ครูนอกระบบ
นาง ณัฐนิธิ อารีย์ อักษรวิทย์

<เล่าสู่กันฟัง>ความเป็นมาของประเพณีลอยกระทง



ความเป็นมาของประเพณีลอยกระทง

        ลอยกระทง เป็นพิธีกรรมร่วมกันของผู้คนในชุมชน หรือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีมาแต่ยุคดึกดำบรรพ์ เพื่อขอขมาต่อธรรมชาติ แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่าลอยกระทงเริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ผู้คนในสุวรรณภูมิรูว่าชีวิตอยู่ได้ก็เพราะน้ำและดินเป็นสำคัญและน้ำเป็นสิ่งที่น้ำสำคัญที่สุดแก่ชีวิตของคนเราหากเราขาดแคลนน้ำก็จะทำให้ชีวิตเรารำบากมากยิ่งขึ้น ดังนั่น เมื่อคนเรามีชีวิตอยู่รอดได้ปีหนึ่ง จึงทำพิธีขอขมาสิ่งที่ได้ล่วงล้ำก่ำเกินโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ด้วยการใช้วัสดุที่ย้อยสลายได้และสามารถลอยน้ำได้ใส่เครื่องเส้นไหว้ให้ลอยไปกับน้ำ สำหรับราชสำนักกรุงศรีอยุธยา ที่อยู่บริเวณราบลุ่มน้ำ และมีน้ำท่วมนานหลายเดือน ก็เป็นศูนย์กลางสำคัญที่จะสร้างสรรค์ประเพณีเกี่ยวกับน้ำขึ้นมาเป็น ประเพณีหลวง ของอาณาจักร ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีที่ชาวไทยส่วนใหญ่ให้การนับถือและให้การยอมรับเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประเพณีลอยกระทงได้จัดขึ้นทุกๆปีในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยและเอกสารร่วมสมัยก็ไม่ มีปรากฏชื่อ “ลอยกระทง” แม้แต่ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงก็มีแต่ชื่อ “เผาเทียน เล่นไฟ” ที่มีความหมายอย่างกว้างๆ ว่า การทำบุญไหว้พระ ส่วนเอกสารและวรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยาสมัยแรกๆ ก็มีแต่ชื่อ ชักโคม ลอยโคม แซวนโคม และลดชุดลอยโคมลงน้ำ ในพิธีพราหมณ์ของราชสำนักเท่านั้น และแม้แต่ในสมัยกรุงธนบุรีก็ไม่มีชื่อนี้จนถึงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์จึงมีปรากฏชัดเจนในพระราชพงศาวดารแผ่นดิน รัชกาลที่ ๓ฉบับ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์และเรื่องนางนพมาศ พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๓ ซึ่งก็หมายความว่า คำว่า “ลอยกระทง” เพิ่งปรากฏในต้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้เองอนึ่ง ประเพณีลอยกระทงที่ทำด้วยใบตองในระยะแรก จำกัดอยู่แต่ในราชสำนักกรุงเทพฯ เท่านั้น ซึ่งมีรายละเอียดพรรณาอยู่ในหนังสือพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ ๓ ว่ากรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ราชธิดาองค์โปรดได้แต่งกระทงเล่นทุกปี เมื่อนานเข้าก็เริ่มแพร่หลายสู่ราษฎรในกรุงเทพแล้วขยายไปยังหัวเมืองใกล้เคียงในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และกว่าจะเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วประเทศก็ประมาณปี ...

ประเพณีลอยกระทง

         ลอยกระทง เป็นประเพณีที่สำคัญและเก่าแก่ของไทย ตรงกับวันขึ้น๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ซึ่งอยู่ในช่วงน้ำหลาก มีที่มากจากพิธีกรรมเกี่ยวกับน้ำ ซึ่งปัจจัยสำคัญในวัฒนธรรมของไทย ถึงแม้จุดมุ่งหมายความเชื่อในวันลอยกระทงจะแตกต่างกัน แต่ความหมายที่เหมือนกันของประเพณีลอยกระทงก้อคือ การแสดงออกถึงความกตัญญู รู้จักสำนึกถึงคุณค่าของน้ำ ที่ช่วยให้เรามีชีวิตที่ดี นับเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่ดีงามอย่างหนึ่งของไทย ปัจจุบันประเพณีลอยกระทงได้ถูกดัดแปลงไปบ้าง การให้ความสำคัญของความหมายของวันลอยกระทง คุณค่า สาระและแนวทางที่พึ่งปฏิบัติน้อยลง จึงได้จัดทำหนังสือเกี่ยวกับวันลอยกระทงขึ้น เพื่อเผยแพร่ ความหมาย คุณค่าสาระ แนวปฏิบัติ ตลอดจนธรรมเนียมที่ถูกต้องเกี่ยวกับวันลอยกระทง เพื่อให้คนรุ่นต่อไปไปได้น้ำมาศึกษาค้นคว้าและหวังอย่ายิ่งว่าจะเป็นแนวทางการปฏิบัติและการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในประเพณีลอยกระทง ลอยกระทง เป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณในช่วงวันเพ็ญ ๑๒ พระจันทร์เต็มดวง แสงจันทร์สอดส่องสว่างไสว แม่น้ำใสสะอาด เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง เพื่อแสดงถึงความเคารพและการสำนึกบุญคุณของแม่น้ำคงคา และอื่นๆ ตามคติความเชื่อของแต่ละภาคแต่ละท้องถิ่นโดยใช้เป็นสื่อการในการอธิฐาน และวันลอยกระทงที่จะมาถึง ในวันที่๒๑ พฤศจิกายน ขอเชิญให้ประชาชนไทยทั่วประเทศ ร่วมสืบทอดประเพณีลอยกระทงอันดีงามนี้ไว้เป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทยไม่ให้เสื่อมสูญ


หมายเลขบันทึก: 510241เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2012 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 19:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท