485. Discovery กับการระดมสมอง


มีนักศึกษาป.เอกท่านหนึ่งถามผมว่า Discovery (เป็นขั้นแรกของการทำ AI มันคือขั้นตอนการถามคำถามเชิงบวกครับ)  ว่าเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการ Brainstorm หรือระดมสมองใช่หรือไม่...

ตอบครับ..

มาที่นิยามก่อนครับ ฺ

Brainstorm เป็นวิธีการกระตุ้นให้คนระมความคิด ทางออก แบบไม่จำกัดจำนวน หรือขอบเขตครับ..เพื่อแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง...ดูรายละเอียดที่นี่คลิ๊ก 


Discovery คือกระบวนการขั้่นแรกครับ..เป็นการถามคำถามเชิงบวก เกิดขึ้นหลังจากเราตั้งทิศทาง หรือตั้งโจทย์แล้วว่าเราจะค้นหาเรื่องบวกๆ ของอะไร...เช่น การทำงานเป็นทีมที่ดีที่สุด. (High Performing Team). โจทย์ที่ว่า อาจเริ่มต้นมาจากปัญหา เช่น คนในบริษัททำงานไม่ค่อยจะเป็นทีม...ก่อนเราจะทำ AI เราจะมาตีกรอบปัญหาเป็นเชิงบวกก่อน..เพราะเราเชื่อว่า ทุกคนทุกระบบมีเรื่องราวดีๆ ซ่อนเร้นอยู่เสมอ...เราจึงตีกรอบคำถามใหม่..เพื่ออะไรครับ..เพื่อนำไปสู่การค้นหาผ่านกระบวนการถามเชิงบวก ซึ่งคือ Discovery นั่นเอง

จะว่าไป Discovery คล้าย Brainstorm ครับ..เพราะเราทำเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาเรื่องใด เรื่องหนึ่ง..ที่สำคัญจะคล้ายๆกันคือ สามารถเล่า เสนอได้อย่างไม่จำกัด...เพียงแต่ Discovery อาจไม่ไปเร็วเช่น Brainstorm ครับ..เราเน้นการใช้เรื่องเล่า ที่เล่าเป็นฉากๆ..ว่าอะไรเกิดขึ้นบ้าง...เป็นประสบการณ์ทีดีที่สุดครับ...แต่ที่ต่างจาก Brainstorm ครับ คือ Discovery ไม่ใช่การออกความเห็นครับ. หากแต่เป็นประสบการณ์จริง ในเรื่องนั้น และเป็นประสบการณ์ที่ดีที่สุดด้วยครับ...

แล้วนำมาสู่การแก้ปัญหาอย่างไร...


ใน Brainstorm คุณจะเสนอความเห็น ด้วยเทคนิคกระตุ้นหลายๆอย่าง ได้มากเยอะๆก็มาจัดกลุ่ม หาลำดับความสำัคญ ลงคะแนะ แล้วทำแผนปฏิบัติการ เลย...


Discovery จะคล้ายๆ ครับ เมื่อเราเจอเรื่องดีที่สุด เราจะเอาเรื่องดีๆ ที่สุด มาสร้างสรรค์ร่วมกัน (Co-creation โค ครีเอชั่น) ผ่านกระบวนการสรุปข้อมูล ค้นหาจุดร่วมของการค้นพบ หรือ Positive Core โพสิทีพ คอร์ ต่อด้วยการมาวาดฝันร่วมกัน ตรงนี้จะออกมาเป็นวิสัยทัศน์แล้วมาหา Action Plan เราเรียกว่า Design ที่พิเศษอีกขึ้นคือ Destiny เอาหล่ะ เราจะทำจริงแล้ว ก็ถามต่อว่าจะให้ใครทำ จะเปลี่ยนแปลงแบบไหน (เจอแรงต้นแน่ ดังนั้นคำถามนี้มีเพื่อให้เราค้นหาวิธีลดแรงต้าน)  ต่อด้วยคำถามว่า "รู้ได้อย่างไรว่า ถึงจุดไหน จะดี (นี่คือหา KPI) สุดท้ายคือ จะเรียนรู้ด้วยวิธีอะไร...ตรงนี้คือไม่ใช่สักแต่ทำ ต้อง มั่นดูด้วยว่าจะปรับปรุงการทำ AI ของเราอย่างไร ให้เหมาะกับบริบทนั้นๆ..


จะเห็นว่าคล้ายๆ...แต่ที่ต่างครับ..ต่างจริงๆ คือ แต่ก่อนผมก็ทำ Brainstorm มาเยอะครับ..คือโอกาสที่  Discovery จะให้คำตอบที่เป็นไปได้ และทำได้จริง มีมากกว่าครับ เพราะเป็นคำตอบที่มาจากประสบการณ์จริง ที่เคยใช้ได้ผลมาแล้วครับ..เราเพียงไปปรับแต่ง แล้วขยายผลเท่านั้นครับ...


ส่วน Brainstorm ดีเหมือนกันครับ..แต่หลายครั้งเป็นความเห็นที่ไม่ได้อิงจากประสบการณ์จริง ทำให้ก็ดีครับ..แต่หลายครั้งใช้ไม่ได้ครับ..เพราะมาจากความเห็น..และบ่อยครั้ง วง Brainstorm กลับถูกครอบงำด้วย คนบางคน ที่ดูพูดเก่งกว่า...แต่ในวงทำ Discovery เนนื่องจากไม่ใช่ความเห็น และเราเลือกูดเรื่องดีๆที่สุด..เก่ง พูดมากแค่ไหน..ก็พูดได้คนละเรื่อง ก็หมดแล้ว..ครับ..เลยได้คนละเรื่อง..


ถ้าถามว่า Discovery ทำให้เกิดการ Brainstorm ก็ต้องบอกว่า...ใช่ครับ เพราะ Brainstorm เป็นกิจกรรมที่เราต้องทำต่อจาก Discovery อยู่แล้ว...แต่บรรยากาศดีกว่าเห็นๆครับ..สมัยใหม่นักคิดบางท่านเรียกว่า "การสร้างสรรค์ร่วมกัน  (Co-creation)" ไปเลย เพราะไปไกลกว่าการ Brainstorm ตามนิยามเดิมครับ


บางท่านก็ไปไกลครับใช้ Dialogue ไปเลย นี่ก็ไกลกว่า Brainstorm เลยครับ...



คุณล่ะ คิดอย่างไร


ท่านใดสนใจศึกษา AI เพิ่มเติมดูจากหนังสือของผมได้ที่นี่ครับ Click ที่รูปเลย เป็น e-book ครับ


หมายเลขบันทึก: 509983เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2012 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ไม่ใช่ก็ใกล้เคียงค่ะ แต่ให้ผลต่างกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท