ข้อถกเถียงว่าด้วยธรรมชาติหรือวัฒนธรรม: ว่าด้วยการกดขึ่ผู้หญิง ตอนที่ 1


ในบรรดาข้อถกเถียงทั้งหมดที่มีต่อธรรมชาติและวัฒนธรรมก่อให้เกิดการถกเถียงต่ออภิปรัชญาอย่างลึกซึ้ง เช่น ในธรรมชาติกับวัฒนธรรมทั้งสองอย่างนั้น อะไรสำคัญกว่ากัน อะไรเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของมนุษย์มากกว่ากัน เป็นมนุษย์แปลว่าอะไร การอภิปรายข้อดังกล่าวนั้นนำไปสู่การถกเถียงทั้งทางสิทธิของมนุษย์และสัตว์, ความยุติธรรม, การประเมินค่า, ความอดทน, ศีลธรรม, เศรษฐศาสตร์การเมือง และอื่นๆมากมาย

ในที่นี้นักมานุษวิทยาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งในมานุษวิทยาเชิงโครงสร้าง (Structural Anthropology) ชื่อ Levi-Strauss เสนอว่า การห้ามรักร่วมสายเลือด (incest taboo) ทำหน้าที่เป็นสะพานระหว่างธรรมชาติและวัฒนธรรม ดังที่เขาเสนอไว้ในหนังสือ Elementary Structures of Kinship ในที่นี้ Levi-Strauss กล่าวว่า การห้ามรักร่วมสายเลือดเป็นลักษณะพิเศษที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาลักษณะมนุษย์เท่านั้น เพราะว่ามันมีลักษณะนี้อยู่ทั้งในธรรมชาติและวัฒนธรรมร่วมกัน

ในบทความฉบับนี้จะได้กล่าวถึงความคิดรวบยอด และการวิเคราะห์เกี่ยวกับการห้ามรักร่วมสายเลือด โดยที่จะวิเคราะห์นิยามการห้ามรักร่วมสายเลือด การให้ผลต่างตอบแทน (reciprocity) และนิยามใหม่ของการห้ามรักร่วมสายเลือด การที่ Levi-Strauss ไม่เชื่อเรื่องตัวกลางระหว่างธรรมชาติและวัฒนธรรม (แต่เขาคิดว่ามันเป็นสะพาน) และการที่มานุษยวิทยาสิทธิสตรียึดถือว่าการที่นักมานุษวิทยาเชื่อในเรื่องการห้ามรักร่วมสายเลือดและการให้ตอบแทนส่งผลอย่างไรต่อมานุษยวิทยาสิทธิสตรี

1. นิยามเรื่องการห้ามรักระหว่างสายเลือด

ตามที่ Levi-Strauss ได้นิยามการห้ามรักร่วมสายเลือด (1) ว่าหมายถึง กฎที่เป็นสิ่งสมบูรณ์ ปรากฏในทุกที่ และในทุกสังคม ซึ่งห้ามการแต่งงานหรือมีความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างสมาชิกในกลุ่มเครือญาติเดียวกัน กฎที่หยุดยั้งการร่วมรักระหว่างสายเลือดนำมาซึ่งพื้นฐานของระบบเครือญาติทางสังคมและเป็นพื้นฐานให้สังคมดำรงอยู่ได้ การที่มีกฎอย่างนี้แสดงว่าเราคัดแยกตนเองจากสภาวะธรรมชาติ กล่าวคือสำส่อน และนำมาสู่สภาวะวัฒนธรรม กล่าวคือมีกฎห้ามการสำส่อน อย่างไรก็ตามการห้ามรักร่วมสายเลือดนำมาซึ่งข้อสรุปที่ดูเหมือนจะขัดแย้งกันอยู่ในที ในบรรดาการประเมินที่เที่ยงตรงที่สุด ในการแยกความแตกต่างระหว่างสภาวะธรรมชาติและวัฒนธรรมก็คือการดำรงอยู่และการหายไปของกฎการห้ามรักร่วมสายเลือดนี้ การมีอยู่เป็นสภาวะธรรมชาติ และการหายไปจึงกลายเป็นวัฒนธรรม แต่มันมีลักษณะขัดแย้งกันเอง (paradoxical) ในอีกแง่หนึ่งก็คือ กฎห้ามร่วมรักระหว่างสายเลือดซึ่งปรากฏในทุกสังคมนั้น ปรากฏอยู่ทุกที่ ดังนั้นมันจึงเป็นธรรมชาติด้วย ด้วยเหตุดังนั้น Levi-Strauss จึงหาทางแก้ไขข้อสรุปที่ดูเหมือนจะขัดแย้งกันว่าการห้ามรักร่วมสายเลือดมีลักษณะพิเศษที่ดำรงอยู่ในปรากฏการณ์ทั้งหมดของสิ่งที่เป็นทั้งสังคม-พันธุศาสตร์ (socio-biological) ก็คือเป็นทั้งสังคม-วัฒนธรรม และเป็นส่วนที่เป็นชีววิยา-ธรรมชาติด้วย

Levi-strauss กล่าวว่ามันเป็นข้อยกเว้นเพียงแค่มันเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติของมนุษย์นี้เท่านั้น ดังนั้นมันจึงเป็นภาพตัวแทนการเปลี่ยนผ่าน (transition) จากสภาวะธรรมชาติ (Nature) ไปสู่สภาวะวัฒนธรรม (Culture) Levi-strauss ได้ตั้งคำถามใน Elementary Structures of kinship ไว้ดังนี้ ธรรมชาติสิ้นสุด และวัฒนธรรมเริ่มต้นที่ตรงไหน? กระนั้นมันก็ง่ายที่จะตีความว่าวัฒนธรรมเริ่มต้นขึ้นที่นั่นก็ต้องมีกฎเกณฑ์ และการห้ามรักร่วมสายเลือดก็คือจุดสิ้นสุดของอำนาจของธรรมชาติที่มีต่อมนุษย์ ดังนั้นการห้ามรักร่วมร่วมสายเลือดก็คือจุดเริ่มต้นจากธรรมชาติสู่วัฒนธรรม แต่ระยะทางที่ผ่าน (passage) ก็ไม่ได้เป็นจุดสิ้นสุดของธรรมชาติของอิทธิพลของธรรมชาติที่มีต่อวัฒนธรรม มันเป็นเพียงแค่ความเป็นไปได้และสัญชาตญาณทางธรรมชาติที่เป็นสากล (universal natural spontaneity and instinct) ได้กลายมาเป็นมาเป็นสิ่งที่ถูกเข้ารหัส (coded), เป็นแบบแผน (modeled), และถูกควบคุม (governed) โดยกฎวัฒนธรรม ดังนั้นแม้ว่าธรรมชาติจะยังคงมีส่วนร่วม แต่วัฒนธรรมก็ทำให้มันมีที่มาที่ไปอย่างทุกวันนี้

หนังสืออ้างอิง

Altiskis Elliot-Graves. The incest taboo European Social Political Research Vol.13 (2006-2007)

Gayle Green and Coppelia Kahn. Feminist scholarship and the social construction of woman. in Gayle Green and Coppelia Kahn (eds). (1985). Making Difference: Feminist Literary Criticism. London. Methuen

[1] กล่าวอย่างง่ายก็คือ การห้ามรักร่วมสายเลือด หมายถึง การแต่งงานระหว่างบุคคลที่เกิดจากพ่อหรือแม่คนเดียวกัน

หมายเลขบันทึก: 511749เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 17:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กันยายน 2014 16:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 มันเป็นยังไงกันแน่คะ อาจารย์

 ได้ข้อมูลจากไหนเหรอครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท