลกนั้นเมื่อเทียบกับเทวโลกก็แทบจะเทียบกันไม่ได้  ๑๐๐ปีของมนุษย์เป็นเพียง  ๒วันสวรรค์เท่านั้น  เพราะฉะนั้นพึงเลือกสวรรค์ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ในภพหน้า  ด้วยการรักษาศีล  ตั้งอยู่ในธรรม  เพราะชีวิตสัตว์น้อย  มัจจุผู้กระทำซึ่งที่สุด  ยังสัตว์เหล่านี้ผู้ไม่อิ่มด้วยวัตถุกามและกิเลสกาม  ให้เป็นไปในอำนาจของตน  การเกิดมาในโลกแต่ละครั้งควรขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์  จะได้ไม่หวั่นในมัจจุผู้กระทำที่สุด  เพราะเมื่อไม่มีการเตรียมรับกับมัจจุไว้แล้ว  ย่อมจะได้รับความเศร้าโศกเสมอ  เหตุเพราะยึดติดในสิ่งที่อยู่ในโลกมนุษย์ซึ่งก็เพียงเล็กน้อย

ประเพณีวัฒนธรรม

การหวังผลในภพนั้น  ที่นิยมกันถือการถวายทาน  ทำการบูชา  ฟังธรรม  รักษาสิกขาบท  ในสำนักของสมณะที่ตนเคารพนับถือ  ส่วนประเพณีนั้น  การทำบุญ  เพื่อให้เกิดในชาริภพที่ดีๆนั้นถือเป็นประเพณีอย่างเช่น  นางปติปูชิกา  ที่ทำบุญแล้วปรารถนาที่จะขึ้นอยู่บนสวรรค์กับผัวของตน

จิตวิทยา

อันมนุษย์มีใจฝักฝ่ายในที่ที่ต่ำเสมอ  เพมื่อไม่ให้จิตใจตั้งอยู่ในความดีบางครั้งก็ต้องยกเรื่องของชาติหน้ามาให้เห็น  เพื่อที่จะได้ทำความดี  เผื่อไว้ชาติหน้า

คติธรรม

การเกิดมาเป็นมนุษย์เป็นเครื่อง  แถมอายุของมนุษย์นั้นยังสั้นอีกด้วย  แต่การที่จะมีชีวิตอย่างคุ้มค่านั้นมันอยากกว่ามนุษย์  ส่วนใหญ่มักจะปล่อยจิตใจไปตามกระแสของกิเลส

 

. เรื่องโกสิยเศรษฐีผู้มีความตระหนี่

สารัตถะในเรื่อง

โกสิยะเศรษฐี  ผู้ที่มีทรัพย์สมบัติมากมีถึง  ๘๐โกฏิ  ประจำอยู่ในนิคม  แต่ไม่เคยบริจาคทรัพย์แก่ใครๆ  เลย  ได้แต่เก็บสะสมเป็นกองไว้ไม่รู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์ได้แต่คิดจะเก็บเพราะถูกความโลภครอบงำ  แม้กระทั่งแก่บุตรธิดา  ภรรยาของตนเองก็ยังไม่ให้ใช้สอย  ถือว่าเป็นผู้ที่มีความตระหนี่มากคนหนึ่ง  วันหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรวจดูสัตว์โลก  แล้วทรงเห็นว่า  เศรษฐีนี้แม้จะขี้เหนี่ยวอย่างไรก็ตาม  แต่ก็ยังมีอุปนิสัยโสดาปัตติผล  พร้อมทั้งภรรยาของเศรษฐี

  โกสิยะเศรษฐีนั้น  วันหนึ่งได้เดินทางไปพระราชมนเทียร  ขากลับเห็นคนอื่นกินขนมกุมาส  เกิดอยากจะกินขึ้นมาบ้าง  จึงสั่งให้ภรรยาทำให้กินบนชั้นปราสาท๗ชั้น  เพื่อกันขอทานมาขอกิน  ทั้งสั่งให้ภรรยาทำเฉพาะให้กับตัวเองเท่านั้น  แล้วสั่งให้ปิดประตูมิดชิดแล้ว  เริ่มให้ภรรยาทอด  ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกมหาโมคคัลลนะเถระ  สั่งให้ไปทรมานสนเศรษฐี  ทำให้สิ้นพยศ  ให้ผัวเมียทั้งสองถือขนมและน้ำนมเนยใส  น้ำผึ้งและน้ำอ้อย  แล้วนำมายังพระเชตวันด้วยกำลังเองท่านมหาโมคคัลลนะเถระได้ทรมานเศรษฐีด้วยวิธีต่างๆ  จึงสุดท้ายเศรษฐียอมจำนงค์  แล้วท่านก็แสดงธรรมเกี่ยวกับอานิสงส์ของการให้ทาน  การเสียสละของตนเพื่อคนอื่น  แล้วพระเถระก็ได้นำเศรษฐีกับภรรายามายังวิหารที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่  เอาขนมเลี้ยงพระสงฆ์  พระองค์ได้กระทำอนุโมทนาแก่เศรษฐีทั้ง๒นั้น  สุดท้ายก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล

อิทธิพลต่อชาวพุทธ

คนเรานั้นมีอุปนิสัยที่ต่างกันออกไป  บางคนเมื่อยังไม่มีคนแนะนำหรือบอกธรรมแก่พวกเขา  พวกเขาก็ยังเป็นผู้บอดคือถูกอวิชชาครอบงำ  เปรียบเสมือนคนหลงทางธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นก็เปรียบเสมือนบอกทางแก่ผู้หลง  ในกรณีของเศรษฐีนี้  จะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าได้ส่งพระเถระมหาโมคคัลลานะเถระให้ไม่ทรมานเพราะเห็นว่า  พระเถระเป็นผู้ที่มีความสามารถในการทรมานสกุล  โดยไม่กระทบกระทั่งศรัทธา  ไม่กระทบกระทั่งโภคะไม่ให้ตระกูลชอกซ้ำ  ไม่เบียดเบียน  เปรียบเสมือนแมลงภู่เคล้าเอาละอองจากดอกไม้เข้าไปหาสกุลแล้ว  ควรให้รู้พุทธคุณ  ธรรมคุณ  สังฆคุณ

  การตระหนี่จนเกินไปก็ใช่ว่าจะมีความสุข  เพราะการได้ช่วยเหลือแก่บุคคลอื่นนั้นถือเป็นความดีที่  ในสังคมควรกระทำ  แม้กระทั่งการหวงแหนทรัพย์ที่มีประมาณมากก็  ใช่จะมีความสุข  การมีทรัพย์มากๆนั้นต้องคอยระมัดระวัง  พะวงหน้าพะวงหลัง  จึงอยู่ไม่เป็นสุข  ยิ่งทรัพย์ที่ได้มาโดยไม่บริสุทธิ์ก็ยิ่งต้องระเว้งเป็นพิเศษเพราะกลัวว่าเจ้าของจะมาเอาคืน  เพราะฉะนั้นการมีทรัพย์ก็ควรได้มาอย่างบริสุทธิ  เมื่อมีแล้วควรแบ่งเป็นส่วน  ในการสะสม  ในการบริจาค

ประเพณีวัฒนธรรม

ทั้งพระราชาก็ได้รับการบำรุงจากบรรดาเศรษฐีทั้งหลายเช่นกัน  ถือเป็นการอาศัยซึ่งกันและกัน  ส่วนประเพณีนั้น  เศรษฐีทั้งหลายย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมของพระราชา  เพราะเช่นนั้น  พระราชาจะปลดหรือจะแต่งตั้งผู้ที่ใดก็ได้ตามแต่ความสมควร

จิตวิทยา

พระพุทธเจ้ารับสั่งให้พระหมาโมคคัลลนะเถระไปทรมานเศรษฐี  เพราะวางพระทัยว่า  พระมหาโมคคัลลนะมีความสามรถในการาเข้าหาตระกูลโดยไม่ให้มีความรู้สึกว่าถูกเบียดเบียน

คติธรรม

ธรรมะของพระพุทธเจ้าเปรียบเสมือนบอกทางแก่ผู้หลงทางหงายกะลาที่คว่ำอยู่  จะเห็นได้จากเรื่องโกสิยเศรษฐีผู้ตระหนี่  เนื่องจากไม่เคยฟังธรรมะจากพระพุทธเจ้าจึงหลงผิดในการยึดถือในทรัพย์สิน

 

. เรื่องปาฎิกาชีวก

สารัตถะในเรื่อง

หญิงแม่เรื่องคนหนึ่งในกรุงสาวัตถี  ปฏิบัติอาชีวกชื่อว่าปาฏิกะดังบุตรอยุ่มาวันหนึ่งคนข้างบ้านได้ฟังธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า  พากันสรรเสริญ  นางได้ยินคำพรรณาคำพุทธคุณจึงประสงค์จะฟังธรรมเทศนาบ้าง  จึงเล่าความนั้นแก่อาชีวก  เมื่อถูกอาชีวกห้ามจึง  ตั้งใจที่จะนิมนต์พระศาสดามา  แล้วฟังธรรมในบ้านของตนเอง

  เมื่อพระศาสดามาแสดงธรรมแก่นาง  ปาฏิกาชีวกก็คิดว่าคราวนี้เราคงเสียนางแน่  ต่อไปนางคงไม่อุปัฏฐากแก่เราอีก  จึงได้ด่าอุบาสิกาและพระศาสดาโดยประการต่างๆ  ว่า  อีกาฬกัณณี  มึงเป็นคนฉิบหาย  มึงจงทำสักการะนี้แก่สมณะนั้นเถิด  แล้วได้หนีไป

  อุบาสิกา  ไม่อาจส่งกระแสจิตแห่งธรรมได้  เพราะฟุ้งซ่านเหตุเพราะคำด่าของอาชีวกนั้น  พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนว่า  บุคคลไม่ควรทำคำแสยงขนของคนเหล่าอื่นไว้ในใจ  ไม่ควรและดูกิจที่ทำแล้ว  และยังไม่ได้ทำของคนเหล่าอื่น  ฟังพิจารณากิจที่ทำแล้ว  และยังไม่ได้ทำของตนเท่านั้น  อุบาสิกาได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล  ในเวลาจบเทศนา

อิทธิพลต่อชาวพุทธ

ชีวิตอันแสนสั้นของคนเรานั้น  ถ้ามีการหลงทางผิดไปบ้างก็ถือว่าบารมียังไม่แก่กล้า  แต่เมื่อพบอุดมการณ์อันแท้จริงของชีวิตแล้ว  ไม่ควรระแหนไปทางอื่น  คือเมื่อมีเป้าหมายแล้วควรที่จะมุ่งไปให้ถึงเป้าหมาย  เมื่อมีอุปสัคมาขวางบ้างก็ต้องสลัดออกไปให้หมด  ไม่ฉะนั้นเป้าหมายที่ตั้งไว้ก็อาจสูญเปล่า  เป็นการสอนให้รู้ว่าไม่ว่าคนอื่นจะเป็นเช่นไรก็ตามแต่ตัวเราเองควรจะทำตังให้ดีที่สุด  ก่อนที่จะมองคนอื่น

ประเพณีวัฒนธรรม

เมื่อว่างจากการงาน  มักจะมีการไปฟังธรรมในสำนักของครูบาอาจารย์หรหือสมณะที่ตนนับถือเสมอ  ส่วนประเพณีนั้น  ในกรุงสาวัตถีสมัยพุทธกาล  เต็มไปด้วยเหล่าสำนักของสมณะใครนับถือสมณะ(ผู้บำเพ็ญเพียร)  ผู้ใดก็ย่อมที่จะบำรุงส่งเสริมด้วยอุปการะเป็นปกติ

จิตวิทยา

การที่อาชีวกไม่ให้อุบาสิกาได้พบกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ก็เพราะเกรงว่าตนจะเสื่อมลาภ  จึงพยายามปกป้องเพื่อลาภของตน

คติธรรม

การจะบรรลุถึงอุดมการณ์นั้นย่อมจะเป็นเรื่องที่ยากและมีอุปสัคเสมอ  แต่อุปสัคใดๆก็จะไม่เท่ากับการเอาชนใจตนเองให้ได้.

.  เรื่องฉัตตปาณิอุบาสก

สารัตถะในเรื่อง

อุบาสกชื่อว่า  ฉัตตปาณิเป็นผุ้ทรงพระไตรปิฏก  เป็นอนาคามี  ในเมืองสาวัตถี  แกเป็นผู้ที่รักษาอุโบสถ  แต่เช้าตรู่  ได้บำรุงพระศาสดา  ในสมัยนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปสู่ที่บำรุงของพระศาสดา  อุบาสกไม่ได้ลูกให้กับพระราชา  เพราะเห็นว่านั่งในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ที่ตนเคารพกว่า  แต่พระราชาเห็นอุบาสกนั้นไม่ลุกขึ้นมีพระมนัสขุ่นเคือง  พระราชาภายหลังทราบว่าอุบาสกเป็นผู้ทรงธรรมก็เลยขอร้องให้สอนธรรมแก่คนในวัง  อุบาสกปฏิเสธ  แล้วแนะให้นิมนต์บรรพชิตรูปหนึ่งมาแล้ว  จงให้บอกธรรม  พระศาสดาได้มอบหน้าที่แก่พระอานนทเถระไปสอนธรรมแก่พระนางมัลลิกาเทวีและพระนางวาสภขัตติยา  แต่ในบรรดานาง๒คนนั้นมีนางมัลลิกาเทวีเท่านั้นที่ตั้งในเรียนธรรมโดยเคารพ  พระอานนท์จึงได้ทูลเรื่องเหล่านั้นแก่พระศาสดา  พระศาสดาจึงตรัสแก่พระอานนท์ว่า  อันธรรมดา  ธรรมที่พระองค์ตรัสแล้วนั้น  ย่อมมีผลแก่ผู้ที่ตั้งใจเรียน  ตั้งใจท่องโดยเคารพเท่านั้นเองหามีประโยชน์แก่ผู้ไม่สนใจไม่.

อิทธิพลต่อชาวพุทธ

การรู้จักกาลเทศะในการเคารพบุคคล  โดยตั้งหลักที่ว่าผู้ที่มีศีลบริสุทธิตั้งตนอยู่ในธรรม  ควรแก่การเคารพ  ไม่ใช่มองเห็นเพียงผู้มีอำนาจทางด้านการเมืองเท่านั้น  แต่ว่า  ธรรมดาบุรุษผู้เป็นบัณฑิตเห็นคนในสำนักของท่านที่ควรเคารพกว่าตนเอง  ไม่ลุกขึ้นต้อนรับ  ก็ไม่โกรธ  เพราะเห็นว่าบุคคลนั้นนั่งอยู่ใสสำนักที่ตนเองก็เคารพเช่นกัน  และเป็นการให้เกียรติแก่ผู้ที่จนเคารพด้วย

ประเพณีวัฒนธรรม

ก็ธรรมดาบุรุษผู้เป็นบัณฑิตเห็นคนที่นั่งในสำนักของท่านที่ควรเคารพกว่าตน  ไม่ลุกขึ้นต้อนรับก็ย่อมไม่โกรธ  ส่วนประเพณีนั้น  ผู้ที่บรรลุถึงอริยมรรคนี้ย่อมที่จะไม่ทอดทิ้งธรรม  เป็นผู้รักษาอุโบสถทำความเพียรให้ถึงที่สุด  และไม่ทอดทิ้งธุระในการบำเพ็ญสมณะธรรมด้วย

จิตวิทยา

การที่อุบาสกผู้เป็นอนาคามีเห็นพระเจ้าปเสนทิโกศลที่มาสู่ที่บำรุงของพระศาสดา  ในขณะที่ตนนั่งอยู่กับพระศาสดานั้น  ไม่ได้ลุกขึ้นต้อนรับ  เหตุเพราะเคารพพระศาสดา  ซึ่งมีศักดิ์ใหญ่กว่า  พระเจ้าปเสนทิโกศล

คติธรรม

ดอกไม่อันงาม  มีสี  แต่ไม่มีกลิ่นหอม  แม้อันใด  วาจาสุภาษิต  ก็ฉันนั้น  ย่อมไม่มีผลแก่ผู้ไม่กระทำอยู่  ส่วนดอกไม้งาม  มีสีพร้อมด้วยกลิ่นหอม  แม้ฉันใด  วาจาสุภาษิต  ก็ฉันนั้น  ย่อมมีผลแก่ผู้ทำดีอยู่.

. เรื่องนางวิสาขา

สารัตถะในเรื่อง

นางวิสาขาเกิดที่เมืองภัททิยนครแคว้นอังคะนางได้บรรลุธรรมตั้งแต่อายุได้๗ขวบท่านเป็นหญิงมีลักษณะเบญจกัลยาณีท่านได้แต่งานกับลูกเศรษฐีคนหนึ่งในเมืองสาวัตถีทำให้ครอบครัวของเศรษฐีเป็นสัมมาทิฏฐิท่านได้ทำคุณประโยชน์มากมายในพระศาสนาเช่นสละทรัพย์จำนวน๙โกฏิสร้างวิหารและได้บำรุงพระภิกษุสามเณรตลอดอายุของท่านท่านจึงได้นามว่าวิสาขามหาอุบาสิกาวันหนึ่งเมื่อวิหารสร้างเสร็จท่านก็ได้ฉลองวิหารเปล่งอุทานด้วยเสียงอันไพเราะว่าความดำริของเราว่าเมื่อไรเราถวายปราสาทใหม่ฉาบด้วยปูนขาวและดินเป็นวิหารทานบริบูรณ์แล้วเป็นต้นภิกษุทั้งหลายได้ยินเสียงจึงกราบทูลพระศาสดาพระองค์ได้ตรัสสอนว่า

นายมาลาการพึงทำพวงดอกไม้ให้มากจากกองดอกไม้แม้ฉันใด

มัจจสัตว์ผู้มีอันจะพึงตายเป็นสภาพควรทำกุศลไว้ให้มากฉันนั้น

ประเพณีวัฒนธรรม

เมืองสาเกตมีงานประจำปีทุกๆปีจะมีชายหนุ่มหญิงสาวได้พบปะเจอะเจอกันการไม่วิ่งเดินไปปกติธรรมดาเป็นความงามของหญิงการที่นางวิสาชาได้รับโอวาทว่าไฟในอย่านำออกไฟนอกอย่านำเข้าเป็นต้นเป็นประเพณีของหญิงสาวที่จะไปสู่ตระกูลสามีการฉลองวิหารเป็นประเพณีแสดงความสำเร็จ

คติธรรม

การทำบุญของนางวิสาขาเป็นความไม่ประมาทในชีวิตถึงแม้ว่าชีวิตนั้นจะร่ำรวยมีเงินทองมากมายก็ตามสัตว์เกิดมาแล้วควรทำกุศลให้มากอันจะเป็นผลดีแก่ตนเอง

การปกครอง

การปกครองในสมัยนั้นพระราชามีอำนาจจะเห็นได้จากที่พระเจ้าโกศลเชิญเศรษฐีจากแคว้นของพระเจ้าพิมพิสารมาอยู่ที่แคว้นของตนฯ

. เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ

สารัตถะในเรื่อง

พระอานนทเถระมีความสงสัยว่ากลิ่นที่ทวนลมและตามลมมีหรือไม่หนอท่านก็ไปทูลถามปัญหาพระศาสดาก็ตรัสว่าบุคคลใดก็ตามถ้าเข้าถึงพระรัตนตรัยมีศีลคนนั้นก็จะได้รับการยกย่องสรรเสริญเกียรติคุณของเขาย่อมขจรไปทั้งทวนลมและตามลมและได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า

กลิ่นดอกไม้ฟุ้งไปทวนลมไม่ได้กลิ่นจันทร์หรือกลิ่นกฤษณา

และกะลำพักก็ฟุ้งไปไม่ได้แต่กลิ่นของสัตบุรุษฟุ้งไปทวน

ลมได้เพราะสัตบุรุษย่อมฟุ้งขจรไปตลอดทุกทิศกลิ่นจันทร์

และกลิ่นดอกไม้อื่นก็ดีกลิ่นศีลเป็นเยี่ยมกว่ากลิ่นคันธชาติ

ทั้งหลายนั่น

ประเพณีวัฒนธรรม

ท่านพระอานนท์เถระท่านมีเรื่องอะไรที่สงสัยท่านก็จะไปทูลถามพระศาสดาโดยไม่เก็บปัญหานั้นไว้ทำให้พระศาสดาได้ทรงแสดงธรรม  นี้ก็เป็นประเพณีของท่าน

คติธรรม

การมีศีลมีธรรมะอยู่ในหัวใจทำให้ชื่อเสียงนั้นขจรไปไกลยิ่งกว่าอะไรในโลกฯ

คำสำคัญ (Tags): #คติธรรม
หมายเลขบันทึก: 512552เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2012 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ธันวาคม 2012 16:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 

๑๐. เรื่องถวายบิณฑบาตแก่พระมหากัสสปเถระ

สารัตถะในเรื่อง

พระเถระออกจากนิโรธสมาบัตินางอัปสรมาทำบุญกับท่านถูกห้ามไม่ให้ทำบุญท่านอยากจะโปรดคนยากคนจน  ท้าวสักกะรู้เรื่องนั้นก็แปลงกายมาเป็นคนยากจนมาทำบุญกับท่านท่านยังไม่ได้พิจารณาคิดว่าเป็นคนจนจริงๆพอท่านทราบความจริงก็ติเตียนท้าวสักกะว่ามาปล้นคนยากจนท้าวสักกะก็บอกว่าตัวเองนั้นเป็นคนยากจนเหมือนกันเพราะเทียบกับเทวดาเหล่าอื่นแล้วตัวเองมีรัศมีน้อยกว่าพระเถระก็บอกท่านว่าต่อไปอย่าทำอย่างนี้อีกก่อนจะกลับท้าวสักกะก็ได้สรรเสริญทานที่ได้ถวายพระเถระ  พระศาสดาได้สดับเสียงนั้นจึงเรียกภิกษุทั้งหลายมาแสดงธรรมเปล่งอุทานว่า    เทวดาและมนุษย์ย่อมพอใจแก่ภิกษุผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร

  ผู้เลี้ยงตัวเองมิใช่เลี้ยงผู้อื่นผู้มั่นคงผู้เข้าไปสงบแล้วมีสติทุกเมื่อ

และตรัสพระคาถาว่า

  กลิ่นนี้คือกลิ่นกะลำพักและกลิ่นจันทร์เป็นกลิ่นเพียงเล็กน้อย

  ส่วนกลิ่นของผู้มีศีลทั้งหลายเป็นกลิ่นชั้นสูงย่อมหอมฟุ้งไปใน

  เทพเจ้าและเหล่ามนุษย์

ประเพณีวัฒนธรรม

พระเถระท่านออกจากนิโรธสมบัติท่านจะโปรดคนยากจนก่อนนี้ก็เป็นประเพณีของท่านที่ออกจากนิโรธสมาบัติ

คติธรรม

คนมีศีลย่อมเป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายใครๆก็อยากจะทำบุญด้วยแม้แต่เทวดาก็ยังอยากทำบุญกับท่านเพราะบุญนั้นมีอานิสงส์มากฯ

๑๑. เรื่องปรินิพพานของพระโคธิกเถระ

สารัตถะในเรื่อง

ท่านเป็นผู้ไม่มาทมีความเพียรท่านได้ฌานและก็เสื่อมจากฌานเพราะท่านมีโรคประจำตัวที่เรื้อรังท่านคิดว่าการเสื่อมจากฌานบ่อยๆมีคติไม่แน่นอนจะฆ่าตัวตายจึงนำศราตรามามารรู้เรื่องนั้นว่าท่านจะเจริญวิปัสสนาไปด้วยจะพ้นจากอำนาจของตนจะห้ามเองกลัวท่านจะไม่ฟังก็กราบทูลให้พระศาสดาทรงห้าม  พระองค์ทรงทราบว่าเป็นมารจึงตรัสพระคาถาว่า

  ปราชญ์ทั้งหลายย่อมทำอย่างนั้นแลย่อมไม่จำนงชีวิต

  โคธิกะถอนตัณหาขึ้นพร้อมทั้งรากปรินิพพานแล้ว

ต่อมามารได้แสวงหาวิญญาณของท่านแต่ไม่พบเพราะท่านปรินิพพานไปแล้วพระองค์ทรงทราบเรื่องนั้นจึงตรัสพระคาถาอีกว่า

  มารย่อมไม่ประสบทางของท่านผู้มีศีลถึงพร้อมแล้ว

  มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท  พ้นวิเศษแล้ว

เพราะรู้ชอบเหล่านั้น

คติธรรม

การฆ่ากิเลสถือว่าเป็นประเพณีของพระอริยเจ้า

๑๒. เรื่องครหทินน์

สารัตถะในเรื่อง

สิริคุตต์และครหทินน์เป็นเพื่อนกันแต่นับถือศาสนาต่างกัน  ครหทินน์นับถือพวกนิครนถ์ส่วนสิริคุตต์เป็นอุบาสกวันหนึ่งครหทินน์ชักช่วนสิริคุตต์ให้มานับถือเหมือนกับตนท่านสิริคุตต์ถูกเพื่อนชวยบ่อยๆก็เกรงใจเพื่อนก็เลยทำตามที่เพื่อนบอกวันหนึ่งได้จัดเลี้ยงอาหารถวายพวกนิครนถ์และก็ได้พิสูจน์ว่าท่านเหล่านี้ไม่เป็นอรหันต์จริงตามคำบอกเล่าของเพื่อนและได้แกล้งพวกนิครนถ์จนได้รับบาดเจ็บไปหลายท่านพอครหทินน์มาเห็นเข้าก็โกรธนำเรื่องแจ้งต่อพระราชาให้ลงโทษพระราชาก็ตัดสินว่าสิริคุตต์ไม่ผิดต่อมาสิริคุตต์ชักชวนให้มาเฝ้าพระศาสดาฟังธรรมของพระองค์บ้างครหทินน์ได้โอกาสแก้แค้นก็รับปากนิมนต์พระศาสดามาที่บ้านพระศาสดาได้ทรงทำปาฏิหารย์ต่างๆและได้ตรัสพระคาถาว่า

  ดอกบัวมีกลิ่นดีพึงเกิดในกองหยากเยื่ออันบุคคลทิ้งแล้วใกล้ทางใหญ่

  ดอกบัวนั้นพึงเป็นที่ชอบใจฉันใดสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมือ

  ปุถุชนเป็นดังกองหยากเยื่อเกิดแล้วย่อมไพโรจน์ล่วงซึ่งปุถุชนผู้มืด

  ทั้งหลายด้วยปัญญาฉันนั้น

ท่านทั้ง๒พอได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้วก็ได้เป็นโสดาบันฯ

ประเพณีวัฒนธรรม

การชักชวนเพื่อนให้เลื่อมใสในสิ่งที่ตนเลื่อมใสการได้ทำบุญในโอกาสต่างๆการฟังธรรมถือเป็นประเพณี

คติธรรม

คนไม่มีปัญญาย่อมไม่เห็นคุณค่าของพระพุทธศาสนา

การปกครอง

เมื่อมีเรื่องเกิดขึ้นระหว่างคู่กรณีศาลก็คือพระราชาจะต้องไปฟ้องพระราชาให้พระองค์ตัดสินหน้าที่ของพระราชานั้นมีอำนาจบริหารควบคุมทุกอย่างฯ

พาลวรรควรรณนา

. เรื่องบุรุษคนใดคนหนึ่ง

สารัตถะในเรื่อง

พระราชาพระนามว่าปเสนทิโกศลเสด็จไปทรงกระทำประทักษิณพระนครเกิดความสิเนหาในหญิงคนหนึ่งที่มีสามีแล้วพระองค์อยากได้หญิงนั้นมาครอบครองจึงออกอุบายให้สามีของหญิงนั้นไปหาดินสีอรุณเป็นต้นมาถวายถ้าไม่ได้จะต้องถูกลงโทษตกกลางคืนพระองค์ทรงพระบรรทมไม่หลับได้สดับเสียงเปตรผู้กล่าวอักษรว่าทุสนโส  รุ่งเช้าพระองค์ก็ไปปรึกษาปุโรหิตปุโรหิตก็กราบทูลว่าจะเกิดเหตุร้ายต่อราชสมบัติจะต้องจัดพิธีบูชายัญจึงจะพ้นได้พระนางมัลลิกาเสด็จมาห้ามไม่ให้ทำการบูชายัญกราบทูลพระราชาให้ไปทูลถามพระศาสดาพระศาสดาก็ตรัสตามความเป็นจริงว่าเป็นเสียงของเปตรไม่มีอันตรายต่อพระองค์เลยแล้วทรงแสดงธรรมสั่งสอนด้วยพระคาถาว่า

  ราตรีของคนตื่นยาว  โยชน์ของคนล้าแล้วไกล

  สงสารของคนพาลทั้งหลายผู้ไม่รู้อยู่ซึ่งสัทธรรมย่อมยาว

ประเพณีวัฒนธรรม

พระราชาได้ครองราชแล้วเมื่อถึงวันมหรสพก็จะทรงช้างเผือกทำประทักษิณพระนครตามประเพณีและเมื่อประสบเหตุร้ายก็จะทำพิธีบูชายัญเพื่อจะไม่ให้เหตุร้ายมาสู่ตน

คติธรรม

การปรึกษากับคนพาลย่อมทำตัวเองและคนอื่นให้เดือดร้อนการปรึกษากับบัณฑิตทำตนเองและคนอื่นให้พ้นภัย

การปกครอง

พระราชทรงปกครองด้วยเทวสิทธิ์มีอำนาจเหนือประชาชนจะเห็นได้จากการที่สั่งให้บุรุษทำตามอุบายของตนและจับประชาชนหญิงชายและสัตว์อย่างละร้อยๆมาบูชายัญ

. เรื่องสัทธิวิหาริกของพระมหากัสสปเถระ

สารัตถะในเรื่อง

พระมหากัสสปเถระมีลูกศิษย์อยู่๒รูปรูปหนึ่งขยันอีกรูปเกียจคร้านมักอ้างความดีของรูปที่ขยันมาเป็นของตนวันหนึ่งพระเถระจับความเลวทรามของศิษย์รูปนั้นได้ภิกษุนั้นโกรธท่านเมื่อท่านไม่อยู่ก็ทำลายสิ่งของจุดไฟเผากุฏิท่านมรณภาพไปเกิดในอเวจีมหานรกพระศาสดาได้ทราบเรื่องนั้นกับภิกษุรูปหนึ่งจึงเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่าภิกษุนั้นไม่ได้โกรธพระเถระแต่ชาตินี้เท่านั้นแม้ในชาติก่อนก็เคยโกรธเหมือนกันจึงได้นำอดีตนิทานมาเล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟังแล้วตรัสพระธรรมเทศนาสั่งสอนด้วยพระคาถาว่า

  ถ้าบุคคลเมื่อเที่ยวไปไม่พึงประสบสหายผู้ประเสริฐกว่า

  ผู้เช่นกับ (ด้วยคุณ) ของตนไซร้พึงทำความเที่ยวไปคนเดียวให้มั่น

  เพราะคุณเครื่องความเป็นสหายย่อมไม่มีในเพราะคนพาล

ประเพณีวัฒนธรรม

การที่ลูกศิษย์มีความเคารพอาจารย์คอยอุปัฏฐากเป็นประเพณีและการตรัสถามความสุขทุกข์ต่อพระภิกษุเป็นประเพณี

คติธรรม

ถ้ามีเพื่อนไม่ดีอยู่คนเดียวดีกว่า

. เรื่องอานนท์เศรษฐี

สารัตถะในเรื่อง

ท่านเป็นคนร่ำรวยเงินทองแต่ตระหนี่และยังสั่งสอนให้บุตรตระหนี่อีกด้วยต่อมาท่านตายไปเกิดในตระกูลจัณฑาลทำให้ตระกูลนั้นพลอยลำบากไปด้วยเมื่อโตขึ้นมารดาก็ปล่อยให้ไปขอทานวันหนึ่งเดินผ่านบ้านหลังหนึ่งจำได้ว่าเป็นบ้านของตนในชาติก่อนเข้าไปถูกคนในบ้านไล่ออกมาพระศาสดากับพระอานนท์ทรงเดินผ่านเห็นพระองค์ก็ตรัสให้พระอานนท์ไปเรียกลูกเศรษฐีนั้นมาตรัสบอกว่าเด็กนี้เป็นบิดาของท่านและก็ตรัสให้เด็กนั้นบอกขุมทรัพย์ใหญ่๕แห่งแก่บุตรของตนและพระองค์ก็ได้ตรัสธรรมเทศนาสั่งสอนว่า

คนพาลย่อมเดือดร้อนว่าบุตรทั้งหลายของเรามีอยู่

ทรัพย์ของเรามีอยู่ตนแลย่อมไม่มีแก่ตนบุตรทั้งหลาย

จักมีแต่ที่ไหนทรัพย์จักมีแต่ที่ไหน

ประเพณีวัฒนธรรม

มหาเศรษฐีจะให้พวกญาติๆประชุมกันทุกกึ่งเดือนและกล่าวสอนบุตรให้เป็นคนตระหนี่หาทรัพย์มาเพิ่มให้มากๆ

คติธรรม

คนมีทรัพย์ถ้าไม่ทำประโยชน์อะไรแล้วก็เหมือนกับไม่มีทรัพย์และทรัพย์นั้นก็เป็นอาวุธร้ายที่จะทำลายตนในทีหลังหากใช้ผิดทาง

. เรื่องโจรผู้ทำลายปม

สารัตถะในเรื่อง

มีโจร๒คนไปฟังธรรมด้วยกันคนหนึ่งตั้งใจฟังธรรมได้เป็นพระโสดาบันอีกคนจ้องดูทรัพย์คนอื่นและได้ขโมยทรัพย์เขามาและได้เย้อหยันโจรผู้โสดาบันว่าทำเป็นคนฉลาดเกินไปทั้งที่อาหารในเรือนยังไม่มีจะกินโจรผู้โสดาบันได้ฟังคำของสหายพูดขึ้นก็ได้ไปเฝ้าพระศาสดากราบทูลเรื่องนั้นแล้วพระองค์ก็ตรัสพระธรรมเทศนาสั่งสอนด้วยพระคาถาว่า

  บุคคลใดโง่ย่อมสำคัญความที่แห่งตนโง่บุคคลนั้นจะเป็นบัณฑิต

เพราะเหตุนั้นได้บ้างส่วนบุคคลใดเป็นคนโง่มีความสำคัญว่าตน

ตนเป็นบัณฑิตบุคคลนั้นแลเราเรียกว่าคนโง่

ประเพณีวัฒนธรรม

การแสดงธรรมและผู้คนไปฟังธรรมไม่จำกัดชนชั้นวรรณะอาชีพถือว่าเป็นประเพณี

คติธรรม

โง่แล้วอวดฉลาดความผิดพลาดมีมาก

. เรื่องพระอุทายีเถระ

สารัตถะในเรื่อง

พระอุทายีท่านชอบไปนั่งเล่นบนธรรมมาสน์วันหนึ่งพระอาคันตุกะผ่านมาเห็นคิดว่าพระเถระผู้ใหญ่จึงเข้าไปถามถึงห้วข้อธรรมปรากฏว่าท่านตอบไม่ได้ถูกพระอาคันตุกะติเตียนว่าอยู่ใกล้พระพุทธเจ้าเสียเปล่าจึงไปกราบทูลเรื่องนั้นต่อพระศาสดาพระองค์ได้แสดงธรรมเทศนาสั่งสอนด้วยพระคาถาว่า

  ถ้าคนพาลเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตอยู่แม้จนตลอดชีวิต

เขาย่อมไม่รู้ธรรมเหมือนทัพพีไม่รู่รสแกงฉะนั้น

ประเพณีวัฒนธรรม

การเข้าไปหาพระเถระแล้วสนทนาธรรมกับท่านถือว่าเป็นประเพณีของพระอาคันตุกะ

คติธรรม

ไม่ควรกระทำในสิ่งที่ตนไม่มีความสามารถ

. เรื่องภิกษุชาวปาฐา

สารัตถะในเรื่อง

ภิกษุชาวเมืองปาฐา๓๐รูปสมาทานธุดงค์๑๓ต่อมาได้ฟังอนมัคคตธรรมเทศนาได้บรรลุพระอรหันต์ภิกษุทั้งหลายสนทนากันว่าภิกษุเหล่านี้รู้แจ้งธรรมเร็วจริงๆพระศาสดาเสด็จมาตรัสว่าไม่ใช่แต่ชาตินี้แม้ชาติก่อนท่านก็รู้ธรรมเร็วและได้นำตุณฑิลชาดกมาตรัสเล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟังแล้วแสดงธรรมเทศนาสั่งสอนด้วยพระคาถาว่า

  ถ้าวิญญูชนเข้าไปใกล้บัณฑิตแม้ครู่เดียวเขาย่อม

รู้แจ้งธรรมได้ฉับพลันเหมือนลิ้นรู้รสแกงฉะนั้น

ประเพณีวัฒนธรรม

การสมาทานธุดงค์แล้วนำไปประพฤติปฏิบัติเป็นประเพณีของผู้มักน้อยสันโดษ

คติธรรม

ผู้ฉลาดย่อมเรียนรู้อะไรๆได้เร็วกว่าคนไม่ฉลาด

. เรื่องสุปปพุทธกุฏฐะ

สารัตถะในเรื่อง

ท่านได้บรรลุเป็นพระโสดาบันจะไปกราบทูลคุณที่ตนได้บรรลุต่อพระศาสดาท้าวสักกะได้เสด็จลงมาทดลองท่านให้ท่านกล่าวว่าพระพระรัตนตรัยไม่ใช่พระรัตนตรัยและตรัสกับท่านว่าเป็นคนจนเป็นคนขัดสนท่านไดกล่าวโต้ตอบท้าวสักกะว่าท่านไม่ได้เป็นคนจนไม่ได้เป็นคนขัดสนท่านมีอริยทรัพย์๗มีศรัทธาเป็นต้นเมื่อมาถึงสำนักของพระศาสดาก็กราบทูลเรื่องนั้นต่อพระศาสดาแล้วก็หลีกไปต่อมาท่านก็ถูกแม่โคขวิดเสียชีวิต  ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระศาสดาและก็ทูลถามบุพกรรมของท่านว่าทำไมจึงเป็นคนโรคเรื้อนและได้บรรลุธรรมพระองค์ก็ได้นำอดีตนิทานมาตรัสเล่าให้ภิกษุทั้งหายฟัง

ทรงแสดงพระธรรมเทศนาสั่งสอนด้วยพระคาถาว่า

  ชนพาลทั้งหลายมีปัญญาทรามมีตนเป็นดังข้าศึก

    เที่ยวทำกรรมอันลามกซึ่งมีผลเผ็ดร้อนอยู่

ประเพณีวัฒนธรรม

การเข้าไปกราบทูลเรื่องราวที่ตนได้ประสบพนที่ตนได้บรรลุต่อพระศาสดาเป็นประเพณีของบัณฑิต

คติธรรม

การที่จะให้คนดีคนที่เข้าถึงธรรมทำความชั่วนับว่ายาก

๘. เรื่องชาวนา

สารัตถะในเรื่อง

พระศาสดาทรงเล็งเห็นอุปนิสัยของชาวนาจึงได้เสด็จไปตรงที่ชาวนาไถนาทอดพระเนตรเห็นทรัพย์ที่โจรไปลักมาแล้วทำตกถุงหนึ่งตรัสกับพระอานนท์ว่านั่นเป็นอสรพิษร้ายชาวนาได้ยินเข้าก็เดินมาดูเห็นเป็นทรัพย์ก็เอาดินกลบไว้แล้วก็ไถนาต่อเจ้าของทรัพย์ตามมาเห็นเข้าก็คิดว่าชาวนานี้แหละเป็นโจรจึงจับไปฟ้องพระราชาให้ประหารชีวิตชาวนาก็อ้างคำพระศาสดาที่ตรัสกับพระอานนท์พระราชาได้สดับแล้วก็พาชาวนานั้นไปหาพระศาสดาทูลถามเรื่องนั้นพระองค์ก็ตรัสว่าได้เสด็จไปที่นั้นจริงแล้วก็ได้แสดงธรรมเทศนาโปรดด้วยพระคาถาว่า

  บุคคลทำกรรมใดแล้วย่อมเดือดร้อนในภายหลัง

  เป็นผู้มีหน้าชุ่มด้วยน้ำตาร้องไห้เสวยผลของกรรมใดอยู่

  กรรมนั้นอันบุคคลกระทำแล้วไม่ดีเลย

ประเพณีวัฒนธรรม

การทำนาถือได้ว่าเป็นอาชีพที่เก่าแก่อาชีพหนึ่งจึงเป็นวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้

คติธรรม

สิ่งใดที่ทำลงไปแล้วทำให้โสกเศร้าเสียใจสิ่งนี้ไม่ควรกระทำอีก

การปกครอง

พระราชานอกจากจะเป็นผู้ปกครองประเทศแล้วพระองค์ยังทรงเป็นผู้ตัดสินคดีอีกด้วย

. เรื่องนายสุมนมาลาการ

สารัตถะในเรื่อง

นายสุมนมาลาการได้สละชีวิตแก่พระศาสดาโดยการเอาดอกไม้ที่เป็นเครื่องประดับของพระราชามาบูชาพระศาสดาภรรยาของเขาทราบเรื่องนั้นก็ติเตียนเขาแล้วไปเฝ้าพระราชาว่าให้ลงโทษแต่เขาเพียงผู้เดียวตนเองไม่เกี่ยวพระราชาทรงทำเป็นกริ้วต่อมาก็ได้ทรงพระราชทานสิ่งของอย่างละ๘อย่างให้นายสุมนมาลาการแล้วพระองค์ก็พาไปเฝ้าพระศาสดาพระองค์ก็ทรงสรรเสริญนายสุมนมาลาการทรงพยากรณ์ว่าด้วยอานิสงส์นี้ในอนาคตเขาจะได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าสุมนะแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายที่นั่งสนทนากันถึงเรื่องนี้มาแล้วทรงแสดงธรรมเทศนาด้วยพระคาถาว่า

บุคคลทำกรรมใดแล้วย่อมไม่เดือดร้อนในภายหลัง

เป็นผู้เอิบอิ่มมีใจดีย่อมเสวยผลของกรรมใด

กรรมนั้นแลอันบุคคลทำแล้วเป็นกรรมดี

ประเพณีวัฒนธรรม

การจัดดอกไม้ไปถวายพระราชาเป็นประเพณีอย่างหนึ่งที่ถือปฏิบัติในครั้งนั้นและถ้าใครที่เขามอบหน้าที่ให้ทำแล้วกลับไม่ทำถือว่ามีโทษหนัก

คติธรรม

  สิ่งใดที่มีประโยชน์มากแก่ตนเองและผู้อื่นแม้จะยากลำบากสักเพียงใดก็ควรกระทำเพราะสิ่งนั้นมีผลคือความสุข

การปกครอง

พระราชาทรงลงโทษใครก็ได้ที่มีความผิดเพราะพระองค์เป็นสมมติเทพมีอำนาจเหนือประชาชน

 

๑๐. เรื่องพระอุบลวรรณาเถรี

สารัตถะในเรื่อง

บิดาของท่านไม่อยากให้ท่านแต่งก็เลยให้ท่านมาบวชเป็นภิกษุณีไม่นานนักท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ท่านถูกนันทมานพซึ่งเป็นญาติของท่านข่มขืนแต่หนีไม่พ้นกรรมชั่วถูกแผ่นดินสูบไปเกิดในอเวจีมหานรก  ท่านก็แจ้งให้ภิกษุณีทราบว่าถูกข่มขืนภิกษุณีก็แจ้งให้ภิกษุทราบภิกษุทั้งหลายก็กราบทูลพระศาสดาพระองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาสั่งสอนด้วยพระคาถาว่า

  คนพาลย่อมสำคัญบาปประดุจน้ำผึ้งตราบเท่า

  ที่บาปยังไม่ให้ผลก็เมื่อใดบาปให้ผลเมื่อนั้น

คนพาลย่อมประสบทุกข์

  ต่อมามหาชนได้สนทนากันว่าพระอรหันต์ยังยินดีในกามอยู่หรือพระศาสดาทรงเสด็จมาตรัสพระธรรมเทศนาสั่งสอนด้วยพระคาถานี้ว่า

  เรากล่าวบุคคลผู้ไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย

เหมือนน้ำไม่ติดอยู่ในใบบัวเหมือนเมล็ดพันธ์

ผักกาดไม่ติดอยู่ที่ปลายเหล็กแหลมว่าเป็นพราหมณ์

ประเพณีวัฒนธรรม

การแต่งงานมารดาบิดาเท่านั้นอนุญาตจึงจะแต่งงานได้ไม่ได้อนุญาตก็ไม่สามารถแต่งงานได้

คติธรรม

คนชั่วเห็นกรรมชั่วเป็นเป็นสิ่งที่ดีเมื่อใดกรรมชั่วนั้นให้ผลเขาย่อมประสบทุกข์อย่างแสนสาหัส

๑๑. เรื่องชัมพุกาชีวก

สารัตถะในเรื่อง

ในอดีตชาติท่านได้ด่าพระอรหันต์จึงทำท่านเกิดมาผิดปรกติคือไม่ปรารถนานอนบนเตียงไม่รับบริโภคภัตเคี้ยวกันแต่อุจจาระของตนและของผู้อื่นพระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยของท่านจึงได้เสด็จมาโปรดท่านก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์มหาชนได้ถือเครื่องสักการะหวังจะมาถวายท่านแต่เห็นพระศาสดาประทับอยู่ท่านก็บอกว่าท่านเป็นสาวกของพระศาสดาพระศาสดาจึงแสดงธรรมเทศนาโปรดมหาชนด้วยพระคาถานี้ว่า

  คนพาลพึงบริโภคโภชนะด้วยปลายหญ้าคา

  ทุกเดือน  เขาย่อมไม่ถึงเสี่ยวที่๑๖แห่งท่าน

  ผู้มีธรรมอันนับได้แล้ว

ประเพณีวัฒนธรรม

มหาชนเมื่อเห็นคนที่ทำตัวผิดแปลกจากบุคคลอื่นก็จะมีความศรัทธาโดยคิดว่าคนนั้นเป็นพระอรหันต์และจะนำเครื่องสักการะไปถวายโดยหวังสิ่งตอบแทนคือความสุข

คติธรรม

คนพาลถึงจะพยายามทำทุกสิ่งทุกอย่างให้เสมอกับบัณฑิตแต่เขาไม่รู้ว่าเขายิ่งทำยิ่งหากจากบัณฑิต

๑๒. เรื่องอหิเปรต

สารัตถะในเรื่อง

พระโมคคัลลานเถระและพระลักขณเถระลงจากภูขาคิชฌกูฏเพื่องไปบิณบาตท่านพระโมคคัลลานเถระได้เห็นอหิเปตรมีศีรษะเหมือนคนแต่มีร่างกายเหมือนงูจึงทำการยิ้มท่านพระลักขณเถระเห็นอาการยิ้มจึงถามท่านท่านตอบว่าตอนนี้ไม่ใช่เวลาถามต่อมาท่านทั้งสองก็ไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากราบทูลเรื่องนั้นพระองค์รับรองว่าท่านพระโมคคัลลานเถระได้เห็นเปรตจริงภิกษุทั้งหลายทูลถามถึงบุรพกรรมของเปรตนั้นพระองค์ก็ตรัสว่าเปรตนั้นได้จุดไฟเผากุฏิของพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วยผลกรรมนั้นจึงมาเกิดเป็นอหิเปรตแล้วก็ได้แสดงธรรมเทศนาโปรดด้วยพระคาถานี้ว่า

ก็กรรมชั่วอันบุคคลทำแล้วยังไม่ให้ผลเหมือน

น้ำนมที่รีดในขณะนั้นยังไม่แปรไปฉะนั้น

บาปกรรมย่อมตามเผาคนพาลเหมือนไฟอันเถ้า

กลบไว้ฉะนั้น

คติธรรม

คนทำกรรมชั่วเมื่อความชั่วยังไม่ให้ผลก็ยังยินดีร่าเริงวันใดกรรมชั่วให้ผลวันนั้นเขาย่อมโศกเศร้าเสียใจย่อมบ่นเพ้อว่าไม่น่าทำสิ่งนั้นลงไปเลยเมื่อคิดได้อย่างนี้ก็สายไปแล้วเขาย่อมก้มหน้ารับกรรมนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

๑๓. เรื่องสัฏฐิกูฏเปรต

สารัตถะในเรื่อง

พระโมคคัลลานเถระได้เห็นสิฏฐิกูฏเปรตมีลำตัวยาวมีค้อนเหล็ก๖หมื่นติดไฟทำลายศีรษะของเปรตนั้นศีรษะนั้นแตกแล้วก็ตั้งขึ้นอีกแล้วเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพระองค์รับรองว่าเปรตมีจริงภิกษุทั้งหลายก็ทูลถามถึงบุรพกรรมพระองค์ก็ตรัสว่าเปรตนี้ตอนเป็นมนุษย์เคยทดรองศิลปะด้วยการดีดก้อนกรวดใส่พระปัจเจกพุทธเจ้าจนทำให้ท่านปรินิพพานด้วยเศษกรรมนั้นจึงมาเกิดเป็นเปรตแล้วพระองค์ก็ทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดด้วยพระคาถานี้ว่า

ความรู้ย่อมเกิดแก่คนพาลเพียงเพื่อความฉิบหาย

เท่านั้นความรู้นั้นยังความคิดของเขาให้ตกไป

ย่อมฆ่าส่วนสุกกธรรมของคนพาลเสีย

คติธรรม

คนมีความรู้ต้องมีคุณธรรมคนมีความรู้ถ้าขาดคุณธรรมอันตรายสุดๆ

๑๔. เรื่องพระสุธรรมเถระ

สารัตถะในเรื่อง

ท่านได้ด่าจิตตคฤหบดีต่อมาถูกสงฆ์ลงปฏิสาณียกรรมพระพุทธเจ้าตรัสสอนท่านว่าสมณะไม่ควรทำมานะและริษยาท่านสำนึกผิดได้ไปขอโทษท่านจิตตคฤหบดีต่อมาท่านจิตตคฤหบดีก็ได้ถวายทานอย่างยิ่งใหญ่ถวายเท่าไรก็ไม่หมดเพราะเทวดาคอยช่วยเหลือท่านพระพุทธเจ้าก็ตรัสพระคาถานี้ว่า

ผู้มีศรัทธาสมบูรณ์ด้วยศีลเพียบพร้อมด้วยยศ

และโภคะย่อมคบประเทศใดย่อมเป็นผู้อัน

เขาบูชาแล้วในประเทศนั้นทีเดียว

คติธรรม

คนมีศีลมีศรัทธาไปที่ไหนคนก็รักคนก็ช่วยเหลือ

๑๕. พระวนวาสีติสสเถระ

สารัตถะในเรื่อง

ท่านเคยเกิดเป็นพราหมณ์ยากจนได้ทำบุญกับท่านพระสารีบุตรเถระต่อมาก็เสียชีวิตไปเกิดที่เมืองสาวัตถีโตขึ้นก็ได้ออกบวชท่านเป็นผู้มีบุญมากไปที่ไหนก็มีแต่คนต้อนรับแม้ท่านจะไปอยู่ป่าก็มีญาติโยมคอยช่วยเหลือต่อมาพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปเยี่ยมท่านและก็ได้ทรงแสดงธรรมโปรดท่านจนท่านได้บรรลุเป็นพระอรหันต์  พวกภิกษุได้สรรเสริญท่านว่าตั้งแต่เกิดมาจนถึงออกบวชไม่เคยลำบากมีลาภสักการะมากมายทิ้งลาภสักการะแล้วออกไปอยู่ป่าเป็นผู้ที่ทำได้โดยยากพระพุทธเจ้าเสด็จมาตรัสพระธรรมเทศนาโปรดภิกษุทั้งหลายด้วยพระคาถานี้ว่า

ก็ข้อปฏิบัติอันเข้าไปอาศัยลาภเป็นอย่างอื่น ข้อปฏิบัติ

อันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน เป็นอย่างอื่น (คนละอย่าง)

ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าทราบเนื้อความนั้น

อย่างนี้แล้ว ไม่พึงเพลิดเพลินสักการ พึงตามเจริญวิเวก ฯ

คติธรรม

คนพาลปฏิบัติธรรมเพื่อแสวงกาลาภสักการะแต่บัณฑิตปฏิบัติธรรมเพื่อแสวงหาทางหลุดพ้นคือพระนิพพานฯ

บทสรุป

ธรรมบทภาค๓มี๒วรรควรรคที่๑พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเปรียบเทียบกับคนเลือกเก็บดอกไม้ถ้าต้องการจัดดอกไม้ให้สวยให้งามก็ต้องเลือกเก็บดอกไม้ที่ดีๆมีสีสันคนเราก็เหมือนกันถ้าต้องการความดีก็ต้องเลือกทำแต่ความดีอย่าทำความชั่ววรรคที่๒พระองค์ทรงแสดงธรรมเปรียบเทียบระหว่างคนพาลกับบัณฑิตว่าคนทั้ง๒นี้ทำอะไรต่างกันคนพาลมักทำแต่กรรมชั่วซึ่งมาตัวเองให้เศร้าหมองส่วนบัณฑิตทำแต่กรรมดีมีประโยชน์ซึ่งทำให้ตนประสบแต่ความสุขฯ

 

บรรณานุกรม

มหามกุฎราชวิทยาลัย.  พระธัมมปทัฎฐากถาแปล  ภาค๓.  กรุงเทพมหานคร:

พิมพ์ที่  โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย,  ๒๕๓๕.

  มหามกุฏราชวิทยาลัย.  พระไตรปิฎก  ฉบับประชาชน. กรุงเทพฯพิมพ์ครั้งที่  ๗/๒๕๒๖

 

  ประวัติผู้รวบรวมเรียบเรียงเขียน

ชื่อสกุล  นายธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท