อยู่(+เรียน)ใกล้ร้านเหล้า_ทำเราก๊ง(ดื่ม)หนัก


วิดีโอ : เปรียบเทียบภาพคนก่อนติดยากับหลังติดยา > โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้... [ YouTube ]
.

.

สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง 'The nearer the bar, the greater the chances of risky drinking'
= "ยิ่งใกล้บาร์, โอกาสดื่มหนักยิ่งเพิ่ม" = "เรียน(+อยู่)ใกล้ร้านเหล่า ทำเราก๊งหนัก", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

.

การศึกษาใหม่จากฟินแลนด์ (ตีพิมพ์ใน Addiction) ทำในกลุ่มตัวอย่างเกือบ 54,778 คน ติดตามไป 7 ปี

ผลการศึกษาพบว่า

.

(1). ระยะทาง (จากบ้าน-หอพัก-โรงเรียนไปร้านเหล้า) ที่ลดลง 1 กิโลเมตร > ยิ่งใกล้ร้านเหล้า-ยิ่งเพิ่มเสี่ยงดื่มหนัก 17%

.

ร้านเหล้าในที่นี้รวมไนท์คลับ ผับ บาร์ ร้านอาหาร โรงแรม ร้านสะดวกซื้อที่ขายเหล้า คือ ยิ่งซื้อหาง่าย-ยิ่งดื่มหนัก

  • อยู่ใกล้ร้านเหล้า = 120 เมตร/0.12 กม. > ดื่มหนักกว่า 9%

  • อยู่ใกล้ร้านเหล้า = 2.4 กม. > ดื่มหนัก 7.5%

(2). ฐานะ > ยิ่งจน-ยิ่งดื่มหนัก

.

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (CDC) นิยามขนาดของการดื่ม หรือ "ดริ๊งค์มาตรฐาน (standard drink)" ไว้ว่า ผู้ชายไม่ควรเกิน 2 ดริ๊งค์/วัน, ผู้หญิงไม่ควรดื่มเกิน 1 ดริ๊งค์/วัน

.

.

นิยาม 1 ดริ๊งค์ คือ

  • เหล้า 40 ดีกรี > 1 ช็อต (shot) = 1.5 ออนซ์ = 45 มิลลิลิตร/ซีซี (proof/พรูฟ = 2 เท่าของแอลกอฮอล์ในหน่วยปริมาตร > 80-proof = 40% = 40 ดีกรี)
  • ไวน์แบบจืดจาง > 5 ออนซ์ = 150 มิลลิลิตร
  • เบียร์แบบจืดจาง > 8 ออนซ์ = 240 มิลลิลิตร

ขีดจำกัด ของการดื่มต่อวัน (ที่จะไม่เข้าข่าย "ดื่มหนัก") ในคนเอเชีย เช่น คนไทย ฯลฯ น่าจะต่ำกว่านี้ เนื่องจากฝรั่งหรือชาวตะวันตกมีรูปร่างใหญ่กว่าคนเอเชียมาก

.

ชาวคอเคเชียนหรือฝรั่งมีเอนไซม์ หรือน้ำย่อยที่ช่วยทำลายแอลกอฮอล์ที่ผนังกระเพาะอาหารสูงกว่าคนกลุ่ม อื่นๆ... ตรงนี้น่าจะทำให้ขีดจำกัดของการดื่มต่อวันในคนเอเชียต่ำกว่าฝรั่งเช่นกัน

.

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

> [ Twitter ]

  • Thank Reuters > SOURCE:bit.ly/NYc7FxAddiction, online October 18, 2012.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 3 พฤศจิกายน 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.


หมายเลขบันทึก: 509137เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2012 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 10:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท