เสธ.อ้าย สถานการณ์การสร้างผู้นำ


  • บทเรียนจากความจริง

    ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
  • บทความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2555
  • ติดตามอ่านย้อนหลังได้ที่ลิงก์ข้างล่างนี้ครับ
  • http://www.naewna.com/columnist/1104

เสธ.อ้าย สถานการณ์การสร้างผู้นำ

เป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งที่ประเทศไทยเข้าสู่สภาวะวิกฤติทางการเมือง

  คราวนี้เสื้อแดงไม่ได้เผาบ้าน เผาเมือง แต่กลายเป็นกลุ่มคนไม่เอาทักษิณ รวมตัวกันภายใต้การทำงานของเสธอ้าย- พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์

รัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ประมาท คิดว่า

§  มีอำนาจรัฐทำได้ทุกอย่าง ไม่ต้องฟังเสียงใคร

§  คิดว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีน้ำยา

§  คิดว่าพันธมิตรฯ อ่อนแรงลงมาก

แต่การกระทำของรัฐบาลแบบไม่เกรงใจความรู้สึกของคนไทย เป็นตัวเร่งกระแสโดยคาดไม่ถึงว่า จะมีคนไทยที่บริสุทธิ์ เกิดความไม่พอใจมากมายทนไม่ได้กับระบอบทักษิณมากขึ้นถึงขนาดนี้

เหตุการณ์ดังกล่าวจึงนามาสู่การวิเคราะห์ในแนวสถานการณ์สร้างผู้นำ หรือภาษาอังกฤษ เรียกว่า Situational Leadership ที่เกิดขึ้นกับเสธ.อ้าย

มีตัวอย่างหลายเรื่องในอดีต

§  จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ห้ามม็อบไม่ให้ตีกันที่หน้าสะพานมัฆวานรังสรรค์ โดยบอกว่าข้าพเจ้ารับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว จึงนำมาสู่ความเป็นนายกรัฐมนตรีของไทยในวาระต่อมา

§  ช่วงต่อมาเพราะเหตุการณ์ วันที่ 11 กันยายน ในอเมริกา ตึก 2 ตึก ในนิวยอร์กถูกถล่ม ประธานาธิบดี Bush หลบหายไปเลย กลัวไม่ปลอดภัย แต่คุณ Rudolf Giuliani  นายกเทศมนตรีของนครนิวยอร์ก ออกมาแสดงความรับผิดชอบและแสดงความเป็นภาวะผู้นำได้ดี จนคนพูดถึงและกลายมาเป็นผู้สมัครแข่งกับประธานาธิบดีในช่วงต่อมา

ถ้าดูประวัติเสธ.อ้าย คงต้องยอมรับว่า

-  มีเพื่อนเยอะ

-  ชอบกีฬา (มวย)

-  กล้าหาญ (เคยร่วมปฏิวัติ เคยเข้าคุกมาแล้ว)

-  ขณะนี้อายุ 69 แล้ว

-  ไม่มีเป้าหมายที่จะมีความทะเยอะทะยานทางการเมือง แต่ก็จุดติดเรื่องชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์มีปัญหามากมายโดยเฉพาะเรื่องคอร์รัปชั่น

ปัญหาก็คือ รัฐบาลชุดนี้ กลัวม็อบจนเกินไปหรือเปล่าถ้ารัฐบาลทำดีแล้ว ม็อบก็ล้มรัฐบาลไม่ได้ จนกระทั่งวันที่ผมเขียนบทความนี้เช้าวันศุกร์ยังไม่มีม็อบมาสักคน แต่ตำรวจต่างจังหวัดขับรถตู้มาเป็นพันๆ คัน เตรียมตัวมากเกินไปหรือเปล่า?

ผมจึงขอให้คนไทยติดตามดูสถานการณ์ดังกล่าวด้วยความรอบคอบเป็นธรรมแก่ทุกๆฝ่าย ที่สำคัญที่สุดก็คือ ประเทศไทยจะไปในทางไหน?

-  ระบอบทักษิณคงไปได้ระยะหนึ่ง ไม่นาน ไม่ยั่งยืนขาดคุณธรรม จริยธรรมเป็นแบบอย่างที่ไม่ดี

-  จะทดแทนด้วยการเมืองแบบไหน?

-  ในช่วงเปลี่ยนแปลง จะมีความเสียหายแค่ไหน?

ขอให้คนไทยทุกๆคนติดตามเหตุการณ์อย่างใกล้ชิด

  สัปดาห์นี้ สุขภาพของผมเริ่มกลับมาเกือบ 100% แล้วจึงต้องรีบทำหน้าที่ ทำงานตามที่สังคมคาดหวังและอยากให้ทำ

  เริ่มแรก อาจจะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่มีความหมายในระยะยาว คือ การพัฒนาผู้นำสหกรณ์  หลักสูตร ผู้นำสหกรณ์เครดิตยูนี่ยนขั้นสูง รุ่นที่ 2 ของชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด ซึ่งผมรับทำหน้าที่เป็นประธานโครงการฯ มาถึงวันสุดท้ายและจะมีพิธีปิดในวันเสาร์

  ผมดีใจที่มีโอกาสได้รับเกียรติทำงานเพื่อผู้นำระดับท้องถิ่น เป็นองค์กรที่เน้นการออมในระดับชุมชนและที่น่าสนใจก็คือ บุคคลเหล่านี้จะไปอยู่ตามต่างจังหวัดและชุมชนมีบทบาทสำคัญ ผมขออวยพรให้กลับไปทำงานให้ดีที่สุด

§  ค้นหาตัวเอง มาเริ่มการฝึกผู้นำครั้งนี้ได้อะไร?

§  จะทำอะไรต่อเพื่อส่วนรวม

§  สร้างแนวร่วมรวมกันในการผนึกกำลัง

§  เป็นผู้นำที่จะถ่ายทอดความคิดและความรู้ต่างๆเหล่านี้ต่อไปให้ประชาชนและกลุ่มสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน อย่างไร?

ผมคิดว่า จุดสำคัญคือ

§  ค้นหาตัวเอง

§  รู้ (Know) ไม่พอต้องทำ (Do) ด้วย คือ ทำให้สำเร็จมีมูลค่าเพิ่มที่ดีด้วย

§  สุดท้ายคือการสร้างเครือข่ายให้มากขึ้น

§  และไม่หยุดการเรียนรู้

§  เอาการเรียนรู้ไปสร้าง 3V  = Value Added , Value Creation , Value Diversity

ส่วนงานที่สำคัญอีกงานเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา มีโอกาสได้ไปร่วมสัมมนากับลูกศิษย์ปริญญาเอกของสวนสุนันทา และได้จัดงานสัมมนาเรื่องการเตรียมการศึกษาเข้าสู่อาเซียน ซึ่งมีผู้พูด คือ รศ.ดร.ช่วงโชติ พันธเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, คุณอุษณีย์ วัฒนพันธ์ ร่วมกับผม ซึ่งประทับใจทั้งสองท่าน การประชุมดังกล่าวเป็นการใช้โอกาสสร้าง Value Diversity คือ เน้นความหลากหลายของตัวละครมาร่วมกันคิดหาทางออกเรื่องการศึกษา

§  สพฐ. คงจะต้องกำหนดแนวทางนโยบายให้เกิดคุณภาพของการศึกษาอย่างแท้จริงและนำนโยบายไปปฏิบัติโดยเน้น Outside คือ ร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกมากขึ้น

§  ผู้นำอย่างอธิการบดี รศ.ดร.ช่วงโชติ พันธเวช มีโลกทัศน์กว้าง ท่านเชิญผมร่วมงานมา 6 ปีแล้ว และเน้นเรื่องทุนมนุษย์กับนวัตกรรม ท่านเป็นตัวอย่างที่ดีที่ริเริ่มสิ่งที่เพิ่มคุณภาพการศึกษา และเน้น Value Creation มากๆ ทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาเป็นที่ยอมรับมากขึ้น

เรื่องนี้ในความคิดของผมก็คือยุทธศาสตร์ที่จะไปสู่ความสำเร็จ แต่ผมขอเตือนว่าความสำเร็จไม่ใช่แค่ How to แต่ How to do it successfully คือ เอาชนะอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ให้การศึกษาไทยบรรลุไปสู่เป้าหมายดังเช่น

§  การเมืองไม่ต่อเนื่อง

§  ขาดการทำงานเป็นระบบ

§  ขาดการใช้ Outside-in มาก

§  ขาดธรรมาภิบาลไม่โปร่งใส

§  ไม่ปรับตัวให้ทันกับเหตุการณ์ใหม่ๆ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

[email protected]

www.gotoknow.org/blog/chiraacademy

แฟกซ์0-2273-0181

หมายเลขบันทึก: 510235เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2012 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท