เป็นหนี้สบายๆสไตล์อเมริกา


 

.

.

กราฟ: แสดงหนี้ภาครัฐของสหรัฐอเมริกาในช่วงปี 1790-2011/2333-2554 ทำโดยอาจารย์ริชชี คิง จากเว็บไซต์ควอทซ์, สำนักข่าว BusinessInsider นำมาเผยแพร่

.

เส้นกราฟแนวดิ่งแสดงร้อยละ (%) ของหนี้เมื่อเทียบกับผลผลิตประเทศ (GDP)

อ.แมทท์ ฟิลิปป์ ตีพิมพ์เรื่อง 'One chart that tells the story of US debt from 1790 to 2011'
= "กราฟภาพเดียวบอกเรื่องหนี้สหรัฐฯ จาก 1790-2011/2333-2554 ใน quartz.com (qt.com)

.

อ.แมทท์ ฟิลิปป์ ตีพิมพ์เรื่อง 'US debt, from 1790 to 2011, in one chart'
= "(สรุป)หนี้สหรัฐอเมริกาจากปี 1790-2011 ในกราฟภาพเดียว", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

.

.

ประวัติศาสตร์หนี้ภาครัฐของสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นหลังทำสงคราม ส่วนน้อยเป็นผลจากการกระตุ้นเศรษฐกิจจากการเพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐฯ ดังนี้

.

(1). สงครามกลางเมือง (the civil war) ระหว่างรัฐทางเหนือกับทางใต้

.

รัฐทางใต้สมัยนั้นยังล้าหลังกว่า คือ ยังอยู่ในยุคเกษตร ใช้แรงงานคน-ทาสเป็นหลักในไร่

.

รัฐ ทางเหนือสมัยนั้นก้าวไปสู่ยุคอุตสาหกรรม ใ้ช้เชื้อเพลิงฟอซซิล เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ฯลฯ เป็นหลัก ทำให้ไม่ต้องใช้ และไม่ยอมให้รัฐทางใต้ใช้ทาส จึงทำสงครามกัน

.

สงครามครั้งนั้นสอนโลกว่า สังคมที่มีการศึกษาสูงกว่า พัฒนาไปไกลกว่า คุณภาพของคนสูงกว่า มักจะชนะสงคราม

.

(2). สงครามโลกครั้งที่ 1 (world war I)

.

(3). เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก (the great depression) ในช่วงปี 1930s (1930-1939/2473-2482)

.

ช่วงนี้มีการใช้จ่ายภาครัฐมากขึ้น เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

.

(4). สงครามโลกครั้งที่ 2 (world war II) 

.

ช่วงนี้เป็นหนี้มากที่สุด คือ 112% GDP (ผลผลิตรวมของประเทศ)

.

(5). ยุคเรแกน (the Reagan era)

.

เพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

.

(6). เศรษฐกิจตกต่ำ (the great recession)

.

ปี 2001/2544 สหรัฐฯ เข้าสู่สงครามอัฟกานิสถาน, ปี 2003/2546 สหรัฐฯ เข้าสู่สงครามอิรัก, ปี 2008 เป็นช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ... มีการเพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งหมดนี้ทำให้หนี้ภาครัฐเพิ่ม

.

.

ประเทศที่เข้าสู่สงครามเรื้อรังมักจะมีหนี้เพิ่มเร็ว เช่น สหภาพโซเวียตล่มสลายหลังเข้าสู่สงครามอัฟกานิสถาน ฯลฯ

.

ประวัติ ศาสตร์หนี้สหรัฐฯ สอนเราว่า การหลีกเลี่ยงสงคราม และความขัดแย้งกับเพื่อนบ้านน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับเศรษฐกิจประเทศใน ระยะยาว

.

น่าดีใจที่ตอนนี้ "พม่า-ลาว-กัมพูชา-ไทย" มีมิตรภาพที่ดีต่อกัน ซึ่งจะมีส่วนส่งเสริมเศรษฐกิจในภูมิภาคให้ก้าวไปได้อีกไกลทีเดียว

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

> [ Twitter ]


หมายเลขบันทึก: 509155เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2012 15:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 10:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

We can also see how long it takes to pay back (to bring down debt to low percentage of GDP).

It is quite easy and quick to go into 'bad debt', but it takes much longer to return to 'good low debt'.

Shall we tell our Prime Minister?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท