คนไทยได้อะไรจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ


บทความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม 2555 
ติดตามอ่านย้อนหลังได้ที่ิลิงก์ข้างล่างนี้ครับ
http://www.naewna.com/columnist/1104

คนไทยได้อะไรจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

การทำงานของสภาผู้แทนในการอภิปรายไม่ไว้วางใจผ่านไปเรียบร้อย ถึงแม้รัฐบาลจะชนะอย่างถล่มถลายแถมมีพรรคภูมิใจไทยเข้าร่วมลงคะแนนเพิ่มด้วย แต่คะแนนมากหรือน้อยคงไม่สำคัญ เท่ากับคนไทยได้อะไร?

  มองจากฝั่งรัฐบาล นายกฯยิ่งลักษณ์ ปฏิบัติหน้าที่แบบครบถ้วน  คือมาสภาและโต้ตอบฝ่ายค้าน ซึ่งจะทำให้เธอมีความมั่นใจมากขึ้นเพื่อทำประโยชน์ให้แก่ประชาชนมากกว่า อันนี้จริงหรือเปล่าไม่แน่ใจ?

  แต่วิธีการตอบของนายกฯยังไม่เป็นที่ประทับใจประชาชนนัก เพราะตอบไม่ตรงประเด็น และอ่านตามที่เขียน ไม่เข้าเข้าใจและไม่ตรงประเด็นมากนัก

  รัฐมนตรีหลายคนขาดความสามารถในการตอบให้ตรงประเด็น ขนาดคุณทักษิณยังให้คะแนน การอภิปรายพรรคเพื่อไทยของรัฐบาลชุดนี้ค่อนข้างต่ำโดยเฉพาะคุณทักษิณไม่พอใจในการทำงานองรัฐมนตรีบางคน ประธานและรองประธานสภาด้วย

  รัฐบาลประท้วงมากเกินไปเล่นเกมส์มากกว่าให้ประโยชน์แก่ประชาชน น่ารำคาญ โดยเฉพาะจ่าประสิทธิ์

  ฝ่ายค้าน

§  ผมคิดว่าได้ทำหน้าที่ได้อย่างดี เพราะเอาประเด็นต่างๆมาให้ประชาชนได้รับทราบอย่างมีหลักฐานแน่นหนา โดยเฉพาะเรื่องจำนำข้าว เรื่องกองทัพเรือ เรื่องงบประมาณน้ำ

§  การทำการบ้าน หาข้อมูลของฝ่ายค้านก็ทำหน้าที่ได้ดี

§  คำถามคือ เมื่อประชาชนได้เรียนรู้มากขึ้น แล้วอะไรเกิดขึ้นกับคนไทยในอนาคต

จะมีการปรับปรุงวิธีการทำงานของรัฐบาลหรือไม่? หรือคิดว่าชนะแล้วก็เดินหน้าเหมือนเดิม ไม่ฟังคำวิจารณ์อะไรเลย

ดังนั้น ผลกระทบตามมาเรื่องการปรับปรุง การทำงานของรัฐบาลน่าจะเป็นประเด็นสำคัญ

โดยเฉพาะการทุจริตซึ่งมีหลักฐานมากมาย และวิธีการตอบของรัฐบาลก็คือดำเนินคดี ผมอยากทราบว่าดำเนินคดีกับใคร? เพราะถ้าดำเนินคดีกับคนตัวเล็กๆ คือข้าราชการ ก็คงไม่ใช่ เพราะประชาชนต้องการให้จัดการกับนักการเมือง

สำหรับคนไทยทั่วไปคงเห็นแล้ว ประเทศไทยปล่อยให้อยู่ในมือของรัฐบาลเสียงข้างมากอย่างเดียวไม่พอ คงจะต้องขึ้นอยู่กับความสนใจของคนไทยต่อสถานการณ์ของประเทศ และคนดีๆก็ต้องช่วยกันพูดให้ความรู้และข้อเท็จจริงต่อประชาชนและปกป้องคนดี

ถึงแม้สื่อของรัฐยังปิดกั้นไม่ให้มีข่าวขัดแย้งรัฐบาล แม้กระทั่งนักวิชาการที่หวังดีต่อประเทศไม่ได้แสดงออก แต่ Social Media ก็น่าจะช่วยกันในระดับหนึ่ง

งานของพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะฝ่ายค้านเป็นงานที่ยากมาก เพราะมีแต่พรรคที่อยากร่วมรัฐบาล ไม่มีแนวร่วมฝ่ายค้านเลย หวังว่า ผู้บริหารพรรคคงจะมีแนวทางที่จะสร้างฐานประชาชนในทุกๆจุด โดยเฉพาะในภาคอีสานและภาคเหนือ รวมทั้งการเป็นพันธมิตรทางการเมืองกับทุกๆฝ่ายที่หวังดีต่อประชาชนและองค์กรภาคประชาชนกับพรรคประชาธิปัตย์ก็จะทำงานร่วมกัน

ควันหลงของม็อบเสธอ้าย ต้องพูดว่าแพ้เพื่อหาทางสู้ต่อไปหรือแพ้ เพื่อชนะในอนาคตก็ไม่ผิด การถอยครั้งที่แล้ว ถือว่าถูกต้องเพราะยุทธวิธีของฝ่ายรัฐบาลใช้ความรุนแรงและไม่ให้เสรีภาพในการแสดงออก

ในความเห็นของผม เสธอ้ายยังเป็นผู้นำที่คนไทยยังฝากความหวังไว้ได้ เพราะเป็นบุคคลที่รักษาคำพูด มีคุณธรรม จริยธรรม ปัจจุบันเราขาดผู้นำแบบนี้ มีแต่ผู้นำที่พูดอย่าง ทำอย่าง ผู้นำที่โกหกและคิดว่าประชาชนโง่

การวางแผนครั้งต่อไปก็ต้องรอบคอบ ต้องมียุทธวิธีที่จะโต้ตอบฝ่ายรัฐบาลอย่างรัดกุม บางเรื่องไม่บอก บางเรื่องบอก เพื่อให้รัฐบาลสับสนและตายใจ ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์ เขาเรียกว่า Game Theory คือ ถ้าข้าศึกรุกแบบนี้เราต้องตั้งรับแบบไหนและมีวิธีการปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มพลังเงียบ ผมเชื่อว่ายังมีอยู่มากวิธีการของเสธอ้ายต้องเดินอย่างรอบคอบและคิดว่ายังมีคนไทยชื่นชมและศรัทธาเป็นจำนวนมาก จึงขอให้กำลังใจมา ณ ที่นี้

ส่วนการฟ้องร้องในคดีต่างๆ โดยเฉพาะการใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจมากมาย โดยไม่จำเป็นและการออกกฎหมายความมั่นคงและการใช้แก็สน้ำตาโดยขาดขั้นตอน

ผมเชื่อว่าต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด ประเทศไทยในอนาคตก็คงใช้ระบบศาลเป็นที่ตัดสินว่าอะไรถูก อะไรผิดและต้องรักษาองค์กรอิสระและระบบศาลทุกชนิด ศาลยุติธรรม ศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญให้มีคนดีๆ นั่งอยู่ในระบบอย่าให้รัฐบาลชุดนี้มีโอกาสได้แทรกแซงองค์กรเหล่านี้เด็ดขาด

สัปดาห์นี้ผมมีโอกาสได้ไปร่วมการประชุมของ TMA (Thailand Management Association) เรื่อง Global Business Dialogue 2012 เมื่อวันที่ 27 – 28  พ.ย. 2555 ณ โรงแรม Intercontinental กรุงเทพฯ ต้องขอขอบคุณ TMA  ขอบคุณ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ที่เป็นธุระในการประสานงานและพาไป ซึ่งในอนาคตข้างหน้า TMA กับมูลนิธิของผมก็อาจจะร่วมมือกันมากขึ้น

จุดอ่อนของ TMA ก็คือยังเน้นธุรกิจใหญ่เป็นหลักๆ ซึ่งก็ดีและจำเป็น แต่กาลเวลาเปลี่ยนไป TMA ควรมีสาขาต่างจังหวัด ควรมี Network กับองค์กรใหญ่ อื่นๆมากขึ้น เพราะธุรกิจใหญ่อย่างเดียวไม่พอต้อง SME’s ด้วย ต้องเน้นสังคม วัฒนธรรมและความถูกต้องทางการเมืองด้วย

ช่วงที่ผมนั่งฟังอยู่ เรื่อง International Mindset คือการปรับทัศนคติระหว่างประเทศ มีประโยชน์มากแต่คนพูดเป็นชาวต่างประเทศทั้งหมด แต่มาวิจารณ์คนไทย ว่าขาดการมองโลกาภิวัตน์ มองแต่ในประเทศของเขาว่าเก่งเรื่องนี้ ซึ่งก็อาจจะถูก แต่คงไม่ถูกทั้งหมดเพราะประเทศไทยก็มีจุดแข็งในหลายๆด้าน แต่อาจจะอ่อนในด้านการทำงานระหว่างประเทศ ธุรกิจหลักๆ ของไทยก็ยังไปได้ดี

§  ท่องเที่ยว

§  เกษตร

§  สุขภาพอนามัย

ของไทยก็ถือว่าเป็นระดับโลกซึ่งต่างประเทศต้องมาทำงานร่วมกัน

ผมชื่นชมนโยบายของประเทศสิงคโปร์มากว่าดึงคนเก่งจะไปอยู่ที่นั่นได้มาก รวมทั้งคนไทยเก่งๆด้วย ก็จะไหลไปอยู่ที่สิงคโปร์มากขึ้น

แต่ผู้พูดลืมไปว่า คนเก่งไม่ได้ทำเพื่อเงินอย่างเดียว คนที่ทำงานที่สิงคโปร์เครียด ขาดความสุขและชีวิตไม่สมดุล

ผมคิดว่าถ้าจะพูดถึงทุนมนุษย์ต้องมองหลายมิติ

§  เงินและความสำเร็จ

§  ความสุข

§  ความยั่งยืน (เศรษฐกิจพอเพียง)

§  ความสมดุลชีวิตครอบครัวกับงาน

แต่ที่เป็นบทเรียนราคาแพง คือรัฐบาลของสิงคโปร์และมาเลเชียเข้มแข็ง มีนโยบายที่ดึงคนเก่งของโลกเข้าไปอยู่ประเทศเขา หันมาดูกระทรวงแรงงานของเราที่จะต้องดูแลเรื่องทุนมนุษย์ก็เศร้าใจ

Mindset เป็นเรื่องสำคัญ Mindset คือทัศนคติที่ฝังรากมายาวนาน ยากที่จะเปลี่ยนแปลง

จะเปลี่ยนได้ก็ต้องเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต เรียนจากความล้มเหลวและเจ็บปวด

บทเรียนครั้งนี้คือ คนไทยไม่ใฝ่รู้และไม่สนใจว่าอะไรจะเกิดขึ้น การมีสัมมนาแบบนี้ทำให้เขาคิดมากขึ้น แต่คนฟังน่าจะเพิ่มภาคการเมืองและภาครัฐด้วย

ดังนั้นหน้าที่ของผมจึงต้องทำต่อไปให้คนไทย ใฝ่รู้และปรับตัวกับโลกาภิวัตน์ให้ได้ซึ่งเป็นงานที่ยาก

แต่ก็ต้องทำต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งและช่วยกันสร้างคนไทยให้มีความสามารถหลายๆด้าน

§  เก่ง

§  สมดุล

§  ความสุข

§  ยั่งยืน

§  มีคุณธรรม จริยธรรม

ไม่ใช่แค่เก่ง แต่ไม่มีความดุลในชีวิตและไม่มีความสุข ปล่อยให้สิงคโปร์บ้าคนเก่งไปเถอะ วันหนึ่งชีวิตของคนสิงคโปร์ก็ขาดความยั่งยืน

บรรยากาศการอภิปราย “ไม่ไว้วางใจรัฐบาล 2555”

พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ (เสธ.อ้าย) ประธานกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม

บรรยากาศงาน Global Business Dialogue 2012 จัดโดย TMA (Thailand Management Association) เมื่อวันที่ 27-28  พ.ย. 2555 ณ โรงแรม Intercontinental กรุงเทพฯ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

[email protected]

www.gotoknow.org/blog/chiraacademy

แฟกซ์0-2273-0181

หมายเลขบันทึก: 512328เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2012 11:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มกราคม 2013 01:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท