งานวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาพัฒนาชุมชนและรัฐศาสตร์


  สรุปผลการวิจัย  ความต้องการศึกษาต่อ และความคาดหวังของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อหลักสูตร  ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน และรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์  

 1 .  ความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชา
การพัฒนาชุมชน และรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์
 

  1.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง

    จากการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท
สาขาพัฒนาชุมชนและสาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน  วิทยาเขตกาฬสินธุ์ จำนวน 100 คน ในตอนที่ 1และตอนที่ 4 ของแบบสอบถาม  พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ
58.00 และเป็นเพศชาย ร้อยละ 42.00 ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 17-26 ปี ร้อยละ
44.00 รองลงมา คือ มีอายุระหว่าง 47-56 ปี ร้อยละ 20.00 อายุระหว่าง 37-46 ปี ร้อยละ
18.00 อายุระหว่าง 27-36 ปี ร้อยละ 16.00 อายุตั้งแต่ 57 ปีเป็นต้นไป  ร้อยละ 1.00 และไม่ระบุอายุ ร้อยละ 1.00ตามลำดับ  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี  ร้อยละ 54.00 รองลงมาคือ ต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 44.00 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียน นักศึกษา ร้อยละ 41.00  รองลงมาคือ ข้าราชการ ร้อยละ 25.00อยากเป็นนักพัฒนาสังคมหรือพัฒนาชุมชน ร้อยละ 70.00 รองลงมาคือ ข้าราชการท้องถิ่นหรือนักการเมืองท้องถิ่น
ส่วนใหญ่มีความสนใจที่จะศึกษาในหลักสูตรปริญญาโท ร้อยละ 96.00 และไม่สนใจที่จะศึกษาในหลักสูตรปริญญาโท ร้อยละ 4.00

    กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความสนใจที่จะศึกษาต่อสาขาพัฒนาชุมชน
ร้อยละ
68.00 และสนใจที่จะศึกษาต่อในสาขารัฐศาสตร์ ร้อยละ 32.00  และส่วนใหญ่ต้องการศึกษาภาคสมทบ
ในวันเสาร์และวันอาทิตย์ ร้อยละ
70.00 ศึกษาในภาคปกติ ร้อยละ 26.00 และส่วนใหญ่มีความเห็นว่ามหาบัณฑิตที่จบหลักสูตรปริญญาโทสาขาพัฒนาชุมชนและสาขารัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 
วิทยาเขตกาฬสินธุ์เป็นที่ต้องการของตลาดอาชีพร้อยละ
92.00 และไม่เป็นที่ต้องการของตลาดอาชีพ ร้อยละ 8.00และส่วนใหญ่จะแนะนำให้คนที่รู้จักมาศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทสาขาพัฒนาชุมชนและสาขารัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน  วิทยาเขตกาฬสินธุ์  ร้อยละ 88.00

  1.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท
สาขาพัฒนาชุมชนและสาขารัฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 
วิทยาเขตกาฬสินธุ์

         ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท  สาขาพัฒนาชุมชนและสาขารัฐศาสตร์ในภาพรวมและรายด้าน จำแนกตามข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง  ดังนี้

  1. เพศ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า เพศชาย และเพศหญิงมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโทสาขาพัฒนาชุมชนและสาขารัฐศาสตร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 

 2. อายุ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ในทุกช่วงอายุมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาพัฒนาชุมชนและสาขารัฐศาสตร์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3. วุฒิการศึกษา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ต่ำกว่าปริญญาตรี  ปริญญาตรี  ปริญญาโท  มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท  สาขาพัฒนาชุมชนและสาขารัฐศาสตร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

 4. อาชีพ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ข้าราชการ  มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท
สาขาพัฒนาชุมชนและสาขารัฐศาสตร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
  ส่วนพนักงานราชการ  เกษตรกร  นักเรียนหรือนักศึกษาและผู้มีอาชีพรับจ้าง  ล้วนแล้วแต่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท
สาขาพัฒนาชุมชนและสาขารัฐศาสตร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

 5. อาชีพที่ต้องการหลังจากจบการศึกษา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า กลุ่มที่ต้องการเป็นนักพัฒนาสังคมหรือพัฒนาชุมชน  เป็นข้าราชการหรือนักการเมืองท้องถิ่น  และเป็นเจ้าหน้าที่วิคราะห์นโยบายและแผน  มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท  สาขาพัฒนาชุมชนและสาขารัฐศาสตร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  

 6. การสนใจเข้าศึกษา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่ามีทั้งกลุ่มที่สนใจและไม่สนใจเข้าศึกษาต่อ

7.สาขาที่ต้องการศึกษา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า  กลุ่มที่ต้องการศึกษาในสาขาพัฒนาชุมชน  และกลุ่มที่ต้องการศึกษาในสาขารัฐศาสตร์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท
สาขาพัฒนาชุมชนและสาขารัฐศาสตร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ
87.60
 8. ภาคการศึกษาที่ต้องการศึกษา  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า กลุ่มที่ต้องการศึกษาภาคสมทบ

(เสาร์-อาทิตย์)  มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาพัฒนาชุมชนและสาขารัฐศาสตร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 87.80 รองลงมาต้องการศึกษาภาคสมทบนอกเวลาราชการ และต้องการศึกษาภาคปกติ ตามลำดับ

9. ความต้องการในตลาดอาชีพ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า กลุ่มที่คิดว่าเป็นที่ต้องการในตลาดอาชีพ  มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาพัฒนาชุมชนและสาขารัฐศาสตร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  กลุ่มที่คิดว่าไม่เป็นที่ต้องการในตลาดอาชีพ  มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท
สาขาพัฒนาชุมชนและสาขารัฐศาสตร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 

 10. การแนะนำหลักสูตร ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า  กลุ่มที่จะแนะนำหลักสูตร  มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาพัฒนาชุมชนและสาขารัฐศาสตร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

กลุ่มที่จะไม่แนะนำหลักสูตร  มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท  สาขาพัฒนาชุมชนและสาขารัฐศาสตร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง

2  ความคาดหวังในมหาบัณฑิตสาขาพัฒนาชุมชน  และสาขารัฐศาสตร์ ด้านทักษะวิชาชีพ ความสามารถทั่วไปและคุณธรรม  จริยธรรมของบุคลากรในหน่วยงาน

 2.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง

จากการสำรวจความคาดหวังในมหาบัณฑิตสาขาพัฒนาชุมชนและรัฐศาสตร์ด้านทักษะวิชาชีพ
ความสามารถทั่วไปและคุณธรรม จริยธรรมของบุคลากรในหน่วยงานจำนวน 100 คน พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นพนักงานท้องถิ่น ร้อยละ 42.0 รองลงมาเป็นนักพัฒนาชุมชน ร้อยละ 21.0 เป็น ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดอยู่ในหน่วยงานของรัฐบาลที่อยู่ในอำเภอเชียงยืน
อำเภอกันทรวิชัยและอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดกาฬสินธุ์ อันได้แก่
องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสะอาด ตำบลห้วยเม็ก  ตำบลธัญญา 
ตำบลภูแล่นช้าง  ตำบลท่าคันโท  ตำบลหนองหิน 
ตำบลหนองอีเฒ่า  ตำบลหัวงัว  ตำบลนาดี ตำบลยางตลาด ตำบลเว่อ 
ตำบลหนองตอกแป้น 
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ 

  2.2  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับระดับความคาดหวังในมหาบัณฑิตสาขาพัฒนาชุมชนและรัฐศาสตร์ด้านทักษะวิชาชีพความสามารถทั่วไปและคุณธรรม จริยธรรมของบุคลากรในหน่วยงานจากการวิเคราะห์ข้อมูลความคาดหวังในมหาบัณฑิตสาขาพัฒนาชุมชนและรัฐศาสตร์ของบุคลากรในหน่วยงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า

 ด้านทักษะวิชาชีพ
มีความคาดหวังในมหาบัณฑิตสาขาพัฒนาชุมชนและรัฐศาสตร์อยู่ในระดับมากทุกข้อข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด
3 อันดับแรกคือควรมีความรู้ด้านศาสตร์การพัฒนาชุมชนและรัฐศาสตร์   รองลงมาคือ ควรมีความรู้ในด้านอาเซียนศึกษา  และมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

 ด้านความสามารถทั่วไป 
มีความคาดหวังในมหาบัณฑิตสาขาพัฒนาชุมชนและรัฐศาสตร์อยู่ในระดับมากทุกข้อ
ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด
3 อันดับแรก คือ  มีความเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี รองลงมาคือ มีการทำงานอย่างเป็นระบบและมีวิสัยทัศน์กว้างไกล

ด้านคุณธรรมจริยธรรม 
ความคาดหวังในมหาบัณฑิตสาขาพัฒนาชุมชนและรัฐศาสตร์อยู่ในระดับมากทุกข้อ
ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด
3 อันดับแรก คือ มีระเบียบวินัย
เคารพกฎเกณฑ์ของหน่วยงาน รองลงมา คือ มีค่านิยมที่ดีต่อการทำงานและความซื่อสัตย์

ด้านบุคลิกภาพ 
ความคาดหวังในมหาบัณฑิตสาขาพัฒนาชุมชนและรัฐศาสตร์อยู่ในระดับมากทุกข้อ
ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด
3 อันดับแรก คือ
มีความตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย รองลงมา คือ พูดจาไพเราะ อ่อนหวาน
อ่อนน้อมถ่อมตนและมีความกระตือรือร้นอยู่เสมอ

3. ข้อเสนอแนะในการผลิตมหาบัณฑิตสาขาพัฒนาชุมชนและรัฐศาสตร์

     การจัดการเรียนรู้ในระดับปริญญาโทต้องมีมาตรฐานสากล มาตรฐานการเรียนรู้ มีการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี  มีการบรรยายออกอากาศหลายช่องทาง ผู้ที่เข้าศึกษาต่อต้องต้องมีทัศนคติที่ดีในการเรียนรู้  มีพื้นฐานการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับศาสตร์ที่เรียน และมีจิตสาธารณะ ผู้ที่จะศึกษาเรียนรู้และทำงานพัฒนาชุมชนต้องทำงานกับคนจึงต้องมีกลยุทธ์  สามารถนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและเรียนรู้ด้วยกันงานพัฒนาชุมชนจึงจะประสบผลสำเร็จ
เพราะโลกเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความเป็นชนบทจึงได้รับผลกรระทบ  ดังนั้นจะทำอย่างไรให้ชุมชนร่วมมือทำเพื่อส่วนรวม ควรมีการพัฒนาทักษะ กระบวนการคิดเชิงระบบ ควรเน้นการทำวิทยานิพนธ์  ผู้ที่จะเป็นมหาบัณฑิตในสาขานี้  ต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจสถานการณ์ชุมชนของประเทศไทยอย่างแท้จริง
เมื่อจบมาแล้วต้องมีความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะพัฒนาชุมชนอย่างแท้จริง  ควรปลูกฝังให้คนในชุมชนมีสำนึกรักษ์บ้านเกิด  มีความรักความผูกพันต่อท้องถิ่นและชุมชนของตนเอง เกิดความรัก  ความปรองดองของคนในชาติ  ส่งเสริมให้คนมีจิตสาธารณะ  เสียประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ของคนส่วนรวม
  ควรระดมสมองภูมิปัญญาท้องถิ่นและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขา ด้านที่เกี่ยวข้อง และ มีการประชาสัมพันธ์หลักสูตรให้ทั่วถึง  มีการติดต่อประสานงานหน่วยงานในท้องถิ่นให้เป็นเครือข่าย



หมายเลขบันทึก: 510863เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2012 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ธันวาคม 2012 21:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท