วันเฉลิมพระชนมพรรษาปีนี้ ยิ่งใหญ่ระดับโลก


บทความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม 2555 ติดตามอ่านย้อนหลังได้ที่ลิงก์ข้างนี้ครับ
http://www.naewna.com/columnist/1104

วันเฉลิมพระชนมพรรษาปีนี้ ยิ่งใหญ่ระดับโลก

วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นำความสุขและความปลื้มปีติมาสู่คนไทยเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดความจงรักภักดีและความสามัคคีของคนไทยกับวันที่ 5 มากมายขนาดคุณก่อแก้ว พิกุลทอง ยังไปอ้างศาลว่าขอถอนประกันเพื่อจะมางานเฉลิมฉลองฯและงานสันนิบาต (จริงหรือเปล่า?)

ผมได้ดูข่าวต่างประเทศหลายๆ ช่วง รู้สึกภาคภูมิใจในความพร้อมเพรียงของคนไทยใส่เสื้อเหลืองทั้งแผ่นดินเป็นภาพที่ต่างประเทศไม่เคยเห็น แม้กระทั่งตามศูนย์การค้าที่ผมได้พบได้เห็นยังมีคนไทยใส่เสื้อเหลืองเป็นส่วนใหญ่

ความยิ่งใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของคนไทยในสายตาของคนในโลกน่าจะสร้างความภาคภูมิใจให้คนไทยที่ติดตามให้ได้ทราบถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่านที่ทรงทำให้ประชาชนคนไทยอยู่ดีมีสุขตลอดมาในทุกๆ ด้านตั้งแต่ทรงครองราชย์

พระองค์ท่านเป็นความภาคภูมิใจของพวกเราทุกๆ คน

“ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน”

ปลายปีนี้มีกิจกรรมหลายๆ เรื่อง ที่จะมาแบ่งปันให้ผู้อ่านได้ทราบ

แต่สิ่งแรกที่คนไทยต้องติดตามใกล้ชิดก็คือ เรื่องการแก้รัฐธรรมนูญซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินไปแล้วว่าแก้ทั้งฉบับได้แต่ต้องผ่านวาระ 3 คือ ต้องทำประชามติเสียก่อน การเสนอให้มีการพิจารณาวาระ 3 เพื่อให้คนไทยลืมคำตัดสินของศาลนั้น
ไม่ใช่ความเหมาะสม

รองนายกฯเฉลิมยังออกมาแสดงความเห็นตรงข้ามกับพรรคเพื่อไทยและถ้าจะดันทุรังที่จะผ่านวาระ 3 จริงๆ ก็จะมีผู้ยื่นศาลให้ตีความอีกครั้ง จะเป็นการเสียเวลาเปล่า? ดังนั้นก็ควรจะปฏิบัติไปตามคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ

ซึ่งถ้าพรรคเพื่อไทยมั่นใจว่าประชาชนเห็นด้วยโดยลงประชามติให้แก้ทั้งฉบับได้ ก็เป็นที่ทำได้

อีกเรื่องหนึ่งที่ ป.ป.ช.รับคำร้องเรื่องจำนำข้าวและมีการตั้งอนุกรรมการ ป.ป.ช. 2 คนคือ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) วิชา มหาคุณและคุณกล้านรงค์ จันทิก น่าจะเป็นบรรทัดฐานที่ดีว่า กรณีจำนำข้าวเป็นการทุจริตหรือไม่? ซึ่งก็คงจะติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป

ป.ป.ช. นอกจากจะทำเรื่องสอบสวนคดีต่างๆ แล้ว ยังมีฝ่ายวิชาการและวิจัย มีอาจารย์ธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีความสามารถสูงและเคยเป็นอดีตคณบดีที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาเป็นที่ปรึกษางานวิจัยที่ ป.ป.ช. ด้วย คือ รศ.ดร.สิริลักษณา คอมันตร์ ในอดีตกรรมการ ป.ป.ช.ท่านหนึ่งคือ ศ.ดร.เมธี ครองแก้ว เคยริเริ่มวิจัยไว้ที่ ป.ป.ช. ศึกษาการทุจริตการจำนำข้าวไว้อย่างละเอียด

ผมได้รับเกียรติจาก กระทรวง ICT ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์จากเกษตร รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูลผู้อำนวยการศูนย์ความรู้เฉพาะด้านวิศวกรรมความรู้และวิศวกรรมภาษา ผศ.ดร.สมนึก คีรีโต ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ เชิญผมไปร่วมงาน E-Governmentพูดเรื่องทุนมนุษย์และภาวะผู้นำเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ E- Government ไปสู่ความสำเร็จให้ได้

ต้องชมเชยการทำงานเรื่อง E-Government ของคณะทำงาน ซึ่งมี

  ภาคการเมือง (กระทรวง ICT)
  ภาควิชาการ (ม.เกษตรฯ)
  ภาคประชาสังคม (อย่างผมและผู้เข้าร่วมอื่นๆ)
  หน่วยราชการ

เน้นการทำงานระยะยาว เพื่อสร้างศักยภาพการแบ่งปันให้คนไทยในการสัมมนาที่โรงแรม รามาการ์เด้นส์ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2555 เน้นทฤษฎี 8K’s 5K’s

ทฤษฎี 8K’s

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทาง Knowledge Skill

และ Mindset

ทฤษฎี 5K’s

Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital ทุนทางความรู้

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

ผมเน้นว่าทุนทาง ICT จำเป็นมากเป็นส่วนหนึ่งของทุนมนุษย์ Digital Capital ภาครัฐด้วย จะเป็นประกันต่อการบริหารและการแข่งขันของธุรกิจ แต่คำถามก็คือจะมีคุณภาพถูกต้องเพราะข้อมูลจะเร็วมีคุณภาพและไม่ซ้ำซ้อน

ทำอย่างไรให้ทุนมนุษย์ช่วยเรื่อง E-government ได้สำเร็จ เพราะ

  คนเก่ง ICT ไม่เข้าภาคราชการ
  อยู่ไปนานๆ ทนไม่ได้ต้องออกไป กับระบบราชการ
  ที่มีกฎระเบียบมากมาย
  ขาดขวัญกำลังใจ
  ขาดการพัฒนาทุนมนุษย์ทั้ง IT การบริหารจัดการและการทำงานเป็นทีม ดังนั้นผู้นำในองค์กรของรัฐคือ ระดับรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง และอธิบดีต้องสนใจ ICT เพื่อ E-Government ทุนมนุษย์ สร้างและพัฒนาผู้นำ บริหารโดยสร้างแรงจูงใจให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศจริงๆ

เพราะถ้า E-Government เกิดขึ้นจริงๆ จะมีประสิทธิภาพช่วยให้ประชาชน ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพมากขึ้น จะช่วยให้การทำงาน การทำธุรกิจ การแก้ปัญหา สังคมสร้างความยุติธรรมในสังคม และยิ่งไปกว่านั้น ทำให้ประชาชนฉลาด พึ่งตัวเองได้

ผมจึงขอชมเชย ผู้จัดทำโครงการนี้ พร้อมที่จะเป็นแนวร่วมพัฒนาทุนมนุษย์และผู้นำให้รองรับ E-Government นอกจากจะ มี E-Government และยังมี Concept ใหม่คือ E- Governance หมายความว่า ต้องมีการทำงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีคุณธรรม จริยธรรมทำให้ประชาชนอุ่นใจ

คณะของเราก็จะยกทีมไปประชุม เรื่อง E-Govermamce for the SRII India Conference ณ ประเทศอินเดียในอาทิตย์หน้า ผมไปพูดเรื่องทุนมนุษย์ให้คนอินเดียทราบอยู่แล้ว จึงร่วมเดินทางไปด้วย ติดตามภาคต่อไปจากอินเดียครับ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
[email protected]
www.gotoknow.org/blog/chiraacademy
แฟกซ์ 0-2273-0181

คำสำคัญ (Tags): #แนวหน้า
หมายเลขบันทึก: 512329เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2012 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ธันวาคม 2012 11:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท