ข่าวภาคี สสค.
ประชาสัมพันธ์ ข่าวภาคี สสค. ตีฆ้องร้องป่าว

แนะผู้ปกครองส่งเสริมการอ่าน-ให้เวลากับลูก เหตุผลวิจัยชี้ศักยภาพเด็กไทยรั้งท้าย


การมีคะแนนความรู้ความสามารถของเยาวชนที่ดี มาจากครอบครัวที่พ่อแม่มีเวลาให้ลูก อ่านหนังสือในบ้าน เสริมสร้างการรักการอ่านแต่เด็กและควรอ่านอย่างหลากหลาย โดยมีเทคนิคการจดจำ สามารถสรุปประเด็นได้ และพื้นฐานเด็กทุกคนจะต้องได้เรียนระดับประถมศึกษา

อดีตเลขาฯสพฐ.ระบุศักยภาพเด็กไทยรั้งท้าย

แนะผู้ปกครองส่งเสริมการอ่าน-ให้เวลากับลูก

อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ชี้แนวโน้มผลการประเมินนักเรียนนานาชาติ ระบุคุณภาพการศึกษาของเด็กไทยยังอยู่ในระดับต่ำ แนะพ่อ-แม่ให้เวลาแก่ลูกช่วยเด็กสร้างนิสัยรักการอ่านในครอบครั


ดร.คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และอดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  เปิดเผยระหว่างการการบรรยายพิเศษเรื่อง “การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพเยาวชน” ในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯระดับประถมศึกษา ซึ่งจัดโดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน (สสค.) ระบุว่าผลการประเมินนักเรียนนานาชาติ (PISA) ตั้งแต่ปี ค.ศ.1985-2009 ระดับขีดความสามารถ 6 ระดับ พบว่าเยาวชนไทยและในอินเดีย 50 % อยู่ในระดับ 1 ในขณะที่ผลการประเมินผลการศึกษา ใน 4,700 ชุมชนในแคนนาดาพบว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาก อีกทั้งยังมีการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในประเทศแคนาดาและกลุ่มประเทศยุโรป

อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แนะนำว่าในการเรียนการสอนควรปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนตามสภาพนักเรียน การที่ผู้เรียนมีคะแนนต่ำ สาเหตุมาจากครอบครัวด้อยโอกาส  ภูมิหลังของนักเรียนแต่ละคนแตกต่างกันแต่เรียนในโรงเรียนเดียวกัน เด็กบางคนเกิดในครอบครัวที่ห่างไกล อยู่ชนบท หรือเป็นชาวต่างด้าว แต่ผลการประเมินในระยะหลังมานี้พบว่าเด็กด้อยโอกาสแต่มีผลการเรียนที่ดีขึ้นคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ คือ ประเทศเกาหลีใต้ 14 %ประเทศญี่ปุ่น 11% และประเทศไทย 7%

ดร.คุณหญิงกษมา กล่าวว่าปัจจัยที่เชื่อมโยงสู่ผลการประเมินนักเรียนนานาชาติ คือ คุณภาพของโรงเรียน โรงเรียนที่สามารถพัฒนาเด็กให้มีคะแนนระดับสูง ได้แก่ โรงเรียนที่มีบรรยากาศอบอุ่นปลอดภัย มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและนักเรียน เช่น กิจกรรมการให้เด็กๆ วาดรูปคุณครูในโรงเรียน เพื่อแสดงถึงความคิดของเด็กที่มีต่อครู โรงเรียนมีอำนาจในการตัดสินใจการทำหลักสูตรภายในโรงเรียน คัดสรรครูที่มีคุณภาพ และการพัฒนาแรงจูงใจในการเรียน มากกว่าขนาดพื้นที่ห้องเรียน

“มาตรการที่ไม่ส่งผลต่อการยกระดับคะแนนเยาวชนในระดับประเทศ คือ ระบบตกเรียนซ้ำชั้นและการย้ายนักเรียนที่เรียนอ่อนออกจากโรงเรียน  การแยกนักเรียนตามความสามารถเร็วเกินไป และการเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันเพื่อเข้าเรียน” คุณหญิงกษมา กล่า


อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เห็นว่าการมีคะแนนความรู้ความสามารถของเยาวชนที่ดี มาจากครอบครัวที่พ่อแม่มีเวลาให้ลูก อ่านหนังสือในบ้าน เสริมสร้างการรักการอ่านแต่เด็กและควรอ่านอย่างหลากหลาย โดยมีเทคนิคการจดจำ สามารถสรุปประเด็นได้ และพื้นฐานเด็กทุกคนจะต้องได้เรียนระดับประถมศึกษา เพราะจะทำให้มีพัฒนาการมาก โดยทั่วไปผู้หญิงจะมีคะแนนเหนือกว่าผู้ชาย แต่ถ้าพยายามสร้างแรงจูงใจในการอ่านและเพิ่มเทคนิคการเรียนรู้ก็สามารถอุดช่องโหว่นี้ได้

“มีผลการวิจัยชี้เห็นว่า ครอบครัวที่ไม่มีเวลาลูก ในช่วงวัยเด็ก(เรียนรู้คำศัพท์ใหม่) คือปล่อยให้ลูกดูทีวี สมองของเด็กจะรับคำศัพท์ 16 ล้านคำ แต่ครอบครัวไหนมีเวลาอยู่กับลูก ดูแลลูก พบว่าสมองเด็กสามารถจดจำคำได้ถึง 45 ล้านคำ” อดีตเลขาธิการ สพฐ.กล่าว


ดร.คุณหญิงกษมา กล่าวต่อไปว่าปัจจุบันการศึกษาในประเทศอาเซียนแบ่งกลุ่มออก ได้แก่ บรูไน สิงคโปร์ และมาเลเซีย อยู่ในระยะเปลียนผ่าน(Transforming) มีการปฏิรูปการศึกษา ส่วนประเทศอินโดนีเซีย ไทย ฟิลิปินส์ และเวียดนาม จัดอยู่ในระยะต่อเติมเสริมสร้าง (Infusing)  และเห็นว่าประเทศไทยมีความก้าวหน้าในการเตรียมความพร้อมในเรื่องเทคโนโลยีแต่ยังไม่สามารถใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) เพื่อการเรียนรู้ได้ จึงทำได้แค่นำคอมพิวเตอร์มาแทนกระดานชนวนในอดีต

 จากการประเมินผลการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีประสิทธิภาพของประเทศอังกฤษ คือ สามารถใช้ในการสืบหาข้อมูลที่ตรงประเด็น สามารถใช้ในการคัดสรร วิเคราะห์ สังเคราะห์ กลั่นกรองได้ มีการประยุกต์ใช้ตามสภาพที่เป็นจริง มีการสื่อสารโน้มน้าวต่อรองผ่านระบบสารสนเทศ และมีการประเมินทบทวนเพื่อปรับปรุงอยู่เป็นระยะๆ

ผลงานวิชาการที่แสดงในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯระดับประถมศึกษา 



















หมายเลขบันทึก: 511548เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2012 20:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 11:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท