อากาศเสีย(ฝุ่นควันPM10)ทำสมองเสื่อม


 

.

.

กราฟ: แสดงมหา อำนาจด้านการปล่อยแก๊สเรือนกระจก (คาร์บอนไดออกไซด์) ช่วงปี 1990-2025/2533-2568 > จีน (สีแดง) จะแซงสหรัฐฯ (สีน้ำเงิน), อินเดียแซงญี่ปุ่น (สีเขียวมีขีดแนวดิ่งขวาง) ไปแล้ว และจะแซงรัสเซีย (สีเขียว) [ wiki ]
.

อัตราการปล่อยแก๊สเรือนกระจกเป็น 1 ในตัวชี้วัดว่า ประเทศใดใช้พลังงานมากหรือน้อย ยิ่งใช้มาก-ยิ่งปล่อยแก๊สนี้ออกมามาก

.

.

สำนักข่าว Telegraph ตีพิมพ์เรื่อง Air pollution 'ages the brain' a study suggests
= "(การศึกษา)พบมลภาวะทางอากาศทำให้สมองแก่ (เสื่อม) เร็ว", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

.

อ.เจนนิเฟอร์ อายล์ชายร์ นักศึกษาปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยเซาเติร์น แคลิฟอร์เนีย ทำการศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างอายุเกิน 50 ปี 14,793 คน โดยนำมาเปรียบเทียบกับแผนที่ทางอากาศที่แสดงระดับมลภาวะทางอากาศ

.

ผลการศึกษา พบว่า มลภาวะในรูปฝุ่นละอองขนาดจิ๋ว (fine particle air pollution) หรือที่เราเห็นเป็น "ควัน-อากาศมัว-ทัศนวิสัยตกลง (มองเห็นได้ไม่ไกลเท่าเดิม)" ทำให้ระดับเชาว์ปัญญา ความสามารถในการ และการตัดสินใจ (cognitive scores) ตกต่ำลง

.

ปกติสมองคนเราจะคิด-ตัดสินใจได้แย่ลง 0.1 หน่วย/ปี

.

.

ฝุ่นในอากาศมากขึ้นทุกๆ 10 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (ช่วง 4.1-20.7 ไมโครกรัม/ลบ.ม.) > ทำให้สมองทำงานได้แย่ลง 0.33 หน่วย = เทียบเท่าสมองแก่ไป 3 ปี

.

ประเทศไทยมีปัญหาฝุ่นละอองในอากาศขนาดจิ๋ว (PM10 = ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอนกี่หน่วย/ลบ.ม.) สูงมากในภาคเหนือตอนบน และจังหวัดชายแดนภาคเหนือตอนล่าง เช่น ตาก ฯลฯ

.

สหรัฐฯ และยุโรป (EU) ถือว่า ถ้า PM10 สูงเกิน 50 ไมโครกรัม (มคก.)/ลบ.ม. = มีมลภาวะร้ายแรง

.

ไทยกำหนดระดับมลภาวะขั้น "ปลอดภัย (safe level)" สำหรับ PM10 ไว้ที่ 120 มคก./ลบ.ม.

.

.

ทว่า... ช่วง 2 สัปดาห์หลังของเดือนกุมภาพันธ์ทุกปี จะมี PM10 ในภาคเหนือตอนบนสูงเกินระดับนี้ทุกปี

.

วันที่ 14 มีนาคม 2550 ระดับ PM10 ที่เชียงใหม่ = 303.9 มคก./ลบ.ม. [ earthoria ]
.

สำนักข่าว UPI รายงาน (อ้างแหล่งข่าวจาก The Guardian) เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2555 ว่า การเผาไร่-นา ('slash-and-burn' = เก็บเกี่ยว ตัดตอ แผ้วถาง ตีแล้วเผา), เผาป่า ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ทำให้มลภาวะในไทยแย่ลงทุกปี [ UPI ]
.

ปีนี้ปริมาณฝุ่น PM10 ที่เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอนสุงขึ้นถึงระดับ 431.6 มคก./ลบ.ม. สูงกว่าขีดอันตรายของสหรัฐฯ-ยุโรปที่ 50 มคก./ลบ.ม. เกิน 8 เท่า

.

.

อ.มาร์ค ออด จากเว็บไซต์นำเที่ยว All Points East กล่าวแบบเหน็บแนมไว้ว่า ทางเว็บไซต์ได้ออกประกาศเตือนนักท่องเที่ยว ไม่ให้เที่ยวทางเหนือของไทยในช่วงเวลาดังกล่าว (กพ.-เมย.)

.

ท่านกล่าวว่า อย่าไปหวังอะไรมากกับประเทศที่นักการเมืองให้สัมภาษณ์ว่า ไข้เลือดออก (dengue fever) ระบาดจากการที่ผู้หญิงนุ่งกระโปรงสั้น!

.

ต้นตอของโรคระบาดหลักๆ คือ แหล่งเพาะพันธุ์ยุง หรือน้ำท่วมขัง... ยิ่งมาก ยิ่งทำให้ไข้เลือดออกระบาดได้มาก

.

ภาคเหนือมีปัญหาเผาขยะ-ใบไม้ และเผาไร่นา-เผาป่า สอดคล้องกับสถิติมะเร็งประเทศไทย ซึ่งพบสูงสุดที่เชียงใหม่-ลำปาง

.

.

กลุ่มประเทศอาเซียน มีปัญหามลภาวะทางอากาศจากฝุ่นละออง PM10 สูงมาก 2 แห่ง คือ ในอินโดนีเซียจากการเผาป่า เพื่อปลูกไร่, และในไทย จากการเผาไร่นา-เผาป่า-เผาขยะ ใบไม้

.

บางที, เราอาจจะได้แพะ (scapegoat) ที่ทำให้เด็กไทยไอคิวต่ำเพิ่ม... จากเดิมโทษภาวะขาดไอโอดีน ขาดธาตุเหล็กในครรภ์-เด็กเล็ก, โทษระบบการศึกษา, ไปสู่มลภาวะฝุ่นละออง PM10 ในอากาศ

.

ถ้าท่านใช้รถที่มีควัน โดยเฉพาะรถกระบะ, เรียนเสนอให้รีบซ่อมรถ เพื่อป้องกันสมองเสื่อม

.

และอย่าจอดรถอยู่กับที่นาน ไม่ว่าจะเป็นตอนอุ่นเครื่องหรือจอดรถ เพราะรถที่จอดอยู่กับที่จะปล่อยควัน PM10 ออกมามากกว่ารถที่วิ่ง

.

.

วิศวกรโตโยต้าแนะนำไว้ตั้งแต่หลายสิบปีก่อนแล้วว่า ไม่จำเป็นต้องอุ่นเครื่องนาน

.

อุ่นเครื่อง 10-15 วินาที หรือพอเครื่องรถนิ่ง ไม่สั่นแล้ว ขับออกไปช้าๆ ไม่เร่งเครื่องแรงใน 1-2 กิโลเมตรแรก จะช่วยลดการเกิดมลภาวะ และประหยัดน้ำมันได้มาก (รถที่ขับไปช้าๆ ปล่อยควัน PM10 น้อยกว่ารถที่จอดอยู่กับที่)

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

> [ Twitter ]

  • Thank > http://www.telegraph.co.uk/health/healthnews/9682771/Air-pollution-ages-the-brain-a-study-suggests.html
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 18 พฤศจิกายน 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.


หมายเลขบันทึก: 509957เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2012 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท