ทุนมนุษย์ ทุนทางนวัตกรรม ทุนทางITC และภาคบริการ


บทความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม 2555 ติดตามย้อนหลังได้ที่ิลิงก์ข้างล่างนี้ครับ
http://www.naewna.com/columnist/1104

ทุนมนุษย์ ทุนทางนวัตกรรม ทุนทางITC และภาคบริการ

ผมเขียนจากเมือง Mysore ประเทศอินเดีย มาร่วมงานประชุม SRII-India ICSEM 2012 3rd International Conference on Services in Emerging Market. เรื่องนวัตกรรม ITC กับภาคบริการใน ASIA มีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นเรื่องทุนมนุษย์บนเวที เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2555

ภาคบริการในประเทศไทยมีความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างยิ่ง เช่น

-  การศึกษา

-  สาธารณสุข

-  ความมั่นคง

-  Logistics

-  การค้า

-  การแพทย์

-  การเกษตร

-  การท่องเที่ยว

ซึ่งจะต้องสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่มในแนว 3Vs Value Added, Value Creation และ Value Diversity ต้องใช้ ITC เข้าไป เพิ่มศักยภาพในการบริหารการบริการ

ผู้จัดเป็นกลุ่มบุคคลที่เก่งเรื่อง IT และสาขาบริการจัดงานประชุมเป็นประจำทุกปีเรียกว่า SRII (service research, innovation institute)

ผมคิดว่าทุนทาง ICT ไว้มีใน 8K’s แล้ว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทุนมนุษย์ เรียกว่า Digital Capital ซึ่งจำเป็นมาก การมาประชุมครั้งนี้ทำให้เห็นว่า ICT กับทุนมนุษย์เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกัน เพราะคุณภาพของทุนมนุษย์ (8K’s, 5K’s) และพฤติกรรมของมนุษย์ จะช่วยภาคบริการให้เกิดความสำเร็จหรือไม่

บนเวทีการอภิปรายมี ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูล กับคุณนันทวัน วงศ์ขจรกิตติ จากกระทรวง ICT และผมจากประเทศไทยช่วยกันอภิปรายให้เห็นว่าประเทศไทยก็มีนโยบาย E-Gov’t ผลักดันให้ภาคราชการก้าวไปข้างหน้าเพื่อรองรับ ASEAN 2015 ให้เชื่อมโยงกับ ASEAN 10 ประเทศได้ ผมเห็นว่าเรื่องทุนมนุษย์กับภาวะผู้นำจะทำให้ E-Gov’t ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง

นอกจากได้เรียนรู้ทางวิชาการแล้ว ได้มาประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่ใหญ่และมีความน่าสนใจต่อคนไทยและเศรษฐกิจไทยอย่างมาก

-  เช่น การท่องเที่ยว คนอินเดียมาเมืองไทยปัจจุบันปีละล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นปีละ 20% ภายใน 3 ปี จะมี 1.6 ล้านคน

-  ขณะที่อยู่ในเครื่องบินได้คุยกับนักธุรกิจของอินเดียว่าเพิ่งกลับจากกระบี่ ไปร่วมงานแต่งงานของลูกชาวอินเดียมาจัดงานแต่งงานที่เมืองไทย มาครั้งละ 400-500 คน เพราะคนอินเดียชอบมาแต่งงานที่เมืองไทย

-  ได้มาที่ Campus ของบริษัท Infosys ซึ่งตั้งอยู่ที่ Mysore เป็นมหาวิทยาลัยขององค์กรธุรกิจ มีนักเรียนมากกว่าหนึ่งหมื่นคน เรียนด้าน IT เพื่อออกไปทำงานให้บริษัท บรรยากาศในบริเวณมหาวิทยาลัยสวยงามมาก ถ้าใครมีโอกาสมาที่ Mysore ผมขอให้แวะมาเยี่ยม นอกจากนั้น Mysore ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามมีพระราชวังเก่าแก่น่าดูหลายแห่ง

อินเดียเก่งเรื่องคณิตศาสตร์และ IT ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีของเยาวชนไทยที่จะเอาเป็นแบบอย่าง

ในที่สุด IT จะเป็นยุทธศาสตร์ของโลก ที่สามารถใช้แก้ปัญหาความยากจนของคนในโลกได้ ซึ่งนักการเมืองไทยต้องให้ความสนใจ มากกว่านโยบายประชานิยม เพราะระบบ IT จะทำให้คนจนพึ่งตนเอง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้รับเกียรติร่วมงานและร่วมเป็นผู้อภิปรายมุมมอง เรื่อง Human Capital and E-Gov’t

ในการประชุม SRII – India Conference 2012 ที่ประเทศอินเดีย (11 ธันวาคม 2555)

ผมมีโอกาสได้แสดงความเห็นบนเวทีเรื่องทุนมนุษย์ โดยเน้นเรื่องคุณธรรมจริยธรรม  ความสุขในการทำงาน การสร้างNetwork เป็นสิ่งที่สำคัญมาก โครงการพัฒนา ITC ไปสู่ความสำเร็จในภาคบริการ นอกจากปลูกทุนมนุษย์แล้วต้องเก็บเกี่ยวให้เกิดมูลค่า โดยเน้นสิ่งที่มองไม่เห็น เช่น การรักในงานมีเกียรติและศักดิศรีในการทำงาน

  เมื่อพื้นฐานดีแล้วก็ต้องก้าวไปข้างหน้า ต้องคิดนอกกรอบ มี Ideas ใหม่ๆ เพิ่มความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ตลอดเวลา เพื่อปรับปรุงโครงการบริการกับประชาชนให้ได้ผลเติมที่

  เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการเพิ่มความคิดด้านสร้างสรรค์จะช่วยในการพัฒนาประเทศแน่นอน การลงทุนเรื่อง ICT และผลิตทุนมนุษย์และภาวะผู้นำควบคู่กับไปเพื่อให้ E-Gov’t มีความสำเร็จทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์ และส่งเสริมนวัตกรรมภาคบริการต่อไป

  กลับมาส่งท้ายเรื่องประเทศไทย

-  ขอให้กำลังใจคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ ในการต่อสู้เรื่องข้อกล่าวหาฆ่าประชาชนของ DSI คนไทยทุกคนต้องสนับสนุนคนดี 

อย่ากลั่นแกล้งทางการเมือง ปล่อยให้ขบวนการยุติธรรมเดินหน้าต่อไป

ประเด็นก็คือ คุณอภิสิทธิ์ และคุณสุเทพ ต้องดูแลความสงบของผู้ชุมนุม ที่สร้างความรุนแรง มีอาวุธ  ซึ่งมีการสูญเสียเกิดขึ้นจากฝ่ายความมั่นคงต้องป้องกันตัวเองมากกว่าเจตนาฆ่าประชาชน

  ประเด็นสุดท้ายผมขอขอบคุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ก่อนที่ผมจะมาอินเดียได้ไปจัด Workshop เรื่อง ราชภัฏนครปฐม กับ ASEAN 2015

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดรมภ์ได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมให้บรรยาย

เรื่อง การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาสู่อาเซียนและการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อทันต่อการเปลี่ยนแปลงยุคใหม่

(11ธันวาคม 2555)

ไม่คาดคิดว่าราชภัฏนครปฐมจะมีความมุ่งมั่นเรื่องการสร้างศักยภาพการศึกษา ASEAN อย่างเป็นรูปธรรม ให้ได้ ข้อสรุปจากการประชุมครั้งนี้ คือ

-  ต้องตั้งสถาบันศึกษาอาเซียน ระดับคณะมีผู้บิหารที่ให้เวลาและทุ่มเท

-  เพิ่มงานวิจัยเป็นหลัก วิจัยเรื่องการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนของครูใน ASEAN

-  วิจัยเรื่องการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับ กัมพูชา มาเลเซีย ซึ่งเป็นปัญหาความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจในอดีต

-  และสุดท้ายจะเน้นการวิจัยทุนทางวัฒนธรรมเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ร่วมกันระหว่างไทยกับพม่า 

ขอบคุณ ดร.พิชญาภา ยืนยาว ซึ่งเคยเป็นลูกศิษย์ ปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ช่วยประสานงานเชิญผมไปร่วมงาน ทำให้เกิดความมุ่งมั่นให้เกิดผลจริง คือไม่ใช่จัดไปวันๆ แล้วเลิก แต่จัดเพื่อสร้างองค์กรให้ทำงานต่อไป

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

[email protected]

www.gotoknow.org/blog/chiraacademy

แฟกซ์0-2273-0181

หมายเลขบันทึก: 512331เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2012 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มกราคม 2013 01:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท