2012 สัมมนาการค้าอาเซียน – จีน ครั้งที่ 2 เรื่อง “ทิศทางเศรษฐกิจการค้าอาเซียน+จีน 2013”


สวัสดีครับชาว Blog ทุกท่าน

 

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2555 ผมได้รับเกียรติจากสมาคมการค้าอาเซียน เพื่อเข้าร่วมงาน

พิธีเปิดตัวนิตยสารPeopleDaily ภาษาไทย-จีน ฉบับรายเดือนในประเทศไทย

2012 สัมมนาการค้าอาเซียน เรื่อง “ทิศทางเศรษฐกิจอาเซียน

และพิธีมอบรางวัล “ Asean Commerce Award 2012”

 

การรวมตัวทางเศรษฐกิจไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านและในกลุ่มอาเซียนจากรัฐบาลไปสู่ภาคเอกชนคือการเสริมสร้างแลกเปลี่ยนและความร่วมมือที่ลึกซึ้ง. ประเทศไทยและประเทศจีนเป็นพี่น้องการ  ในช่วงปีนี้ เดือนเมษายน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีและนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับคำเชิญจากรัฐบาลจีนเพื่อเยือนประเทศจีน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยจีนได้แน่นแฟ้นมากขึ้น ส่งเสริมการพัฒนาและความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างสองประเทศ สองฝ่ายได้เน้นย้ำถึงความสัมพันธ์ที่ดีและใกล้ชิดระหว่างกันในทุกระดับ ธันวาคม ปี 2011 รองประธานสวี่ จิ้น ผิง ได้เยือนไทย ได้มีการการเซ็นสัญญาความร่วมมือระหว่างไทย - จีน 6 ประการ รวมถึง โครงการความร่วมมือการสร้างรถไฟความเร็วสูงระหว่างเชียงใหม่ กรุงเทพ โครงการความร่วมมือในการพัฒนาระบบการจัดการทรัพยากรน้ำ และโครงการการพัฒนาพลังงานสีเขียวในชนบทและพลังงานทดแทน ในปี 2011 ถึง 2013 ความร่วมมือด้านวัฒนธรรม  ความร่วมมือในมหาสมุทร ในช่วง ระหว่าง3 ปีทั้งสองประเทศมีสัญญาแลกเปลี่ยนการค้ามูลค่า 7 หมื่นล้านหยวน สะท้อนให้เห็นถึงการค้าไทยจีน แนวโน้มสดใส ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ที่นับวันยิ่งเพิ่มขึ้นตลอด กรกฎาคม 1975 ไทยและจีนได้สร้างความสัมพันธ์ทางการทูต ทั้งสองประเทศเริ่มเปิดประตูแห่งโอกาส ระยะเวลาความสัมพันธ์ทางการทูต 37 ปีที่ผ่านมา การพัฒนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างทั้งสองประเทศเป็นไปอย่างราบรื่นมากที่เรียกว่ารูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระดับทวิภาคีและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ มิถุนายน 2004 ประเทศไทยในประเทศอาเซียนแรกที่ตระหนักถึงสถานะทางเศรษฐกิจของจีน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างการค้าทั้งสองประเทศยิ่งดีขึ้นไปอีก ในปี 2010 ประเทศจีนได้กลายเป็นผู้ส่งออกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นอันดับสองของการนำเข้า และคู่ค้าลำดับที่ 2 เฉพาะสินค้าเกษตรระหว่างทั้งสองประเทศ ปริมาณการค้าถึง 3,680,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อปีของ 21.5% ในต้นปี 2012 ช่วงเดือนมกราคม  ปริมาณการค้าระหว่างไทยและจีนเพิ่มขึ้นจาก 63.4% ปัจจุบันประเทศไทยได้กลายเป็นหนึ่งในประเทศที่นักธุรกิจจีนสนใจอยากลงทุนที่สุด เพื่อตอบสนองกลยุทธ์การพัฒนา “เดินออกไป” ของรัฐบาลจีน ส่งเสริมการพัฒนาของความร่วมมือเป็นประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศในด้านต่างๆเช่นเศรษฐกิจการค้าการเงิน, วัฒนธรรม, การท่องเที่ยว, การศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านสุขภาพ.

ไทย ลาว เวียดนาม พม่า  กัมพูชาได้ส่งเสริมความร่วมมือและพัฒนาด้านอาเซียนทำให้ทุกประเทศเปลี่ยนแปลงในด้านเชิงลึก ความร่วมมือในด้านมาเลเซีย สิงคโปร์  อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ก่อให้เกิดโอกาส

การพัฒนาและมีอิทธิพลเป็นอย่างมาก  อาเซียนกับประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่นฯได้มีการขยายความร่วมมือทุกด้านอย่างกว้างขวาง การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การศึกษา การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือบนเวทีระดับภูมิภาคการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง วาระในภูมิภาคในอาเซียนได้กล่าวถึง ด้าน โลจิสติกส์ บริการ บุคลากร การศึกษา  เกษตร อุตสาหกรรม การเงิน ฯลฯ มีความต้องการแลกเปลี่ยนช่องทางทางการค้าเป็นอย่างยิ่งแนวโน้ม  ชนิดของการพัฒนาศักยภาพและโอกาส  ชนิดเขตการค้าเสรีของประชากรที่ใหญ่ที่สุดของโลกกำลังแสดงศักยภาพและวิสัยทัศน์  ภูมิภาคประเทศอาเซียนในครั้งนี้  ได้เชิญผู้มากความสามารถ  ผู้เชี่ยวชาญด้านแบรนด์ เข้าร่วม เพื่อแสดงให้เห็นถึงสุดยอดนักธุรกิจในอาเซียนในเวทีการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือ

 

“2012 สัมมนาการค้าอาเซียน”

 

16.05-16.35 น.  ปาฐกถาพิเศษ
เรื่อง “ การพัฒนาด้านการศึกษาไทย ”
(30 นาที)

โดยท่านดร.จีระ หงส์ลดารมภ์. เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ 

16.35-17.20 น.  เสวนาบนเวที หัวข้อเรื่อง
ทิศทางเศรษฐกิจการค้าอาเซียนจีน”
(45 นาที)

โดยคุณเฉิน ซินเจียน มาเลเซีย
คุณดาวิน หยาง  สิงคโปร์(ด้านอาหาร10 นาที)

คุณประจิตต์  รุ่งเรืองไพฑูรย์ 
ประธานกรรมการนิตยสารการค้าอาเซียน (10 นาที)

ดำเนินรายการโดยคุณธารทิพย์ อมรประภาวัฒน์ รองประธานกรรมการและบรรณาธิการ
อำนวยการนิตยสารการค้าอาเซียน

ปิดการสัมมนาแขกผู้มีเกียรติถ่ายภาพร่วมกัน (5 นาที)

17.20-17.35 น.  ชมวีดีทัศน์และกล่าวรายงานพิธีเปิดตัวสำนักงานหนังสือพิมพ์ยูนนานรายวัน(ประเทศไทย)โดยท่านถัน จื้อเหลียง กรรมการผู้จัดการสำนักงานหนังสือพิมพ์ยูนนานรายวัน มณฑลยูนนาน ประเทศจีน

17.35-17.45 น.  พิธีเปิดตัวสำนักงานหนังสือพิมพ์ยูนนานรายวัน(ประเทศไทย)(10 นาที)

โดย ฯพณฯ กร ทัพพะ รังสี  อดีตรองนายกรัฐมนตรีและนายกสมาคมมิตรภาพไทย-จีน

17.45-18.00 น.  จบพิธีเปิดตัวสำนักงานหนังสือพิมพ์ยูนนานรายวัน(ประเทศไทย)

18.30-22.00  พิธีมอบรางวัล
Asean Commerce Award 2012”


18.30-18.35 น.  กล่าวรายงานพิธีมอบรางวัล “ Asean Commerce Award 2012” (5 นาที)

โดย คุณธารทิพย์ อมรประภาวัฒน์บรรณาธิการอำนวยการนิตยสารการค้าอาเซียน

18.35-18.40 น.    กล่าวแสดงความยินดี(5 นาที)

โดย ฯพณฯ กร ทัพพะ รังสี  อดีตรองนายกรัฐมนตรีและนายกสมาคมมิตรภาพไทย-จีน

18.40-18.45 น.    กล่าวแสดงความยินดี(5 นาที)

โดยท่านดร.จีระ หงส์ลดารมภ์. เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

18.45-22.00 น.  กล่าวแสดงความยินดีและเปิดงานพร้อมมอบรางวัล
“ Asean Commerce Award 2012”

โดยฯพณฯ พลเรือเอกชุมพลปัจจุสานนท์องคมนตรี


- แขกผู้มีเกียรติถ่ายภาพร่วมกัน

- รับประทานอาหารค่ำ (โต๊ะจีน)

- การแสดง

- ปิดงาน



 




 


หมายเลขบันทึก: 512533เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2012 14:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ธันวาคม 2012 11:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

“ทุนมนุษย์และการพัฒนาด้านการศึกษาไทย”โดย

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

อยากให้มีความร่วมมือระหว่างไทย จีนไทยกับอาเซียน
เพิ่อให้มีความร่วมมือกันในด้านการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อให้เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผู้นำจีนใหม่ เป็นผู้นำรุ่นที่ 5 จินผิง ต้องจัดการกับปัญหาหลายอย่าง รวมถึงปการจัดการทุนมนุษย์ด้วย

ประเทศไทย มีปัญหาการส่งออกเพราะฉะนั้นต้องมีการ่วมมือกับประเทศจีนอย่างมาก เรื่องการส่งออกข้าว ตกลงไปอยู่อันดับ3

โดยสรุปอยากจะบอกว่าไทยมีปัญหาเพราะมีประชานิยม เพราะฉะนั้นการเป็นพันธมิตรไทยกับจีน
ทั้งเรื่องรถไฟฟ้าความเร็วสูง เรื่องทุนมนุษย์ พลังงาน ก็เป็นสิ่งที่จำเป็น

การพัฒนาระหว่างประชาชนกับประชาชนประเทศอยู่ไม่ได้หากประชาชนไม่ได้รับประโยชน์ร่วมกัน

ในประเทศไทยต้องเรียนรู้จากจีนว่าจุดอ่อนคืออะไร

ระดับการศึกษาของไทยทุกระดับมีแต่ปริมาณแต่ไม่มีคุณภาพ เพราะฉะนั้นเวลาออกมาทำงานจึงไม่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นปัญหาของไทยถ้าหากได้รับการร่วมมือ จากจีน มาเลเซีย สิงค์โปร์  ก็จะทำให้เพิ่มศักยภาพของคนได้มากขึ้น คือคิดเป็น วิเคราะห์เป็น

 ไทยต้องการการเรียนรู้ตลอดชีวิตกระตุ้นให้เด็กคิด มากกว่าลอก และท่องจำ

ฐานะเป็นเลขาธิการมูลนิธิ มีการเดินทางไปพม่าลาว จีนพยายามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน

การศึกษาในยุคต่อไปต้องมีการร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งเพื่อลดจุดอ่อนของการพัฒนาทุนมนุษย์เราต้องให้ความสำคัญกับเรื่องต่อไปนี้

§  บทบาทของครอบครัว

§  ลดค่านิยมผิดๆ
ของสังคม เช่น วัตถุนิยม

§  สร้างอิทธิพลทางสังคมด้วยคุณค่าของวัฒนธรรมตะวันออก หรือ อาเซียน
เป็นต้น

ในระดับองค์กร..
การพัฒนาทุนมนุษย์ส่วนใหญ่จะต้องเอาชนะอุปสรรคที่สำคัญดังต่อไปนี้

1) CEO
ไม่มีศรัทธาและความเชื่อว่า “คน” คือ “ทรัพย์สิน” ขององค์การ


2) HR
ไม่ได้มองการทำงานแบบมียุทธศาสตร์
ยังเป็น Old – HR

 

3) Non-HR
ไม่เข้าใจความสำคัญของ HR
และไม่ศรัทธาในงานของ HR


สรุปว่าการที่เป็นคนที่สนใจเรื่องทุนมนุษย์จึงมีการพัฒนาแนวคิด ให้คนไทย และต่างประเทศได้ใช้ในองค์กร

ทฤษฎีแรก คือ การเรียนรู้แบบ 4L’s  เน้นที่การเรียนแบบให้ผู้เรียนได้คิด
ให้มีบรรยากาศการเรียนที่สนุก และมีโอกาสปะทะกันทางปัญญา และกลับไปคิดต่อเป็น Learning
Communities


ทฤษฎี 2R’S  คือ Reality และ Relevance

ทฤษฎี 2I’Sคือ การทำให้ผู้เรียนมีแรงบันดาลใจและมีจินตนาการ

ถ้าเราจะสร้างหรือปลูกทุนมนุษย์ คือ8K 


Human Capital

Intellectual

Happiness

Social

Sustainability

Digital

Talented

Ethical

ไม่ได้มีแต่ความรู้เท่านั้นข้อดีของสิงคโปร์ คือไม่มีคอร์รัปชั่น เพราะฉะนั้นมีทุนทางจริยธรรมดีกว่าประเทศไทย

ปัจจุบันต้อง Backto Basic มีคุณธรรม จริยธรรม และต้องมีความรู้

โดยเฉพาะSMEs ในไทย จีน และอาเซียนควรจะเน้นการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันระดับ Basicsที่พร้อมก่อน คือ

Ethical Capital

Intellectual Capital

Sustainable Capital

Happiness Capital

และเมื่อพร้อมแล้ว ต้องเน้น 4 เรื่องใหญ่ คือ

(1)  Knowledge Capital โดยเฉพาะคนไทยรู้จักตลาดและผู้บริโภค  และกฎระเบียบของจีนในทุก ๆ มณฑล และในตลาดการค้าที่สำคัญในอาเซียน

(2)  Creativity Capital คือ การคิดอย่างสร้างสรรค์

(3)  Innovation Capital คือ การพัฒนานวัตกรรมการค้าใหม่ ๆ

(4)  ต้องเน้น Cultural Capital คือ ทุนทางวัฒนธรรม ซึ่งทั้ง 2 ประเทศมีมากมาย

(5)  และสำคัญที่สุด คือ Networking Capital

ข้อดีของหนังสือ People dairy คือ ทำให้รู้จักประเทศจีนมากขึ้น

เมื่อการพัฒนาทุนมนุษย์ของ 2 ประเทศและ ASEAN ดีขึ้นการส่งออกดีขึ้น ASEAN ก็จะขยายขึ้น
และมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจก็จะสูงขึ้นซึ่งทฤษฎีใหม่ของผมเรียกว่า 3
V ประกอบด้วย
Value Added

Value Creation

Value Diversity มีความหลากหลายมากขึ้น ประเด็นนี้คนไทยอ่อนมาก
เนื่องจากคนไทยไม่ชอบไปทำงานต่างประเทศ ประเด็นคือ มีจีน อาเซียน  ไทย ซึ่งทำให้เกิดความหลากหลาย
เมื่อเกิดความหลากหลายแล้ว อย่าให้เกิด
Conflict ต้องให้เกิดเป็น Harmony หรือความสามัคคี



Please click this link to listen to Best Wishes Speech  on behalf of Yunnan Publisher 

by Mr. Tan Zhi Liang, Managing Director of Daily Yunnan Newspaper Office,Yunnan Province, China

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/859/940/original_tanzhiliangbestwishesspeech18122012.WAV?1355835106


เสวนาบนเวที หัวข้อเรื่อง“ทิศทางเศรษฐกิจการค้าอาเซียนจีน”

สรุปปิดท้ายโดย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

·  เสวนาครั้งนี้เป็นการประชุมโต๊ะกลมที่ดี

·  เรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต้องเกิดขึ้นเพราะในอนาคต ประเทศต่างๆต้องจับกลุ่มกัน

·  คุณวิกรม กรมดิษฐ์ยกตัวอย่างให้เห็นว่า เรารวมตัวกันแล้วแต่ยังเล็กอยู่

·  สิ่งแรกต้องเข้าใจว่า ต้องจับกลุ่มกัน จับกลุ่มทางด้านสังคมและวัฒนธรรมต้องใช้เวลา ไปมาหาสู่ รู้จักกัน ใช้ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและสังคมให้เป็นประโยชน์

·  ประชากรแต่ละประเทศมีโครงสร้างต่างกัน ประเทศไทยขาดแรงงานระดับล่าง ต้องขอความร่วมมือจากประเทศพม่าและอินโดนีเซีย

·  อาจมีการแลกเปลี่ยนแพทย์หรือวิศวกรก็ได้ในอนาคต

·  ต้องรู้จักทำงานร่วมกับประเทศอื่นๆ

·  ได้มีการทำ ASEAN Charter และ ASEAN Blueprint แล้ว ต้องนำมาศึกษาและประยุกต์ใช้

·  ต้องมีการแลกเปลี่ยนหน่วยกิตได้ ยกระดับการเรียนการสอนให้ไปในทิศทางเดียวกันจะทำให้เราเก่งขึ้น

·  จุดอ่อนของประเทศไทยคือไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของไทย จึงใช้ภาภาษาไทยมาก ทำให้เสียเปรียบด้านการสื่อสาร ในอนาคตต้องเรียนภาษาจีนเป็นภาษาต่างประเทศอีกภาษา

ช่วงถาม-ตอบ

ถาม ถ้าพวกเราสื่อมวลชนชาวจีนมาทำงานที่อาเซียนจะต้องทำอย่างไร

ตอบ คนไทยยังอ่านภาษาจีนน้อยอยู่ไม่เหมือนคนมาเลเซีย  อาจจะต้องมีการทำการตลาดมากขึ้น อาจจะมีการนำเสนอเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษด้วย

ดูข่าวโครงการได้ในรายการ คิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ตอน หนังสือการค้าอาเซียน ออกอากาศวันที่ 17 ม.ค.56 สนใจซื้อซีดีรายการได้ที่โทรศัพท์ 0-26190512-3

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท