จินตนาการถึงรากของเครื่องหมายสวัสดิกะ Swastika (๑)


พยายามค้นหาที่มาของเครื่องหมายสวัสดิกะโดยใช้แนวคิดทางโหราศาสตร์ไทย (๑)

เครื่องหมายสวัสดิกะ swastika

เครื่องหมายสวัสดิกะเป็นสัญลักษณ์โบราณเก่าแก่ สืบสาวเรื่องราวย้อนหลังกลับไปได้หลายพันปี เป็นเครื่องหมายที่ปรากฏโดยทั่วไปในหลายๆ อารยธรรมของโลก เป็นเครื่องหมายที่สื่อถึงความเชื่อทางศาสนา สื่อถึงความสุขสวัสดี ศานติ มีชัย สื่อถึงดุลยภาพ การสอดประสาน กลมกลืน สื่อถึงการหมุนไปของวัฏจักรดินน้ำลมไฟ เป็นต้น เครื่องหมายนี้ได้ถูกบิดเบือนความหมายไปเมื่อนาซีฮิตเล่อร์ต้องการสร้างจักรวรรดิเยอรมันที่ยิ่งใหญ่

ถ้าลองแปลความหมายเพื่อพยายามเข้าถึงรากที่มาของเครื่องหมายนี้โดยการใช้แนวคิดทางโหราศาสตร์ไทยบางเรื่อง เช่น

๑)  ครูโหรท่านเคยกล่าวไว้ว่า เมื่อธาตุต่างๆ จากสุริยจักรวาลเดินทางมาถึงโลก และเข้าปะทะกับการหมุนของโลก ธาตุเหล่านั้นจะแสดงความเหมือนกันในสภาวะที่สามารถจัดแบ่งเป็นคู่ๆ ดังนี้

ธาตุภาคกลางวัน    ธาตุภาคกลางคืน

ธาตุอาทิตย์ ๑       ธาตุจันทร์ ๒          แสดงสภาวะเช่นธาตุไฟ   

ธาตุอังคาร ๓        ธาตุศุกร์ ๖             แสดงสภาวะเช่นธาตุน้ำ

ธาตุพุธ ๔            ราหู ๘                   แสดงสภาวะเช่นธาตุลม

ธาตุพฤหัส ๕        ธาตุเสาร์ ๗           แสดงสภาวะเช่นธาตุดิน

๒)  ขณะเดียวกันธาตุในธรณีท่านก็ได้จัดแบ่งเป็นคู่ๆ เช่นกันดังนี้

ธาตุเบา              ธาตุหนัก

ธาตุอาทิตย์ ๑     เสาร์ ๗         แสดงสภาวะธาตุไฟ

ธาตุศุกร์ ๖          พุธ ๔           แสดงสภาวะธาตุน้ำ

ธาตุราหู ๘          อังคาร ๓      แสดงสภาวะธาตุลม

ธาตุจันทร์ ๒       พฤหัส ๕       แสดงสภาวะธาตุดิน

ทั้งแปดธาตุธรณีมีการจัดเรียงธาตุเวียนขวา เช่นข้างล่าง จากธาตุ ๑ ไป ๒ ไป ๓ เรื่อยจนถึง ๖

๑    ๒    ๓

          ๔

   ๕    ๗

โดยธาตุ ๘๖๑๒ คือธาตุลม-น้ำ-ไฟ-ดิน ที่ละเอียดเบาอยู่บน และ ๓๔๗๕ คือธาตุลม-น้ำ-ไฟ-ดิน ที่หยาบหนักอยู่ล่าง


ถ้าเราจินตนาการด้วยการออกแบบผสมคู่ธาตุตามความรู้ในข้อหนึ่งและสอง เป็นแนวแกนหลักและแกนรอง ดังนี้


แบบแรก

ในประเภทนี้จัดให้คู่ธาตุไฟและธาตุดินที่เกิดจากการหมุนของโลกเป็นแกนหลักให้อยู่ในแนวตั้ง ส่วนคู่ธาตุลมและธาตุน้ำที่เกิดจากธาตุธรณี เป็นแกนรองให้อยู่ในแนวนอน ซึ่งอาจจัดแบ่งได้เป็นสองลักษณะ คือ

 
ลักษณะที่ ๑ เวียนขวา

๔    ๖    ๒

๕          ๑

๗    ๓   ๘   

 


๗๕ คือธาตุดิน และ ๒๑ คือธาตุไฟจากระบบการหมุนของโลก เป็นแกนหลักในแนวตั้ง ๔๖ คือธาตุน้ำ และ ๘๓ คือธาตุลมจากระบบธาตุธรณี เป็นแกนรองในแนวนอน พอเรียงธาตุเวียนขวาจะได้ น้ำ (๔๖) - ไฟ (๒๑) - ลม (๘๓) - ดิน (๗๕) 


ถ้าลากเส้นที่หนึ่งเริ่มจากธาตุไฟ ๒ ไปหา ๑ ผ่านศูนย์กลางข้ามไปธาตุดิน ๕ และสิ้นสุดที่ ๗ และอีกเส้นลากจากธาตุน้ำ ๔ ไปหา ๖ ผ่านศูนย์กลางข้ามไปธาตุลม ๓ สิ้นสุดที่ ๘ จะเกิดรูปการหมุนจักรสวัสดิกะแบบเวียนขวา ยึดตามทิศทางที่ธาตุพุ่งเข้าสู่ศูนย์กลาง

 

และเมื่อจักรหมุนไปก็จะทำให้เกิดการทำงานของของสภาวะธาตุที่เกิดจากโลกหมุนผสมกับสภาวะธาตุธรณีขึ้นมาสองกลุ่มคือ ๔๒๘๗ และ๖๑๓๕ หมุนซ้อนกันแบบเวียนขวาเช่นกัน

กลุ่มธาตุดาวสองกลุ่มนี้สอดคล้องกับการจัดกลุ่มธาตุมาตรฐานราชาโชคในโหราศาสตร์ไทย ที่มีการแบ่งกลุ่มธาตุนี้ออกเป็นสองกลุ่ม คือฝั่งราศีภาคกลางวันประกอบด้วยธาตุดาวคู่สมพลสองคู่ ๔๒๘๗ วางตัวในราศีสิงห์-กันย์-ตุลย์-พิจิก ตามลำดับ และฝั่งราศีภาคกลางคืนประกอบด้วยธาตุดาวคู่สมพลอีกสองคู่ ๖๑๓๕ วางตัวในราศีกรกฏ-มิถุน-พฤศภ-เมษ ตามลำดับ


ลักษณะที่ ๒ เวียนซ้าย

    ๓    ๘

๗           ๒

    ๖     ๑



ถ้าสลับตำแหน่งของคู่ธาตุลมและธาตุน้ำของระบบธาตุธรณี เพื่อให้เวียนซ้ายจะได้ น้ำ (๔๖) – ไฟ (๑๒) - ลม (๘๓) - ดิน (๕๗)

 

เมื่อลากเส้นจากไฟ ๑ ไป ๒ ข้ามไปธาตุดิน ๗ สิ้นสุดที่ ๕ และอีกเส้นลากจากธาตุน้ำ ๔ ไป ๖ ข้ามไปยังธาตุลม ๓ สิ้นสุดที่ ๘ จะเกิดรูปสวัสดิกะหมุนแบบเวียนซ้าย ยึดตามทิศทางที่ธาตุพุ่งเข้าสู่ศูนย์กลาง

 

และเมื่อจักรหมุนจะทำให้เกิดการทำงานของสภาวะธาตุที่เกิดจากโลกหมุนผสมกับสภาวะธาตุธรณีในอีกแบบ
คือ ๔๑๘๕ และ๖๒๓๗ หมุนซ้อนกันแบบเวียนซ้ายเช่นกัน

 

การตั้งรูปแบบธาตุที่ให้ธาตุไฟกับธาตุดินที่เกิดจากการหมุนของโลกเป็นแกนหลักและธาตุลมกับธาตุน้ำที่เกิดจากธาตุธรณีเป็นแกนรองอาจทำให้การหมุนจักรเป็นไปอย่างคล่องตัวเหมือนพายเรือไปตามกระแสน้ำ หรือเรียกว่าการหมุนแบบราชาโชค ได้หรือไม่? 


สุพัฒน์ เจริญสรรพพืช
วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เวลา ๒๒.๕๐ น. จันทบุรี 

หมายเลขบันทึก: 511563เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2012 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2014 15:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท