การเรียนแบบผิดๆ แต่ไม่ยักกะรู้ตัว ในรั้วมหาลัย



ขอเกริ่นสักนิด.......เมื่อก่อนผมก็เป็นคนที่ หน้าใหญ่ ใจชา บ้าฝรั่ง ดังที่อาจารย์ทวิชเคยเหน็บแนมคนไทยสมัยนี้ เหมือนกัน แต่ด้วยความโชคดี มีโอาสได้ติดตามงานเขียนของท่าน อ.ทวิช ประมาณ 2 ปีก่อน ก่อนจะได้มาเป็นลูกศิษย์ท่าน แบบเต็มตัว เลยเข้าใจอะไรมากขึ้น ฉุกคิดสิ่งบางอย่างที่ท่านพยายามสอนได้ มีสติมากขึ้น ความหน้าใหญ่ ใจชา บ้าฝรั่ง ก็น้อยลงไป (รวมถึงเกาหลี ญี่ปุ่นด้วย อิอิ)

ด้วยความที่ซึมซับจาก ท่านอาจารย์ทวิช มาบ้างไม่มากก็น้อย ผมก็จะเขียนทำนองคล้ายๆกัน แต่จะเขียนในบริบทที่ง่ายกว่าตามภาษาเด็กวัยรุ่นอย่างผมที่มีความรู้รอบตัวมิอาจจะเทียบท่านได้ แต่ว่ามีหัวใจไปในทางใกล้เคียงกัน(ทำนองรักชาติ ไม่อยากให้ชาติล่มจม ก็ได้มาจากท่านอีกนั่นแหละ ซึ่งเมื่อก่อนผมไม่เคยสนใจ) และเขียนในเรื่องที่ผมมีความรู้มาบ้าง และเป็นเรื่องเกิดกับตัวผมเองในอดีต  มาเข้าเรื่องกันดีกว่า

วันนี้เอาเรื่องการเรียนในรั้วมหาลัยแบบมักง่ายของ นศ.บางคนที่เยอะมาก  ผมว่าอาจเป็นการคอรัปชันเลยก็ว่าได้นะ
นักศึกษาระดับมหาลัย หรือระดับโรงเรียน ไปเรียนหนังสือกัน ส่วนใหญ่มักจะอยากได้คะแนนดีเมื่อทำการสอบ  แต่ว่าขี้เกียจอ่านหนังสือ จึงอ่านเฉพาะช่วงใกล้สอบ และมักจะอยากรู้แนวทางการออกข้อสอบจากอาจารย์ ถ้ารู้ข้อสอบได้เลยยิ่งจะชอบกันมาก เพราะจะได้อ่านแค่นิดเดียวก็สามารถทำคะแนนดีได้ จริงๆมันก็ไม่ผิดหรอกนะ (เอาไงแน่..อิอิ)

แต่ผมว่านั่นจะทำให้เราโง่ลงทันที คนจำพวกนี้ไม่มีความศรัทธาในสาขาวิชาที่ตัวเองเรียนเลยแม้แต่น้อย สิ่งที่ถูกต้องคือการศึกษาให้รอบด้านในวิชาที่ตัวเองเรียนแม้ครูจะไม่ได้สั่งก็ตาม เพื่อให้รู้จริงมากที่สุด (ความรู้จริงนั้นทำให้เกิดบารมีมาก ผมเห็นได้จากอาจารย์หลายๆท่านที่เก่งๆ) เมื่อจบออกมาจะได้เป็นบัณฑิตแบบไม่ปลอม และมีความมั่นใจเต็มเปี่ยม มีความสง่างาม และดูมีบารมี แต่ทุกวันนี้ส่วนใหญ่ก็เป็นอย่างแรกเสียมากกว่า นศ. ที่จบออกมาจึงมีความรู้น้อยเนื่องจากไอ้ที่เรียนมาก็ลืมไปหมดแล้ว เพราะตอนเรียนอ่านแค่ช่วงสอบไง มันไม่ได้เอาจริง มันจึงไม่ซึมลึกและไม่เข้าใจเนื้อหาเท่าที่ควร ซึ่งผมก็เป็นอย่างนั้น มาก่อน อีกนั่นแหละ!!!

แต่ทุกวันนี้ผมเปลี่ยนไปมาก และอ่านหนังสือมากกว่าเดิมหลายสิบเท่า เพราะอยากเป็นคนเก่ง แถมยังสนใจไปหมดซะทุกเรื่อง 5555 ต้องขอบคุณท่านอาจารย์ทวิชจริงๆ ที่ดัดนิสัยให้ผมดีขึ้น จนถึงทุกวันนี้...............^^

ปล. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้นะครับ   ผมไม่มีอัตตามากนักหรอก ผิดถูกยังไงผมจะวินิจฉัยไว้ในใจ ^_^

ทัดระวี กวีไทย
๑๘ พ.ย. ๒๕๕๕



หมายเลขบันทึก: 509182เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2012 23:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 10:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นมุมคิดที่นิสิตนักศึกษาในประเทศไทยควรมีครับ

เยี่ยมมาก ;)...

เป๊ะมากน้องชื่นชม อาจารย์ทวิช เป็น idol ของพี่ ไท่เคยเรียนกับท่านหรอก อ่านบทความท่าน น่ะทำให้รู้สึกศรัทธาท่านมาก

เคยออกข้อสอบ ใหนิสิต อธิบาย "นิยาม" ของศัพท์ ๑๐ คำ แนะนำให้ ค้นคว้าจากตำราที่มี หรือหาได้ แล้วนำมาอธิบายให้เข้าใจ

นิสิต ต่างไป "คัดลอก" นิยาม ตามที่ผู้รู้ ศาสตราจารย์ หรือ ดร. นิยาม ไว้ นำมาตอบข้อสอบ
นิสิตร้อยกว่าคน ที่ได้คะแนนเกินครึ่งมีไม่ถึง ๓๐ คน นอกนั้น ตก

นิสิต ทักท้วงเสียงแข็ง / บ้างก็ว่า ไม่ยุติธรรม เราก็เลยอธิบายว่า ข้อสอบมีคำสั่งให้นิสิต "อธิบาย" ไม่ได้ "คัดลอก"
แล้วทิ่้งให้คิดต่อ ว่า หมายถึงอะไร....

จนบัดนี้ ก็ยังไม่มีใครตอบกลับมาว่า..."อธิบาย" กับ "คัดลอก" ต่างกันอย่างไร

ขอบคุณทุกท่านที่ให้กำลังใจครับ

 เท่าที่ได้เจอมา (รวมทั้งตัวเองด้วย) ส่วนใหญ่ก็เป็นแบบนี้กันทั้งนั้นเลย ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท