Multidisciplinary Researcher


6 ตค 48

กำลังนั่งคุยกับอาจารย์วิบุลจากคณะเภสัช มอ. คะ แม้จะเป็นครั้งแรกที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับอาจารย์ ก็รู้สึกสนุกมากคะเพราะชอบด้านคอมพิวเตอร์เหมือนกัน

จากการสนทนา ดิฉันมองว่าอาจารย์เป็น Multidisciplinary Researcher ที่เยี่ยมยอดคนหนึ่งเลยคะ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาใช้เองในงานวิจัยของอาจารย์ และการนำ Mathematical Model มา Apply ในด้านต่าง ๆ เช่น อาจารย์คิด Model ของการเตือนเรื่องการแพ้ยาในผู้ป่วยก่อนการจ่ายยา เป็นต้นคะ

คุยไปคุยมา ดิฉันเองได้ให้ข้อคิดเห็นมากมายเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาระบบบล็อก เช่น การ Vote หรือ การ Simplify อินเตอร์เฟต เป็นต้นคะ แล้วก็จะนำเอาคำแนะนำของอาจารย์มาเพิ่มเติมในระบบคะ

ดิฉันรู้สึกขอบคุณอาจารย์วิบุลมากคะที่ให้ความรู้ดิฉันในหลายๆ เรื่อง เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ดีทีเดียวคะ

…เครื่องกำลังลงจอดแล้วคะ มีการตกหลุมอากาศเล็กน้อย ดิฉันมีอาการเวียนศีรษะ เมาเครื่องเล็กน้อย คงเป็นเพราะอาการไม่สบายเนื่องจากปวดฟันตั้งแต่เมื่อวานคะ ขอพักหลับตาหน่อยนะคะ ...

คำสำคัญ (Tags): #การวิจัย
หมายเลขบันทึก: 5093เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2005 19:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2013 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
วิบุล วงศ์ภูวรักษ์

ในฐานะถูกพาดพิง ผมขอแสดงความเห็น

multidisplinary research โดยเนื้อแท้แล้ว ก็คือระบบคิดที่ fragment กระจายไปตามจุดศูนย์ถ่วงของความรู้หย่อมต่าง ๆ ซึ่งตัวมันเอง ทำหน้าที่เป็นกาวเชื่อมอาณาเขตที่อยู่แยกกัน ให้มาติดกัน หรือทะลุถึงกัน

ถามว่าดีไหม ผมคืดว่ามีแบบนี้บ้างก็ดี แต่มากไปก็ไม่ดีนะครับ ด้วยหลายเหตุผล

1. หาแหล่งตีพิมพ์ยาก - คำตอบหลักที่มักจะได้ยินเวลาโดน reject ต้นฉบับก็คือ เนื้อหาไม่ตรง policy ของวารสาร (ก็ควรอย่างนั้น เพราะสมมติว่าเราแตะเข้าไป 4 หย่อมเนื้อหา เจ้าของหย่อมเนื้อหาก็จะบอกว่า เราตรงกับเขาเพียง 1 ใน 4)

2. ตัวเราก็จะ"หลักลอย"ทางวิชาการด้วย เพราะไม่มี"รังถาวร"ให้อยู่ และถ้าทำจนชินเมื่อไหร่ ถูกบังคับให้อยู่"ติดรัง"เมื่อไหร่ มันจะอึดอัด

3. สิ่งที่เรามองว่า"ดี" จริง ๆ แล้วเพราะมันอาจบังเอิญไปอยู่แปลกที่ ผิดทาง เท่านั้นเอง จิตใต้สำนึกของเราจะให้ความสำคัญกับเรื่องที่ผิดคาดอย่างบิดเบนเสมอ เช่น ถ้าให้ความสำคัญน้อยไป ก็จะพยายามกลบเกลื่อนไม่รับรู้ ถ้ามากไปก็จะรู้สึกว่ามันดีหรือดีมาก จริง ๆ แล้ว ถ้ามันอยู่ในที่ๆควรอยู่ เราจะรู้สึกว่ามันธรรมดามาก ๆ สิ่งที่ผมทำ ถ้าเป็นคนใน field นั้น ๆ ทำ คนอื่นฟังเรื่องก็คงฟังไปหาวไป

มองในด้านดีบ้าง

1. "ทำเอามันส์" การทำ research ประเภทนี้เป็นงานศิลปะ การได้คิดก็ถือเป็นความเบิกบานใจประการหนึ่ง ได้ทำเสร็จก็เป็นความเบิกบานใจอีกประการหนึ่ง อือม์..หาวารสารตีพิมพ์ที่ policy ตรงกันเจอก็ดูเหมือนจะเป็นความเบิกบานใจอีกประการหนึ่งด้วยเช่นกัน

..อย่าได้ถามเชียว ว่าใครเป็น stakeholder ของงานวิจัยนั้น เป็นคำถามที่ไม่สุภาพเอามาก ๆ ;)

2. ถ้าไปพลอยทำร่วมกับคนอื่น จะเป็น"น้ำจิ้มปรุงรส"ที่ดี เพราะสามารถดึงเนื้อหาให้ลดความซ้ำซากจำเจไปได้ไม่น้อย

โดยสรุป อย่าให้ความสำคัญกับการดิ้นรนจะเป็น multidisplinary research มากเกินไปนัก ถ้ามันจะเป็น ก็ให้มันเป็น ถ้ามันจะไม่เป็น ก็ไม่ต้องไปเก็บใส่ใจ

ขอบคุณคะอาจารย์วิบุล อ่านแล้วเหมือนได้ไปนั่งสัมภาษณ์อาจารย์เองเลยคะ สนุกและได้ความรู้เหมือนอย่างกะได้คุยกับอาจารย์จริงๆ อาจารย์มาเขียนบล็อกบ่อยๆ นะคะ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท