ระบบการศึกษาไทยยังคงจะหลงทางอีกยาวไกล


ผมไปดูตัวอย่างข้อสอบสำหรับ "ผู้ประเมิน"

ทำให้เห็นภาพ
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ชัดเจนมาก

ว่าตั้งมาทำไม
ทำงานอย่างไร ทำได้แค่ไหน

จะผลักดัน
หรือบีบแรงเกินไปก็ไม่ได้ ทุกสถานศึกษาก็จะ "ตาย" และน่าจะโดนต่อต้านทางสังคมการศึกษาแน่นอน
ที่จะทำให้ สมศ. ไม่ผ่านการประเมินทางสังคมการศึกษา
แม้จะทำตามเป้าหมายของประเทศก็ตาม

และอาจจะเกิดปัญหา
ไม่ทางหนึ่งก็ทางใด

จะไม่บีบเค้นเลย
ก็อาจจะผิดเงื่อนไขของการตั้ง สมศ.


ก็เลยจำเป็นต้องมากำหนดกติกาแบบ
"พบกันครึ่งทาง"


สถานศึกษาทุกแห่ง
ก็ทำงานเหมือนเดิมนั่นแหละ

แต่ขอให้พยายามเขียนให้เข้าทางของหัวข้อการประเมินหน่อยอะไรที่ทำท่าจะไม่ผ่านก็สร้างฉาก
หรือพัฒนาฉาก ให้ดูดีหน่อย

หรือสร้างหลักฐานให้ตรงกับเกณฑ์หน่อย

แบบเดียวกับการขอตำแหน่งอาจารย์
3 (คศ. 3) อย่างไรอย่างนั้นเลยครับ

ทีนี้นะครับ
คนที่จะทำข้อสอบ
เพื่อจะไปเป็น "ผู้ประเมิน" จะต้องเข้าใจขีดจำกัดของ สมศ.

โดยไม่นำข้อด้อย
และความจริงของระบบการศึกษา และระบบการประเมินมาตอบ


เพราะงานที่จะทำไม่ได้เป็นการประเมินความจริง
แค่ประเมินเอกสาร
และหลักฐานหรือสถานการณ์ที่สร้างขึ้นมาแบบเฉพาะกิจเท่านั้น


ประเมินผ่านเสร็จแล้วก็
เชิญพักผ่อนได้ ทำอะไรก็ได้ตามสบาย จนกว่าจะประเมินคราวหรือรอบต่อไป


ในการสอบผู้ประเมินใครใช้สามัญสำนึกในการตอบข้อสอบ
จะตกหมดทุกคน


ต้องตอบตามหลักการที่
สมศ. กำหนดไว้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น


ดูไปแล้วก็แค่อีก
"เกม" หนึ่งของคนในระบบการศึกษาไทย ที่แค่ทำให้ทุกคนต้องเรียนรู้
และประคองตัวให้รอดกันทุกฝ่าย

กันไปวันๆ

แล้วประเทศจะได้อะไร
ผมมองไม่ออกครับ

 

ระบบการศึกษาก็ยังหลงทางเหมือนเดิม

ไม่ได้ตอบสนองความจำเป็นของการพัฒนาคนในการพัฒนาประเทศที่ถูกทาง
และอยู่รอดในฐานะของประเทศหนึ่งในโลก แต่เพียงแค่ผลิตคนให้มีกระดาษเปื้อนหมีกรับรองให้ไปสมัครงานเท่านั้นเองหรือ

 

สังคมโดยรวมและประเทศไทยเราจะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคต
ใครจะดูแลครับ

หมายเลขบันทึก: 510609เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2012 10:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เสียงบประมาณแผ่นดิน ความเจริญก้าวหน้าไม่คืบหน้า จะเกษียณอยู่แล้วยังไม่เห็นก้าวไปไหน

        ตามหลักการของ สมศ.  เขาก็ดูดีนะครับ คือ เขาบอกว่า ไปประเมินสภาพจริง  ไปประเมินความจริง  และ ยังบอกอีกว่า    โรงเรียนไม่ต้องจัดเตรียมเอกสารอะไร

      แต่ ทุกวันนี้  ไม่ว่าไปประเมินโีรงเรียนไหน ก็เห็นขนเอกสารกันมาเต็มห้อง  และ  การประเมินส่วนใหญ่ก็อยู่ในเอกสาร

ครับ ก็ประมาณนี้แหละครับ ใครรู้อะไรก็มาช่วยๆกันครับ อิอิอิอิอิ

  • เวลา สรพ.มาประเมินโรงพยาบาลก็จะมีการเคลื่อนไหวอยู่ราวๆ 3 เดือนเพื่อรอรับการประเมิน  พอประเมินผ่านก็นิ่งเหมือนเดิมค่ะ
  • วัฒนธรรมของเราเป็นแบบนี้  มันจึงปรากฎการณ์ปกติอยู่ในทุกวงการ  ใครทำอะไรจริงจัง มั่นคงในหลักการ ไม่คลอนแคลนก็เป็นคนที่ผิดปกติ

ครับ แล้วจะเสนอแนะอะไรบ้างครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ดร.แสวง

  • อยากจะให้ดอกไม้กำลังใจ แห่งความคิดแรงกล้า ของอาจารย์ สัก "หลายพันดอก" เห็นด้วยอย่างแรง...... และ ยังคง เฝ้าดู อย่างมีความหวัง ต่อไป ว่า "ระบบการศึกษาไทย... จะกู่กลับเมื่อใด..." ... คนในแวดวง การศึกษา อาจหวัง เพียงแค่ สร้าง แรงต้่าน หรือ สร้างแรงโน้มถ่วง ... ให้ดึง หรือ ถ่วง สมดุล.... ได้เท่านี้ ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ทำได้ไปก่อน นะคะอาจารย์

คำว่า "แรงโน้มถ่วง" น่าสนใจครับ จะลองไปคิด และขยายผลดูครับ ขอบคุณครับ

หนึ่งปีโรงเรียนเปิดสอน 40 สัปดาห์ หรือ 200  ตามหลักสูตร เดิม ๆ   ครูสอนหนังสือบ้าง อบรมบ้าง (เป็นส่วนใหญ่ เพราะตามนโยบายต่างๆ) ช่วยงานประเทศชาติ บ้าง เช่นเป็นกรรมการเลือกตั้ง นายกรัฐมนตรี ( เลือก สส แล้ว สสไปเลือกอีกที่ ) เลือก สว เลือก สจ  นายก อบจ เลือก อบต นายกอบต เทศบาล กำนัน ผู้ใหญ่บ่าน เลือกผู้แทน ครู ( อคกศ) ถึงจะเสาร์ อาทิตย์ แต่ละครั้งต้องมี การประชุมทำความเข้าใจทุกครั้ง  ช่วยงานวัด งานบุญ ไปเป็นแขกผู้มีเกียรติงานศพ (เพราะอยู่ในชุมชน ต้องอาศัยตามหลัก บ้าน วัด  โรงเรียน) อยู่ในโรงเรียน จัดงานวันสำคัญต่างๆ ในโรงเรียนตามนโยบายที่เปลี่ยนออกบ่อยๆ บ้างครั่งจัดงานวันพ่อ วันแม่แห่งชาติ ที่โรงเรียน แต่ลูกตัวเองไม่เคยไป เพราะหน้าที่ เสาร์ อาทิตย์ ต้องอบรม ตามปีงบประมาณ ลูก เมีย ผัว ไม่เคยอยู่เป็นครัว ลูกติดยา ผัวมีเมียน้อย เมียมีชู้เพราะมัวแต่อบรม นักเรียนที่สอนก็เป็นเด็กคัด (เขาคัดทิ้งแล้ว ไม่มีที่จะไป ก็ต้องสอนตาม วัตถุดิบ) ครูก็ไม่ครบชั้น สือ การสอนก็น้อย ทุกอย่างน้อยหมด พาเด็กไปเรียนรู้ เข้า ร่วมกิจกรรม ก็รถครู น้ำมันครู อาหารกลางวันก็เงินครู เด็กมาเรียนบ้างไม่มาบ้างก็ต้องไปตาม เพราะเด็กบางคนปากท้อง สำคัญกว่าความรู้ ตัดอ้อยบ้าง ปลูกมัน ขุดมันบ้าง จับงูขายบ้าง เด็กผู้หญิงก็รับจ้างเต้นตามวงดนตรีลูกทุ่งบ้าง กลับดึกง่วงนอน ขาดเรียน  อาคารเรียน โต็ะเก้าอี้  รุ่นพ่อ รุ่นแม่ แล้วจะเอาอะไรอีก การการศึกษาไทย ได้แค่นี้ ก็ดีหลายแล้วครับ ท่านนักวิชาการ บนแผ่นกระดาษ ทฤษฏีที่เรียนมาบนแผ่นกระดาษ พอมาเป็นครูเข้าจริงๆ ใช่ไม่ ได้เลย ยิ่งโรงเรียนที่อยู่ตามป่าตามเขา คนละเรื่องกันเลย กับ นโยบาย และทฤษฏี ที่อาจารย์ในมหาวิทยาลัยเคยสอนมา


ทิศทาง ควรต้องมีเป้าหมาย จากที่เห็นนักเรียน น่าจะมีเป้าที่ความรู้ มุ่งไปด้วยความไฝ่รู้  แต่เหมือนยิ่งเรียนเป้ายิ่งเปลี่ยน มุ่งไปที่การไฝ่จบเพื่อกระดาษแผ่นหนึ่งที่มาแทนที่ความรู้ โดยละทิ้งการไฝ่รู้ไปเป็นไฝ่ได้  โดยบางคนไม่สนวิธีการด้วย ทำให้จิตสำนึกต่อสิ่งต่างๆผิดเพี้ยน ซึ่งจะต้องช่วยเหลือกัย นักเรียนเป็นเด็กก็มองเป้าได้แค่บางมุม เราเป็นผู้ชี้ทางต้องวางเป้า วางแนวทางให้เด็กๆในมุมที่เหมาะสมด้วย  และเราๆที่โตแล้วที่เป็นผู้สอนหรือผู้ที่จะต้องเป็นแบบอย่าง  ก็-ต้องวางเป้าของตัวเองด้วย อย่าหลงทางเสียเอง เด็กหลงทางในการศึกษา ส่วนหนึ่งงก็มาจากเราๆหลงทางในชีวิต ผมว่าเราๆที่ต้องเป็นผู้สอนก็ ต้องรีบให้ไม่หลงทางในชีวิตซะก่อน จะเริ่มศึกษาหาความรู้ที่ใช้ได้จริงตอนโตแล้วก็ไม่สาย   จะได้ช่วยกันทำให้การศึกษาไปถูกทางซะที ไม่ล้มเหลวหลงทางเหมือนตอนนี้ครับ    ผมก็เป็นอาจารย์ครับเมื่อสอนทีไรก็อยากให้มี อยากเห็นเด็กเก่งกว่าผมยิ่งขึ้นไปอีก(ในวิชาความรู้)เด็กจะรู้แต่ขาดเชาว์  แต่ก็น้อยครับ ก็คงต้องช่วยกัน ขอบคุณที่อ่านครับ

ตอนนี้นะครับ ผมแยกไม่ออกว่าใครเป็น "เด็ก" ใครเป็น "ผู้ใหญ่" ครับ ถ้าไม่ดูอายุ หน้าตา นะครับ ดูความคิดอย่างเดียวนี่งงงเลย 555555555555555

จริงครับ บางคนแก่ แล้ว ยังคิดเหมื่อน เด็ก เก่งแต่ วิชาการ แต่เอาตัวไม่รอด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท