Blue Ocean Strategy & Red Ocean Strategy


การสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจ

ปัจจุบันสภาพแวดล้อมในระดับมหภาคและเทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องดังนั้น ผู้ประกอบการยุคใหม่ต้องมีการจัดการองค์ความรู้ เสริมสร้างความสามารถหลัก (core competency) และความชำนาญของธุรกิจ เพื่อให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันอีกทั้งมีวิสัยทัศน์ในการมองภาพรวมของธุรกิจได้อย่างชัดเจน มีกระบวนทัศน์ในการทำงานมุ่งเน้นการบริการงานในเชิงรุก มีการกำหนดความต้องการและทิศทางของธุรกิจเพื่อให้ทุกปัจจัยของธุรกิจดำเนินงานไปได้อย่างราบรื่นและมีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยผ่านกระบานการในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วยกระบานการตัดสินใจ วางแผน การกำหนดกลยุทธ์การดำเนินกลยุทธ์ การควบคุม หรือการตรวจสอบกลยุทธ์อีกทั้งต้องมีการปรับปรุงการดำเนินงานอย่างเป็นระบบที่เรียกว่า “การสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์”

  กลยุทธ์ที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในสถานการณ์ปัจจุบันนี้คือ กลยุทธ์ทะเลสีน้ำเงิน (Blue Ocean Strategy: BOS) เป็นกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันแบบดั้งเดิมผู้ประกอบการต้องพยายามพัฒนาสินค้าให้มีความแตกต่าง หรือต้องสร้างความต้องการใหม่ ๆ (New Demand) ขึ้นมาเสมอ โดยใช้นวัตกรรม (Innovation) ใหม่ หรือเป็นทะเลใหม่ ๆซึ่งเป็นทะเลสีน้ำเงินและกลยุทธ์ทะเลสีน้ำเงินได้รับการตอบรับที่ดีเนื่องมาจากมีเครื่องมือสนับสนุนที่มีความเป็นปัจจุบันซึ่งที่ผ่านมาบริษัทต่าง ๆ ที่นำกลยุทธ์นี้มาใช้ ได้แก่ ธุรกิจกาแฟสตาร์บัค (Star Buck) , สถานีข่าว ซีเอ็นเอ็น (CNN) ดั้งนั้นหากผู้ประกอบการจะสร้างกลยุทธ์ขององค์กรให้เป็นกลยุทธ์แบบ “ทะเลสีน้ำเงิน” เพื่อสร้างโอกาสให้ธุรกิจผู้ประกอบการต้องพิจารณาก่อนว่าลูกค้าในอุตสาหกรรมของตนเองในเวลานี้ซื้อสินค้าหรือบริการด้วยเหตุผลด้วยราคาที่ต่ำหรือซื้อที่ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ หลังจากนั้นจึงเริ่มมาวิเคราะห์ว่าใครคือผู้ที่ไม่ใช่ลูกค้าของธุรกิจเรา? (Non-Custommer)

  อดีตที่ผ่านมาธุรกิจส่วนใหญ่ได้กลยุทธ์หนึ่งที่เคยประสบความสำเร็จมาในอดีต คือ กลยุทธ์ทะเลสีแดง (Red Ocean Strategy:ROS) เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นเพื่อเอาชนะคู่แข่งและการแย่งส่วนแบ่งตลาดเพียงอย่างเดียวเท่านั้นหรือหาทุกวิถีทางที่จะลดต้นทุนให้ต่ำที่สุดส่วนใหญ่แล้วจะนำไปสู่การแข่งขันและการตอบโต้อย่างรุนแรงจนทำให้เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมมากขึ้นจนกระทั่งสินค้าที่แข่งขันกันในตลาดมีมากจนไม่มีความแตกต่างกันทำให้องค์กรต้องแข่งขันด้านราคา ซึ่งทำให้เกิดการบาดเจ็บทางธุรกิจทั้งสองฝ่ายด้วยกลวิธีนี้ทำให้เป็นที่มาของการแข่งขันแบบทะเลสีแดง ซึ่งกลยุทธ์ต่าง ๆที่สร้างขึ้นมานั้นมีแนวคิดจากกลยุทธ์ทางการทหาร

  ดังนั้นผู้เรียบเรียงขอนำเสนอข้อมูลเพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างกลยุทธ์แบบเก่ากลยุทธ์ทะเลสีแดง (Red Ocean Strategy:ROS) และกลยุทธ์ใหม่ กลยุทธ์ทะเลสีน้ำเงิน (Blue Ocean Strategy: BOS)  รวมถึงวิธีการสร้างกลยุทธ์ใหม่ ๆนั้นผู้ประกอบการทำอย่างไรได้บ้าง ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

  1. ลักษณะของตลาดที่ใช้กลยุทธ์แบบทะเลสีแดง (Red Ocean Strategy:ROS)

  1.1 อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันและมีขอบเขตชัดเจน และคำนึงถึงลูกค้าเก่า ๆ

  1.2 บริษัทต่าง ๆ ในอุตสหกรรมพยายามเอาชนะคู่แข่งโดยใช้กลยุทธ์ด้านราคามองการได้ส่วนบางตลาดเป็นเรื่องสำคัญ

  1.3 มีการแข่งขันรุนแรงสินค้าไม่มีความแตกต่างกัน โอกาสในการเติบโตน้อยและสัดส่วนกำไรก็น้อย

  1.4 ต้องเลือกใช้กลยุทธ์อย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างกลยุทธ์ด้านราคาหรือกลยุทธ์สร้างความแตกต่างเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง

  1.5 วิเคราะห์ตัวเลขต่าง ๆ และใช้เวลากับการออกแบบฟอร์มส่วนใหญ่

  1.6 นำแผนงานและแผนการปฏิบัติหลาย ๆ อย่างมารวมไว้ด้วยกันโดยไม่ได้กำหนดกลยุทธ์

  2. ลักษณะของตลาดที่ใช้กลยุทธ์แบบทะเลสีน้ำเงิน (Blue Ocean Strategy: BOS)

  2.1 เป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ได้มีในปัจจุบันและไม่ทราบมาก่อนว่ามีอุตสาหกรรมประเภทนี้รวมอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรม

  2.2 สร้างอุปสงค์ใหม่ขึ้นมา (New Demand) ทำให้มีโอกาสเติบโตและมีสัดส่วนกำไรที่มากขึ้น

  2.3 ไม่มุ่งเน้นแข่งขันกับคู่แข่ง ไม่เปรียบเทียบกัน

  2.4 สามารถใช้ได้ทั้งกลยุทธ์ด้านราคาและสร้างความแตกต่างไปพร้อมกันซึ่งจะทำให้เกิดนวัตกรรมที่มีคุณค่า (Value Innovation) 

  2.5 มองภาพใหญ่ โดยไม่เน้นเรื่องจำนวน และไม่ยึกติดกับผลการวิเคราะห์

  2.6 ใช้แรงจูงใจในการทำงานไม่ใช่แรงผลักดันจากสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายใน

คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 512179เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2012 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2012 22:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท