ดอกตะแบก


ตะแบกบานแล้วก็ต้องร่วงหล่น...

มองดูเหมือนวงจรชีวิตของสรรพสิ่งในโลกเรา มีเกิด แล้วย่อมมีดับ..

เพียงแต่เมื่อเกิดมาแล้ว ขณะที่รอดับขันธ์นั้น..

ได้ปลุกสร้างอะไรไว้กับโลกใบนี้บ้าง ..

สร้างสุขต่อโลก...สร้างกรรมดีต่อโลกและตัวเอง...

หรือจะสร้างแบบตรงกันข้ามกับที่กล่าวมา..

นั่นขึ้นอยู่กับตัวของเราเลือกลิขิตเอง...ชีวิตหาใช่พรหมลิขิตบันดาลชักพา...


ชื่อภาพ..++ดอกไม้หน้าหนาว ถึงคราวจะเบ่งบาน เพียงลมพัดผ่าน ฤดูกาลก็เปลี่ยนไป++

 ต้นตะแบก
พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกมงคล ประจำจังหวัดสระบุรี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstreomia floribunda Jack
วงศ์ LYTHERCEAE
ชื่ออื่น ตะแบกนา ตะแบกไข่ เปื๋อยนา เปื๋อยหางค่าง
ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15 - 30 เมตร เปลือกเรียบ เป็นมัน สีเทาอมขาว แตกร่อนเป็นหลุมตื้น
ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 5 – 7 เซนติเมตร ยาว 12 – 20 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนสอบ
ดอกสีม่วงอมชมพูต่อมาสีขาว ออกร่วมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง
ผล รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ผลแก่แตกเป็น 6 ซีก เมล็ดเล็ก มีปีกโคนทางด้านปีก 1 ปีก
นิเวศวิทยา เป็นพันธุ์ไม้พื้นของป่าเบญจพรรณชื้น ป่าดงดิบ ป่าน้ำท่วม ตามท้องนา ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 20 – 300 เมตร
ออกดอก ธันวาคม - กุมภาพันธุ์ ผลแก่ เดือน มีนาคม
ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด
ประโยชน์ เนื้อไม้ละเอียดแข็ง ใจกลางมักเป็นโพรงใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่รับน้ำหนักและเครื่องมือการเกษตร และนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
ปัจจุบัน ทางหลวงนำมาปลูกริมถนน เป็นไม้ริมทางไปแล้ว

คำสำคัญ (Tags): #ดอกตะแบก
หมายเลขบันทึก: 511522เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2012 15:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 12:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท