การอ่านอบ่างมีวิจารณญาณ ท ๓๑๑๐๒


ให้ผู้เรียนเข้าศึกษา

ใบความรู้ที่ ๔

ความหมายของการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Reading)

ความหมายของการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

 การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ หรือ การอ่านอย่างวิเคราะห์วิจารณ์ หรือ การอ่านอย่างวิพากษ์วิจารณ์ หมายถึงการอ่านที่ผู้อ่านนำเอาวิธีคิดอย่างมีวิจารณญาณมาใช้ในการรับสารจากการอ่าน ทั้งนี้เพื่อประเมินสิ่งที่อ่านและตัดสินใจว่าสิ่งที่ผู้เขียนนำเสนอมีเหตุผลน่าเชื่อถือหรือไม่ เพียงใด การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นทักษะการอ่านขั้นสูงที่ผู้อ่านจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่อ่านเพื่อเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์วิจารณ์ในขั้นสูงต่อไป ทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกของข้อมูลข่าวสารเช่นในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะจะช่วยให้ผู้อ่านรู้จักวิเคราะห์ ตรวจสอบ และเลือกรับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้อย่างมีเหตุผล

 ตัวอย่างความหมายของ "การคิดอย่างมีวิจารณญาณ" ที่มีผู้ให้คำนิยามไว้การคิดอย่างมีวิจารณญาณ คือการคิดอย่างมีเหตุผล ไตร่ตรอง เพื่อการตัดสินใจว่าสิ่งใดควรเชื่อและสิ่งใดควรทำ (Norris & Ennis, 1989)

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) หมายถึง การคิดที่ใช้เหตุผลในการคิดแบบไตร่ตรอง เพื่อตัดสินใจเชื่อหรือกระทำ ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ การใช้เหตุผลเชิงอุปมาน การใช้เหตุผลเชิงอนุมาน การสังเกต การตีความ การตั้งสมมุติฐาน การพิจารณาความน่าเชื่อถือ การตัดสินคุณค่า และกลวิธีการแก้ปัญหา ( เอื้อญาติ ชูชื่น, 2535: 23)

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึงกระบวนการพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบเกี่ยวกับข้อมูล หรือสถานการณ์ที่ปรากฏ โดยใช้ความรู้ ความคิด และประสบการณ์ของตนเองในการสำรวจหลักฐานอย่างรอบคอบเพื่อไปสู่ข้อสรุปที่สมเหตุสมผล (เพ็ญพิศุทธิ์ เนคมานุรักษ์, 2536: 8)

การคิดวิจารณญาณ (Critical Thinking) หมายถึง ความสามารถทางสมองของบุคคล ที่แสดงออกมาโดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลและตรึกตรองอย่างรอบคอบ เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจที่จะเชื่อหรือกระทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งจำแนกออกเป็น 4 ความสามารถย่อย คือ ความสามารถในการพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลและการสังเกต ความสามารถในการนิรนัย ความสามารถในการอุปนัย ความสามารถในการระบุข้อตกลงเบื้องต้น (ชาลิณี เอี่ยมศรี, 2536: 7)

ทักษะการคิดวิเคราะห์วิจารณ์ หมายถึง ความสามารถในการคิดที่ใช้ทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะการใช้เหตุผล ทักษะการประเมินข้อมูล และทักษะการเลือกและตัดสินใจอย่างผสมผสานจนได้ข้อสรุปหรือคำตอบ (บำรุง ใหญ่สูงเนิน, 2536: 8)

ความคิดเชิงวิจารณ์ (Critical Thinking) เป็นทัศนคติพื้นฐานและทักษะที่ช่วยให้ปัจเจกชนสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ และมีหลักการในการเชื่อและการตัดสินใจ (โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์, 2543: iii)

Critical thinking คือการคิดไตร่ตรองที่เน้นในเรื่องการตัดสินใจว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อสิ่งใด หรือจะทำหรือไม่ทำสิ่งใด ความหมายนี้ได้นับรวมเอาความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) เข้าไว้ในคำจำกัดความของ Critical thinking ด้วย (อำพร ไตรภัทร, 2543: 1)

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึงการทำงานของสมองที่มีการคิด พิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบเกี่ยวกับข้อมูล หรือสภาพการณ์ที่ปรากฏ โดยใช้ความรู้ ความคิด และประสบการณ์ของตนเองในการสำรวจหลักฐานอย่างละเอียด เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปที่สมเหตุสมผล ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 7 ประการ

1.   ความสามารถในการระบุประเด็นปัญหา เป็นความสามารถในการระบุหรือ ทำความเข้าใจโดยพิจารณาความหมาย ความชัดเจนของข้อมูล ข้อความ ข้ออ้าง หรือข้อโต้แย้ง หรือสถานการณ์ที่ปรากฏ เพื่อกำหนดข้อสงสัยและประเด็นหลักที่ควรพิจารณาและแสวงหาคำตอบ

2.  ความสามารถในการรวบรวมข้อมูล เป็นความสามารถในการพิจารณาข้อ มูลทั้งทางตรงและทางอ้อมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งได้จากการคิด การพูดคุย การสังเกต ทั้งจากตนเองและผู้อื่น รวมถึงการดึงข้อมูลจากประสบการณ์เดิมที่มีอยู่

3.  ความสามารถในการพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล เป็นความ สามารถในการพิจารณา ประเมิน ตรวจสอบ ตัดสินข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยพิจารณาถึงที่มาของข้อมูล สถิติ และหลักฐานที่ปรากฏ

4.  ความสามารถในการระบุลักษณะข้อมูล เป็นความสามารถในการจำแนกประเภทของข้อมูล ระบุแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังข้อมูลที่ปรากฏ ซึ่งประกอบด้วยความสามารถในการพิจารณาแยกแยะ เปรียบเทียบความต่างของข้อมูล การตีความ ประเมินว่าข้อมูลใดเป็นจริง ข้อมูลใดเป็นเท็จ รวมถึงการระบุข้อสันนิษฐานหรือข้อตกลงเบื้องต้นที่อยู่เบื้องหลังข้อมูลที่ปรากฏ การนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ที่อาศัยข้อมูลจากประสบการณ์เดิมมาร่วมพิจารณาด้วย

5.  ความสามารถในการตั้งสมมุติฐาน เป็นความสามารถในการพิจารณาถึง ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างข้อมูลที่มีอยู่ สังเคราะห์ จัดกลุ่ม และลำดับความสำคัญของข้อมูลเพื่อระบุทางเลือกที่เป็นไปได้ โดยเน้นที่ความสามารถพิจารณาเชื่อมโยงเหตุการณ์และสถานการณ์

6.  ความสามารถในการลงข้อสรุป เป็นความสามารถในการพิจารณาอย่างมีเหตุ ผลเพื่อให้ข้อสรุปโดยใช้เหตุผลเชิงอุปนัย (Inductive Reasoning) หรือเหตุผลเชิง นิรนัย (Deductive Reasoning)

6.1 การสรุปความโดยใช้เหตุผลเชิงอุปนัย เป็นการสรุปความโดยพิจารณาข้อมูลหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะเรื่อง เพื่อนำไปสู่กฎเกณฑ์หรือหลักการ
6.2 การสรุปความโดยใช้เหตุผลเชิงนิรนัย เป็นการสรุปความโดยพิจารณาจากกฎเกณฑ์ และหลักการทั่วไป เพื่อไปสู่เรื่องเฉพาะหรือสถานการณ์ที่ปรากฏ

7.  ความสามารถในการประเมินผล เป็นความสามารถในการพิจารณาประเมิน ความถูกต้อง สมเหตุสมผลของข้อสรุป จึงเกิดจากการคิดวิเคราะห์ ไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ใช้เหตุผลเชิงตรรกะ รวมทั้งความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่ การตัดสินคุณค่าและเหตุการณ์อย่างถูกต้อง (อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, 2537: 12-13)

ทักษะการคิด แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ "ทักษะการคิดที่เป็นแกน" และ "ทักษะการคิดขั้นสูง" ส่วน "กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ" ประกอบด้วยจุดมุ่งหมายของการคิด และวิธีคิด (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ , 2540: 29-62)

 1.ทักษะการคิดที่เป็นแกน (Core /General Thinking Skills)

 หมายถึง ทักษะการคิดที่จำเป็นต้องใช้อยู่เสมอในการดำรงชีวิตประจำวัน และเป็นพื้นฐานของการคิดชั้นสูงที่มีความสลับซับซ้อน ประกอบไปด้วย การสังเกต (Observing) การสำรวจ (Exploring) การตั้งคำถาม (Questioning) การเก็บรวบรวมข้อมูล (Information Gathering) การระบุ (Identifying) การจำแนกแยกแยะ (Discriminating) การจัดลำดับ (Ordering) การเปรียบเทียบ (Comparing) การจัดหมวดหมู่ (Classifying) การสรุปอ้างอิง (Inferring) การแปล (Translating) การตีความ (Interpreting) การเชื่อมโยง (Connecting) การขยายความ (Elaborating) การให้เหตุผล (Reasoning) และการสรุปย่อ (Summarizing)

 2.ทักษะการคิดขั้นสูงหรือทักษะการคิดที่ซับซ้อน ( Higher - ordered / More Complexed Thinking Skills)

 หมายถึงทักษะการคิดที่มีขั้นตอนหลายขั้น และต้องอาศัยทักษะการสื่อความหมาย และทักษะการคิดที่เป็นแกนหลาย ๆ ทักษะในแต่ละขั้น ทักษะการคิดขั้นสูงจึงจะพัฒนาได้เมื่อเด็กได้พัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานจนมีความชำนาญพอสมควรแล้ว ทักษะการคิดขั้นสูงประกอบด้วยทักษะย่อย ๆ ที่สำคัญดังนี้

1.   การสรุปความ (Drawing Conclusion)

2.  การให้คำจำกัดความ (Definition)

3.  การวิเคราะห์ (Analyzing)

4.  การผสมผสานข้อมูล (Integrating)

5.  การจัดระบบความคิด (Organizing)

6.  การสร้างองค์ความรู้ใหม่ (Constructing)

7.  การกำหนดโครงสร้าง (Structuring)

8.  การแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างความรู้เสียใหม่ (Restructuring)

9.  การค้นหาแบบแผน (Finding Patterns)

10.  การหาความเชื่อพื้นฐาน (Finding Underlying Assumption)

11.  การคาดคะเน / การพยากรณ์ (Predicting)

12.  การตั้งสมมุติฐาน (Formulating Hypothesis)

13.  การทดสอบสมมุติฐาน (Testing Hypothesis)

14.  การตั้งเกณฑ์ (Establishing Criteria)

15.  การพิสูจน์ความจริง (Verifying)

16.  การประยุกต์ใช้ความรู้ (Applying)

กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ประกอบไปด้วย 1. จุดมุ่งหมายของการคิด 2. วิธีคิด

จุดมุ่งหมายของการคิด ผู้คิดอย่างมีวิจารณญาณมีความสามารถ ดังนี้

1.  สามารถกำหนดเป้าหมายในการคิดอย่างถูกทาง

2.  สามารถระบุประเด็นในการคิดได้อย่างชัดเจน

3.  สามารถประมวลข้อมูล ทั้งทางด้านข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่คิด ทั้งทางกว้าง ลึก และไกล

4.  สามารถวิเคราะห์ข้อมูล และเลือกข้อมูลที่จะใช้ในการคิดได้

5.  สามารถประเมินข้อมูลได้

6.  สามารถใช้หลักเหตุผลในการพิจารณาข้อมูล และเสนอคำตอบ/ทางเลือก ที่สมเหตุสมผลได้

7.  สามารถเลือกทางเลือก/ลงความเห็นในประเด็นที่คิดได้

วิธีคิด

1.  ตั้งเป้าหมายในการคิด

2.  ระบุประเด็นในการคิด

3.  ประมวลข้อมูล ทั้งทางด้านข้อเท็จจริง ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่คิดทางกว้าง ลึก และไกล

4.  วิเคราะห์ จำแนกแยกแยะข้อมูล จัดหมวดหมู่ข้อมูล และเลือกข้อมูลที่จะนำมาใช้

5.  ประเมินข้อมูลที่จะใช้ในแง่ความถูกต้อง ความเพียงพอ และความน่าเชื่อถือ

6.  ใช้หลักฐานในการพิจารณาข้อมูลเพื่อแสวงหาทางเลือก/คำตอบที่สมเหตุสมผลตามข้อมูลที่มี

7.  เลือกทางเลือกที่เหมาะสมโดยพิจารณาถึงผลที่ตามมา และคุณค่าหรือความหมายที่แท้จริงของสิ่งนั้น

8.  ชั่งน้ำหนักผลได้ผลเสีย คุณ - โทษ ในระยะสั้นและระยะยาว

9.  ไตร่ตรอง ทบทวนกลับไปกลับมาให้รอบคอบ

10.  ประเมินทางเลือกและลงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่คิด

 การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ เป็นการอ่านโดยใช้ความคิด พิจารณาสิ่งที่อ่านอย่างมีเหตุผล สามารถเข้าใจความคิดของผู้เขียน แยกแยะข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น สรุปเรื่องราวที่อ่านได้ ตลอดจนลงความเห็น ประเมิน ตัดสินสิ่งที่อ่านได้โดยใช้ความรู้และประสบการณ์เดิมของผู้อ่าน (ศุภวรรณ์ เล็กวิไล, 2539: 23)

 การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึงการพิจารณาสิ่งที่อ่านอย่างทะลุ ปรุโปร่ง เพื่อค้นหาความหมาย ข้อสมมุติฐาน เหตุผล และกลวิธีในการนำเสนอของผู้เขียน ผู้อ่านที่อ่านอย่างวิเคราะห์วิจารณ์ต้องพยายามเรียนรู้ว่าข้อเขียนนั้นสื่อความหมายและสร้างความสนใจอย่างไร ผู้เขียนเสนอประเด็นโต้แย้งและเหตุผลทั้งในลักษณะที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนและไม่ชัดเจน อย่างไรบ้าง การเรียนรู้ที่จะเป็นผู้อ่านที่มีความคิดวิเคราะห์วิจารณ์นั้น ผู้อ่านต้องตั้งสมมุติฐานว่า การสื่อสารในรูปแบบต่างๆไม่ว่าจะเป็นข้อเขียนหรือภาพวาดล้วนเป็นสิ่งแทนการแสดงออกทั้งสิ้น ข้อเขียนทั้งหลายไม่ใช่สิ่งที่ถูกพูดถึง แต่มันคือตัวแทนของสิ่งเราที่พูดถึง การเรียนรู้ที่จะเป็นผู้อ่านวิเคราะห์วิจารณ์ หมายถึงการนำทักษะที่จำเป็นมาใช้ในการวิเคราะห์และตีความเพื่อให้สามารถอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยการสื่อสารอันหลากหลายนี้ได้อย่างฉลาด (Mickahail, n.d.)

 ในการอ่านวิเคราะห์วิจารณ์ผู้อ่านต้องพิจารณาสิ่งที่อ่านทุกตอนตลอดจน กระบวนการนำเสนอข้อเขียนนั้นๆด้วยความรอบคอบ ตระหนักถึงบริบทของการสร้างสรรค์ข้อเขียนทุกชิ้น ทั้งนี้เพราะในการเขียนนั้นเนื้อหาทุกตอน ทุกชั้นจะถูกนำมาหลอมรวมเข้าด้วยกันด้วยกระบวนการเขียนที่ทำให้ส่วนต่างๆมีความกลมกลืนเป็นเรื่องเดียวกันทั้งหมด

 การอ่านวิเคราะห์วิจารณ์ คือการเรียนรู้ที่จะจำแนกชนิดของข้อเขียนและ วิธีที่ผู้เขียนใช้ในการสร้างความหมาย เข้าใจกลวิธีและข้อสมมุติฐานของข้อเขียน เข้าใจลักษณะการสะท้อนสังคมของข้อเขียนนั้น และมองเห็นความเหมือน ความต่างของข้อเขียนนั้นกับข้อเขียนอื่นๆ

 กระบวนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ เป็นการทำงานของสายตากับสมอง เริ่มด้วยการรับภาพจากตา สมองก็จะทำหน้าที่แปลความหมายโดยอาศัยความรู้ และประสบการณ์เดิมมาช่วยในการคิด พิจารณาตัดสินใจเรื่องที่อ่าน (ลัดดา ไขว้พันธุ์, 2542:22)

 อ้างอิง:ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (http://home.kku.ac.th/thai416102/SubjectWeb/Critical-Reading_Meaning.htm)

การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

 การอ่านงานเขียนโดยทั่วไปนั้น ใช่ว่าเราจะอ่านเพื่อให้ได้ความรู้ หรือบันเทิงเพียงอย่างเดียว เมื่อเราอ่าน ต้องรู้จักคิด พิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบ การอ่านอย่างมีวิจารณญาณต้องอาศัยการวิเคราะห์เป็นพื้นฐาน ผนวกกับการประเมินค่าเรื่องที่เราอ่านอีกขั้นหนึ่ง คือ สามารถวิจารณ์เรื่องนั้น แสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล วิเคราะห์ถ้อยคำ ประโยค วิเคราะห์ทรรศนะของผู้แต่งและเนื้อหาได้

1. การวิเคราะห์ถ้อยคำ

 1.1 ความหมายโดยตรง หมายถึงคำที่มีในพจนานุกรม ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ปาก หมายถึง ช่องสำหรับกินอาหาร ขอบช่องของสิ่งต่าง ๆ เช่น ปากไห ปากทาง ฯลฯ
 1.2 ความหมายโดยนัย หมายถึงคำที่มีความหมายซ่อนเร้น ต้องตีความหมายตามสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ของสังคม หรือสภาพแวดล้อมผู้พูด หรือถ้อยคำ เช่น กิน - โกง ทำทุจริต กินดินกินทราย แมงดา - ชายที่เกาะโสเภณีกิน , อกหัก- ผิดหวังอย่างไม่คาดคิด
 1.3 ความหมายตามบริบท หมายถึง คำที่มีความหมายขึ้นกับข้อความรอบข้าง เช่นคำว่า ขัน ดังตาราง

- ไก่ขันแต่เช้า

-- พูดจาน่าขัน

- เขาหยิบขันมา 1 ชุด

-- เธอขันน็อตให้แน่นหน่อยสิ

บางคำเช่นคำว่า ขอหอมหน่อย อาจแปลได้ว่า ขอต้นหอม หรือ ขอจูบแก้ม เป็นต้น

2. การวิเคราะห์ประโยค

การวิเคราะห์ประโยค คือ การพิจารณาการใช้และเรียบเรียงคำ ข้อความในประโยคว่าถูกต้องหรือไม่ เช่น


ตัวอย่าง

ควรแก้เป็น

2.1 เขียนประโยคไม่สมบูรณ์

เรือนร่างและความสมบูรณ์ของท่าน ท่านเป็นคนที่ผอม แต่ไม่ผอมเกินไป ทำให้มีค่านิยมในตัวท่านมาก

ท่านเป็นบุคคลที่มีรูปร่างสันทัด ไม่ผอมหรืออ้วนเกินไป ทำให้มีค่านิยมในตัวท่านมาก

2.2 เหตุผลไม่รับกัน

ก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 ผู้หญิงไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือเหมือนผู้ชาย เพราะต้องเรียนกับพระ

ผู้หญิงไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือเหมือนผู้ชาย เพราะผู้ชายมีโอกาสเป็นเด็กวัดและเรียนหนังสือกับพระ

2.3 ใช้ถ้อยคำไม่สละสลวย

การเข้าทำงานหรือบรรจุแต่งตั้งเข้ารับราชการ มีการเล่นพรรคเล่นพวก เดินเงิน ใช้เส้น ทำให้ลูกตาสีตาสาที่มีการศึกษา ต้องยึดอาชีพ "ข้าราชการเกษตรกรรม" แทนบรรพบุรุษ

ในการบรรจุแต่งตั้งเข้ารับราชการนั้น บางครั้งมีการทุจริต เห็นแก่เงิน ทำให้เสียความยุติธรรม เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ที่ได้รับการศึกษาสูง มีความรู้ดีแต่ยากจนก็หมดโอกาสเข้ารับราชการ และต้องหันกลับมา ยึดอาชีพเกษตรกรรม เช่นเดียวกับบรรพบุรุษ

2.4 เรียงคำในประโยคไม่ถูกที่

เพื่อนบ้านของเราคือพม่า

พม่าคือเพื่อนบ้านของเรา

2.5 เลียนแบบภาษาต่างประเทศ

เขาถูกเชิญให้ไปบรรยาย

เขาได้รับเชิญให้ไปบรรยาย

2.6 ใช้คำสั่งไม่สิ้นกระแสความ

นักกีฬาที่ประชาชนยกย่อง เขาไม่ถือตัว

นักกีฬาที่ประชาชนยกย่อง ย่อมไม่ถือตัว

2.7 เว้นวรรคไม่ถูกต้อง

นักเรียนมีเงินใช้ไม่ได้ อดข้าว

นักเรียนมีเงินใช้ ไม่ได้อดข้าว

2.8 ลำดับความไม่รัดกุม

เขาไม่เคยโกงใคร แม้ว่าเขาจะไม่เก่งกล้าสามารถ ไม่ฉลาดเหมือนคนอื่น

ถึงแม้ว่า เขาจะไม่เก่งกล้าสามารถ ไม่ฉลาดเหมือนคนอื่น แต่ เขาไม่เคยโกงใคร

  2.9 การวิเคราะห์รสของคำ หมายถึง คำหรือข้อความที่แสดงให้เห็นภาพ ความรู้สึก เป็นคำแสดงอาการ เช่น

นิ้วกระดิกกระเดี้ยพอได้เห็น

เรี่ยวแรงที่แฝงเร้นก็ปรากฎ

ยอดหน้าแฝงหินแยกหยักระชด

เกียรติยศแห่งหน้าก็ระยับ


(เนาวรัตน์ พงศ์ไพบูลย์)

3. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์
 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ คือการวิเคราะห์ความสำคัญของแต่ละตอน ซึ่ออาจมากน้อยไม่เท่ากัน ต้องสามารถบอกได้ว่า ตอนใดสำคัญ ตอนใดไม่สำคัญ มีข้อสรุปโต้แย้งกับความคิดเห็นกับข้อเท็จจริงหรือไม่

4. การวิเคราะห์เปรียบเทียบ
 คือการนำบทความ ข้อความ ข่าว จากเรื่องเดียวกัน แต่จากผู้เขียน 2 คน มาวิเคราะห์ในด้านภาษา ท่วงทำนอง ความคิด จุดเน้น เจตนาผู้เขียน

ประโยชน์การอ่านเพื่อเปรียบเทียบ • มีความคิด สืบสวนสอบสวน ไม่ด่วนสรุปอะไรง่าย ๆ
 • รักการค้นคว้า แสวงหาเหตุผล
 • ไม่หลงเชื่อใครง่าย ๆ รู้จักไตร่ตรอง
 • มีวิจารณญาณในการอ่าน เป็นคนละเอียดถี่ถ้วน

หลักการอ่าน

  ๑.อ่านอย่างพินิจ พิเคราะห์ เป็นการอ่านรายละเอียด

  ตั้งแต่  ชื่อเรื่อง  ผู้แต่ง  คำนำ  คำนิยม  สารบัญ  ข้อสังเกต  คำแนะนำ  คำปรารภ คำชี้แจงวัตถุประสงค์การพิมพ์  ประวัติผู้แต่ง ที่มาของเรื่อง เพื่อ ได้รู้จุดประสงค์ในการเขียนการแต่ง แรงบันดาลใจ หรือสิ่งที่ผู้แต่งแฝงเร้นใว้

  ๒.ค้นหาความหมายในเรื่อง วรรณกรรม คำประพันธ์ สำนวนนั้น ๆ

  ๒.๑ ความหมายพื้นฐานตามตัวหนังสือ (แปลความ) (ดูจากพจนานุกรม คำอธิบายศัพท์  อภิธานศัพท์ )  และพิจารณา ความหมายแฝง 

  ๒.๒ ค้นหาเจตนา หรือทรรศนของผู้เขียนหรือกวีว่าเหตุใดจึงกล่าวหรือแสดงออกมาเช่นนั้น สั่งสอน ประชดประชัน ด่าทอ ตักเตือน

  พิจารณาสำนวน วรรณกรรมต่อไปนี้

  สำนวนว่า ได้เมียสาว กินข้าวขาว ขี้บนขอน นอนหวันสาย”

แปลความ............................................................................................................................................

ตีความ................................................................................................................................................

เจตนา.................................................................................................................................................

  อาเออเหอ  โลกสาวชาวเรินตีน

  เทียมได้ผัวจีน  นอนสาดเจ็ดชั้น

  ถ้าได้ผัวไทย  ผืนไหนผืนนั้น

  นอนสาดเจ็ดชั้น  โลกสาวชาวเริน เหอ ตีน

ความหมายตามตัวอักษร.....................................................................................................................

ความหมายแฝง...................................................................................................................................

เจตนา.................................................................................................................................................

  สำนวนว่า มีเงินให้เขากู้  มีคู่อยู่เมืงไกล

เจตนา.................................................................................................................................................

  ใหญ่จนหมาเลียวานไม่ถึง”

เจตนา................................................................................................................................................

  กระบือหนึ่งห้ามอย่า  ควรครอง
  เมียมิ่งอย่ามีสอง  สี่ได้
  โคสามอย่าควรปอง  เป็นเหตุ
  เรือนอยู่สี่ห้องให้  เดือดร้อนรำคาญ

เจตนาของคำประพันธ์......................................................................................................................

เหตุผลจากคำประพันธ์......................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

.........................................................................................................................................................

  ๓.ค้นหาประดิษฐการ คือค้นหาว่าผู้เขียนผู้ประพันธ์ใช้กลวิธีใด ในการสร้างสรรค์งานกวีงานเขียนแบบใด

  ๓.๑ การใช้บรรยายโวหาร คือใช้คำให้เห็นภาพชัดเจน ตามลำดับเหตุการณ์

  พี่เล็งแลกระแสสายสมุทร  ละลิ่วสุดสายตาเห็นฟ้าขวาง

  เป็นฟองฟุ้งรุ่งเรืองอยู่รางราง  กระเด็นพร่างพรายพราวราวกับพลอย  เห็นคล้ายตล้ายปลาว่ายเฉวียนฉวัด  ระลอกซัดสาดกระเซ็นขึ้นเต้นหยอย  ฝูงปลาใหญ่ไล่โลดกระโดยลอย  น้ำก็พลอยพร่างพร่างกลางคงคา

  ๓๒การใช้พรรณนาโวหาร

  โฮ้ชะนีเวทนาเที่ยวหาผัว  เหมือนตัวพี่จากน้องให้หมองหมาง

  ชะนีเพรียกเรียกชายอยู่ปลายยาง    พี่เรียกนางนุชน้องอยู่ในใจ

  ความดีเด่นของคำประพันธ์...............................................................................................

  ๓.๓ การใช้เทศนาโวหาร คือการกล่าวสั่งสอนอย่างมีเหตุผลประกอบ

  ทรลักษณ์อกตัญญุตาเขา  เทพเจ้าก็จะแช่งทุกแห่งหน

  ให้ทุกข์ร้อนงอนหง้อทรพล  พระเวทมนต์เสื่อมคลายทำลายยศ

  แล้วสอนว่าอย่าใว้ใจมนุษย์  มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด

  ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด  ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน

  คำประพันธ์นี้สั่งสอนให้เหตุผลเปรียบเทียบว่า...............................................................

  ........................................................................................................................................

  ๓.๔ การใช้สาธกโวหาร คือโวหารที่ยกตัวอย่างหรือเรื่องราวมาประกอบ

  รู้น้อยว่ามากรู้  เริงใจ

  กลกบเกิดอยู่ใน  สระจ้อย

  ไป่เห็นชเลไกล  กลางสมุทร

  ชมว่าน้ำบ่อน้อย  มากล้ำลึกเหลือ

  เป็นการยกตัวอย่างมาประกอบระหว่าง..........................................................................

.....................................................................................................................................................

  บอกให้เรารู้ว่า...............................................................................................................

  ๓.๕ การใช้อุปมาโวหาร เป็นการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่ง ( กล ดั่ง เปรียบเหมือน ดุจ ) จะกินข้าวคราวโศกในทรวงเสียว  เหมือนขืนเคียวกรวดแกลบให้แสบศอ

  เป็นการเปรียบเทียบระหว่าง..........................................................................................

  นกแสกสกุณโทษเค้า  กู่กา

  ทิ้งทูดอูฐอีกลา  ล่องร้อง

  เสียงประทุษภาษา  หืนโหด

  ฟังบ่เพราะหูพร้อง  ดุจถ้อยทรชน

  เป็นการเปรียบเทียบระหว่าง.......................................................................................

  ...................................................................................................................................

  คำประพันธ์นี้สอนเรื่อง..............................................................................................

  ...................................................................................................................................

  ๓.๖ การใช้โวหารเปรียบเทียบโดยใช้คำตรงข้าม

  1.   ตัวเป็นไทใจเป็นทาส
  2.   เขาหัวเราะทั้งน้ำตา
  3.   ถึงตัวไปใจอยู่เป็นคู่น้อง

  ๓.๗ การซ้ำคำ เป็นการเน้นคำหรือข้อความให้เกิดความประทับใจ หรือเน้นย้ำความหมาย  ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์  มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต

  แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร  จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา

  เป็นการเน้นคำว่า.............................เพื่อเป็นการสอนให้รู้ว่า............................................  .........................................................................................................................................

  ๓.๘ การใช้โวหาร คำสัญลักษณ์ ใช้คำสัญลักษณ์มาเป็นเครื่องหมายแทนสิ่งที่ต้องการกล่าว เป็นการเปรียบเทียบโยงความคิดอย่างหนึ่ง ไปสู่ความคิดอีกอย่าง

  กระต่ายหมายจันทร์” กระต่ายแทน.........................................จันทร์แทน.................... 

ไยแม่หิ้วนั้นใช่    จะตก

  เอาพระกรมาปก  ดอกไม้

  สองมือแม่ทาบตีอก  ครวญใคร่  เห็นนา

  หัวยะยิ้มรอยให้  พี่เต้าไปหา

  ไยแม่หิ้วนั้นใช่  จะตก เป็นสัญลักษณ์ให้เราเห็นภาพว่า..................................................

.....................................................................................................................................................

  ดอกไม้ เป็นสัญลักษณ์แทน..........................................................................................

  เหตุการณ์หรือภาพที่ปรากฏ............................................................................................

  ........................................................................................................................................

  ๓.๙ การใช้โวหารอุปลักษณ์ คือการใช้คำสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ทำให้เกิดภาพชัดเจน

ยิ่งขึ้น  เพชรน้ำค้างร่วงหล่นบนพรมหญ้า” น้ำค้างกับ...................พรมกับ............................

  ๓.๑๐ การใช้โวหารบุคคลวัต การนำเอาสิ่งที่ไม่มีชีวิตจิตใจ ให้มีชีวิตจิตใจ มีรูปร่าง มีกิริยาอาการ ดั่งมีชีวิต

  เห็นลมละเมอเพ้อหวาดผวา  เห็นฟ้าพะวงหลงโทษโกรธดิน

  เห็นใบไม้ครวญหวนอยู่ริมธาร  เห็นศาลเพียงตาแล้วข้าปวดใจ

  ๓.๑๑ การใช้โวหารอธิพจน์ คือการเปรียบเทียบเกินจริง

  โฉมแม่จักฝากฟ้า  ฤาดิน  ดีฤา

  เกรงเทพไท้ธรณินทร์  ลอบกล้ำ

  ฝากลมเลื่อนโฉมบิน  บนเล่า นะแม่

  ลมจักชายชักช้ำ  ชอกเนื้อเรียมสงวน

  ตีความได้ว่า.....................................................................................................................

  ........................................................................................................................................

  ๓.๑๒ การใช้โวหารลัทพจน์  เป็นการใช้คำเพื่อให้ได้ยินเสียง

  ค้อนทองเสียงร้องป๋องเป๋ง  เพลินฟังวังเวง

  อีเก้เริงร้องลองเชิง

  พิณพาทย์ระนาดฆ้อง  ตะโพนกลองร้องเป็นเพลง

  ระฆังดังวังเวง  โหง่งหง่างเหง่งเก่งก่างดัง

  ๓.๑๓ การใช้นาฏการ เป็นการใช้คำให้เห็นภาพเคลื่อนไหว

  นกเขาขันคูเรียกกันเพรียกไพร

  บ้างถาบถาพาคู่ลงฟุบฝุ่น  เห็นคนผลุนโผผินบินไถล

  บ้างก่งคอคูคูกุ๊กกูไป  ฝูงเขาไฟฟุบแฝงที่แฝกฟาง

  ภาพที่ปรากฏ..........................................................................................................

............................................................................................................................................

..........................................................................................................................................

..........................................................................................................................................   

การพิจารณาความงามแนวคิด ของคำประพันธ์   วิชาภาษาไทย ๒ ท ๔๑๑๐๒

ชื่อ......................................................................... ชั้น ม.๔/......... เลขที่.............

๑.  คำประพันธ์เขียน(อย่างปัจจุบัน)

  ...............................................................................................................................................

  ...............................................................................................................................................

  ...............................................................................................................................................

  ...............................................................................................................................................

๒.  คำศัพท์   ความหมาย  สัญลักษณ์

  ..............................................................................................................................................

  ..............................................................................................................................................

  ..............................................................................................................................................

  ..............................................................................................................................................

๓.  แปลความ

  ..............................................................................................................................................

  ..............................................................................................................................................

  ..............................................................................................................................................

  ..............................................................................................................................................

  .............................................................................................................................................

๔.  ความงาม  แนวคิด  ค่านิยม  (บอกลักษณะ ยกตัวอย่างขยายความมาประกอบ)

  ๔.๑ ลักษณะความงาม คือการ.................................................................................

  ..............................................................................................................................................

  ๔.๒......................................................................................................................

  ...........................................................................................................................................

  ๔.๓................

คำสำคัญ (Tags): #ภาษาไทย ๒ ม. ๔
หมายเลขบันทึก: 512199เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2012 09:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2012 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท